WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 1, 2010

ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล ผู้พิพากษาศาลฎีกาหนึ่งเดียวที่ระบุว่า ทักษิณไม่มีความผิด

ที่มา thaifreenews


โดย ThaiRedNews

8:1ยึดทรัพย์/'ฤทธิเทพ'ข้างน้อย



เปิดมติศาลฎีกา 5 กรณีอำพรางหุ้น ใช้อำนาจเอื้อชินคอร์ป "ทักษิณ" ผิด 8 ต่อ 1 เสียงทั้ง 5 กรณีรวด "ม.ล.ฤทธิเทพ" เสียงข้างน้อย มติยึด-ไม่ยึด 8 ต่อ 1 เสียงข้างน้อยยังเป็นคนเดิม ส่วนมติสำคัญ ยึดหมด-ไม่หมด ออกมา 7 ต่อ 2 ให้ 4.6 ล้านตกเป็นของแผ่นดิน

หลัง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งนับเป็นคดีแรกๆ ที่ศาลไม่ระบุถึงคะแนนเสียงในการลงมติ ซึ่งคาดการณ์ว่าเพื่อความสงบเรียบร้อยหากการลงมติออกมาในลักษณะที่ก้ำกึ่ง กัน

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าการลงมติขององค์คณะในคดีนี้ไม่ได้ก้ำกึ่ง มติส่วนใหญ่ออกมา 8 ต่อ 1 ในทุกกรณี

การ วินิจฉัยขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ จำนวน 76,621,603,061 บาท พร้อมดอกผลตกเป็นของแผ่นดินใน 5 กรณี คือ

1.กรณีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต โดยการออกพระราชกำหนดแปลงค่าสัมปทานโทรศัทพ์เคลื่อนที่เป็นภาษีสรรพสามิต

2.กรณีการ แก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cellular Mobile Telephone) ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 (ครั้งที่ 6) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่าย เงิน

3.กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่ (Cellular Mobile Telephone) ฉบับลงวันที่ 27 มีนาคม 2533 (ครั้งที่ 7) ลงวันที่ 20 กันยายน 2545 เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และกรณีการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม เป็นประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส

4.กรณี ละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียมตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ โดยมิชอบหลายกรณี เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ป และบริษัท ชินแซท

5.กรณี อนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) 4 พันล้านบาท เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของชินแซท

ทั้ง 5 ประเด็นนี้ แหล่งข่าวระดับสูงในศาลฎีการะบุว่า มติออกมา 8 ต่อ 1 ซึ่ง 1 เสียงที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีความผิด คือ ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล

ส่วน ข้อวินิจฉัยว่าจะยึดทรัพย์หรือไม่นั้น มีการลงคะแนน 2 รอบ รอบแรกลงมติว่ายึดหรือไม่ยึด ผลการลงคะแนนยังคงออกมา 8 ต่อ 1 และเสียงข้างน้อย 1 เสียงยังคงเป็นคนเดิมคือ ม.ล.ฤทธิเทพ

จาก นั้นองค์คณะจึงลงมติอีกครั้งว่า จะยึดทั้งหมดหรือยึดบางส่วน ผลการลงมติออกมา 7 ต่อ 2 ให้ยึดเฉพาะทรัพย์สินส่วนที่มีขึ้นหลังการเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัย แรกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่ง ม.ล.ฤทธิเทพคือ 1 ใน 7 ที่ลงมติให้ยึดบางส่วน

ขณะ ที่ 1 ใน 2 องค์คณะที่ให้ยึดทั้งหมดคือ นายกำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ที่เคยร่วมองค์คณะพิจารณาคดีหวยบนดิน และคดีเอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้ให้รัฐบาลพม่า ซึ่งขณะนี้พักคดีชั่วคราว เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ระหว่างหลบหนี

คำพิพากษาจึงออกมา ว่า ให้เงินปันผลและเงินที่ได้จากการขายหุ้นจำนวน 46,373,687,454.70 บาท พร้อมดอกผล นับแต่วันที่ธนาคารอายัด ตกเป็นของแผ่นดิน

สำหรับองค์คณะผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิพากษาคดียึดทรัพย์ 9 คน ประกอบด้วย

1.นาย ไพโรจน์ วายุภาพ เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานศาลฎีกาเมื่อเดือน ต.ค.52 เคยเป็นองค์คณะพิจารณาคดีแปลงภาษีสรรพสามิตที่อัยการยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพักคดี เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ระหว่างหลบหนี

2.นายอดิศักดิ์ ทิมมาตย์ ตำแหน่งประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา ได้รับเลือกเป็นองค์คณะแทนนายปัญญารัตน์ วิระยะวานิช นอกจากคดีนี้ นายอดิศักดิ์ยังเป็นองค์คณะพิจารณาสำนวนคดีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยยื่นถอดถอน ป.ป.ช. กรณีชี้มูลความผิดการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ และกรณีที่มีมติไล่ตำรวจระดับนายพลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุม ของกลุ่มพันธมิตรฯ ออกจากราชการ

3.ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

4.นาย กำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ที่เคยร่วมองค์คณะพิจารณาคดีหวยบนดิน และคดีเอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้ให้รัฐบาลพม่า ซึ่งขณะนี้พักคดีชั่วคราว เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ระหว่างหลบหนี

5.นายประทีป เฉลิมภัทรกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งเป็น 1 ในองค์คณะพิพากษาคดีแปลงภาษีสรรพสามิต

6.นาย สมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนและหัวหน้าทีมในคดีนี้ เคยเป็นองค์คณะคดีการเมืองสำคัญหลายคดี อาทิ คดีที่ดินรัชดาฯ, คดีคลองด่าน ซึ่งพิพากษาจำคุกนายวัฒนา อัศวเหม, คดี ป.ป.ช.ขึ้นเงินเดือนตัวเอง

7.นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา เคยเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาคดียุบพรรคไทยรักไทย แม้เป็นเสียงเอกฉันท์ 9-0 ให้ยุบ แต่เป็น 1 ใน 3 เสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วยให้ตัดสิทธิ์กรรมการบริหาร 5 ปี

8.นาย พิทักษ์ คงจันทร์ ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา และเป็นองค์คณะคดีถอดถอน ป.ป.ช. กรณีชี้มูลความผิดการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ และที่มีมติไล่ตำรวจระดับนายพลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมของ กลุ่มพันธมิตรฯ ออกจากราชการ

9.นายพงศ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เคยเป็นองค์คณะพิจารณาคดีหวยบนดิน.

http://www.thaipost.net/sunday/280210/18604