WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 31, 2010

ประวัติศาสตร์เลือด2553 91 ศพ 'เมษาฯ-พฤษภาฯ'

ที่มา ข่าวสด



เหตุการณ์นองเลือดเมษายน ต่อเนื่องถึงพฤษภาคม 2553 ถือเป็นการใช้ 'อำนาจรัฐ-กองทัพ' กระทำต่อการชุมนุมของประชาชน

จนกระทั่งมีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมากที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2475 เป็นต้นมา

ทั้งยังสร้างบาดแผลเรื้อรังร้ายแรง ก่อให้เกิดรอยร้าวแตกแยก บาดลึกซึมเข้าไปทั่วทุกอณู

โดยฝ่ายประชาชนนั้นเรียกตัวเองว่า 'มวลชนคนเสื้อแดง'

เคลื่อนไหวนัดชุมนุมเป็นกลุ่มก้อนผ่านองค์กรนำ 'แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ' หรือ นปช.

ขณะที่ฝ่ายผู้ยึดกุมและใช้อำนาจรัฐ ได้แก่ รัฐบาลผสมประชาธิปัตย์ นำโดยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

วัตถุประสงค์หลักที่ประกาศชัดเจนของคนเสื้อแดง คือ

ขับไล่รัฐบาล เพื่อจัดเลือกตั้งใหม่ตามระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านพฤติกรรม ƈ มาตรฐาน' ในหมู่ผู้มีอำนาจและเครือข่ายผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า 'กลุ่มอำมาตย์'

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาล-ศอฉ. มองว่า ประชาชน 'รากหญ้า' กลุ่มนี้ตกเป็นเครื่องมือในเกมทวงอำนาจและทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ

ทั้งนานวันเข้ายังยัดข้อหาฉกรรจ์ 'ล้มสถาบัน' เข้าให้อีก 1 กระทง ยิ่งทำให้เหตุการณ์บานปลายหนักขึ้นตามลำดับ

มีนาคม 2553 แกนนำนปช.ประกาศยุทธศาสตร์ 'แดงทั้งแผ่นดิน' นัดหมายระดมคนเสื้อแดงจากต่างจังหวัด ส่วนใหญ่จากภาคเหนือ-อีสาน เข้ามาสมทบคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯ กับปริมณฑล

โดยเคลื่อนมวลชนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตั้งแต่หลักหมื่นยันหลักแสนในช่วงสุดสัปดาห์

เข้ายึดพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนิน ตั้งเวทีปราศรัยหลักตรงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ขีดเส้นตายให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภา

โทษฐานเป็นรัฐบาลหุ่นเชิด 'ระบอบอำมาตยาธิปไตย' ทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรม ไม่สนใจดำเนินคดีแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิ ฯลฯ

การเจรจาระหว่างสองฝ่ายเกิดขึ้น 2 ครั้ง แต่ผลสุดท้ายต้องล่มไม่เป็นท่า

เดือนเมษาฯ ความขัดแย้งทวีความร้อนแรงตามสภาพอากาศ เมื่อนปช.ใช้ยุทธวิธี 'ดาวฤกษ์' ปิดล้อมสถานที่เป้าหมายเพื่อกดดันรัฐบาล

10 เมษาฯ ความสูญเสียก็เกิดขึ้นจนได้ เมื่อนายอภิสิทธิ์ส่งทหารเดินหน้าปฏิบัติการ 'ขอพื้นที่คืน' จากกลุ่มผู้ชุมนุมตรงสะพานผ่านฟ้าฯ เป็นเหตุให้ทหารเปิดศึกกับคนเสื้อแดงบริเวณแยกคอกวัว-ถนนดินสอช่วงกลางคืน ซึ่งผิดหลักสลายมวลชน เพราะจะเปิดช่องให้ 'มือที่สาม' เข้ามาแทรกได้โดยง่าย

เหตุปะทะเกิดขึ้นท่ามกลางการสูญเสียของประชาชนที่ชุมนุม และจบลงเมื่อกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ยิงเอ็ม 79 ถล่มเข้าไปในแนวทหาร อานุภาพระเบิดทำลายล้างทำให้นายทหารระดับสูงสาย 'บูรพาพยัคฆ์' ทั้งเจ็บสาหัสและเสียชีวิต จนสุดท้ายสองฝ่ายต้องต่อสายเจรจาสงบศึกชั่วคราว

เมื่อควันปืน-ระเบิดจางลง พบมีผู้เสียชีวิตเกือบ 30 ศพ รวมถึง 'ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ' นักข่าวรอย เตอร์ชาวญี่ปุ่น และ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสธ.พล.ร.2 รอ. ส่วนผู้บาดเจ็บอีกราว 1,400 ราย

หลังจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาล กองทัพ และศอฉ. ก็ไม่เก็บงำความคิดใช้ 'กำลัง' กวาดล้างม็อบเสื้อแดงเอาไว้เงียบๆ อีกต่อไป

พร้อมๆ กับการปรากฏตัวของพลซุ่มยิง หรือ 'สไนเปอร์' และม็อบกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลที่ออกเคลื่อนไหวทั่วกรุง

เข้าสู่เดือนพฤษภาคม คนเสื้อแดงยังคงปักหลักยึดพื้นที่ 'แยกราชประสงค์' เป็นเขตชุมนุม แดงฮาร์ดคอร์ได้ตั้งบังเกอร์ปิดล้อมทุกทิศทาง เพื่อป้องกันการบุกสลายม็อบ

พลันที่ 'เสธ.แดง' พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก ซึ่งเป็นผู้ดูแลการ์ดเสื้อแดงสายนักรบพระเจ้าตาก ถูกสไนเปอร์ซุ่มยิงบริเวณแยกศาลาแดง เมื่อวันที่ 13 พ.ค. แนวร่วมเสื้อแดงก็ลุกฮือขึ้นหลายจุดทั่วกทม. และปะทะกับทหารชนิดไม่กลัวตาย เช่น ที่แยกดินแดง บ่อนไก่ ราชปรารภรางน้ำ

มีประชาชนผู้ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุชุมนุม ตกเป็นเหยื่อกระสุนเพิ่มมากขึ้น

กลุ่ม 'วุฒิสมาชิก' สายพิราบอาสาเป็นตัวกลางเจรจาให้ทหารหยุดยิง และรุดไปล็อบบี้แกนนำนปช. ถึงหลังเวที

แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง รุ่งสางวันที่ 19 พ.ค. นายอภิสิทธิ์ก็เปิดฉาก 'กระชับพื้นที่' ส่งทหารติดอาวุธสงคราม รวมถึงรถเกราะตะลุยผ่านบังเกอร์เสื้อแดงเข้าไปสลายผู้ชุมนุมแยกราชประสงค์ เป็นเหตุให้แกนนำนปช. โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ต้องประกาศยุติการชุมนุม ท่ามกลางเสียงปืน-เสียงระเบิด

ตกเย็นเกิดจลาจลเผาเมืองทั่วกรุง เช่นเดียวกับสถานที่ราชการในต่างจังหวัดก็ถูกเผาราบ

ขณะเดียวกัน เกิดโศกนาฏกรรมยิง 6 ศพขึ้นในวัดปทุมวนาราม ทั้งๆ ที่กลุ่มสันติวิธีของนายโคทม อารียา ได้ตกลงเอาไว้กับฝ่ายรัฐว่าขอให้ใช้เป็นพื้นที่ 'เขตอภัยทาน' รองรับสตรี เด็ก คนชรา และผู้ชุมนุมที่ต้องการกลับภูมิลำเนา

ผลสอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในภายหลังบ่งชี้ว่า มีทหารบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส ยิงปืนเอ็ม 16 เข้าไปในวัดปทุมฯ จริง และไม่มีการยิงต่อสู้ออกมาจากภายในวัด

ส่วน 'ผู้มีอำนาจ' คนใดอยู่เบื้องหลังสั่งการสังหารหมู่ดังกล่าว ถึงที่สุดความจริงจะต้องเปิดเผยออกมา

เพราะคดีฆ่าคนตาย มีอายุความถึง 20 ปี

เหตุปราบผู้ชุมนุมทางการเมืองครั้งนี้ ในกลุ่มผู้เสียชีวิต 91 ราย มีทั้งคนเสื้อแดง ชาวบ้านผู้ไม่เกี่ยวข้อง สื่อมวล ชนต่างประเทศ และทหาร

ด้านยอดผู้บาดเจ็บมีร่วมๆ 2,000 ราย

แกนนำนปช.-คนเสื้อแดงทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้แต่พระ ถูกอำนาจพิเศษของ 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' จับกุม-คุมขังนับร้อยชีวิตด้วยข้อหาหนัก 'ก่อการร้าย'

'การ์ดแดง' ที่กลับไปต่างจังหวัด โดนฆ่าตายเป็นปริศนาอย่างน้อย 4 ราย

อย่างไรก็ตาม ผู้กุมอำนาจรัฐกลับไม่สะทกสะท้าน ยังสามารถนั่งบริหารประเทศได้ต่อไป สอดรับกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ามี 'มือที่มองไม่เห็น' คอยอุ้มชูอยู่

