ที่มา Voice TV
ประเทศไทยขยับขีดความสามารถในการแข่งขันขึ้นหนึ่งอันดับ รั้งที่ 38 ของโลก หลังจากร่วงต่อเนื่องตลอด 6 ปีที่ผ่านมา
เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของไทย ในอันดับที่ 38 ขณะสวิทเซอร์แลนด์มาเป็นอันดับที่ 1 ตามด้วยสิงคโปร์ และฟินแลนด์
ดับเบิลยูอีเอฟ ระบุว่า แม้ประเทศไทยได้เลื่อนอันดับในการประเมินประจำปีนี้ แต่ไทยยังคงเผชิญข้อท้าทายต่อขีดความสามารถในการแข่งขันหลายประการ
รายงานชื่อ Global Competitiveness Report 2012-2013 ชิ้นนี้ ชี้ว่า "ความไร้เสถียรภาพทางนโยบายและทางการเมือง, ระบบราชการที่มากด้วยกฎระเบียบ, การฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างกว้างขวาง, ความวิตกด้านความมั่นคง, และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ได้บั่นทอนคุณภาพของกรอบเชิงสถาบัน ที่ภาคธุรกิจต้องการอย่างมาก"
ในแง่ของสถาบัน อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยได้ตกลง 10 อันดับไปอยู่ที่อันดับ 77 ขณะที่ขีดความสามารถด้านสาธารณสุขที่อันดับ 71 และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่อันดับ 89 นั้น ถือว่ายังเป็นจุดอ่อนในขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
ระดับเทคโนโลยีของไทย ที่อันดับ 84 ก็ยังนับว่าไม่ดี และภาคธุรกิจยังมีความกังวลในเรื่องความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลมากที่สุด ตามด้วยปัญหาคอรัปชั่น และความไร้เสถียรภาพของนโยบาย
สำหรับในด้านบวกนั้น บรรยากาศของเศรษฐกิจมหภาคนับว่ากระเตื้องขึ้น และไทยยังได้อันดับค่อนข้างดีในด้านการคุ้มครองนักลงทุน, ขนาดของตลาดสินค้าต่างประเทศ, คุณภาพของซัพพลายเออร์, การพัฒนาการรวมกลุ่มวิสาหกิจ และห่วงโซ่คุณค่า (value chains)
Source : www.weforum.org; Reuters (image)
เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของไทย ในอันดับที่ 38 ขณะสวิทเซอร์แลนด์มาเป็นอันดับที่ 1 ตามด้วยสิงคโปร์ และฟินแลนด์
ดับเบิลยูอีเอฟ ระบุว่า แม้ประเทศไทยได้เลื่อนอันดับในการประเมินประจำปีนี้ แต่ไทยยังคงเผชิญข้อท้าทายต่อขีดความสามารถในการแข่งขันหลายประการ
รายงานชื่อ Global Competitiveness Report 2012-2013 ชิ้นนี้ ชี้ว่า "ความไร้เสถียรภาพทางนโยบายและทางการเมือง, ระบบราชการที่มากด้วยกฎระเบียบ, การฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างกว้างขวาง, ความวิตกด้านความมั่นคง, และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ได้บั่นทอนคุณภาพของกรอบเชิงสถาบัน ที่ภาคธุรกิจต้องการอย่างมาก"
ในแง่ของสถาบัน อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยได้ตกลง 10 อันดับไปอยู่ที่อันดับ 77 ขณะที่ขีดความสามารถด้านสาธารณสุขที่อันดับ 71 และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่อันดับ 89 นั้น ถือว่ายังเป็นจุดอ่อนในขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
ระดับเทคโนโลยีของไทย ที่อันดับ 84 ก็ยังนับว่าไม่ดี และภาคธุรกิจยังมีความกังวลในเรื่องความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลมากที่สุด ตามด้วยปัญหาคอรัปชั่น และความไร้เสถียรภาพของนโยบาย
สำหรับในด้านบวกนั้น บรรยากาศของเศรษฐกิจมหภาคนับว่ากระเตื้องขึ้น และไทยยังได้อันดับค่อนข้างดีในด้านการคุ้มครองนักลงทุน, ขนาดของตลาดสินค้าต่างประเทศ, คุณภาพของซัพพลายเออร์, การพัฒนาการรวมกลุ่มวิสาหกิจ และห่วงโซ่คุณค่า (value chains)
Source : www.weforum.org; Reuters (image)
by
sathitm
6 กันยายน 2555 เวลา 20:17 น.