WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 19, 2010

ข้าราชการไม่ว่าปลัดกระทรวงหรือตัวเล็กๆ ไม่ใช่อำมาตย์ อย่าเผยอคิดว่าตัวเองเป็น

ที่มา thaifreenews

โดย...ลูกชาวนาไทย



ศุกร์ที่แ้ล้วได้มีโอกาสคุยแลกเปลี่ยนกับกลุ่มเล็ก ๆ อย่างที่เคยบอก ผมได้ข้อสรุปร่วมกันว่า "ข้าราชการ" ไม่ใช่อำมาตย์ครับ แม้ว่าจะคิดว่าตัวเองเป็นอำมาตย์ แต่โดยนิยามแล้วไม่ใช่ เป็นแค่พวกเผลอคิดว่าตัวเองเป็นอำมาตย์เท่านั้น

คำนิยามของอำมาตยาธิปไตย คือ "กลุ่มคนชั้นนำที่เข้ามาใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐโดยไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง" ครับ

ที่จริงสภาขุนนางของอังกฤษหรือยุโรปในสมัยก่อนตรงตามคำนิยามของอำมาตยา ธิปไตยอย่างสมบูรณ์ครับ ภาษาอังกฤษใช้คำ่ว่า Aristocrat ซึ่งก็คือ พวกที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่บารอน ขึ้นไปจนถึง Duke ตามกฎหมาย common Law ของตตะวันตก สังคมแบ่งออกเป็นสามชนชั้นคือ ... ขุนนาง และสามัญชน โดยกฎหมายแล้ว Prince ที่เป็นลูก... ถือว่าเป็น "สามัญชน" ด้วยซ้ำ ยกเว้นได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนนาง เช่น Duke of York (เจ้าชายแอนดรูว์) สมัยก่อนอังกฤษมีแต่สภาขุนนางเท่านั้น ที่มีอำนาจ พวกนี้ได้ตำแหน่งโดยการสืบตระกูล แต่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

ส่วนข้าราชการ พนักงานของรัฐ หรือ Civil service เป็นลูกจ้างตามกระทรวงทบวงกรมในระบบการบริหารงานสมัยใหม่ของยุโรป ไม่ได้อยู่ในสภาขุนนาง ไม่มีสิทธิ์ออกกฎหมาย หรืออะไรก็ตาม พวกนี้ไม่ได้ถือเป็น "อำมาตย์" แต่อย่างใด

ส่วนประเทศไทยที่จริงแล้วมันก้ำกึ่งกัน แต่ก็ไม่เคยมีสภาขุนนางมาก่อน ดังนั้นอำนาจอธิปไตยจึงอยู่ที่...หมด หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจึงมีสภาต่างๆ

ของไทยเราตอนนี้หากวิเคราะห์แบบหยาบๆ พวกอำมาตย์คือ องคมนตรีและพวกที่เข้าใกล้ชิดกับการใช้อำนาจของ...ต่างๆ แต่ไม่ใช้ "ข้าราชการทั่วไป" ตามกระทรวงทบวงกรม" ต่างๆ ซึ่งข้าราชการพวกนี้ก็ไม่ได้ต่างจาก "พนักงานบริษัทมากมายนัก" เพียงแต่สวัสดิการอาจดีกว่า เพราะงานมั่นคงนั่นเอง

เราอาจรวมทหารใหญ่ๆ ที่มีอำนาจแฝงทางการเมืองว่าเป็น "อำมาตย์" ด้วย หรือกลุ่มพวกองค์กรอิสระต่างๆ พวกนี้ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งและใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ แต่ทหารเล็กๆ ธรรมดาก็แค่เป็นลูกจ้างหน้าที่ป้องกันประเทศเท่านั้น

ส่วนข้าราชพวกที่เบ่ง ก็แค่ได้รัศมีของอำมาตย์มาเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่แต่อย่างใด

ใครจะมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมก็ยินดีครับ

ที่จริงพวกข้าราชการมีรายได้จากภาษีประชาชน จึงเรียกว่าลูกจ้างของประชาชน และต้องรับใช้ประชาชนนั่นแหละถึงจะถูกต้องตามทำนองครองธรรม และความชอบธรรมทั้งหลาย

อำนาจอธิปไตยของรัฐในสมัยใหม่แบ่งออกเ้ป็นสามอำนาจที่เรารู้กันดีคือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ซึ่งตามหลักสากลแล้ว และ "หลักธรรมนองคลองธรรม" แล้ว ต้องมาจากประชาชน หรือ เชื่อมโยงกับประชาชน ที่เป็น "เจ้าของประเทศ สมัยก่อนปฎิวัติใหญ่ฝรั่งเศส ...อาจยึดเอาอำนาจทั้งสามส่วนนี้ไปทั้งหมด อาจแบ่งบางส่วนให้ขุนนาง เมื่อขุนนางมีอำนาจมากขึ้น

แต่หลังศตวรรษที่ 18 หรือการปฎิวัติใหญ่ฝรั่งเศสแล้ว "ประชาชนได้ดึงเอาอำนาจอธิปไตย" มาเป็นของประชาชนทั้งหมด โดยใช้อำนาจผ่านผู้แทน เชื่อมโยงหรือรับรองโดยผู้แทนต่างๆ

แต่ก็ยอมรับกันว่า "อำนาจตุลาการ" นั่นแยกพิเศษออกไป และมอบให้กลับกลุ่มคนอาชีพหนึ่ง แต่ต้องเป็น "อำนาจตุลาการ" ในการตัดสินคดีความตามกฎหมายเท่านั้น ไม่ใช่ "ข้ามเส้นมาใช้อำนาจทางการเมือง" แบบไทยในขณะนี้ การข้ามเส้นมา ก็กลายเป็น "อำมาตยาิธิปไตย" ไปทันที เพราะใช้อำนาจทางการเมือง โดยไม่ได้ผ่านเจ้าของคือ ประชาชนยินยอม

ตุลาการไทยจึงเป็น ตุลาการวิบัติโดยแท้