ฝ่ายนปช. รวมถึงพ.ต.ท.ทักษิณ เปลี่ยนไปเล่นเกมใหม่ ใช้วิธี 'โลกล้อมอภิสิทธิ์' รวบรวมหลักฐานเม.ย.-พ.ค.อำมหิต

หวังกดดัน-เอาผิดรัฐบาลผ่านศาลอาญาระหว่างประเทศ

ขณะที่องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ออกแถลงการณ์ตีแสกหน้ารัฐบาลไทยชุดปัจจุบันว่า กำลังพาประเทศไทยถอยหลังกลับไปสู่ยุครัฐทหาร

ทางด้านคนเสื้อแดงที่แตกกระสานซ่านเซ็น ได้กลับมารวมตัวกันตามยุทธศาสตร์ใหม่ เปลี่ยนจากรวมตัวผ่านแกนนำ ก็กลายมาเป็น 'แกนนอน' หรือแต่ละคน แต่ละกลุ่มต่างเดินหน้าจัดกิจกรรมต่างๆ ไปด้วยตัวเองตามเห็นสมควร

โดยผู้จุดพลุแนวคิดนี้ คือ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ 'บ.ก.ลายจุด' เอ็นจีโอนักช่วยเหลือสังคมชื่อดัง ผู้มีจุดยืนต่อต้านการรัฐประหาร 19 กันยาฯ

ช่วงปลายปี มวลชนเสื้อแดงหวนกลับมาอีกครั้ง ร่วมกันนัดหมายจัดกิจกรรมรำลึกถึงผู้เสียชีวิต บริเวณถ.ราชดำเนิน กับ ราชประสงค์ ชูคำขวัญ 'ที่นี่มีคนตาย!' ทวงถามถึงความยุติธรรมให้กับเหยื่อสลายม็อบ-เพื่อนร่วมอุดม การณ์ที่ถูกคุมขัง ซึ่งเอาเข้าจริงส่วนใหญ่เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาๆ

บางคนแค่ไปยืนดูเหตุเผาศาลากลาง ก็โดนรวบตัวขังลืม

การชุมนุมในกทม. แต่ละครั้ง มีผู้เข้าร่วมเรือนหมื่น

แตกต่างจากฝ่ายพันธมิตรฯ ที่ระดมคนได้แค่หลักร้อย-หลักพัน ภายหลังหันมาเปิดศึกกับนายอภิสิทธิ์กรณีเขาพระวิหาร

แสดงให้เห็นว่ามวลชนเสื้อแดงในกทม. ไม่ได้น้อยเหมือนที่ฝ่ายรัฐปรามาส

ที่สำคัญเป้าหมายการเคลื่อนไหวได้หลุดพ้นจากเรื่องพ.ต.ท. ทักษิณไปแล้ว

แนวรบเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของคนเสื้อแดงยังขยายตัวเติบใหญ่ใน 'โลกอินเตอร์เน็ต'

แม้กระทรวงไอซีทีจะไล่ปิดรายวัน แต่เหมือนขี่ช้างไล่จับตั๊กแตน เนื่องจากปิดวันนี้ วันรุ่งขึ้นก็เปิดเว็บใหม่ได้ง่ายดาย

เดือนธันวาคม รัฐบาลพยายามปรับภาพลักษณ์ในสายตาประชาคมโลก ด้วยการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

แต่ยังมอบหมายให้ 'กอ.รมน.' ใช้อำนาจตามพ.ร.บ.ความมั่นคง ประกบติดคนเสื้อแดงต่อไป

นอกจากนั้น นายอภิสิทธิ์ยังยอมเจรจากับนางธิดา โตจิราการ ประธานนปช.คนใหม่สายพิราบ หารือถึงแนวทางประกันตัวคนเสื้อแดงออกมาสู้คดีตามสิทธิอันพึงมี

ด้านนางธิดาเองประกาศชัดว่า นปช.จะนัดชุมนุมอย่างสันติต่อไปทุกๆ วันที่ 10 กับ 19 ของทุกเดือน

จนกว่าคนเสื้อแดงทั้งหมดจะได้รับอิสรภาพและความยุติธรรม

เท่ากับว่า ต่างฝ่ายต่างยังมีระยะห่าง มองอีกฝ่ายด้วยสายตาหวาดระแวงไม่เปลี่ยนแปลง

ปี 2554 ไม่ว่าเวลาของโลกจะหมุนเดินหน้าไปเท่าไหร่

แต่ดูเหมือนเข็มนาฬิกาแห่งความขัดแย้ง 'คนไทยต่างสี' ในแผ่นดินไทยจะยังคงหมุนเชื่องช้าอยู่ ณ จุดเดิม