WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, December 26, 2011

ความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมชายแดนใต้

ที่มา ประชาไท

มูฮาหมัดอัณวัร อิสมาอีล (หะยีเต๊ะ)

ร่างผลการศึกษาของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ที่ได้ออกมาเปิดเผยผลการศึกษาข้อมูลสถิติคดีและข้อค้นพบในคดีความมั่นคง ด้านความชอบด้วยกฎหมายของคดีความมั่นคงในภาคใต้จำนวน 100 คดี ที่ผ่านการพิพากษาของศาลชั้นต้นระหว่างปี 2553 ถึงต้นปี 2554 สามารถสรุปได้ว่าในจำนวนคดี 100 คดีนั้น คดีที่ศาลยกฟ้องมีถึง 72 คดี มีเพียง 28 คดีที่ศาลพิพากษาลงโทษ

การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่เป็นที่รับรู้ว่าเกิดการปฏิบัติด้วยความไม่ เป็นธรรมต่อชาวมลายูมุสลิมชนส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ หลายองค์กรหลายสถาบันวิจัยที่ออกมาเผยแพร่ถึงผลที่เกิดจากการบังคับใช้ กฎหมายพิเศษ 2 ฉบับ (พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และพ.ร.ก.ฉุกเฉิน) และกฎหมายธรรมดา(ป.วิ.อาญา) แต่กลับไม่ได้กระเพื่อมไปถึงผู้ปกครองส่วนกลางเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาอย่างจริง จังแต่อย่างใด 72 คดีที่ยกฟ้องนักกฎหมายมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้ให้เหตุผลที่มีส่วนทำ ให้มีคดียกฟ้องเกินกว่าครึ่งนั้นเนื่องจากการขาดน้ำหนักของพยานหลักฐานที่ เจ้าหน้าที่นำเสนอในชั้นศาล หรือนับได้ว่าจำนวนคดีที่ยกฟ้องมาจากเหตุผลนี้ร้อยละร้อย

ผลของการศึกษาคดีความมั่นคงเพียงช่วงเวลา 1 ปี จำนวน 100 คดี ได้สะท้อนให้เห็นถึงความพร่องของกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ขั้นของการเชิญตัว การกักตัว และซักถามตัวผู้ต้องสงสัย ด้วยกฎหมายพิเศษทั้ง 2 ฉบับ และกฎหมายธรรมดา การปฏิบัติต่อบุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยและเป็นผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่ความ มั่นคง มีการข่มขู่ และทำร้ายร่างกาย ด้วยการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพและขู่เข็ญตั้งแต่ในขั้นตอนการจับกุม การกักหรือคุมตัวไปจนถึงการซักถามหรือสอบสวนตามกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ

ข้อมูลระบุว่าในการเชิญตัวภายใต้การบังคับใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามกฎ อัยการศึก ใน 100 คดีมีผู้ถูกทำร้ายร่างกาย 33 คดี มีการใช้วาจาที่ไม่สุภาพ 35 คดี ถูกข่มขู่ 25 คดี เทียบกันกับการบังคับใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในขั้นการเชิญตัวหรือจับกุมปรากฏว่ามีผู้ถูกทำร้าย และใช้ถ้อยคำไม่สุภาพด้วยเช่นกันในจำนวนพอๆกันคือกรณีละ 16 คดี ถูกขู่เข็ญ 12 คดี และในการจับกุมในชั้นของการใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ปรากฏว่ามี บุคคลถูกทำร้ายร่างกายถึง 23 คดี มีการใช้วาจาไม่สุภาพด้วย 12 คดีและ ถูกขู่เข็ญ 13 คดี

