WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 30, 2012

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: จินตนาการสยามที่ไร้พริกและมะละกอ

ที่มา ประชาไท

"เรา อาจจะนึกไม่ถึงว่าครั้งหนึ่งในอดีต คนไทยอาจจะไม่ได้กินเผ็ดอย่างที่เราเข้าใจในปัจจุบัน พริกถูกนำเข้ามาในฐานะที่เป็นพืชสวน ไม่ใช่พืชป่า มีความเป็นไปได้ พวกชวนนิษฐานว่าโปรตุเกสนั่นแหละที่เป็นคนนำ "piri-piri" หรือ พริก เข้ามาในสังคมไทย และทำให้ถูกกลืนให้กลายเป็นไทย จนทุกวันนี้คนโปรตุเกสอาจนึกไม่ถึงว่าคนไทยกินอะไรเผ็ดแบบนี้"

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ



สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อภิปรายหัวข้อ "โปรตุเกส-อยุธยา และลัทธิอาณานิคมตะวันตก" ในการสัมมนา "500 ปี ความสัมพันธ์สยามประเทศไทยกับโปรตุเกส และชาติตะวันตกในอุษาคเนย์ 2054-2554" เมื่อ 26 ม.ค. ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 26 – 27 ม.ค. มีการจัดสัมมนา "500 ปี ความสัมพันธ์สยามประเทศไทยกับโปรตุเกส และชาติตะวันตกในอุษาคเนย์ 2054-2554" ณ หอประชุมใหญ่ อาคาร 100 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยงานเสวนาดังกล่าวจะโดยมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คณะศิลปศาสตร์ และโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ม. ธรรมศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมจดหมายเหตุสยาม

โดยในวันแรกของงานคือวันที่ 26 ม.ค. ในช่วงอภิปรายหัวข้อ "โปรตุเกส-อยุธยา และลัทธิอาณานิคมตะวันตก" สุธา ชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสุธาชัยชี้ว่าการที่โปรตุเกสเข้ามายังทวีปเอเชียของโปรตุเกสก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงสามด้านใหญ่ๆ ได้แก่ หนึ่ง ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางความรู้ในเชิงภูมิศาสตร์ สอง ก่อให้เกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสาม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและอาหารการกิน

ในการเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตและอาหารการกิน สุทธาชัยอภิปรายว่า เราอาจนึกไม่ถึงว่า โลกก่อน ค.ศ. 1500 เผลอๆ อาหารการกินของโลกไม่ได้เป็นแบบปัจจุบันเลย เราอาจจะนึกไม่ถึงว่าได้เกิดการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในด้านอาหารการกิน

ลองนึกดูว่าสิ่งใหม่ที่เข้ามาใน ชีวิตของชาวยุโรปที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือเครื่องเทศจากเอเชีย คือมันฝรั่ง ลองนึกถึงฝรั่งที่ไม่มีมันฝรั่ง ไม่มีมะเขือเทศ ฟักทอง ใบชา กาแฟ โกโก้ วานิลลา ยาสูบ ... ทั้งหมดนี้ไม่มีเลยนะครับ

"เราแทบจะจินตภาพไม่ได้เลยว่า เฮ้ย อังกฤษในสมัยกลางนี่มันกินอะไรของมันวะ กินเนื้อต้มกับเกลือ (หัวเราะ) ดังนั้น เราจะเห็นว่าอาหารทั้งหมดมาจากดินแดนอื่นๆ มาจากดินแดนอื่นทั้งนั้น มาจากโลกใหม่ทั้งนั้น สิ่งใหม่ต่างๆ เหล่านี้ถูกนำเข้ามาโดยสเปนกับโปรตุเกส อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตทั้งหมดของชาวยุโรป"

กรณีของสยาม เป็นสิ่งที่เรารู้โดยทั่วไปว่าโปรตุเกสได้นำเอาของหวานอย่างฝอยทอง ทองหยอด ลูกชุบเข้ามา และที่ผมดูมาแล้ว ผมคิดว่าเราแน่นะ เราพัฒนาเองก็มีนะ ผมไปอยู่โปรตุเกสไม่เคยเจอ "ทองหยิบ" นะ ทองหยิบที่ใส่ถ้วยเล็กๆ ต้องฝีมือเราเอง ของแท้และแน่นอน เขามีทองหยอด มีฝอยทอง แต่ไม่มีทองหยิบ เราสามารถพัฒนาของเราเองได้

และขนมฝรั่งกุฎีจีน พวกขนมปัง พวกขนมฝรั่ง จริงๆ สิ่งที่โปรตุเกสนำเข้ามาคือการทำขนมด้วยไข่และแป้ง ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการทำขนมดั้งเดิมของสยาม มีความเป็นไปได้ว่าสยามดั้งเดิมทำขนมด้วยข้าวเจ้า แป้งข้าวเจ้าเป็นหลัก น้ำตาล ก็ไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจ น้ำตาลคือน้ำของต้นตาล ปัจจุบันน้ำตาลเป็นน้ำตาลปี๊บ

