ที่มา Thai E-News
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล พรหมิกบุตร
30 สิงหาคม 2554
แนวร่วมกลุ่มอำนาจ (ทั้งอำนาจในระบอบ และนอกระบอบประชาธิปไตย) ไม่สามารถยับยั้งประชาชนที่ทุ่มเทคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไปให้พรรคเพื่อไทย เมื่วันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
รวมทั้งไม่สามารถยับยั้งการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสตรีคนแรก และมีอายุน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีในประวัติศาสต์การเมืองไทย
แต่กระบวนการคัดค้านต้านทานการดำเนินนโยบายบริหารประเทศของรัฐบาลนาวสาวยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร ก็เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ ทั้งภายในและภายนอกกลไกรัฐสภา
สาธารณชนจำนวนมากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลดังกล่าว ขณะที่แนวร่วมกลุ่มอำนาจที่กล่าวถึงข้างต้นก็มีความวิตกกังวล ต่อโอกาสและความสำเร็จ ในการบรรลุผลการดำเนินนโยบายหลายข้อที่พรรคเพื่อไทยได้รณรงค์หาเสียงไว้ก่อน หน้านี้
บทวิเคราะห์ที่ผู้เขียนให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์โตเกียวชิมบุ นประจำประเทศไทย เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2554 (ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2554) และคำอภิปรายในการสัมมนาที่วัดราชาธิวาส (จัดโดยศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย) อาจช่วยให้ข้อมูลและความเห็นประกอบการพิจารณาแก่ฝ่ายต่าง ๆ ได้ตามสมควร ดังต่อไปนี้ ;
1. รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น่าจะมีเสถียรภาพทางการเมืองมากพอสมควรในช่วงปีแรก โดยหากประมาณการเป็นข้อมูลเชิงปริมาณก็น่าจะได้ประมาณ 6 – 7 จากระดับเสถียรภาพเต็ม 10
2. ความเห็นเชิงวิเคราะห์ของแนวร่วมฝ่ายค้านที่ว่า รัฐบาลดังกล่าวขะดำรงตำแหน่งได้ไม่ถึง 6 เดือนนั้น ไม่ น่าจะเป็นจริงในทางปฏิบัติ แม้ว่ากระบวนการคัดค้านขัดขวางการบริหารดังกล่าวจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว ถึงขั้นจะให้มีการถอดถอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งตัวนายกรัฐมนตรี
โดยกลุ่มแนวร่วมอำนาจถอดถอนจะอ้างใช้ความสัมพันธ์ระหว่างนางสาวยิ่งลักษณ์ กับพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นเหตุผลข้ออ้างดำเนินการต่อไป
แต่กระบวนการทางกฎหมายแบบ “ตุลาการภิวัตน์” (รวมทั้งอาจมีปรากฏการณ์ “วุฒิสภาภิวัตน์” เข้าร่วมให้เห็นชัดเจนขึ้น) จะต้องใช้เวลาตามขั้นตอนกฎหมายซึ่งยากจะทำให้เบ็ดเสร็จได้ภายใน 6 เดือน
3. ภายหลัง 6 เดือนแรกสาธารณชนน่าจะได้เห็นรูปธรรมผลงานบริหารตามนโยบายที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ แม้จะมีกลุ่มทุนและกลุ่มอำนาจรัฐส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบบ้าง
แต่สาธารณชนส่วนใหญ่จะได้รับการกระจายความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ทำให้เกิดพลังในการเกื้อหนุนความเข้มแข็งในการบริหารประเทศต่อไป
นโยบายทุกข้อที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้เป็นนโยบายที่สามารถลงมือปฏิบัติ ได้ แม้ว่าจะต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมหรือลดทอนรายละเอียดปลีกย่อย ให้เป็นไปตามสถานการณ์และความต้องการของกลุ่มพลังจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม
ในการอภิปรายที่วัดราชาธิวาสก่อนการแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการของรัฐบาล ผู้เขียนมีความเห็นคล้ายคลึงกับคนจำนวนมากที่ใช้สิทธิเลือกตั้งว่า หากรัฐบาลประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายของตนให้บรรลุผลสัก 70 เปอร์เซ็นต์ก็จะป็นความสำเร็จเหนือความตาดหมายที่ประชาชนพึงพอใจเป็นอย่าง ยิ่งแล้ว
โดยไม่ต้องกังวลเสียงเรียกร้องของพรรคฝ่ายค้านที่อ้างว่าต้องสำเร็จเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์
4. แนวร่วมนปช.และคนเสื้อแดงมีความสำคัญต่อความมั่นคงของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในการสนับสนุนการดำเนินนโยบายกระจายความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการฟื้นฟูความยุติธรรมทางสังคม กฎหมาย และการเมือง
5. ผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจะปรากฎรูปธรรมให้เห็น หรือจับต้องได้ในหมู่ประชาชนเร็วกว่าผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินนโยบายปรองดอง แห่งชาติ เพราะองค์ประกอบปัจจัยสาเหตุหลายข้อประกอบกัน
แต่ปัจจัยสาเหตุหลักข้อหนึ่งในขณะนี้ คือ รัฐบาลจะต้องรอผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ คอป. ที่รัฐบาลนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ แต่งตั้งไว้ก่อนหน้าแล้ว
แต่ข้อเสนอต่าง ๆ ของคอป.ไม่ได้รับการตอบสนองดำเนินการจากรัฐบาลดังกล่าว ท่าทีของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในปัจุบัน สามารถจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสภาวการณ์ทางการเมืองให้การดำเนินงานของ คอป. ปรากฏผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
ในทางที่จะอำนวยความเป็นธรรมต่อสาธารณชนและแนวร่วมกระบวนการเรียกร้อง ประชาธิปไตย ที่เคยถูกคุกคามโดยผู้ใช้อำนาจรัฐจากเหตุการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงที่ ผ่านมา
ในที่นี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อคณะทำงานในพรรคร่วมรัฐบาลระดับล่างลงไปจาก รัฐมนตรีว่า คณะทำงานเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของรัฐบาลนาง สาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
หากสามารถช่วยกันตรวจสอบดูแลหรือตักเตือนซึ่งกันและกันไม่ให้ก้าวล่วงไปใช้อำนาจทุจริต ผิดกฎหมาย แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง
หรือพรรคพวกในเครือข่ายของตน