ขั้นการซักถาม ภายใต้กฎหมายพิเศษ และการสอบสวนชั้น ป.วิ.อาญา เป็นขั้นของการได้มาซึ่งคำรับสารภาพแต่ขั้นตอนนี้กลับเป็นขั้นตอนที่มีการ กระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายมีการทำร้ายร่างกาย และขู่เข็ญ เช่นเดียวกัน พฤติกรรมเหล่านี้ผู้เชียวชาญด้านกฎหมายเป็นกังวลอย่างมาก การทำร้ายร่างกายในระหว่างการซักถามภายใต้กฎอัยการศึก พบว่ามีถึง 39 คดี การขู่เข็ญ 27 คดี และการใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ 25 คดี ยังมีการทำร้ายร่างกายและใช้ถ้อยคำไม่สุภาพระหว่างการซักถามภายใต้พ.ร.ก.ฉุก เฉินกรณีละ 25 คดี และการขู่เข็ญ 37 คดี และเหตุที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือการถูกทำร้ายในระหว่างการสอบปากคำภายใต้ขั้น ตอนตาม ป.วิ.อาญา ซึ่งสถิติระบุว่า มีผู้ถูกควบคุมตัวถูกข่มขู่ถึง 24 คดี ถูกทำร้ายร่างกาย 18 คดี และการใช้วาจาไม่สุภาพต่อผู้ถูกสอบปากคำจำนวน 17 คดี แต่ข้อมูลที่ได้มาในขั้นตอนนี้ เจ้าหน้าที่ได้ทำสำนวนคดีส่งฟ้องต่อศาลและศาลก็รับสำนวนฟ้องด้วยการประเมิน ว่าเจ้าหน้าที่และอัยการมีการสอบสวนและซักถามข้อมูลก่อนส่งมาแล้ว ส่งผลให้เกิดคดีที่ยกฟ้องชั้นไต่ส่วนมูลฟ้องเป็นจำนวนมาก

ข้อหาหรือฐานความผิดในคดีความมั่นคงที่พบมากที่สุดในจำนวนคดีที่หยิบยกมา 100 คดี เป็นข้อหาก่อการร้ายมีทั้งสิ้น 76 คดี ในคดีนี้มีการยกฟ้องถึง 57 คดี และกลุ่มคดีก่อการร้ายก็มีการถูกตัดสินลงโทษจำนวน 19 คดี ข้อหารองลงมาคืออั้งยี่ซ่องโจรจำนวน 62 คดี ยกฟ้อง 45 คดี ตัดสินลงโทษ 17 คดี และข้อหาความผิดต่อชีวิต 54 คดี มีการยกฟ้อง 42 คดี ตัดสินลงโทษในคดีความผิดต่อชีวิต 12 คดี ข้อที่น่าสังเกตในส่วนของข้อหากบฏที่มีจำนวนการฟ้องเพียง 2 คดี ซึ่งถูกตัดสินลงโทษว่ามีความผิด ที่น่าสนใจคือสถิติของการตั้งข้อหาในคดีกบฏลดลงจากเดิม เมื่อเทียบกับอดีตที่องค์กรที่เคลื่อนไหวในพื้นที่มีการแสดงตัวตนและจุด ประสงค์การออกมาเคลื่อนอย่างชัดเจนเพื่อแบ่งแยกดินแดน แต่ขบวนการที่ออกมาเคลื่อนไหวในปัจจุบันไม่เห็นตัวตน และไม่ได้ระบุจุดหมายทางอุดมการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจน แม้ว่าในทางการสอบสวนทางลับจะมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเพื่อเป้าประสงค์ใด และการเป็นสมาชิกของขบวนการในอดีตมีบัตรสมาชิกและทราบตัวผู้นำที่แน่นอน ซึ่งต่างจากสมาชิกที่เข้าร่วมขบวนการในปัจจุบันไม่มีบัตรสมาชิกและไม่ทราบ ถึงตัวผู้นำขององค์กรแต่อย่างใด และการเคลื่อนไหวอย่างลับๆ นับว่าเป็นกระบวนขั้นตอนที่ถูกวางไว้ของขบวนการที่มองถึงอนาคต และส่งผลให้หลักฐานการเอาผิดฐานกบฏไม่มีน้ำหนักเพียงพอ

เมื่อข้อมูลออกมาเป็นเช่นนี้การให้ปากคำ หรือคำรับสารภาพของผู้ต้องสงสัย และผู้ต้องหาในขั้นตอนไม่ว่าขั้นซักถามภายใต้กฎหมายพิเศษทั้ง 2 ฉบับ หรือการสอบสวนชั้น ป.วิ.อาญา เจ้าหน้าที่สอบสวนไม่ได้ระบุถึงวิธีการได้มาซึ่งคำให้การหรือคำรับสารภาพ ระบุเพียงว่าผู้ต้องสงสัย หรือผู้ต้องหารับสารภาพเท่านั้น ส่งผลให้ศาลมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาตามข้อมูลที่อัยการส่งสำนวนคดี และคดียกฟ้องตามมาเป็นจำนวนมาก

