WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, January 17, 2010

ปัญหา “คนดีเหนือหลักการ”

ที่มา ประชาไท

มีคำที่ผมคิดว่าสำคัญและได้ยินบ่อยมากเลยในชีวิต แต่ผมไม่รู้ว่าความหมายที่แท้จริงของคำๆนั้นคืออะไร นั่นคือคำว่า “คุณธรรม” กับ “จริยธรรม”

จนวันหนึ่งผมได้มาอ่านหนังสือจริยศาสตร์ตะวันตก จึงพอจะรู้ความหมายอย่างที่จะขอแลกเปลี่ยนต่อไปนี้

“คุณธรรม” (virtue) หมายถึง บุคลิกภาพ (character) หรือนิสัย (habit) ที่ดีเลิศ (excellence) เช่น บุคลิกภาพ/นิสัยที่ดีเลิศด้านปัญญา ความกล้าหาญ ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ ความรักเพื่อนมนุษย์ ฯลฯ

คุณธรรมเกิดจากการฝึกฝนตนเอง หรือการปฏิบัติเช่นนั้นจนเป็นบุคลิกภาพหรือนิสัยที่ดีเลิศประจำตัวบุคคล เช่น คนที่มีคุณธรรมคือความยุติธรรม ได้แก่คนที่มีจิตใจรักความเป็นธรรมและประพฤติปฏิบัติตนจนเป็นที่ประจักษ์ว่า บุคคลผู้นี้มีนิสัยยุติธรรมหรือ “เป็นคนยุติธรรม” อย่างคงเส้นคงวา

ส่วน “จริยธรรม” หมายถึง หลักการ (principle) หรือ กฎ (rule) ที่มนุษย์พึงยึดถือปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน เช่น หลักจริยธรรมสากล ได้แก่หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ความยุติธรรม เป็นหลักการหรือกฎสากลที่มนุษย์พึงยึดถือปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน

จริยธรรมอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นหลักการ หรือกฎในการอยู่ร่วมกันทั้งสิ้น เช่น จริยธรรมของศาสนา (เช่นศีล 5) จริยธรรมวิชาชีพครูอาจารย์ จริยธรรมแพทย์ จริยธรรมนักการเมือง ฯลฯ

ในการตัดสินเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม เราพิจารณาที่ “ตัวบุคคล” (agent-based) โดยพิจารณาว่า เขามีบุคลิกภาพหรือนิสัยที่ดีเลิศในด้านใด ส่วนการตัดสินเรื่องจริยธรรม เราพิจารณาจาก “ตัวการกระทำ” (action-based) ว่า การกระทำนั้นๆถูก/ผิดกฎจริยธรรมอะไร

จากเกณฑ์ตัดสินทั้งสองนี้จะเห็นได้ว่า เรื่องคุณธรรมเน้นไปที่ “ปัจเจกบุคคล” คือเป็นเรื่องที่ปัจเจกบุคคลจะต้องเข้มงวดกับตัวเองในการฝึกฝนตนเองให้เป็น “คนมีคุณธรรม” หรือเป็น “คนดี” (virtuous person) สังคมไม่อาจเรียกร้องหรือบังคับให้ปัจเจกบุคคลมีคุณธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ (เช่น ให้มีปัญญา ความกล้าหาญ ความเมตตา ฯลฯ)

แต่จริยธรรมเป็นเรื่อง “สาธารณะ” หรือเป็นเรื่องที่สังคมอาจเรียกร้องปัจเจกบุคคลได้ว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎจริยธรรมเรื่องนั้นเรื่องนี้ เช่น ต้องไม่ละเมิดศีลข้อ 2 โดยการลักขโมยหรือทุจริตคอรัปชัน ต้องไม่ละเมิดจริยธรรม หรือจรรยาบรรณวิชาชีพครู แพทย์ นักการเมือง องคมนตรี ฯลฯ

ฉะนั้น สาระสำคัญของจริยธรรมจึงมีลักษณะเป็น “พันธะ” (moral obligation) หรือข้อผูกพันที่เราต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นและสังคม พูดอีกอย่างคือจริยธรรมเป็นหน้าที่ที่เราต้องปฏิบัติเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปในทางที่ปกป้องคุณค่าของมนุษย์ สิ่งที่ดีอื่นๆ เช่น สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรม และประโยชน์สุขในการอยู่ร่วมกัน

จากความหมายดังกล่าว หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “สาธารณะ” เราไม่มีหน้าที่เรียกร้อง “คนมีคุณธรรม” หรือ “คนดี” (แต่เราอาจส่งเสริมการศึกษาหรือกิจกรรมที่เอื้อต่อการที่ปัจเจกบุคคลจะมีโอกาสพัฒนาตนเองให้เป็นคนมีคุณธรรมหรือเป็นคนดี) หน้าที่ของเรา คือต้องปกป้องหลักการหรือกฎที่ถูกต้อง และเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามหลักการหรือกฎที่ถูกต้อง

