WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, January 1, 2011

สมาคมนักข่าวฯ เผยปี 53 สื่อทำงานยาก

ที่มา ประชาไท

เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 53 ที่ผ่านมา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยได้เผยแพร่รายงาน “ปีแห่งความยากลำบากในการทำหน้าที่สื่อ” โดยมีรายละเอียดดังนี้

รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนในรอบปี 2553

จัดทำโดย...สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

“ปีแห่งความยากลำบากในการทำหน้าที่สื่อ”
………………………………………………………

สืบเนื่องจากปี 2553 ถือเป็นปีที่ท้าทายการทำงานของสื่อมวลชนไทย จากเหตุการณ์ที่เกิดความแตกแยกทางความคิดและอุดมการณ์ จนนำมาสู่ความรุนแรง สื่อมวลชนต้องตกอยู่ในฐานะที่ไม่ต่างไปจากตัวประกันและถูกกดดันจากคู่ความ ขัดแย้งทุกฝ่าย

ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่สื่อมวลชนถูกตั้งคำถามถึงบทบาทการทำหน้าที่ว่า มีความเป็นธรรมและเป็นกลางหรือไม่ ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือเพื่อประโยชน์ของใคร ในขณะที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยยังมองว่า สื่อมวลชนคือส่วนหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นปีที่คนทำสื่อต้องยึดในหลักการแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน และยึดมั่นในการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้าน รวมทั้งการเปิดพื้นที่ใหั้กับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม เป็นสิ่งที่ท้าทายจนยากยิ่งที่จะแยกแยะได้ว่า เรื่องใดเท็จเรื่องใดจริง

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำรายงานสรุปถึงการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยในรอบปี 2553 ที่กำลังจะผ่านไปไว้ดังนี้

1.เสรีภาพในการทำข่าวภายใต้ความรับผิดชอบ จากกรณีการทำ หน้าที่ของสื่อมวลชน ทั้งภายในกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง และภายในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สื่อมวลชนต่างถูกจำกัดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ดังตัวอย่างที่มีให้เห็นบ่อยครั้งว่า แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ไว้วางใจผู้สื่อข่าว จนก่อให้เกิดการกระทบ กระทั่งกัน ทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ท่ามกลางสถานการณ์ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

2.ความปลอดภัยและการเยียวยาสภาพจิตใจของนักข่าว เมื่อ ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจและมีความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความไม่ปลอดภัยในสวัสดิภาพการทำงาน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของสื่อมวลชนจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การทำข่าวของประเทศไทย ที่กลุ่มผู้สื่อข่าวต้องใส่เสื้อเกราะและอุปกรณ์ป้องกันภัยต่างๆ แต่ในที่สุดก็เกิดความสูญเสียขึ้น โดยเฉพาะนักข่าวและช่างภาพจากต่างประเทศต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บจาก เหตุการณ์สลายการชุมนุม มีนักข่าวและช่างภาพจากสื่อมวลชนไทยได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก ผลที่ตามมายังได้ก่อให้เกิดบาดแผลขึ้นภายในจิตใจ ซึ่งยากจะเยียวยาให้ฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ ผู้สื่อข่าวจำนวนไม่น้อยยังตกอยู่ในอาการหวาดผวาและรอคอยการเยียวยาสภาพจิต ใจอย่างถูกต้องตามหลักจิตวิทยา

3.ความเป็นมืออาชีพในการทำงานในสถานการณ์ความรุนแรง เหตุการณ์ ความรุนแรงที่ผ่านมาไม่มีใครคาดคิด ไม่มีการเตรียมตัวเตรียมใจว่าจะต้องเผชิญกับสถานการณ์รุนแรงเช่นนี้ ต้องยอมรับว่า ผู้สื่อข่าวไทยยังขาดความพร้อมในการรายงานข่าวภายในสถานการณ์ความขัดแย้ง ด้วยความ“รอบคอบ รอบด้าน” ดังนั้น การฝึกอบรมผู้สื่อข่าวให้มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจจึงเป็นเรื่องที่มี ความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

4.การปิดกั้นเสรีภาพสื่อมวลชน ในส่วนของการทำหน้าที่ “สื่อมวลชน” ในสถานการณ์ความขัดแย้ง ทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ ยังคงยืนยันในหลักการเรื่องเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ไม่สนับสนุนให้มีการปิดกั้นสื่อมวลชนทุกรูปแบบ ในขณะเดียวกันได้เรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกแขนงมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย หากพบว่า สื่อใดกระทำการละเมิดกฎหมายก็ต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายในการดำเนินการอย่าง โปร่งใส เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ใช้วิธีการอื่นใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเข้ามาจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิด เห็นของประชาชนและสื่อมวลชน

5.สื่อการเมือง-สื่อรัฐนำไปสู่ความขัดแย้ง นอกจากนี้ ได้เกิดปรากฎการณ์ของสื่อการเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมาย และถูกนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง ทำให้สื่อเหล่านี้มีฐานะเป็นเพียงเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองของแต่ละ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน โทรทัศน์ดาวเทียม เว็บไซต์ ที่มีการนำเสนอความคิดเห็นและความเชื่อมากกว่า “ความจริง” ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงที่มีข้อมูลอย่างรอบด้าน ในทางตรงกันข้ามกลับนำเสนอข้อมูลในลักษณะของการโฆษณาชวนเชื่อ มีอคติ ยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก เกลียดชัง จนถึงขั้นการทำลายล้างต่อฝ่ายที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกับตัวเอง ในขณะที่สื่อมวลชนของรัฐถูกรัฐบาลแทรกแซงการทำหน้าที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดการปิดกั้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ ยังไม่นับรวมถึงการปิดกั้นสื่อออนไลน์ที่ขาดความชัดเจนว่าได้ดำเนินการตาม กระบวนการของกฎหมายที่มีอยู่หรือไม่

ดังนั้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอสรุปว่า ในปี 2553 ที่กำลังจะผ่านไปถือว่าเป็น “ปีแห่งความยากลำบากในการทำหน้าที่สื่อ” ของสื่อมวลชนไทย ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการปรับตัวและเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ความขัดแย้งมาก ยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการรายงานข้อมูลข่าวสารได้อย่างครบถ้วน รอบด้านไปสู่สาธารณชน และยึดมั่นให้หลักของจริยธรรมวิชาชีพด้วย

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

www.tja.or.th

31 ธันวาคม 2553