WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, January 17, 2010

สมศักดิ์เจียมฯ:ส่งสารถึงทักษิณ-3เกลอ-จักรภพ

ที่มา Thai E-News


โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา กระดานสนทนาฟ้าเดียวกัน
16 มกราคม 2553

ผมอยากสื่อสารถึงบรรดาคนที่เชียร์ทักษิณ (ผมหมายถึงเชียร์จริงๆ ผมไม่ได้เชียร์ แต่ผม defend) ถึงคุณทักษิณ หรือบรรดา ทแกล้วทหารของคุณทักษิณได้ยิ่งดี (3 เกลอ, จักรภพ ฯลฯ)

ผมนึกถึงประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งเสมอ คือ อันที่จริง ฝ่ายทักษิณนั้น ถ้าพูดในเชิงหลักการเรื่องกฎหมาย เรื่องกระบวนการยุติธรรมนั้น เป็นฝ่ายที่ยืนบนความถูกต้อง เหนือกว่า ได้เปรียบกว่าชัดๆ ไม่มีทางที่พวกเชียร์ รัฐประหาร จะสามารถ อ้างหลักการทางกฎหมาย มาเถียงได้จริงๆเลย

แต่ทำไม ที่ผ่านมา กลับกลายเป็นว่า โดยเฉพาะในหมู่ "คนชั้นกลาง" หรือ "ผู้มีการศึกษา" (ไม่ต้องพูดถึงบรรดา อาจารย์คณะนิติศสาสตร์ทั้งหลาย) ฝ่ายทักษิณ กลับตกเป็น "ฝ่ายรับ" หรือ "เสียเปรียบ" ในการเถียง เหมือนกับว่า ต้องเป็น "ผู้ต้องหา" ที่ต้องคอยมา defend ตัวเองตลอดเวลา? ("หนีกระบวนการยุติธรรม", "ทำเพื่อล้มคดีที่เป็นการกระทำเพื่อตัวบุคคล" ฯลฯ)

แน่นอน พวกคุณอาจจะอ้างเหตุผลทำนอง ความเลว ของบรรดา อ.นิติ นักวิชาการ สื่อ ของ "คนชั้นกลาง" ทั่วๆไป ซึ่งผมก็เห็นว่า มีส่วนถูกอยู่

แต่สิ่งที่ผมคิดมาตลอดมากๆคือ เป็นไปได้ไหมว่า ส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ของการที่ตกเป็น "ฝ่ายรับ" ตลอดเวลา ในเรื่องที่ จริงๆแล้ว ตัวเอง ควรอยู่ในฐานะเหนือกว่า มาจากจุดอ่อน ของทักษิณและบรรดา ทแกล้วทหาร เอง??

ที่เห็นได้ชัดๆ คือ ไม่มีคนทีสามารถ articulate (เรียบเรียงนำเสนอ) ประเด็นในลักษณะที่จะสามารถใช้ตอบโต้กับพวก อ.นิติ นักวิชาการ สื่อ ได้อย่างได้ผล

ก็อยากฝากให้ไปคิดกันดูนะ

พูดจริงๆ ผมว่า ในด้าน การ "ทำงานการเมืองสมัยใหม่" ในเชิง ประชาสัมพันธ์ นำเสนอในลักษณะที่ถกเถียงเชิงกฎหมาย การเมือง ผมว่า ค่ายทักษิณ ยังอ่อนมาก

ตอนถวายฎีกา มีหลายคนในพวกคุณโกรธผมหัวฟัดหัวเหวี่ยง ถ้าลองคิดย้อนหลังดูจริงๆ ที่ผมพยายามบอกอย่างหนึ่งคือ การให้เหตุผลของพวกคุณมันอยู่ในระดับที่ไม่ไหวจริงๆ ในเชิงเหตุผลทางกฎหมาย ฯลฯ มันโต้พวกบวรศักดิ์ ฯลฯ ไม่ได้จริงๆ

*สมศักดิ์โต้สุรวิชช์เวบผู้จัดการกรณีบทความนิรโทษกรรมนช.แม้ว

บทความของสุรวิชช์ เขียนมายืดยาว หัวใจจริงๆ อยู่ที่ย่อหน้านี้

ผมคิดว่า ประเด็น “รัฏฐาธิปัตย์” ของคณะรัฐประหารเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงแยกออกจากกรณีของทักษิณ เพราะมันชัดเจนอยู่แล้วว่า ทักษิณกระทำ “ความผิดต่อแผ่นดิน” ที่เกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร และไม่มีอะไรปรากฏเลยว่า การพิจารณาคดีความดังกล่าวอยู่นอกกรอบของการพิจารณาคดีตามขั้นตอนปกติของกระบวนยุติธรรมหรือใช้อำนาจของคณะรัฐประหารเข้าไปสั่งการแทรกแซงการพิจารณาคดี