แต่ในสังคมไทยกลับเกิด “ภาวะกลับหัวกลับหาง” คือ เราให้ความสำคัญกับการเรียกร้องคนมีคุณธรรมหรือคนดี เหนือกว่าการปกป้องหรือเรียกร้องให้ปฏิบัติตามหลักการหรือกฎที่ถูกต้อง หรือให้ความสำคัญกับคนมีคุณธรรมหรือคนดี ยิ่งกว่าให้ความสำคัญกับหลักการหรือกฎที่ถูกต้อง ฉะนั้น สังคมจึงยอมรับรัฐประหารที่เกิดจากคนมีคุณธรรมหรือคนดีได้ ทำให้สังคมไทยไม่อาจพ้นไปจากวงจรอุบาทว์รัฐประหารล้มประชาธิปไตยเสียที

นี่คือปัญหาที่สังคมให้ “อภิสิทธิ์” กับ “คนมีคุณธรรม” หรือ “คนดี” ให้สามารถละเมิด หรือแม้กระทั่งล้มหลักการหรือกฎที่ถูกต้องได้

นอกจากนี้การที่สังคมให้ความสำคัญกับการเรียกร้อง “คนดี” มากกว่าการเรียกร้องให้ปฏิบัติตาม “หลักการ” หรือ “กฎ” ที่ถูกต้อง ยังทำให้เกิดปัญหาเรื่อง “สองมาตรฐาน”

เพราะเมื่อเกิดข้อสงสัยเรื่องการปฏิบัติผิดกฎเดียวกันระหว่างคนที่สังคมมองว่าเป็น “คนดี” กับ “คนไม่ดี” สังคมย่อมโน้มเอียงที่จะเชื่อว่าคนดีไม่ทำ(หรือไม่มีเจตนาที่จะทำ)ผิด หรือแม้กระทั่งเห็นใจหรือเอาใจช่วยคนดีให้พ้นผิด แต่กลับเชื่อ(โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์)ว่า คน(ที่สังคมมองว่า)ไม่ดีทำผิดและเรียกร้องเร่งรัดให้นำตัวมารับผิด ทั้งที่ในทางที่ถูกแล้วคนดีและคนไม่ดีต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์การกระทำผิดกฎตามกระบวนการที่ถูกต้องโปร่งใสอย่างเสมอภาคกันทั้งสองฝ่าย

อันที่จริง โดยทั่วไปแล้วคุณธรรมกับจริยธรรมเป็นสิ่งที่สนับสนุนกัน กล่าวคือ คุณธรรมหรือบุคลิกภาพ/นิสัยที่ดีเลิศย่อมทำให้บุคคลมีความโน้มเอียงที่จะปฏิบัติตามหลักการหรือกฎที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น หลักไตรสิกขา “ศีล” คือหลักจริยธรรม ส่วน “สมาธิ” และ “ปัญญา” คือคุณธรรม คนที่ฝึกฝนให้ตนเองมีคุณธรรมคือสมาธิและปัญญาย่อมทำให้เขาเข้าใจความมุ่งหมาย เห็นคุณค่าและปฏิบัติตามหลักศีลหรือหลักจริยธรรมในการอยู่ร่วมกันทางสังคมได้อย่างยั่งยืน

เช่นเดียวกันในเรื่องจริยธรรมสากล หลักจริยธรรมสากลเป็น “จริยธรรมภาคสาธารณะ” (public morality) ในฐานะที่เป็นหลักการหรือกฎที่ถูกต้องที่สังคมพึงปกป้องและยึดถือปฏิบัติร่วมกัน ส่วน “จิตสาธารณะ” (public spirit) เป็นคุณธรรมของปัจเจกบุคคลที่ทำให้เขามีบุคลิกภาพ/นิสัยโน้มเอียงไปในทางที่จะปกป้องและยึดถือปฏิบัติตามหลักจริยธรรมภาคสาธารณะอย่างเป็นปกติ

จึงเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามว่าเป็นเพราะอะไร การสอน การศึกษาอบรม การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในบ้านเรา จึงทำให้เรื่องคุณธรรมและจริยธรรมกลายเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล เป็นเรื่องที่เน้นการสร้าง “คนมีคุณธรรม” หรือ “คนดี” แต่ให้ความสำคัญน้อยกับการทำความเข้าใจความหมาย/คุณค่าของ “หลักการ” หรือ “กฎ” ที่ถูกต้อง จนทำให้เกิดวัฒนธรรม “ยึดคนดีเหนือหลักการ” ให้อำนาจแก่คนมีคุณธรรมหรือคนดีเป็นผู้ตัดสินดี ชั่ว ถูก ผิดในสังคมแทนคนทั้งประเทศ กระทั่งให้อภิสิทธิ์แก่คนพวกนี้ละเมิดหรือกระทั้งล้มหลักการหรือกฎที่ถูกต้อง