WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, December 26, 2011

นิติราษฎร์ เดินหน้า ลบล้างผลพวงรัฐประหาร แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112

ที่มา Thai E-News



26 ธันวาคม 2554
ที่มา ประชาไท


นัก วิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ประกาศกิจกรรมทางวิชาการใหญ่ รับปีใหม่ 15 ม.ค. 2554 รณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และอาทิตย์ที่ 22มกราคม 2555 อภิปราย “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง”


ปิย บุตร แสงกนกกุล หนึ่งในนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ เผยกับประชาไทถึงเหตุผลในการจัดเสวนาใหญ่ทั้ง 2 ครั้งว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการที่คณะนิติราษฎร์ได้จัดทำข้อเสนอเผยแพร่สู่ สาธารณะเมื่อวันที่ 18 กันยายน ปรากฏว่าข้อเสนอทั้ง 4ประเด็นได้รับความสนใจจากสังคมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในประเด็นแรก เรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

“เรารับฟังทุกความ คิดเห็น รับทราบถึงกำลังใจ แรงสนับสนุน ตลอดจนเสียงตำหนิติเตียน ตั้งใจว่า จะขับเคลื่อนข้อเสนอทั้ง 4 ประเด็น อย่างต่อเนื่อง แต่ก็เกิดเหตุการณ์อุทกภัย จึงจำเป็นต้องหยุดพักเรื่องนี้ไปเสียก่อน ในระหว่างนั้น เราก็ได้ยินเสียงถามไถ่ตลอดว่า คณะนิติราษฎร์จะทำอะไรต่อ บางท่านบ่นเสียดายว่าถ้าไม่เกิดน้ำท่วม ก็อาจได้เดินหน้ามากขึ้น ขออนุญาตเรียนว่า เราไม่เคยหยุดคิดเรื่องดังกล่าว นั่งพิจารณา ทบทวน จัดทำข้อเสนอให้เป็นรูปธรรมและละเอียดมากขึ้น และจะขับเคลื่อนทางความคิดนี้ให้สำเร็จจงได้”

ปิยบุตรกล่าวถึงราย ละเอียดการจัดกิจกรรมทั้ง 2 งานว่า งานแรก 15 มกราคม 2555 เป็นการรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คณะนิติราษฎร์ได้จัดทำข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และเผยแพร่ต่อสาธารณะเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2554 แต่ปรากฏว่าก็ยังไม่มีการถกเถียงในประเด็นดังกล่าวมากเท่าไรนัก ในขณะที่สถานการณ์การใช้มาตรา 112 ก็ไม่ได้ลดความผิดปกติลง ยังคงมี “เหยื่อ” ของมาตรา 112 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยเขาเห็นว่ากลุ่ม นักวิชาการ นักคิด นักเขียน กวี ศิลปิน สื่อมวลชน นักกิจกรรม นิสิตนักศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรม จำนวนหนึ่ง เห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงคิดอ่านรณรงค์ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112 โดยรวมตัวกันเป็น “คณะรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติม ม.112” ชื่อย่อ คือ ครก. 112 เพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์รวบรวมรายชื่อบุคคลเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา โดยใช้ร่างฯตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์

งาน วันที่ 15 มกราคม 2555 เป็นการเปิดตัว “คณะรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติม ม.112 ” อย่างเป็นทางการ มีการจัดกิจกรรมวิชาการ กิจกรรมรณรงค์ กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม และการรณรงค์ครั้งนี้จะดำเนินการต่อเนื่องไป ภายใต้การบริหารจัดการของคณะรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติม ม.112

งานที่สอง 22 มกราคม 2555 เป็นงานต่อเนื่องจากข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 “พอ ดีว่าปี 2555 เป็นปีครบรอบ 100 ปี คณะ ร.ศ.130 และเข้าสู่ปีที่ 80 ของการอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน 2475 เราจึงถือโอกาสนี้ เดินหน้าจัดกิจกรรมวิชาการที่สนับสนุนประชาธิปไตย สนับสนุนให้ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ไปเรื่อยๆตลอดปี โดยเน้นไปที่ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19กันยายน 2549

ทั้ง นี้ ในวันจัดงาน นอกจากการอภิปรายประเด็น “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง” แล้วก็จะมีการแจกเอกสารแนวคำถาม-คำตอบ เรื่อง “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549”

“เราคิดทำเอกสารนี้ขึ้นก็เพราะตระหนักดีว่า ในข้อเสนอของเรานั้นเป็นภาษากฎหมาย อ่านแล้วอาจเข้าใจยาก จึงลองทำในรูปถาม-ตอบ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประกอบการโต้แย้งด้วยเหตุผลได้อย่างไม่ยากจนเกินไป นัก นอกจากนี้ จะมีการแจกคู่มือลบล้างผลพวงรัฐประหารด้วย

“ตอนที่เรา เผยแพร่ข้อเสนอเรื่องลบล้างผลพวงรัฐประหาร ก็มีคำถาม มีข้อวิจารณ์ตามมาจำนวนมาก ทั้งประเภทที่ไม่เข้าใจจริงๆ ทั้งประเภทที่แกล้งไม่เข้าใจ ทั้งประเภทที่ไม่อ่านแต่ขอด่าไว้ก่อน งานวันที่ 22 มกราคม 2555 เราจะตอบประเด็นเนื้อหาให้หมด พูดง่ายๆ ก็คือ งานวันนั้น เราตั้งใจ “โต้” ปฏิกิริยาที่มีต่อข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมานั่นเอง”