การให้การของผู้ต้องหาหรือจำเลยในชั้นสอบสวนตามกระบวนการ ป.วิ.อาญา มีผลต่อการไต่ส่วนในชั้นศาล การให้การรับสารภาพและปฏิเสธของจำเลยพบปรากฏว่าในจำนวน 100 คดี มีการรับสารภาพจำนวน 26 คดี ปฏิเสธ 72 คดี และภาคเสธหรือสารภาพบางส่วน 2 คดี เมื่อแบ่งสถิติของการรับสารภาพมีคดีที่ถูกยกฟ้องจำนวน 14 คดี จำเลยให้การปฏิเสธคดีตัดสินยกฟ้อง 57 คดี จำเลยสารภาพบางส่วนและคดียกฟ้อง 1 คดี ส่วนคดีที่ถูกลงโทษในส่วนของการรับสารภาพ 12 คดี ปฏิเสธ 15 คดี สารภาพบางส่วน 1 คดี

สังเกตได้ว่าการให้การรับสารภาพที่ได้มาจากในชั้นการซักถามภายใต้กฎหมาย พิเศษ ไม่ว่าจะเป็นกฎอัยการศึกหรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นพยานหลักฐานที่ศาลไม่รับฟัง แต่ปรากฏมากในสำนวนฟ้องของเจ้าหน้าที่มักจะเป็นเรื่องของการอาศัยคำรับ สารภาพที่ได้จากชั้นซักถาม นักกฎหมายระบุว่า ที่ศาลไม่รับฟังนั้นส่วนหนึ่งเพราะถือว่า การได้มาซึ่งคำสารภาพหรือหลักฐานเช่นนี้อยู่นอกเหนือวิธีการได้มาซึ่งพยาน หลักฐานที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาคดี นั่นคือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

และนักกฎหมายระบุด้วยว่า ยังมีเหตุผลอื่นๆอีกหลายประการที่มีส่วนทำให้พยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่นำ เสนอในชั้นศาลขาดน้ำหนัก ส่งผลให้ตัวเลขการยกฟ้องอันเนื่องมาจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอมีสัดส่วนสูง หากเทียบแล้วถือได้ว่าอัตราส่วนของคดีที่ยกฟ้องด้วยเหตุผลเพราะพยานหลักฐาน ไม่เพียงพอเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม

ผลการศึกษายังพบด้วยว่า ในการปฏิบัติต่อบุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยและเป็นผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่ ด้านความมั่นคง แม้ในหลายกรณีเจ้าหน้าที่จะให้ความเคารพในเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา แต่กลับพบว่ามีการข่มขู่ทำร้ายทั้งทางร่างกายและวาจา ด้วยการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพและขู่เข็ญตั้งแต่ในขั้นตอนการจับกุม การกักหรือคุมตัวไปจนถึงการซักถามหรือสอบสวนไม่ว่าตามกฎหมายพิเศษหรือภายใต้ กฎหมายธรรมดาก็ตาม

ประเด็นควรจะขับเคลื่อนกันต่อไปคือ ภายใต้กฎหมายพิเศษทั้ง 2 ฉบับ ปัญหาที่ทำให้เกิดพฤติกรรมอันมิชอบด้วยกฎหมายที่มาจากผู้มีอำนาจละเมิดสิทธิ ของความเป็นมนุษย์ มาจากตัวคนหรือตัวบทกฎหมายที่มีความผิดพลาด ที่ผ่านมาการถกเถียงกันในประเด็นนี้ ความผิดได้ถูกโยนไปยังตัวคนที่บังคับใช้กฎหมาย แต่ไม่ได้ลงลึกไปดูที่ตัวกฎหมายที่บังคับใช้ ว่าควรแก้ไข ยกเลิก หรือปฏิรูปหรือไม่