ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
สุชาฎา ประพันธ์วงศ์ : เรื่อง/ภาพ
|
"คำ ผกา" นามปากกาของ "ลักขณา ปันวิชัย" มีชื่อเล่นว่า "แขก" เป็นนักเขียน นักแปล คอลัมนิสต์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักพอสมควร หลังจากที่ปากกาอันคมกริบของเธอตวัดปลายไปบาด จิกกัดคนหลากหลายแวดวงจนสะดุ้งสะเทือน เกิดอาการแสบ ๆ คัน ๆ
ด้วยเหตุนี้ คอลัมนิสต์สาวเชียงใหม่จึงมีทั้งคนรักและคนชังเหมือนกับนักเขียนคนอื่น ๆ แต่อาจจะได้รับโปรโมชั่นเสริมพิเศษ
มีทั้งคนเชียร์และมีคนแช่ง...!
นั่น เพราะว่า นักเขียนสาวผู้มีไฝเม็ดใหญ่อยู่ใต้ปาก ไปวิพากษ์วิจารณ์นักการเมือง นักคิด นักเขียน นักสังคม สงเคราะห์ ไม่เว้นแม้กระทั่งพระสงฆ์ จนทำให้ชื่อของ "คำ ผกา" ผงาดขึ้นมาอยู่ในระบบเสิร์ชเอ็นจิ้นของกูเกิลในลำดับที่ 3 เป็นไพร่ตัวแม่ลำดับที่ 1 ขณะเดียวกันก็มีวิถีชีวิตแบบสลิ่มกลาย ๆ
ผู้หญิง คนนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ปากกาเป็นอาวุธ แต่ยังมีฝีปากเป็นอาวุธลับ กับบทบาทพิธีกรรายการวิเคราะห์วิจารณ์แบบเจาะลึก ในรายการ "คิดเล่นเห็นต่างกับ คำ ผกา" ซึ่งหนีไม่พ้นการพาดพิงบุคคลอื่น
ทำให้เธอก้าวขึ้นมาอยู่ในแถวหน้า เป็นคอลัมนิสต์ที่คนตั้งกระทู้ด่ามากที่สุดเช่นเดียวกัน
ขออนุญาตพาทุกท่านไปสัมผัสกับตัวตนที่แท้จริง และเหตุผลสำคัญของการกระทำแบบ "คำ ผกา" ด่าแบบไม่เกรงใจใคร
"เรื่อง บางเรื่องเป็นสิ่งที่เกินกำลังที่เราจะควบคุมได้ จะไปนั่งกลัวก็ไม่มีประโยชน์ ระยะหลังถูกมองว่าไปพาดพิงคนอื่นในสังคม คิดว่าถ้าสังคมมีวุฒิภาวะพอ รู้ว่านี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เพราะถือว่าเราไม่ได้ไปว่าใคร ที่เราชอบหรือไม่ชอบเป็นการส่วนตัว แต่กำลังพูดถึงในฐานะที่เขาเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ในสังคม แล้วคนเหล่านั้นที่ถูกพาดพิง ล้วนเป็นบุคคลสาธารณะ"
พร้อมกับตั้งคำ ถามว่า การที่เป็นบุคคลสาธารณะ การที่เผยแพร่ความคิดออกสู่สาธารณะ คุณจะหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวถึง หรือถูกพาดพิงได้อย่างไร
คำ ผกา ยืดอกตอบ แน่นอนอยู่แล้ว ตัวเองก็ต้องถูกพาดพิง แต่ก็ต้องยอมรับ ไม่ได้คิดว่าการออกมาเป็นนักเขียนที่ต้องสื่อสารกับสาธารณะจะไม่ได้รับก้อน อิฐโดยสิ้นเชิง มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
"ไม่เคยใส่ใจ เก็บมาคิดเล็กคิดน้อย ว่าทำไมคนไม่รักฉัน เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ใช่การเกลียดชังกันเป็นส่วนตัว ถ้าใครจะเกลียดชังกันเป็นส่วนตัว ก็เป็นปัญหาของเขา ไม่ใช่ปัญหาของเรา เพราะเราไม่ได้เกลียดเขา"
ฉะนั้น ไม่จำเป็นต้องไปรับรู้ปัญหาที่เขาเกลียดชังเรา การที่เราไม่เห็นด้วยกับความคิดของคนที่สื่อสารกับสาธารณะ คิดว่าเรามีสิทธิ์ที่จะวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นนั้นได้ แต่เราก็ไม่มีสิทธิ์ไปตัดสินว่าเรามีเหตุผลต่อเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของผู้อ่านตัดสินใจ
