WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 30, 2011

คอป.เผย 'โคฟี อันนัน' ตอบรับร่วมวงถกปรองดอง

ที่มา ประชาไท

29 ธ.ค.2554 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานการประชุมคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ (คอป.) โดยมี นายคณิต ณ นคร ประธาน คอป.เป็นประธานในที่ประชุม และมีกรรมการเข้าร่วมหารืออย่างพร้อมเพรียง โดยวาระสำคัญของการประชุมคือทิศทางการทำงานของ คอป.ในปี 2555 และติดตามความคืบหน้าการทำงานที่ผ่านมา

ทั้งนี้ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะกรรมการ คอป. ได้รายงานต่อที่ประชุมว่า นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งมีบทบาทโดดเด่นในเรื่องการสร้างสันติภาพของโลก ได้ตอบรับการเดินทางเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของ คอป. ระหว่างวันที่ 16-19 ก.พ.2555 เพื่อร่วมประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับกระบวนการสร้างความปรองดอง พร้อมพบปะกับฝ่ายต่างๆ ในประเทศไทยเพื่อร่วมค้นหาหนทางคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งและสร้างความ สมานฉันท์ให้เกิดขึ้น

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา นายคณิตและนายกิตติพงษ์ได้เดินทางเข้าเยี่ยมคารวะ นายโคฟี อันนัน ที่มูลนิธิโคฟี อันนัน กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความปรองดองในประเทศไทย รวมทั้งเชิญนายอันนันเยือนประเทศไทยเพื่อแสดงทัศนะในเรื่องการปรองดอง สมานฉันท์

ข้อเสนอแนะของนายอันนันจากการหารือในครั้งนั้นมี 3 ข้อ คือ 1.ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่ขัดแย้งทางการเมือง ควรให้ความร่วมมือต่อกระบวนการสร้างความปรองดองในประเทศอย่างจริงจังและจริง ใจ มิใช่ให้การสนับสนุนแต่เพียงคำพูดว่าจะให้ความร่วมมือกับ คอป.เท่านั้น

2.การเข้าถึงและการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (public outreach) ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของ คอป. โดย คอป.ควรดำเนินการให้ประชาชนทราบและเข้าใจถึงบทบาทและอำนาจหน้าที่ (mandate) ของ คอป. ทั้งยังควรเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ ของ คอป.มากขึ้น เช่น การเยียวยาในระดับชาติ (national healing) หรือการสร้างความปรองดอง เป็นต้น เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการต่างๆ จะเป็นการสร้างความเชื่อถือต่องานของ คอป.เอง

3.คอป.ต้องดำเนินงานอย่างมีอิสระ ไม่อยู่ภายใต้ความกดดันและอิทธิพลทั้งจากในและต่างประเทศ

ที่ประชุม คอป.เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. ยังได้ข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับทิศทางการทำงานในปี 2555 กล่าวคือ จะเปิดเวทีระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนเรื่องงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 หลังจาก นพ.รณชัย คงสกนธ์ ประธานอนุกรรมการการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรง ได้รายงานต่อที่ประชุมว่า จากการลงพื้นที่พบปะเยี่ยมเยียนประชาชนในช่วงที่ผ่านมา พบว่ายังมีประชาชน นิติบุคคล และภาคธุรกิจจำนวนมากเข้าไม่ถึงการเยียวยาของรัฐ จึงต้องเร่งจัดเวทีเยียวยา โดยกำหนดห้วงเวลาไว้ช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ม.ค.2555 ซึ่งอาจมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเยียวยาจากอินโดนีเซียมาร่วมถ่ายทอด ประสบการณ์ด้วย

นอกจากนั้น จะมีการเปิดเวทีสาธารณะเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง รวมทั้งเครือข่ายของ คอป.มาระดมสมองเพื่อกำหนดทิศทางการทำงานของ คอป.ต่อไป รวมถึงกรอบเวลาการทำงานของ คอป.ที่จะครบกำหนดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.2553 ในวันที่ 15 ก.ค.2555 นี้ด้วย

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์