ที่มา thaifreenews
''อนุดิษฐ์ นาครทรรพ'' ความหวังไอซีทีไทย !?! (สัมภาษณ์)
วันที่ 01/09/2554น.อ.อนุ ดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีทีให้สัมภาษณ์พิเศษ ในช่วงเย็นวันจันทร์ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา มีหลายเรื่องที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมของสัญญา สัมปทานมือถือ การปราบปรามเว็บหมิ่น ที่มีรายละเอียดบางส่วนที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเป็นการขอความร่วมมือด้วยการอาศัยสายสัมพันธ์ส่วนตัว แต่พิสูจน์ได้ว่ารมว.ไอซีทีมองเห็น เข้าใจและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เรื่องราวในทีโอทีและกสท รวมทั้งธุรกิจดาวเทียมสื่อสาร ชนิดที่คนในแวดวงไอซีทีไม่ควรพลาด
ถาม : ปัญหาเร่งด่วนหลังรับตำแหน่ง
ตอบ : เรื่องเร่งด่วนในตอนนี้แบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ การบริหารส่วนของกระทรวงไอซีทีตามปกติ ในกรอบงบประมาณปี 2555 ซึ่งมีการเลื่อนหลังมีการเลือกตั้งไม่ได้เป็นไปตามวาระ ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องเร่งด่วนหลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไปแล้ว โดยกระทรวงจะควบคุมการบริหารจัดการในเรื่อง การทำแผนบริหารราชการแผ่นดิน รวมไปถึงการปรับปรุงกรอบงบประมาณเดิม จากเดิมที่ครม.ชุดที่แล้วอนุมัติไว้ 5,000 ล้านบาท เนื่องจากนโยบายกระทรวงไอซีทีชุดใหม่มีการเปลี่ยนกรอบ และภารกิจใหม่ดังนั้นงบประมาณเดิมอาจจะไม่พอ ทั้งนี้ได้ให้ทางราชการตรวจสอบตามนโยบายใหม่ว่ามีความจำเป็นในการปรับ ปรุงกรอบงบประมาณใหม่มากน้อยเพียงใด ซึ่งในตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่
อีกเรื่องเร่งด่วนหนึ่งคือ ปัญหาของกระทรวงไอซีทีที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นที่จับตาของสังคม รวมไปถึงหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากเข้ามาบริหารกระทรวงไอซีทีของรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะมีมาตรการอย่างไรกับเรื่องที่เคยพูดเอาไว้ในสมัยเป็นฝ่ายค้าน
ในเรื่องทุกเรื่องจะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสในการบริหารจัดการภายใต้อำนาจ หน้าที่ของกระทรวง หรือแม้แต่อยู่นอกอำนาจกระทรวงแต่มีปัญหาความเชื่อมโยงเกี่ยวกับกระทรวงก็ เป็นหน้าที่ของเราเช่นเดียวกัน ในการเข้าไปดูแล
ถาม : ปัญหาสัญญาสัมปทานมือถือ กสท - ทรู และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
ตอบ : ผมให้ความสำคัญกับปัญหาสัมปทานมือถือมาโดยตลอดก่อนได้เข้ารับตำแหน่งอย่าง เป็นทางการก็มีการศึกษารายละเอียดว่าเรามีกรอบหน้าที่ในการเข้าไปจัดการ อย่างไร โดยเฉพาะปัญหาระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งขณะนี้การดำเนินการดังกล่าวอยู่ในกระบวนการระหว่างบริษัท ซึ่งต้องใช้กรอบอำนาจตามกฎหมายขององค์กรอื่นเป็นผู้ชี้ว่าเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่ทำตามถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้ประเด็นที่หลายคนตั้งข้อสังเกต เมื่อทรู ทำสัญญากับ กสท แล้วมีผลทำให้เกิดความไม่เท่าเทียบกันในธุรกิจโทรคมนาคมในเงื่อนไขเทียบเท่า กัน ซึ่งในอนาคตอาจจะมีเรื่องของบรรทัดฐาน หรือมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในกระบวนการทั้งหมดผมเชื่อว่าจะอยู่ในการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง โดยกระทรวงไอซีที มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงคงไม่สามารถปล่อยปละละเลยได้ แต่ยังเร็วไปนิดถ้าจะบอกวันนี้เลยว่าบทสรุปจะออกมาอย่างไร คงต้องรอดูผลที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ และที่กำลังดำเนินการอยู่ว่าจะออกมาเป็นภาพรวมอย่างไร จะได้กำหนดวิธีการต่อไปได้
จะตัดสินว่าใครผิดใครถูก หรือเรื่องราวเป็นมาอย่างไร เบื้องต้นยังไม่สามารถระบุเวลานี้ได้ แต่เชื่อว่าการจัดตั้งคณะกรรมการที่ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นผู้ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องทั้งหมดนั้น จะได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้
ถาม : ทำไมจึงจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบปัญหาสัมปทานต่างๆ
ตอบ : สาเหตุที่จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบปัญหาทั้งหมดภายในกระทรวงในตอนนี้ เนื่องจากเรามีระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาอันสั้น แต่ต้องมีคำตอบให้สังคมโดยเร็ว รมว.ไอซีทีคนเดียวจึงไม่สามารถทำงานได้ทัน ดังนั้นการให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และเป็นราชการประจำเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย ซึ่งภายหลังได้หารือกับปลัดกระทรวงไอซีที โดยได้บอกว่าเมื่อเรื่องใดเรียบร้อยแล้วก็ให้รีบเสนอขึ้นมาทันที ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลา แต่การที่ผมย้ำในที่ประชุมก็คงเข้าใจโดยเจตนา แต่เรื่องใดที่ล่าช้าผิดปกติคงต้องมีการกำหนดกรอบเวลากัน
ถาม : มองบอร์ดทีโอที กับบอร์ดกสท ที่ผ่านมาอย่างไร
ตอบ : ตัวผมเองไม่ได้เข้ามาเพื่อดูเรื่องการดำเนินการของบอร์ด บริษัท ทีโอทีกับบริษัท กสท โทรคมนาคมอย่างละเอียดแค่นั้น ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสิ่งที่ได้รับฟังมาเท่านั้น ส่วนสิ่งที่ผ่านมาสมัยผมเป็นฝ่ายค้านเป็นอย่างไร แล้วนำไปสู่การบริหารจัดการที่มีคนครหาแบบไหนอย่างไรผมไม่อยากจะพูดถึงเพราะ ดูไม่เป็นธรรม
ที่มา ผู้จัดการ