WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 29, 2011

“ยิ่งห้าม เหมือนยิ่งยุ"

ที่มา ประชาไท

วลี “ยิ่งห้าม เหมือนยิ่งยุ” นี้ ในบางบริบทผมเห็นด้วยและในบางบริบทผมไม่เห็นด้วย ที่ผมเห็นด้วยก็อย่างเช่น “ยิ่งห้ามให้คิด ยิ่งห้ามให้สงสัย ยิ่งเป็นการยุให้คิด สงสัยและตั้งคำถามด้วยเหตุผล” แต่ในบางบริบทที่ผมไม่เห็นด้วย เช่น “เมื่อเราห้ามลูกหลานของเราไม่ให้ออกไปแข่งมอเตอร์ไซด์ (แว๊นๆ) กลางค่ำกลางคืนเพราะกลัวอันตรายจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกหลานอีก ทั้งยังเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายของรัฐ (แม้จะผิดข้อบังคับเล็กน้อย แต่ก็สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น) ที่ผมไม่เห็นด้วยก็เพราะยืนอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลมากกว่าเหตุผลทาง อารมณ์ของลูกหลานที่อยาก (อยาก) จะเท่ห์ หรืออะไรก็ตามแต่

ทีนี้ในบริบทสังคมไทยตอนนี้ เราต้องยอมรับว่าเรายืนอยู่บนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และเราจะตกลงร่วมกันอย่างไรในการใช้ชีวิตร่วมกัน (บนความคิดเห็นที่แตกต่างกันนี้) แม้บางส่วนจะมีเหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล เราก็ยิ่งจะควรทำให้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผลนั้นสมเหตุสมผลขึ้นมา อย่างน้อยก็ด้วยวลีนี้ ซึ่งผมเห็นว่ามันเป็นเครื่องมือทางความคิดที่ดีพอควรในการสร้างความสงสัยและ ตั้งคำถามให้กับผู้คนมากขึ้น

“ยิ่งห้ามให้เราคิด (ต่าง) ยิ่งห้ามให้เราสงสัย เราต้องยิ่งคิดและสงสัยว่าเหตุผลกลใดกันถึงต้องห้าม ห้ามเสรีภาพในการคิดอ่าน คิดต่าง จนตั้งข้อสงสัยที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล และมันจะยิ่งกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง”

ฉะนั้น ประโยชน์ของเครื่องมือนี้อย่างน้อยก็มีด้วยกัน 2 ประการ ประการแรก (ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) คือ ถ้ายิ่งห้ามให้คิด ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องสงสัย ว่าทำไม อะไร เอาเหตุผลใดมาใช้ห้าม สมควรจะเชื่อไหมว่าจริงหรือไม่ประการใด แล้วตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบที่มีเหตุผลด้วยตัวเอง เมื่อผ่านขั้นตอนเหล่านี้ก่อนแล้วจึงค่อยตัดสินใจ มิใช่เชื่อโดยเปิดหูเปิดตา แต่ปิดกระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผลไว้ ประการที่สอง ถ้าไม่ห้ามเพื่อเป็นการที่จะไม่ยุให้คิดหรือสงสัย ยิ่งเป็นการดี เมื่อกรอบกว้างขึ้น เราจะยิ่งคิด สงสัย ตั้งคำถามและตอบคำถามได้ด้วยเหตุผลที่ดีกว่าเดิม และผู้คนจะเห็นและเข้าใจในเหตุผลที่สมเหตุสมผลที่เป็นจริงมากขึ้นกว่าที่ เป็นอยู่ ตลอดจนจะใช้อารมณ์ความรู้สึกน้อยลงในการตัดสินคุณค่าบางอย่าง

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะยังไง ถ้าเรายืนอยู่บนเหตุผล (ตรรกะที่ถูกต้อง) ไม่ว่าจะถูกเครื่องมือใดมาบีบบังคับตลอดจนผลักไสให้ต่างออกไป เราก็สามารถหยิบเครื่องมือที่ทำกับเรามาใช้เป็นเครื่องมือที่ค้ำจุนตัวเรา เอง หนำซ้ำยังทำให้เหตุผลของเราแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำไป