WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 18, 2010

ที่จริงการต่อสู้ระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยมคือ สู้กันเรื่องส่วนแบ่งเท่านั้น แต่ประเทศไทยตอนนี้คือปฏิวัติประชาธิปไตย

ที่มา thaifreenews

บทความโดย...ลูกชาวนาไทย



วันหยุดนี้ ได้มีโอกาสนัดทานอาหารเย็นเพื่อคุยสถานการณ์ทางการเมือง กับพี่ๆ หลายคน เป็นการแลกเปลี่ยนกันทางปัญญากลุ่มเล็กๆ ซึ่งสามารถวิเคราะห์เจาะลึก และมีการแลกเปลี่ยนกันได้อย่างดี เพราะสามารถตอบโต้แสดงความคิดของตนได้ทั้งสองทาง ซึ่งช่วงหลังๆ ผมชอบพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะกับกลุ่มย่อยๆ นี้มาก เพราะทำให้ได้มีโอกาสเจาะลึกลงในแนวคิดได้มากขึ้น

มีพี่คนหนึ่งที่เป็นนักธุรกิจ (ไม่ทราบกี่ร้อยล้าน) ให้ทัศนะว่า เขาเคยแลกเปลี่ยนกับนักธุรกิจต่างชาติด้วยกัน ซึ่งได้ข้อสรุปว่า อันที่จริงการต่อสู้กันทางสังคมในประเทศตะวันตกหรือในโลกทุกวันนี้ เป็นการสู้กันระหว่างชนชั้นแรงงาน กับนายทุนในเรื่องส่วนแบ่งเท่านั้น ว่า ใครควรจะได้เท่าไหร่ หากนายทุนเอาไปมากเกินไป กรรมกรก็ไม่พอกินและอดอยาก ก็จะเกิดการปฏิวัติ แต่หากนายทุนได้น้อยเกินไป ไม่พอที่จะเป็นแรงจูงใจให้มีการลงทุนใหม่ ขยายงานธุรกิจต่างๆ แรงจูงใจก็ไม่มี กรรมกรก็จะตกงานว่างงานและอดอยากอีกเช่นกัน ดังนั้น ส่วนแบ่งที่พอดี จึงเป็นสิ่งจำเป็น ปัญหาคือว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า "ส่วนแบ่งมันพอดีแล้ว"




ที่จริงปัญหานี้ไม่มีใครรู้ ไม่ว่าเป็นนายทุนหรือกรรมกร เพราะทุกคนก็อยากเอามากที่สุด

ซึ่งในที่สุดแล้วกลไกของสังคมก็จะเป็นตัวจัดการ หากให้ประชาชน มี "อำนาจในการเลือก และตัดสินใจอย่างเสรี พวกเขาก็จะเลือกจุดที่เหมาะสมได้เอง ซึ่งสังคมนั้นก็คือ "สังคมประชาธิปไตย" นั่นเอง สังคมที่เป็นเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการของกรรมาชีพ แบบคอมมิวนิสต์ หรือ เผด็จการของนายทุนแบบ Fascist ต่างก็ไม่อาจแก้ไขปัญหานี้ได้ สหภาพโซเวียตเป็นตัวอย่างของความล้มเหลวของเผด็จการกรรมาชีพ ส่วนเผด็จการของนายทุนคืออิตาลี และเยอรมนีสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

มีแนวโน้มว่า สังคมประชาธิปไตย จะสามารถจัดสรรส่วนแบ่งเหล่านี้ได้อย่างเป็นธรรม เหมือนยุโรปตะวันตกปัจจุบัน

รูปธรรมก็คือ รัฐสวัสดิการต่างๆ นั่นเอง หากรัฐให้สวัสดิการมากไป สังคมก็จะมี "Free Raider" หรือพวกที่ไม่ทำงานแต่เกาะแรงคนอื่นจำนวนมาก การผลิตก็ตกลง ความมั่งคั่งก็ลดลง สุดท้ายเศรษฐกิจก็ไม่เติบโตเพียงพอที่จะสามารถเลี้ยงดูพลเมืองใหม่ๆ ที่เติบโตขึ้นมาได้

แต่หากให้สวัสดิการน้อยไป ก็จะมีคนอดอยากหิวโหย คนอดตายข้างถนน ยุโรปตะวันตก เช่นอังกฤษ เคยให้สวัสดิการมากมาย จนอังกฤษกลายเป็น "สิงโตป่วยแห่งยุโรป" มาถึงยุคแธ็ตเชอร์ ก็ตัดสวัสดิการต่างๆ ลงมาก จนอังกฤษฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งสังคมก็คงวนเวียนอยู่กับการ "ปรับส่วนแบ่งที่เหมาะสมนี้" ซึ่งสังคมจะทราบเองว่าเมื่อใด มากไป เมื่อใดน้อยไป

