WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 28, 2011

เครือข่าย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ยื่นหนังสือนายกฯ ห่วงผลกระทบจากเขื่อนไซยะบุรี

ที่มา Thai E-News



พักเรื่องการเมือง มาดูความเคลื่อนไหวของชาวบ้านริมโขงกับความพยายามพิทักษ์ลำน้ำโขงกันบ้างนะพี่น้อง!

ที่มา ประชาไท
27 ธันวาคม 2554


25 ธ.ค.54 ที่จังหวัดศรีสะเกษ เครือข่ายสภาชุมชนลุ่มน้ำโขง (คสข.) ได้เข้ายื่นหนังสือกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งเดินทางมาปฏิบัติภารกิจที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นประเด็นสืบเนื่องจากการรณรงค์ที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีการประชุมของคณะรัฐมนตรีอาเซียน ที่เสียมเรียบ ประเทศเขมร และมีมติให้เลื่อนการพิจารณาออกไป และให้ประเทศญี่ปุ่นทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ซึ่งยังไม่ชัดเจนในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในลุ่มน้ำโขง

เนื้อหา ในหนังสือเรียกร้องให้ประชาชนในลุ่มน้ำโขงมีส่วนร่วมในการในการกำหนดกรอบใน การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อ พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี

0 0 0 0 0


ที่ คสข.พิเศษ/๒๕๕๔ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง (คสข.)

๒๗๔ หมู่ ๒ ตำบลบุ่งคล้า

อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ

วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔


เรื่อง ขอให้ยุติการสร้างเขื่อนไซยะบุรี

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

ใน นามของเครือข่ายประชาชน ๘ จังหวัดลุ่มน้ำโขง อันประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ได้ทำงานติดตามกรณีเขื่อนไซยะบุรี บนแม่น้ำโขง ในพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว แม้ว่าเขื่อนจะตั้งอยู่ในสปป.ลาว แต่โครงการเขื่อนไซยะบุรีก็เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากมี บริษัท ช การช่าง (มหาชน) จำกัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไทย ๔ แห่งในการพัฒนาโครงการ ขณะที่ผู้รับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนดังกล่าว คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ทั้งไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม จะแสดงเจตจำนงต่อพันธกรณีตามกฎหมายตามความตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.๒๕๓๘ ในการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบ นิเวศของแม่น้ำ และวิถีชีวิตของประชาชนกว่า ๖๐ ล้านคนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ซึ่งได้พึ่งพาอาศัยแม่น้ำโขงทั้งโดยตรง และโดยอ้อม

จากข้อค้นพบของ การศึกษาต่างๆ จากนักวิชาการ ยังแสดงให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกโครงการนี้ โดยเฉพาะรายงานการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ ของ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่าเขื่อนไซยะบุรีจะส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตการอพยพของพันธุ์ปลา และอาจเป็นเหตุให้มีการสูญพันธุ์ของพันธุ์สัตว์น้ำกว่า ๔๑ ชนิดในแม่น้ำโขง รวมทั้งปลาบึกด้วย ดังนั้น จึงมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลได้ตระหนัก และดำเนินการในประเด็น ดังต่อไปนี้

๑. ควรให้ประชาชนในพื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำโขง ๘ จังหวัด ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของเขื่อนไซยะ บุรี และมีส่วนร่วมในการศึกษาผลกระทบดังกล่าวนี้ทุกขั้นตอนในกระบวนการศึกษา

๒. ควรมีการจัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของเขื่อนไซยะบุรีใหม่ ให้สอดคล้องกับความคาดหวังในระดับสากลที่มีต่อเขื่อนขนาดใหญ่ที่สร้างในแม่ น้ำที่ไหลข้ามพรมแดน ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์อย่างละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบข้ามพรมแดนที่อาจเกิด ขึ้นเนื่องจากโครงการนี้

๓. เนื่องจากการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมีข้อบกพร่อง และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะทราบก่อนกระบวนการรับฟังความเห็นและมี ส่วนร่วมของประชาชน จึงถือได้ว่ากระบวนการเหล่านี้มีข้อบกพร่องอย่างฉกรรจ์ เมื่อจัดทำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจนเสร็จแล้ว ก็ควรนำผลการวิเคราะห์นั้นมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดให้มีการรับฟังความ เห็นและมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนในสปป.ลาวและประเทศ อื่นๆ อีกสามแห่งในแม่น้ำโขงตอนล่าง

๔. การตัดสินใจให้สร้างเขื่อนไซยะบุรีตามโครงการที่เสนอมีแนวโน้มทำให้เกิดผล กระทบร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นทรัพยากรร่วมของประเทศต่าง ๆ และยังขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของ สปป.ลาว ตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity)

๕. การตัดสินใจให้สร้างเขื่อนไซยะบุรีตามโครงการที่เสนอมีแนวโน้มทำให้เกิด อันตรายร้ายแรงต่อรัฐเพื่อนบ้าน ซึ่งขัดกับการปฏิบัติหน้าที่ของ สปป.ลาว ในการป้องกันอันตรายข้ามพรมแดน

๖. การตัดสินใจให้สร้างเขื่อนไซยะบุรีตามโครงการที่เสนอขัดกับหลักการป้องกัน ไว้ก่อน เนื่องจากการตัดสินใจดังกล่าวไม่คำนึงความไม่แน่นอนและข้อกังวลเกี่ยวกับผล กระทบของเขื่อน และไม่แสดงให้เห็นว่าจะสามารถนำมาตรการลดผลกระทบเหล่านี้ไปปฏิบัติได้จริง

๗. ประเทศกัมพูชา ไทย และเวียดนามมีสิทธิและหน้าที่ในการป้องกันผลกระทบร้ายแรงจากเขื่อนไซยะบุรี ที่มีต่อแม่น้ำโขง รัฐบาลประเทศเหล่านี้มีสิทธิได้รับการเยียวยาด้านการเงินเนื่องจากผลกระทบ ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในเขตอำนาจของตน

๘. ให้รัฐบาลไทยยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ดัง นั้น เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง (คสข.) หวังว่ารัฐบาลไทย จะไม่คำนึงถึงผลประโยชน์เชิงธุรกิจของคนส่วนน้อย แต่ทำลายวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงหลายล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ควรเคารพภูมินิเวศวัฒนธรรมชุมชน โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน เพื่อให้สังคมสุวรรณภูมิอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขต่อไป



ขอแสดงความนับถือ

(................................) (...................................)

ตัวแทนจังหวัดเลย .......... ตัวแทนจังหวัดหนองคาย





(................................) (.....................................)

ตัวแทนจังหวัดบึงกาฬ ........ ตัวแทนจังหวัดนครพนม





(................................) (....................................)

ตัวแทนจังหวัดมุกดาหาร ...... ตัวแทนจังหวัดอำนาจเจริญ





(....................................) (.......................................)

ตัวแทนจังหวัดอุบลราชธานี .........ตัวแทนจังหวัดเชียงราย

0 0 0 0 0