ที่มา Thai E-News
รายการ ห้องเรียนประชาธิปไตย ทางAsia Update ดำเนินรายการโดย อาจารย์หวาน-ผศ.ดร.สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับอาจารย์ยิ้ม-ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอน 66ปีวันสันติภาพไทย บางทีก็เรียกว่าวันเอกราชไทย แต่คนไทยจำนวนมากกลับ...ไม่รู้ว่ามีด้วยเหรอ?(คลิปด้านบน จากรายการHot Topic ตอน 66 ปีวันเอกราชของชาติไทย จอม เพชรประดับ สัมภาษณ์เสรีไทย ได้เสนอให้บรรจุประวัติศาสตร์ขบวนการต่อสู้และกอบกู้เอกราชเสรีไทยในหนังสือ เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้ถึงประวัติศาสตร์ที่บรรพบุรุษของเราได้ต่อสู้ กันมา)
เรียบเรียง ไทยอีนิวส์
ที่มา ASIA UPDATE และ VOICE TV
รายการห้องเรียนประชาธิปไตย ตอนออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554: วันสันติภาพไทย
ในอดีตทำเนียบรัฐบาลของไทย เคยถูกเรียกว่า ทำเนียบ 16 สิงหา เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันที่ 16 สิงหา ถูกเรียกมาจนถึงสมัยของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงมาเรียกว่า ทำเนียบรัฐบาล อย่างในปัจจุบันนี้
วันที่ 16 สิงหาคม เป็นวันสันติภาพไทย วันนี้มีความหมายและความเป็นมา ดังนี้
สมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้บุกไทย เมื่อ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพไทยได้ทำการต่อต้านญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ จนเช้าวันรุ่งขึ้นทางรัฐบาลไทย นำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ยอม ต่อมา วันที่ 25 มกราคม 2485 ทางญี่ปุ่นทำการประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษ และประเทศอเมริกา โดยที่มีฝ่ายไทยเข้าร่วมกับญี่ปุ่นด้วย ซึ่งถูกเรียกว่า ฝ่าย “อักษะ”
ต่อมา จอมพล ป. พิบูลสงคราม แพ้โหวตมติในสภา ทำให้ต้องลาออก แล้วมีการแต่งตั้ง นายควง อภัยวงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการ
และแล้วเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2488 ญี่ปุ่นก็ประกาศยอมแพ้สงครามอย่างเป็นทางการ ให้หลังหนึ่งวัน นายปรีดี พนมยงค์ ก็ประกาศสันติภาพไทย ในวันที่ 16 สิงหาคม 2488
โดยประกาศว่า ภาวะสงครามที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศนั้น ถือว่ายุติ คือ ประกาศให้คำประกาศภาวะสงครามของ จอมพล ป. พิบูลยสงคราม นั้นเป็นโมฆะ ถือว่าไม่เคยประกาศภาวะสงครามกับอังกฤษและอเมริกาเลย โดยใช้เทคนิคทางกฎหมาย ที่ในสมัยนั้นมีผู้สำเร็จราชการ 3 ท่าน นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหนึ่งในนั้น แต่ไม่ยอมลงนามในประกาศภาวะสงคราม
จึงทำให้ประกาศภาวะสงครามของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีผู้สำเร็จราชการลงนามไม่ครบ ทำให้ นายปรีดี พนมยงค์ ประกาศยุติสงคราม ในวันที่ 16 สิงหาคม ต่อมาจึงเรียก วันที่ 16 สิงหาคม ว่าเป็น วันสันติภาพไทย
*****
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
-สดุดีวีรประวัติสามัญชน66ปีวันสันติภาพ:ภารกิจเพื่อชาติ และเพื่อมนุษยชาติ
ภาพกิจกรรม 66 ปีวันสันติภาพไทย โดยคุณPrainn Rakthai