ที่มา Thai E-News
นักวิชาการ นักศึกษา ประชาชน และองค์กรภาคประชาชนออกแถลงการณ์กรณีเขายายเที่ยงขององคมนตรี กับกรณีการสังหารนายสมพร พัฒนภูมิ เกษตรกรไร้ที่ทำกิน กรณีสปก.สุราษฎร์ธานี พร้อมยื่นข้อเรียกร้อง 5 ข้อ
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
20 มกราคม 2553
จดหมายเปิดผนึกถึงสังคมไทย:กรณีปัญหาที่ดินเขายายเที่ยงของอดีตนายกรัฐมนตรี กับ กรณีการสังหารคนจนไร้ที่ดิน จ.สุราษฎร์ธานี
การต่อสู้ของ”คนเสื้อแดง” ต่อการยึดครองพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติของอดีตนายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ได้เปิดโปงให้สังคมไทยได้รับรู้ถึงความพิกลพิการและเลือกปฏิบัติของกฎหมายไทยอันน่าอดสู
ในขณะที่เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ต่อการกระทำของผู้มีอำนาจ แต่สำหรับคนจนผู้ยากไร้ ทั้งๆที่ถูกรุกรานจากการถูกประกาศเขตป่าทับที่ทำกิน หรือได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม กลับถูกเล่นงานจากรัฐอย่างไร้ความปราณี รวมทั้งปล่อยให้มีชาวบ้านถูกคุกคามทำร้ายจากมือมืดอย่างไม่สนใจใยดี
ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวเปิดโปงกรณีอัปยศเขายายเที่ยง ตอนหัวค่ำของวันที่11 มกราคม 2553 มือปืนไม่ต่ำกว่า 2 คน ได้ระดมสาดกระสุนอาวุธสงครามเข้าใส่นาย สมพร พัฒนภูมิ อายุ 53 ปี สิ้นใจคาที่พักพิงอย่างอุกอาจ
นายสมพร เป็นหนึ่งในหลายพันคนของผู้ไร้ที่ดินในภาคใต้ ที่อยากจะมีที่ดินหาเลี้ยงชีวิต จึงได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกรณีการให้สิทธิที่ดิน สปก. 4-01 กว่า 1,000 ไร่ แก่บริษัทจิวกังจุ้ย จำกัด ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าผู้ได้รับสิทธิไม่ใช่ราษฎรยากจน แต่เป็นการแอบแฝงของนายทุน ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายปฏิรูปที่ดิน สำนักงานปฏิรูปที่ดินจึงต้องจำยอมดำเนินการฟ้องร้องบริษัทจิวกังจุ้ย จำกัด ทั้งแพ่งและอาญา ในที่สุดศาลตัดสินให้บริษัทแพ้คดี ปัจจุบันอยู่ระหว่างบริษัทยื่นอุทธรณ์
ที่ดินผืนนี้ที่นายสมพรและคนจนยากไร้ที่ดินภาคใต้ ได้เคยเสนอให้รัฐดำเนินการนำที่ดินมาให้คนจนผู้ไร้ที่ดินทำกิน แต่รัฐบาลกลับไม่มีท่าทีที่ชัดเจน และปล่อยให้ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับนายทุนเป็นไปโดยไม่สนใจที่จะช่วยถอดชนวนปัญหา
ความตายของนายสมพร ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติของรัฐ การละเลย แม้กระทั่งเพิกเฉยที่จะสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม
เราในฐานะประชาชนและองค์กรที่มีรายชื่อ มีข้อเสนอดังนี้ คือ
1 กรณีปัญหาเขายายเที่ยง รัฐบาลต้องผลักดันให้มีการดำเนินการตามกฎหมายกับพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและองค์มนตรี เหมือนเช่นที่บังคับใช้กับประชาชนทั่วไปอย่างไม่ยกเว้น
2 กรณีการสังหารนายสมพร พัฒนภูมิ ผู้ไร้ที่ดิน จ. สุราษฎรธานี รัฐบาลต้องดำเนินการจับกุมคนร้าย และกลุ่มอิทธิพลผู้อยู่เบื้องโดยเร็วที่สุด ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะใกล้ชิดกับนักการเมืองหรือผู้ทรงอำนาจฝ่ายใดก็ตาม
3 รัฐต้องดำเนินการยกที่ดินสปก.4-01 ในพื้นที่ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ให้กับเกษตรกรผู้ไร้ที่ดิน มิใช่นายทุนหรือบริษัทที่มิใช่เกษตรกร และไม่ควรซื้อเวลาโดยไม่ดำเนินการให้ลุล่วง ดังเช่นที่เป็นมา จนนำมาสู่การสังหารนายสมพร ทั้งๆที่ศาลก็พิพากษาแล้วว่าที่ดินผืนนี้ได้มาโดยมิชอบตามกฎหมาย
4 รัฐต้องดำเนินการปฏิรูปกฎหมายป่าไม้ทุกฉบับ โดยยึดหลักการแนวทางการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพื่อความเป็นธรรมในสังคม และมิใช่เพื่อกลุ่มอภิสิทธิ์ชน กลุ่มนายทุนอิทธิพล ตลอดทั้งให้ประชาชนผู้ยากไร้เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆด้วย
5 รัฐต้องดำเนินการปฏิรูปที่ดิน โดยการกระจายการถือครอง เปิดเผยข้อมูลการถือครองที่ดิน เพื่อความโปร่งใส และมีมาตรการเก็บภาษีก้าวหน้า มิใช่เพียงสร้างภาพอย่างที่เป็นอยู่
ด้วยความเชื่อมั่น
องค์กรและบุคคลที่ลงนามในจดหมายเปิดผนึก
บุคคล
พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่
วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จิตรา คชเดช เจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
บุญยืน สุขใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์
วิทยา อาภรณ์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ภาคประวิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผศ.อัจฉริยา เนตรเชย คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
ภควดี วีระภาสพงษ์ นักวิชาการอิสระ
สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัฒนา สุขะวัฒน์ นักคิดนักเขียนอิสระ
เนตรดาว เถาถวิล นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศิริชัย สิงห์ทิศ ผู้ประสานงานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
ศิริภาส ยมจินดา จีราภรณ์ ถนอมจิตร
สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ นศ.ปริญญาโท โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา บันทิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขวัญระวี วงศ์อุดม นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน
อุษากร เหมือนระยูร ณิชนันทน์ รังสิกุล นวรัตน์ วรกิตติ์วสุมา จิตร โพธิ์แก้ว
อรรคพล สาตุ้ม นักวิชาการอิสระ ใจ อึ้งภากรณ์
ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เทวฤทธิ์ มณีฉาย กลุ่มประกายไฟ วิภา ดาวมณี กรรมการเครือข่ายเดือนตุลา
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ ผู้แปลอิสระ
สืบสกุล กิจนุกร นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัฒนะ วรรณ องค์กรเลี้ยวซ้าย
จุมพล สังขะเกตุ
ว่าที่ร้อยตรีจิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์
เบญจมาศ ธำรงโชติ
ปารัชนันท์ ภาวัตโภควินท์
ธนากร สัมมาสาโก
สุธี พลชัย
แก้วตา เกิดดีลาภ
ชัยธวัช ตุลาธน สนพ. ฟ้าเดียวกัน
รณณรงค์ แก้วเพ็ชร์
อานันตยา เชือกรัมย์
มินตา ภณปฤณ
วิลาวรรณ เพเดอร์เซ่น
มัยรา สง่าวงศ์
นิธิวัต วรรณศิริ
ธนาวิ โชติประดิษฐ
นที สรวารี นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
วิชยุตม์ ปูชิตากร
ปฐมพร ศรีมันตะ
อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์
ปริวัฎ สุขนันทฬส
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
สิทธิพร จรดล
กล้า สมุทวณิช
Rayasuree Donavanik
Sutuch Pingsakulchai
สมชาย อุทัยสา
Kawnapa Shelley
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
Wattana Sudsakorn
ดีเจ นิก กฤษณะ
Pisan Ontama
พัชรี แซ่เอี้ยว
ปฤณ เทพนรินทร์
มธุรส ภิรมย์รักษ์
นายวรวิทย์ ไชยทอง
ปฐมพร ศรีมันตะ นิสิตชั้นปีที่2 ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Tanaporn Tornros วุฒิกร แสงรุ่งเรือง
ปกรณ์ อารีกุล
สุลักษณ์ หลำอุบล ประชาชน
นุชา วายุรกุล ปชช.
ศุภเกียรติ ศุภศักดิ์ศึกษากร
พรรัตน์ วชิราชัย
กอใจ อุ่ยวัฒนพงศ์ นักศึกษา แขนงวิชาสื่อสารการแสดง คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ประชาชน
ชุติมาภรณ์ จิตจำ นักศึกษาปริญญาโทนิติศาสตร์/ประชาชน
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ภิภัทร์ภรณ์ ทองศรี ประชาชนไทย
สมศักดิ์ ภักดิเดช ที่ปรึกษาชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
องค์กร
1.สหพันธ์นักศึกษาภาคอีสาน (สนนอ.)
2.กลุ่มนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ
3.แนวร่วมกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ(นกน)
4.กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
5.กลุ่มสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมอีสาน (กสส.)
6.เครือข่ายสืบทอดเจตนารมณ์วีรชนเดือนพฤษภาคม
7.ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือตอนล่าง
8.มูลนิธิครูทิม บุญอิ้ง
9.สถาบันการปกครองตนเองและกระจายอำนาจสู้ท้องถิ่น
10.สถาบันสร้างสรรค์ชีวิตและสังคม (LSI.)
11.เครือข่ายองค์กรชุมชนแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยภาคอีสาน (คอ.ปอ.)
12.เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน (คอส.)
13.สหพันธ์เยาวชนอีสาน (สยอ.)
14.ศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตย
15.กลุ่มประกายไฟ
16.องค์กรเลี้ยวซ้าย
17.มูลนิธิศักยภาพชุมชน
18.กลุ่มตะวันฉาย
19.นิตยสารปาจารยสาร