ปิย บุตรเพิ่มเติมว่าเพื่อให้สดใหม่ และเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทางกลุ่มนิติราษฎร์จะเผยแพร่ข้อเสนอวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยในข้อเสนอนี้ จะตั้งโมเดลการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ เป็นวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามโมเดลนิติราษฎร์ ให้ประชาชนได้พิจารณา

“ขออนุญาตเรียนปิดท้ายว่า กิจกรรมทั้งสองวัน เป็นการทำงานทางความคิด เป็นการขับเคลื่อนทางความคิด และเราจะทำต่อไปเรื่อยๆ จนกว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” และ “มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ” ตามเจตนารมณ์การก่อตั้งคณะนิติราษฎร์” ปิยบุตรกล่าวในที่สุด

สำหรับรายละเอียดของการเสวนาวิชาการ ที่จัดโดยคณะนิติราษฎร์ ทั้ง 2 ครั้ง มีดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2555
การรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
• เปิดตัว คณะรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติม ม. 112 (ครก. 112) เพื่อรวบรวมรายชื่อบุคคล เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์
• กิจกรรมทางวิชาการ และกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ

ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
ณ หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2555


เนื่อง ในโอกาสครบรอบ 100ปี คณะ ร.ศ. 130 และโอกาสเข้าสู่ปีที่ 80 ของการอภิวัตน์ 24 มิถุนายน 2475 เพื่อให้ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” คณะนิติราษฎร์ จัดเสวนาทางวิชาการขับเคลื่อนข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

• อภิปราย “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง”
• แนวคำถาม-คำตอบ เรื่อง “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549”
• “โต้” ปฏิกิริยาที่มีต่อข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ และเผยแพร่คู่มือลบล้างผลพวงรัฐประหาร
• ข้อเสนอวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร (LT 1) และ ห้องปรีดี เกษมทรัพย์ (LT 2) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

0 0 0 0 0

รู้จักนิติราษฎร์ : เกี่ยวกับพวกเรา

๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ รัฐประหารโดยกลุ่มบุคคลที่ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” รัฐประหารอัปยศกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัวกันของกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆที่ ประกอบอาชีพสอนวิชากฎหมาย ในสถานการณ์ที่คนจำนวนมากยินดีกับรัฐประหาร บ้างก็ว่าไม่เห็นด้วยแต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เราจึงตัดสินใจออกแถลงการณ์ประณามรัฐประหาร

ภายหลังรัฐประหารสำเร็จ ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่กฎหมายถูกนำไปใช้อย่างบิดเบี้ยว ทั้งการตราตัวบทกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ทั้งการใช้และการตีความกฎหมายขององค์กรผู้มีอำนาจไปในทิศทางที่ไม่สนับสนุน นิติรัฐ-ประชาธิปไตย และก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรม ซึ่งเราได้แสดงความเห็นผ่านแถลงการณ์สาธารณะวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์เหล่า นี้อย่างสม่ำเสมอ

ในโลกปัจจุบัน “กฎหมาย” เป็นแก่นกลางของสังคม เป็นทั้งที่มาอันชอบธรรมของการใช้อำนาจ และเป็นทั้งข้อจำกัดมิให้ใช้อำนาจไปตามอำเภอใจ อย่างไรก็ตาม “กฎหมาย” เพียงอย่างเดียวย่อมไม่อาจสถาปนานิติรัฐ-ประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ได้ เพราะ “กฎหมาย” อาจถูกผู้ปฏิบัติการทางกฎหมายซึ่งมีอุดมการณ์แบบเก่า นำไปเล่นแร่แปรธาตุเพื่อรับใช้อุดมการณ์ของตน ดังนั้น นอกจาก“กฎหมาย”แล้ว เราจำเป็นต้องสร้างอุดมการณ์ทางกฎหมาย-การเมืองที่สอดคล้องกับนิติ รัฐ-ประชาธิปไตย เพื่อแทนที่อุดมการณ์แบบเก่าและปลูกฝังให้เป็นอุดมการณ์ใหม่ของสังคม

เรา กลุ่มคนกลุ่มเล็กๆที่ประกอบอาชีพสอนวิชากฎหมาย จึงรวมตัวกันขึ้นในนามของ “นิติราษฎร์” นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ด้วยหวังเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการสถาปนาอุดมการณ์กฎหมาย-การเมืองนิติรัฐ-ประชาธิปไตย เพื่อให้ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” และ “มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ”

ก่อตั้ง ๑๙ กันยายน ๒๕๕๓

เมื่อก่อตั้งครบ ๑ ปี คณะนิติราษฎร์มีสมาชิกดังนี้

  • จันทจิรา เอี่ยมมยุรา
  • ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
  • ธีระ สุธีวรางกูร
  • ปูนเทพ ศิรินุพงศ์
  • ปิยบุตร แสงกนกกุล
  • วรเจตน์ ภาคีรัตน์
  • สาวตรี สุขศรี

0 0 0 0 0


ไทยอีนิวส์: ขอแนะนำเอกสารน่าอ่านจากเวบนิติราษฎร์