"ฉัน คิดว่าตัวเองมีจริยธรรมแบบที่ทุกอาชีพพึงมี นักเขียนมีหน้าที่สื่อสารกับสังคม ส่วนตัวอยากสร้างวัฒนธรรมการวิจารณ์ในสังคม ฉะนั้น แค่มีจรรยาบรรณในงานของตัวเอง ไม่ได้คิดว่า ฉันเป็นคนดี มีคุณงามความดีอันสูงส่ง แค่ซื่อสัตย์ต่องานที่ทำเท่านั้นเอง"
คอลัมนิสต์ สาวชี้ให้เห็นว่า การสื่อสารกับสาธารณะ มันมีผลกระทบโดยตรงต่อการบริโภคนิยมของคน ซึ่งไม่ได้บริโภคเพียงตัวสินค้า แต่มันคือการบริโภควิถีชีวิต บริโภคสัญลักษณ์ บริโภคเป้าหมายชีวิต ที่มาพร้อมกับสินค้าตัวนั้น ๆ ซึ่งเกิดจากการกล่อมเกลาทางสังคม (socialization)
"การกล่อมเกลาทางสังคม" ทำได้หลายแบบ ผ่านหนังสือ โรงเรียน ครู ผู้สอน แต่การกล่อมเกลาทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดขณะนี้ คือการกล่อมเกลาทางสังคมผ่านวิถีการบริโภคโดยสื่อต่าง ๆ
เมื่อก่อน เราบริโภคความหรูหรา โอ่อ่า ความฟุ่มเฟือย แต่สมัยนี้กลายเป็นว่า เราเลือกบริโภคความหรูหราที่เกิดจากความเรียบง่ายที่สุด นิ่งที่สุด การเข้าถึงสภาวะความว่างอย่างสูงสุด โรงแรมยิ่งว่างยิ่งแพง เฟอร์นิเจอร์น้อยยิ่งแพง
ทั้งหมดเกิดจากการเซตอัพเทรนด์และรสนิยมการบริโภค
ถ้า รู้เท่าทันก็จะสนุกกับมัน เป็นทั้งผู้บริโภคและผู้สังเกตการณ์ แต่ถ้าเราไม่รู้เท่าทัน คิดว่าเกิดมา เราก็ชอบแบบนี้แล้ว เราคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติที่เราจะชอบ อาหาร โรงแรม เฟอร์นิเจอร์ และท่องเที่ยวแบบนี้
ไม่ได้คิดว่า เราเกิดมาแล้วถูกกล่อมเกลาให้เป็นแบบนั้น จะเรียกว่าเหยื่อหรือเปล่า คอลัมนิสต์สาวก็ไม่ได้ฟันธง
การกล่อมเกลาทั้งหมดนั้น มันพ่วงมากับอุดมการณ์การเมืองและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"คน ที่บอกว่า กายว่าง จิตว่าง ตัวเองไม่สร้างปัญหาสังคมก็พอแล้ว คุณก็ไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับการเมืองหรอก ทำตัวเองให้ว่าง ๆ เข้าไว้ คุณก็ไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง แต่คุณไม่ได้คิดว่า การที่คุณไม่ทำอะไร ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาได้เหมือนกัน คนที่อยู่เฉย ๆ เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เพราะคนเหล่านี้ ไม่สามารถเชื่อมโยงปัญหาของปัจเจกชนกับสังคมได้ ความเพิกเฉยต่อการฆาตกรรมย่อมมีความหมายว่า คุณกำลังสนับสนุนการฆาตกรรมด้วย ความไม่รู้ร้อนรู้หนาวของตนเอง หรือแย่กว่านั้นคุณเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างฆาตกรขึ้นมาในสังคม แย่กว่านั้น คือ คนเหล่านี้ไม่เคยมีความรู้สึกผิด (guilt) มิหนำซ้ำยังยกย่องตนเองอย่างน่าละอาย ว่า ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา"
อย่าง ไรก็ตาม คำ ผกา ยอมรับว่า งานเขียนของเธอก็มาพร้อมกับวัฒนธรรมการบริโภคนิยมเช่นกัน ไม่เคยต่อต้าน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีสิทธิ์วิจารณ์กับวัฒนธรรมการบริโภคที่เรามี ชีวิตอยู่กับมัน
