WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 29, 2010

โอกาสรัฐประหาร โดย กาหลิบ

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เรียบเรียงโดย Nangfa




เมืองไทยหรือเมืองใคร?

เรื่อง โอกาสรัฐประหาร

โดย กาหลิบ



มีผู้คนที่วิตกกังวลถามเสมอว่าจะเกิดการยึดอำนาจในเมืองไทย แบบที่เรียกว่า
รัฐประหารกันอีกหรือไม่ในเร็ววันนี้


สังเกตจากสีหน้าท่าทางของผู้ถาม ยากที่จะบอกว่า

ถามเพราะอยากให้เกิดหรือกลัวว่าจะเกิดขึ้นกันแน่

เอาเป็นว่ามวลชนจำนวนไม่น้อยยังคงคิดว่าการรัฐประหารโดยฝ่ายเขา
(ฝ่ายประชาธิปไตยขาดเครื่องมืออันจำเป็นที่จะทำในขณะนี้)
จะทำให้สมการการเมืองเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงอีกครั้ง
และอย่างน่ากังวลห่วงใย
จนอาจทำให้เกิดสภาพที่คาดเดาไม่ได้อีกต่อไปว่าอะไรจะตามมาในฐานะผลกระทบ


มาลองวิเคราะห์กันสักหน่อยเป็นไร


อำนาจด้านกายภาพของการรัฐประหาร
อยู่ในมือของผู้บัญชาการทหารบกเป็นส่วนใหญ่
เพราะองค์ประกอบอันจำเป็นต่อการรัฐประหารจนกระทั่งทุกวันนี้ คือ
กำลังทหารราบและยุทโธปกรณ์ทางบกมากกว่าอย่างอื่น
ศักยภาพในการยึดเมืองของกองทัพบกจึงสูงกว่า
กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ตำรวจ
และแม้กระทั่งหน่วยทหารพิเศษ อย่างเทียบกันมิได้
ยิ่งทหารในหน่วยสงครามพิเศษของไทยขึ้นอยู่กับกองทัพบกอย่างนี้ด้วยแล้ว
ก็ไม่ต้องสงสัยว่าหน่วยงานอื่นๆ จะยึดอำนาจรัฐได้ด้วยกำลัง


แต่ปัญหาคือความอยู่รอดหลังการรัฐประหารนั่นเอง
โดยเฉพาะเมื่อเอา “ชนะ” ได้ด้วยกำลัง
จนสามารถเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้สำเร็จสมดังเจตนา
ผู้บัญชาการทหารบกคนที่เข้ายึดอำนาจจะอยู่รอดเป็นผู้เป็นคนกับเขาได้หรือไม่
โดยเฉพาะเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งแล้ว

อย่างกรณี พลเอกสุจินดา คราประยูร
ที่ยึดอำนาจได้อย่างราบคาบด้วยอำนาจของผู้บัญชาการทหารบก
แต่ร่วงจากอำนาจเมื่อเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อมีอำนาจที่เหนือกว่า สูงกว่า มากระชากพรมใต้เท้าออกอย่างฉับพลันทันที
จนพ่ายแพ้อย่างชนิดเอาตัวแทบไม่รอด

หรืออย่าง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ที่ยึดอำนาจแล้วก็รีบโกยเงินสร้างความมั่งคั่ง
แล้วหาบันไดลงด้วยการตั้งพรรคการเมืองมารองรับ
และสร้างอำนาจต่อรองน้อยๆ ของตนขึ้นมา
ทั้งที่เคยยึดอำนาจเบ็ดเสร็จเอาไว้แล้วทั้งเมือง
ไม่น่าจะจำเป็นต้องอยู่ในสภาพดิ้นรนเอาตัวรอดเลย

เรื่องเหล่านี้ย้ำความเข้าใจว่า
อำนาจในการรัฐประหารเมืองไทยไม่ได้อยู่ในมือผู้บัญชาการทหารบกอย่างที่รับเชื่อกันต่อมาเลย
ผู้บัญชาการทหารเป็นเพียงหัวหน้าชุดปฏิบัติการเท่านั้น
อำนาจล้นฟ้าที่สามารถบิดผันเจตนาของมวลชนประชาธิปไตย
ได้ทั้งประเทศเป็นอำนาจที่เหนือกว่าผู้บัญชาการทหารบก


ซึ่งเป็นอำนาจเหนือระบบ และเป็นอำนาจในระดับระบอบ


คำถามต่อโอกาสในการรัฐประหารจึงต้องตั้งกับคนบางคนที่มีอำนาจในระดับนั้น
ซึ่งเราพอคาดเดาคำตอบกันได้ว่า ขึ้นอยู่กับความคิดและความเชื่อของเขาคนนั้น
ข้อพิจารณาคือ เขาและครอบครัวจะอยู่รอดปลอดภัย
จากการรุกคืบเข้ามาของฝ่ายประชาธิปไตยหรือไม่
ถ้ารู้สึกว่า ไม่ได้ หรือ ไม่พร้อมเสี่ยง เขาก็จะกดปุ่มรัฐประหารในทันทีโดยไม่รั้งรอ


เพราะฉะนั้น บวกความล่มสลายของการปรองดองสมานฉันท์
ปฏิกิริยาของมวลชนส่วนใหญ่ขึ้นทุกทีต่อคณะบุคคล
ที่เคยเป็นที่สถิตของความดีและความงาม
เข้ากับความอมตะ (ไม่ตาย) ของขบวนประชาธิปไตย
ก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาว่า
สถานการณ์ปัจจุบันมีความเสี่ยงสูงเกินไปสำหรับชนชั้นนำในเมืองไทย


ล้วนชี้ไปสู่การตัดสินใจสั่งรัฐประหารทั้งนั้น


ใครถามตื้นๆ ง่ายๆ ว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ฯ เป็นของเขา
เหตุใดเขาจึงจะสั่งทำลายลงเสียเล่า
น่าจะถนอมรักษาไว้เป็นข้าช่วงใช้ทางการเมืองมิใช่หรือ?


ก็ตอบได้ทันทีว่า
การรัฐประหารแต่ละครั้งมิได้เกิดขึ้นเพื่อทำลายรัฐบาลเพียงชุดเดียวหรือคณะเดียว
แต่เป็นการล้างไพ่ทั้งระบบแล้วสอดใส่ระบบใหม่เข้าไป
เพื่อรักษาระบอบใหญ่ไว้ต่างหาก คนในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เป็นพวกตนนั้น
ก็ค่อยหาตำแหน่งหน้าที่ที่เป็นบำเหน็จรางวัลตอบแทนกันไป
เหมือนนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐


วันนี้ฝ่ายประชาธิปไตยต้องไม่ประมาทและระลึกอยู่เสมอว่า
เกิดรัฐประหารแล้วเราต้องทำสิ่งใดบ้าง

ซึ่งอาจเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่สุดของขบวนประชาธิปไตยไทย.



http://democracy100percent.blogspot.com/2010/12/blog-post_28.html