ย่อหน้านี้ ผิดจังๆ และทำให้อื่นๆที่เขียนมายืดยาว ผิดหมด ไม่มีความหมายเลย

ทำไม ประเด็น "รัฎฐาธิปัตย์" ของคณะรัฐประหาร จะ "ต้องถกเถียงแยกออกจากกรณีทักษิณ" นะครับ? สุรวิชช์ อ้างว่า "เพราะ..ทักษิณกระทำ "ความผิดต่อแผ่นดิน" ที่เกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร"

ไม่ทราบเอาเหตุผลหรือตรรกะทางกฎหมายอะไรมาใช้ครับนี่? การกระทำที่เข้าข่ายว่าจะเป็นความผิด ให้ดำเนินการทางกฎหมายได้ ล้วนต้องเป็นการกระทำ หรือ "ความผิด" ทีเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการดำเนินการทางกฎหมายทั้งนั้นอยู่แล้ว ดังนั้น ปัญหาจึงอยู่ทีว่า การดำเนินการทางกฎหมายนั้น เป็นไปอย่างเหมาะสม (due process) หรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น การกระทำ A เกิดขึ้น ในขณะที่ อัยการ (ก) เป็นอัยการ อัยการ (ก) เห็นว่าไม่น่าจะสั่งฟ้อง ต่อมามีการเปลี่ยนตัวอัยการเป็น อัยการ (ข) อัยการ (ข) มีความเห็นว่าน่าจะสั่งฟ้องได้ มีการดำเนินการสั่งฟ้องขึ้นศาล ฯลฯ

ปัญหาจึงอยู่ที่กระบวนการของการฟ้อง (ไม่ใช่อยู่ที่ว่า เป็นการกระทำก่อนการดำเนินการ) ตั้งแต่ว่า การเปลี่ยนจาก อัยการ (ก) มาเป็น (ข) เป็นการเปลี่ยนปกติ เป็นไปตามกระบวนการที่เหมาะสมหรือไม่ (เช่น อัยการ ก เกษียณอายุ ลาออก ฯลฯ ตามปกติ หรือกระทั่ง ถ้าถูกเปลี่ยนตัว อยู่ในกระบวนการเปลี่ยนตามปกติที่มีระเบียบอยู่หรือไม่) และ อัยการ (ข) ที่มีความเห็นว่า น่าจะฟ้องได้ ได้ปฏิบัติตามกระบวนการที่เหมาะสมหรือไม่ เช่น ไมใช่ว่า อัยการ (ข) ที่เปลี่ยนความเห็น เพราะไปหาวิธีสร้างหลักฐานเท็จได้ เป็นต้น

สรุปแล้ว ปัญหาว่า การกระทำนั้น เกิดก่อนที่จะมีการดำเนินการตามกฎหมาย (สอบสวน ฟ้อง ขึ้นศาล) ไม่ใช่ประเด็นเลย ประเด็นอยู่ที่ว่า การดำเนินการตามกฎหมายนั้น เข้าข่าย due process หรือไม่ต่างหาก ดังที่ผมยืนยันนั้นเอง

ที่ผมเพิ่งยกตัวอย่าง "สมมุติ" นั้น ความจริง ไมใช่เรื่องสมมุติเลย มีกรณีจริงๆ ที่สำคัญมาก คือ กรณีสวรรคตในหลวงอานันท์นี่แหละ

สมัยรัฐบาลปรีดี-ธำรง ไม่ได้มีการตั้งข้อหาใคร ไม่ได้มีการดำเนินการถึงขั้นที่มีการจับใคร แต่พอพวก royalists ทำรัฐประหาร ก็จัดแจง ตั้งคนของตัวเองทีเป็นศัตรูกับปรีดี (พระพินิจชนคดี) มาดำเนินการ แล้วก็ยัดเยียดข้อหาให้ ชิต บุศย์ เฉลียว พร้อมกับกล่าวหา ปรีดี และวัชรชัย พร้อมกันไปด้วย (แม้ว่าในทางดำเนินคดีในศาล ไม่สามารถเอา 2 คนนี้เป็นจำเลยได้ แต่คำฟ้อง โดยตลอด อิงอยู่กับการกล่าวหา ปรีดี และวัชรชัย ทั้งสิ้น) ฝ่ายจำเลยที่สู้ ก็สู้ด้วยเหตุผลสำคัญอย่างที่ผมอธิบายไปนั่นแหละ ว่ากระบวนการทั้งหมด ผิดหลักยุติธรรม เพราะมาจากการรัฐประหาร ดังนั้น ควรยกเลิกคดี (ดังที่รู้กันดีว่า "กระบวนการยุติธรรม" ในขณะนั้น ไม่ยอมทำตามคำประท้วงของจำเลยนี้ และเล่นงานจำเลยจนถึงที่สุด)