ไม่มีใครบนโลกนี้ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ของวัฒนธรรมบริโภคนิยม เพราะเธอเองก็ยอมรับว่า มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบคนชั้นกลางทั่วไป ที่สามารถไปนั่งดื่ม กินที่ไหนก็ได้เหมือนกัน แบบเดียวกับไลฟ์สไตล์ของ "สลิ่ม" เพียงแต่การลุกขึ้นมาต่อสู้ทางการเมืองในนามคนเสื้อแดง ที่เรียกตัวเองว่า "ไพร่" เพราะต้องการแสดงให้เห็นว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเท่ากันหมด
คำ ผกา มองว่า การกล่อมเกลาทางสังคมมีการเซตอัพผ่านตัวบุคคลที่ถูกสถาปนาขึ้นมาให้เป็น "ไฮ โซ" เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า แบบที่เห็นกันอยู่ในข่าวสังคม นิตยสาร มีทั้งดารา นางแบบ แม่ค้า พ่อค้า นักธุรกิจ ลูกข้าราชการชั้นสูง รวม ๆ กัน เรียกว่าไฮโซ
คนกลุ่มนี้ก็เหมือนคนไทยกลุ่มหนึ่ง เพียงแต่มีเงิน หรืออาจจะไม่มีก็ได้ เช่นเดียวกับเซเลบริตี้ก็ถูกผนวกเข้ามาด้วยกันผ่านสื่อ
แม้ แต่พระบางรูปก็กลายเป็นเซเลบริตี้ ขึ้นมาได้เหมือนกัน ผ่านการปั้นของสื่อ ในนิตยสารที่ค่อนข้างมีคุณภาพ ถูกให้คุณค่าในแง่เป็นพระปัญญาชน อ่านหนังสือมาก อายุน้อย ใช้ภาษากระชับ ทันสมัย มันก็คือการสร้างเซเลบริตี้ของแต่ละวงการขึ้นมาเหมือนกัน
ฉะนั้น การแชร์อุดมการณ์กับคนเหล่านั้น เวลาเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับการเมือง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ก็ต้องไปสัมภาษณ์คนเหล่านี้ ซึ่งมีพื้นที่ทางสังคม
คน กลุ่มนี้ก็จะสามารถรู้ว่า พูดอะไรแล้วขายได้ พูดอะไรแล้วจะสามารถรักษาสถานภาพผู้นำเทรนด์ในสังคมไว้ได้ จากนั้นก็เกิดการผลิตซ้ำ ไม่รู้ใครเป็นต้นแบบคิดขึ้นมาก่อน แต่มันเป็นอุดมการณ์ที่ไหลวน แล้วนำมารีไซเคิล ทำให้คำพูด อุดมการณ์ชุดนี้มีชีวิตอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ
จะเห็นได้ว่า การนำเสนอเรื่องราวของคนเหล่านี้ผ่านนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ทีวี หรือการสัมภาษณ์ ล้วนเป็นงานเปิดตัวสินค้าแทบทั้งสิ้น แม้แต่การเปิดตัวละครเวที ภาพยนตร์ ล้วนถูกเซตโดยวรรณกรรมแทบทั้งสิ้น
ดัง นั้น การพยายามจะสร้างไลฟ์สไตล์แบบหนึ่งให้ชนชั้นกลางของไทยเข้าถึง ซึ่งมีคนบางกลุ่มเข้าถึงได้อย่างไม่มีขีดจำกัด มีอีกกลุ่มที่มีข้อจำกัด แต่พยายามอย่างเต็มที่ ที่จะให้ได้มาซึ่งไลฟ์สไตล์แบบนั้น ในฐานะที่มีอุดมการณ์และความใฝ่ฝันร่วมกัน หวังว่าวันหนึ่งจะได้เข้าไปเป็นแบบนั้นบ้าง
"ใช้ชีวิตตามหนังสือ"
คน กลุ่มนี้ก็จะบริโภคหนังสือแต่งบ้าน ไลฟ์สไตล์ นำเที่ยว ดูว่าดาราไปเที่ยวที่ไหน กินอะไร ทำอะไร พวกนี้ก็จะมีคู่มือการใช้ชีวิต การบริโภค เช่น การแต่งบ้าน ถามว่ามีเงินพอจะตกแต่งขนาดนั้นหรือไม่ คำตอบก็คือไม่มี ดูเพื่อจะได้หล่อเลี้ยงความฝันไว้ หรือบางคนเก็บเงินทั้งปี เพื่อจะได้ไปพักที่รีสอร์ตนี้ตามนิตยสารที่บอกว่าทุกคนต้องไป และบอกว่ามันดีมาก สวยงาม เงียบสงบ
มาดูกันว่า ความสวยงาม ความเงียบสงบ ความพึงพอใจ ถูกเซตโดยวรรณกรรมให้คนคล้อยตาม คือตัวสร้างรสนิยม สร้างความพึงพอใจ กำหนดเป้าหมายตามความฝัน
