WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 2, 2011

เหนือการควบคุม

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 1 กันยายน 2554)

ย้อนกลับไปตอนวันแรกของการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา

นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คงมีอาการตื่นเต้นหรือกระหาย

จึงยกแก้วน้ำขึ้นมาจิบ (ดูด) บ่อยครั้งมาก

นำไปสู่ "ช็อตเด็ด"

เป็นภาพนิ่ง "ยิ่งลักษณ์ดูดน้ำ"

เมื่อช่างภาพจากรัฐสภาส่งภาพข่าวดังกล่าวมายังกองบรรณาธิการ

ทีมงานเว็บไซต์มติชนออนไลน์ ก็ตัดสินใจยิงภาพข่าวนี้ขึ้นเป็น "ภาพนำ" ทันที

เพราะเว็บไซต์มติชนออนไลน์มีที่มาจากหนังสือพิมพ์

ฉะนั้น โครงสร้างการจัดวางข่าวในหน้าเว็บไซต์จึง "ล้อ" กันไปกับการจัดหน้าหนังสือพิมพ์กระดาษ

คือ มีการแบ่งพื้นที่บนเว็บออกเป็น "ภาพนำ" "ข่าวนำ" "ข่าวเด่น" "คอลัมน์/บทความ" และข่าวการเมือง ต่างประเทศ กีฬา บันเทิง ฯลฯ

ในส่วน "ภาพนำ" มักจำแนกเป็น 2 แบบ ได้แก่ ภาพสถานการณ์สำคัญประจำวัน และภาพในลักษณะ "แก๊ก"

"ภาพนำยิ่งลักษณ์ดูดน้ำ" อาจถือเป็นทั้งภาพสถานการณ์สำคัญและภาพแก๊กประจำวัน

แต่เรื่องไม่คาดคิดกลับเกิดขึ้น เมื่ออยู่ดีๆ ภาพ "ยิ่งลักษณ์ดูดน้ำ" บนเว็บไซต์มติชน ได้ถูกนำไปเผยแพร่ต่อกันอย่างล้นหลามทาง "เฟซบุ๊ก"

กระทั่งยอดผู้คลิกชมภาพนี้มีจำนวนสูงกว่า "ภาพนำ" อื่นๆ ร่วม 10 เท่า

ปรากฏการณ์น่าสนใจต่อเนื่องกันก็คือ ส่วนใหญ่ของคนที่ "แชร์" ภาพ "ยิ่งลักษณ์ดูดน้ำ" ในเฟซบุ๊ก ล้วนพิจารณาว่า "ภาพ" ภาพนี้ มีสถานะเป็น "ข่าว" ข่าวหนึ่ง

ไม่แตกต่างไปจาก "ข่าวนำ" "ข่าวเด่น" หรือรายงานข่าวอื่นๆ

เพราะระบบ "แชร์ข่าวสาร" ของเฟซบุ๊กไม่ได้ทำการแยกแยะ "ภาพ" ออกจาก "ข่าว" อย่างชัดเจน เหมือนที่เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ทำ

ดังนั้น พอผู้อ่านในเฟซบุ๊กได้พบคำบรรยายประกอบภาพ "ยิ่งลักษณ์ดูดน้ำ" ซึ่งถือว่า "สั้นมาก" หากเทียบกับเนื้อหาของข่าวทั่วไป

จึงเกิดหลากหลายปฏิกิริยาตามมา

ฝ่ายเชียร์ยิ่งลักษณ์และรัฐบาลเพื่อไทย ชื่นชอบองค์ประกอบของภาพ

นอกจากนี้ ยังมีผู้อ่านหลายท่านวิเคราะห์ไปไกลถึงขนาดว่า นี่เป็นการประชดวิธีการตรวจสอบ "ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว" ของคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยสภาการหนังสือพิมพ์ฯ

ขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กอีกไม่น้อยได้ตั้งคำถามว่า ภาพและคำบรรยายสั้นๆ 2 บรรทัด (ซึ่งไม่ค่อยมีสาระอะไร) แค่นี้ ถือเป็น "ข่าว" หรือ?

ข้อถกเถียงเรื่อง "ภาพนำยิ่งลักษณ์ดูดน้ำ" จึงเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาน่าสนใจสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ และครูบาอาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์-วารสารศาสตร์ร่วมสมัย

เมื่อ "สาร" ที่สื่อมวลชนผลิตขึ้นถูกนำไปเผยแพร่ซ้ำในพื้นที่ "สื่อ" อีกรูปแบบหนึ่ง จน "ความหมาย" และ "หน้าที่" ของมันผันแปรหรือ "เบลอร์" ไป

จาก "ภาพนำ" ของคนทำข่าว กลายเป็น "ข่าว" ในความเข้าใจของคนอ่าน

การนิยามความหมายให้แก่ "สาร" ที่ปรากฏบนพื้นที่สื่อใหม่ๆ โดย "ผู้อ่าน" นี่เอง ได้ส่งผลให้ "ผู้ผลิตสาร" ไม่สามารถจะครอบงำ กำกับ ควบคุม "ความหมาย" หรือ "หน้าที่" ดั้งเดิมของ "สาร" เหล่านั้นได้เลย

ซึ่งถือเป็นความท้าทายในวงการสื่อออนไลน์-ออฟไลน์ยุคปัจจุบัน ยิ่งกว่าการมานั่งมอนิเตอร์ภาพข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์เป็นไหนๆ