"พืชพรรณ เราอาจจะนึกไม่ถึงนะว่า คราวนี้ผมจะมาตั้งคำถามกับไทยเราบ้าง พริก หรือ piri-piri นั้นเป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกากลาง เผลอๆ ไม่ใช่พืชพื้นเมืองของเอเชีย หรือถ้าเป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียก็ไม่ใช่พืชพื้นเมืองของไทย เราอาจจะนึกไม่ถึงว่าครั้งหนึ่งในอดีต คนไทยอาจจะไม่ได้กินเผ็ดอย่างที่เราเข้าใจในปัจจุบัน พริกถูกนำเข้ามาในฐานะที่เป็นพืชสวน ไม่ใช่พืชป่า มีความเป็นไปได้ พวกชวนนิษฐานว่าโปรตุเกสนั่นแหละที่เป็นคนนำ "piri-piri" หรือ พริก เข้ามาในสังคมไทย และทำให้ถูกกลืนให้กลายเป็นไทย จนทุกวันนี้คนโปรตุเกสอาจนึกไม่ถึงว่าคนไทยกินอะไรเผ็ดแบบนี้"

แต่น่าตื่นเต้นว่า คนไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่กินเผ็ด ในอเมริกากลาง พวกเม็กซิโก หลายประเทศก็กินเผ็ด ในแอฟริกา แกมเบีย พวกนี้ก็กินเผ็ด เอธิโอเปียก็กินเผ็ด เพราะฉะนั้นประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่กินเผ็ดในโลกนี้

"มะละกอไม่ได้เป็นพืชพื้นเมืองของสยามและเอเชีย หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย น่าตื่นเต้นนะครับว่าเราไม่เคยกินส้มตำกันมาก่อน มะละกอเป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก ยังเป็นไปได้ว่าโปรตุเกสและสเปนเอาไปเผยแพร่ทั่วโลก ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามะละกอเข้ามาในไทยได้อย่างไร แล้วสุดท้ายกลายเป็นพืชประจำชาติของประเทศลาวไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเราลองจินตภาพถึงสังคมไทยที่ไม่มีพริกและมะละกอ หึๆ"

ส่วนผลไม้ต่างๆ ทั้งหมดนั้น เรื่องใหญ่มาก ทั้งฝรั่ง ไม่ใช่เลยนะ เราไม่มีฝรั่งเลย สับปะรด แรกๆ เราเรียกว่า สรรพรส แปลว่าหลายๆ รถ น้อยหน่า เรียกว่าซึ่งเนี่ยภาษาโปรตุเกสเรียกว่า annona ก็อปปี้คำกันมาเลย พวกนี้มาจากอเมริกาทั้งนั้น

ส้ม พวกเรานึกไม่ถึงนะ ไทยไม่มีส้มนะครับ ส้มโอ องุ่น พวกนี้เป็นพืชพื้นเมืองมาจากเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อก่อนคำว่า "ส้ม" ในภาษาไทยเดิมหมายถึงสิ่งที่เปรี้ยวๆ อย่างเช่นส้มมะขาม คำว่า "สีส้ม" ก็ไม่มี เมีแต่สีแสดหรือไม่ก็สีแดงไปเลย จินตภาพเกี่ยวกับส้มหรือสีส้ม และส้มเป็นลูกๆ ที่เรากินในปัจจุบันนั้น เป็นเรื่องใหม่ เป็นสิ่งที่ถูกนำเข้ามาทั้งนั้น

สรุปแล้วผมคิดว่าการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงเรื่องพืชพันธุ์และอาหาร นั้นเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญมากที่ทำให้โฉมหน้าของสังคมเปลี่ยนไป เมื่อสักครู่ผมยกตัวอย่างในเวลาอันจำกัดยุโรปและเอเชียเราเปลี่ยนด้วยกัน ทั้งคู่ ยุโรปก็ศึกษาเอเชียและก็เปลี่ยนแปลง

ดังนั้น ผมคิดว่า ถ้าเราจะฉลอง 500 ปีความสัมพันธ์โปรตุเกส-ไทย เราจะฉลองอะไรกัน ผมว่าเราน่าจะฉลองเรื่องการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม นี่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญและเป็นใจกลางของความสัมพันธ์ที่เป็นจริงมากกว่าใน ระยะ 500 ปี ถ้าเราพูดกันตั้งแต่ต้นว่าจริงๆ ความสัมพันธ์ทางการเมืองมีน้อยมาก และไม่อยากจะนินทาว่า เมื่อตอนที่ไทยสยามทำสงครามกับพม่านั้น โปรตุเกสเลือกช่วยพม่าไม่ได้ช่วยสยาม ขอบคุณมากครับ