สำหรับประเทศไทย ผมคิดว่า เรายังต่อสู้เพื่อ "ปฏิวัติประชาธิปไตย" จากพวก "ศักดินาอำมาตยาธิปไตย" หรือพวกที่ "มีอำนาจในสังคม" โดยไม่ได้เป็นผู้ผลิต ไม่ได้เป็นนายทุน ไม่ได้เป็นผู้ใช้แรงงาน แต่เป็น "พวกที่กินหัวคิว" มีอำนาจจาก ระบอบเดิม และความเชื่อของสังคมที่คิดว่า "คนกลุ่มนี้เป็นชนกลุ่มพิเศษ" สมควรได้รับการกราบไหว้บูชา และเป็นผู้ปกครอง กินหัวคิว

เรายังไม่ถึงขั้นที่กรรมกรกับนายทุนจะแบ่งกันเท่าไหร่ (ก็มีบ้างแล้วเพราะเราเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมเกือบครึ่งแล้ว)

วันนี้ภารกิจทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทยคือ การปฏิวัติประชาธิปไตย ให้อำนาจมาอยู่กับประชาชน เอาพวก "กินหัวคิว" โดยไม่ได้ผลิตหรือลงทุนออกไปจากอำนาจ

นอกจากไม่ได้เป็นผู้ผลิต หรือคนลงทุน แล้วพวกนี้ก็ยังไม่ได้เป็น เทคโนแครท หรือ "ผู้มีความรู้" เสียด้วย กลายเป็นกินหัวคิว เพราะพวกเขาบอกเราว่า พวกเขาเป็นผู้วิเศษ มีคุณธรรมเลอเลิศ (แต่ก็เอาป่าสงวนมาสร้างบ้าน) เราก็เชื่อพวกเขาเอง

ผมคิดว่า หลังจากคาลมาร์ก วิเคราะห์สังคมแบบวิทยาศาสตร์แล้ว เรื่อง นายทุน กับกรรมกร นักคิดคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย ที่เห็นสังคมที่ไม่เป็นธรรม และ "นายทุนยุคนั้น" ขูดรีดเอาส่วนแบ่งไปแทบหมด กรรมกรอดอยากไม่ได้อะไรเลย ก็เลยคิดระบบ ที่ "ตัดนายทุนออกไป "คือระบบคอมมิวนิสต์" ที่ตัดนายทุนออกไปจากกระบวนการผลิต

เมื่อตัดนายทุนออกไปแล้ว สังคมก็ยังคงต้องมีคนตัดสินใจว่า ควรผลิตสินค้าอะไร ปริมาณเท่าไหร่ ให้ใครเป็นผู้บริโภค คอมมิวนิสต์จึงต้องมี "นักวางแผน" Planner จึงเกิดแนวคิดทางเศรษฐกิจแบบ "การวางแผนจากส่วนกลาง" ขึ้น



ผมคิดว่านักคิดในช่วงเวลานั้น ก็คงคิดว่านี้คือ Solution ที่สมบูรณ์แล้ว เพราะนักวางแผน ไม่ใช่นายทุน ก็คงไม่ขูดรีด เป็นการแก้ปัญหาที่สมบูรณ์ แต่เวลานั้น ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าผลมันจะออกมาเป็นอย่างไร สุดท้าย ก็เกิดสหภาพโซเวียตขึ้น คือการทดลองครั้งใหญ่ทางสังคม

ผลก็อย่างที่เราเห็น โซเวียตอดอยาก ขาดแรงจูงใจในการผลิต สังคมถดถอย

สิ่งที่ "นักวางแผน" ไม่มีคือ "ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์" แรงจูงใจ แบบที่นายทุนมี ทำให้สุดท้าย พวกเขาก็ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ

สังคมตะวันตก นายทุนเกิดกลัวปฏิวัติประชาชน ก็เลย "สร้างรัฐสวัสดิการ" ขึ้นมา พูดตามแนวคิดของพี่ที่ผมกล่าวข้างต้น คือ "ให้ส่วนแบ่งกรรมกรมากขึ้น" นั่นเอง เมื่อกรรมกรได้ส่วนแบ่งมากขึ้น ชีวิตไม่อดอยาก สังคมก็เข้าสู่ความสมดุลขึ้น

มีความสมดุลระหว่าง กรรมกร กับนายทุน ทำให้สังคมตะวันตกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วแล้วก้าวหน้า ไม่มีคนอดอยาก อดตาย (คงมีอดพอประมาณสำหรับพวกขี้เกียจ)

สรุปแล้ว "ส่วนแบ่งที่เป็นธรรม" จึงน่าจะเป็นสิ่งที่แก้ไขปัญหาของสังคม

แต่ทุกวันนี้แม้โลกทุนนิยม นักเศรษฐศาสตร์เขาก้าวไปไกลกว่านั้น เขาลดการวิเคราะห์เหลือเพียง "กลไกตลาด" หรือ market mechanism เท่านั้น สิ่งที่รัฐต้องทำคือ ทำให้กลไกตลาดทำงานได้เต็มตามประสิทธิภาพ สังคมก็จะรู้ว่า จะผลิตอะไร อย่างไร นายทุนก็จะรู้ว่าเขาควรลงทุนเมื่อใด เป็นต้น