วิธีให้เหตุผลของสุรวิชช์ข้างต้น ความจริง ก็คือวิธีให้เหตุผลแบบสีข้างเข้าถูกของพวกรัฐประหาร 2490 ทีใช้เล่นงานปรีดี ในคดีสวรรคตนั่นเอง อันที่จริง ในประโยคทีสุรวิชช์เขียนว่า
".. เพราะมันชัดเจนอยู่แล้วว่า ทักษิณกระทำ “ความผิดต่อแผ่นดิน” ที่เกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร ..."
ก็สามารถใช้คำแทนที่ว่า
"...เพราะมันชัดเจนอยู่แล้วว่า ปรีดี นายชิต นายบุศย์ นายเฉลียว กระทำ “ความผิดต่อแผ่นดิน” ที่เกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร .."


ซึ่งจนถึง พ.ศ. นี้ วิญญูชน ควรจะรู้กันหมดแล้วว่า การกระทำ ที่ ปรีดี ชิต บุศย์ เฉลียว ถูกกล่าวหาในกรณีสวรรคตนั้น "เกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร" หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นเลย ประเด็นอยูที่ การดำเนินการที่นำไปสู่การจับ ชิต เฉลียว บุศย์ และกล่าวหาปรีดี ที่มาจากการรัฐประหารต่างหาก ที่ไมชอบธรรมตั้งแต่ต้น

2. "ไม่มีอะไรปรากฏเลยว่า การพิจารณาคดีความดังกล่าวอยู่นอกกรอบของการพิจารณาคดีตามขั้นตอนปกติของกระบวนยุติธรรม"


สุรวิชช์ เอาอะไรที่ไหนมามั่ว? กระบวนการยุติธรม คือกระบวนการที่ให้อำนาจแก่ผู้ที่มีความชอบธรรมที่จะมีอำนาจนั้นในการดำเนินการบังคับกฎหมาย ไมใช่เฉพาะศาล แต่รวมถึงคนที่ริเริ่มคดีทั้งหมดตั้งแต่ต้น ตั้งแต่พนักงานสอบสวน พนักงานจับกุม พนักงานฟ้อง ฯลฯ

กรณีทักษิณ คนที่ริเริ่มคดีทั้งหมด คือ คมช. และกรรมการที่ คมช. ตั้งขึ้น จากศัตรูการเมืองของทักษิณ - อันที่จริงเฉพาะเรื่องนี้ ก็ละเมิด due process แล้ว

แต่ต่อให้ไม่มี ศัตรูการเมืองของทักษิณโดยตรงเป็นกรรมการ ก็ยังละเมิดอยู่ดี เพราะไม่มีสิทธิในการตั้งกรรมการเลย จริงๆแล้ว ไม่มีสิทธิในอำนาจรัฐที่จะมาริเริ่มดำเนินกระบวนการ" ยุติธรรม"ใดๆ ไม่ว่าต่อทักษิณหรือต่อใครด้วยซ้ำ นี่คือการ "นอกกรอบ" - ความจริงคือ ละเมิดกรอบ - ของ "กระบวนการยุติธรรม" อย่างรุนแรงแต่ต้น

เช่นเดียวกับกรณีสวรรคตที่ผมยกตัวอย่างข้างต้น "กระบวนการ" ที่ใช้เล่นงาน 3 จำเลย เป็นกระบวนที่มาจากการรัฐประหาร ที่ไม่ชอบธรรมแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิเลยที่จะดำเนินการ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกแล้ว


อันที่จริง ถ้าถือตามหลักการ rule of law และ due process ต้องถือว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "กระบวนการยุติธรรม" หรือ "ศาลยุติธรรม" อยู่หลังการรัฐประหารเลยด้วยซ้ำ

ยกเว้นแต่ "กระบวนการยุติธรรม" และ "ศาลยุติธรรม" ทีมีอยู่ จะได้ดำเนินการสำคัญที่สุดของการเป็นองค์กรยุติธรรม คือ จับคนรัฐประหารมาดำเนินการ ถึงขั้นประหารชีวิต ในเมื่อไม่มีการดำเนินการเช่นนี้ แสดงว่า "กระบวนการยุติธรรม" ถูกทำให้ตายไปแล้วและไม่มีอยู่แล้ว มิเช่นนั้น ถ้ามี "กระบวนการยุติธรรม" อยู่จริงๆ จะปล่อยให้มีการละเมิดกฎหมายสุงสุด ที่มีโทษสูงสุดได้อย่างไรกัน?

ในเมื่อไม่มี "กระบวนการยุติธรรม" เช่นนี้ จะเอาอะไรมาพูดถึง "กระบวนการยุติธรรม" ที่ใช้ดำเนินการกับทักษิณ?