WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 29, 2011

อ.สุรพศ ทวีศักดิ์ แลกเปลี่ยนกับหลวงพี่ไพศาล

ที่มา thaifreenews

โดย เสรีชน คนใต้

"ชีวิตใหม่ ไม่ได้อยู่ที่ว่ามีบ้านหลังใหม่ มีรถคันใหม่ หรือว่ามีคู่ครองคนใหม่ หรือที่ไม่เคยมี ก็มีสักคน นั้นไม่ทำให้ชีวิตของเราใหม่อย่างแท้จริง จนกว่าเราจะมีใจที่ใหม่ และใจที่ใหม่ก็เกิดขึ้นได้จากการปลดเปลื้องอารมณ์เก่า ๆ ที่หมักหมมในจิตใจออกไปเสีย" - พระไพศาล วิสาโล

ระยะหลังมานี้หลวง พี่ไพศาลมักจะเน้นเรื่อง “ธรรมะทำใจ” มากขึ้น จะว่าไปการเน้นเช่นนี้ก็คือจารีตพุทธเถรวาทไทย แต่หลวงพี่ไพศาลเป็น “พระนอกกระหลักอยู่” นะ หากมองจากประวัติที่ท่านเคยเป็นอดีตนักศึกษาช่วง 6 ตุลา 19 แม้จะออกบวชหลังจากนั้นท่านก็ทำกิจกรรมทางสังคมมาตลอด นอกจากนี้ยังมีงานแปลที่สะท้อนความคิดก้าวหน้าทั้งด้านศาสนาและสังคมออกมา เรื่อยๆ

แต่ระยะหลังดูเหมือนท่านจะเน้นมากเป็นพิเศษเรื่อง “ธรรมะทำใจ” หรือว่าจากประสบการณ์ที่เคยต่อสู้มา ท่านอาจเห็นความผันแปรไม่แน่นอนของสังคมมากขึ้นๆ ทำให้ท่านคิดเหมือนเสกสรรค์ ประเสริฐกุล (ประมาณ) ว่า “สมัยหนุ่มเคยคิดฝันจะเปลี่ยนแปลงสังคมเปลี่ยนแปลงโลก แต่พออายุมากขึ้น รู้จักโลกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมาฝึกปฏิบัติทางพุทธศาสนา ทำให้เข้าใจได้ว่าที่สังคมมันเป็นอย่างที่มันเป็น ก็เพราะมันมีเหตุปัจจัยให้ต้องเป็นเช่นนั้น”

ความคิดเช่นนี้พอที่จะ เข้าใจได้ เพราะผมเองเคยอ่านความคิดของ “กูรูทางพุทธศาสนา” บางคนที่มองว่า ปัญหาของโลก โดยเฉพาะปัญหาทางสังคมการเมืองนั้นเป็นปัญหาที่ไม่มีวันจบสิ้น แก้ปัญหาหนึ่งได้ ก็มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาให้แก้อีกไม่จบสิ้น และ “ชีวิตทางการเมือง” หรือชีวิตแห่งการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองก็เป็นชีวิตแห่งความขัด แย้ง ตึงเครียด สุมเสี่ยง อาจสูญเสียอิสรภาพ แม้กระทั่งชีวิต

แต่ “ชีวิตทางศาสนา” คือชีวิตที่ตระหนักว่าเรามีเวลาอยู่ในโลกนี้อย่างจำกัด ในเวลาอันแสนสั้นของชีวิต สิ่งที่เราต้องหาคำตอบให้ได้คือ ทำอย่างไรชีวิตจะพบความสุขสงบที่แท้จริง

หลวงพี่ไพศาล คงเห็นความขัดแย้งในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาว่า มีความโกรธ ความเกลียดชัง และความรุนแรงที่ต่างฝ่ายต่างสาดใส่กัน ท่านจึงออกมาเรียกร้องให้ผู้คนละความโกรธ ความเกลียดชัง หันมาใช้เหตุใช้ผล ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหา อีกอย่างท่านคงสัมผัสชีวิตของ “ชนชั้นกลางวัฒนธรรม” มากเป็นพิเศษ และพบว่าชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นเครียด วิตกกังวล และโหยหาความสงบ

แต่อย่างไรก็ตาม แม้พุทธศาสนาจะเห็นว่า “ธรรมะทำใจ” มีความสำคัญ แต่พุทธศาสนาก็สอนเรื่อง “อิทัปปัจจยตา” คือ ความเป็นเหตุปัจจัย หรือความที่ชีวิตเราต่างดำรงอยู่อย่างเกาะเกี่ยวสัมพันธ์ภายใต้โครงสร้างของ ระบบสังคมการเมือง และระบบความสัมพันธ์กับสรรพสิ่งในธรรมชาติ

ฉะนั้น เมื่อเราพูดว่าสังคมเป็นอย่างที่มันเป็นก็เพราะมันมีเหตุปัจจัยให้ต้องเป็น เช่นนั้น (เหมือนทุกวันนี้คนไม่กล้าวิจารณ์กติกา โครงสร้าง อุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ว่าเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตยและก่อให้ เกิด “สองมาตรฐาน” ในระบบยุติธรรมไทยอย่างไร ทั้งที่พวกเขามองเห็นปัญหานี้ หรือ “ตาสว่างแล้ว” แต่ยังต้อง “หุบปาก” ก็เพราะระบบโครงสร้างของสังคมที่มี ม.8 และ ม.112 ทำให้พวกเขาต้องเป็นเช่นนั้น)...แต่ก็ต้องคิดต่อด้วยว่า เราจะแก้เหตุปัจจัยที่ทำให้สังคมเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร

พูดตรงๆ คือ เมื่อมองเห็นว่าที่สังคมเป็นเช่นนั้นเพราะมีเหตุปัจจัยให้ต้องเป็น ก็ควรจะมองเห็นต่อไปด้วยว่า เราจะแก้เหตุปัจจัยนั้นๆ อย่างไร จึงจะทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สภาวะที่ควรจะเป็น หากคิดในมุมนี้ “ธรรมะทำใจ” คงไม่เพียงพอที่จะช่วยให้ผู้คนมี “ชีวิตใหม่” ภายใต้ “โครงสร้างที่เก่าแก่” ได้!

จากเฟสบุคสุรพศ ทวีศักดิ์