อันที่ จริง เราไม่เคยกลับมาถามตัวเองเลยว่า ชอบบ้านแบบไหน แต่เราจะถูกหล่อหลอมรสนิยมและวรรณกรรมของเราจากนิตยสารแต่งบ้าน บางทีเราอาจจะไม่ชอบสนามหญ้า เพราะต้องตัดบ่อย ๆ แต่พออ่านวรรณกรรมเหล่านี้มาก ๆ ก็จะรู้สึกว่า บ้านต้องมีวิญญาณ ต้องมีธรรมชาติเป็นส่วนประกอบ
นี่เป็นยุคของเศรษฐกิจที่พูดถึงการ บริโภคเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น ฉะนั้น เราไม่ได้บริโภคสินค้า แต่เราบริโภคไลฟ์สไตล์ บริโภควิถีชีวิต เราต้องรู้เท่าทัน ว่าสิ่งเหล่านี้ฟอร์มตัวขึ้นมาอย่างไรในสังคม
บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าตัวเองชอบกระโปรงสั้นหรือยาว แต่เทรนด์กระโปรงยาวมาแรง เราจึงใส่กระโปรงยาว
วัฒนธรรม การบริโภค ไม่เฉพาะแค่ปัจจัย 4 เท่านั้น ขนาดเป้าหมายในชีวิตยังเป็นแฟชั่น ใครก็อยากนิพพาน ใครก็อยากมีชีวิตหลุดพ้น ใครก็อยากมีชีวิตเบา ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกอย่างถูกออกแบบทั้งหมด
แม้สังคมสมัยใหม่เป็นแบบนี้ ก็ต้องยอมรับ มันก็ไม่ผิด เพียงแต่รู้ตัวหรือเปล่า ว่าทำอะไรอยู่
การ ที่คอลัมนิสต์สาวมุ่งวิพากษ์คำพูด การกระทำของกลุ่มคนเซตอัพเทรนด์ในสังคม ก็เพื่อให้สังคมได้เกิดมุมมองหลากหลายและแตกต่าง สามารถวิจารณ์ถกเถียงกันได้อย่างมีเหตุและผล
นี่คือ เหตุผลของการวิจารณ์แบบไม่เกรงใจใคร
.................
"สลิ่ม" มาจากไหน ?
คำผกา อธิบายกำเนิดของคำว่า "สลิ่ม" ไว้ดังนี้
สลิ่ม มีความหมายในบริบทจำเพาะ ช่วงที่การเมืองแบ่งสี คือมีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ มีกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์
ขณะเดียวกันก็มีคนกลุ่มหนึ่งเกิดขึ้นมา โดย "วิญญู วงศ์สุรวัฒน์" หรือ "จอห์น วิญญู" นิยามคนกลุ่มนี้ขึ้นมาว่าเป็นกลุ่มคนเสื้อแพง อะไรจะเกิดไม่สน อยากรู้แค่ว่าห้างเปิดหรือปิด มีวัฒนธรรมร่วมกัน เช่น ใช้สมาร์ทโฟน ทันสมัย ชอบถ่ายรูปตัวเอง
"สลิ่ม" คนที่นำมาใช้ทางการเมือง คือ "หนูหริ่ง-สมบัติ บุญงามอนงค์" บก.ลายจุด นำมาใช้กับกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าเกลียดความขัดแย้ง ไม่ร่วมกับสีอะไร อยากเป็นคนสีขาวบ้าง อยากเห็นสังคมปรองดอง ไม่แบ่งสี ไม่แบ่งข้าง ฉะนั้น ก็มาเป็นสีรวมมิตรกันเถอะ คือทุกสีควรจะมารักมาสามัคคีกัน ขนมที่มีทุกสีก็คือ "ซาหริ่ม" ก็เลยเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "สลิ่ม" เรียกตามเสียงพูด
"สำหรับคนเสื้อแดง (แดงมาก ๆ) แขกเป็นสลิ่มสำหรับสลิ่มแขกเป็นเสื้อแดง สำหรับคนเกลียดนักการเมืองแขกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง สำหรับ นักการเมืองแขกเป็นปัญญาชนน่ารำคาญ" คำ ผกา นิยามสถานะตัวเอง
บก.ลาย จุด ได้เขียน ซีรีส์ "สลิ่ม" ว่าถูกใช้ครั้งแรกในการเรียกกลุ่มเคลื่อนไหวการเมืองของ "กลุ่มเสื้อหลากสี" ถูกนำมาใช้ในอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง มีผู้เล่นใน Pantip คนหนึ่งตั้งชื่อว่า "สลิ่ม" บก.ลายจุด จึงได้นำคำว่า "สลิ่ม" มาเผยแพร่ต่อใน FB และ Twitter จนกลายเป็นคำติดปากในเวลาต่อมา