WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 1, 2012

อ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดฝรั่งเศส แล้วคิดถึงมติ กก.บห.ธรรมศาสตร์

ที่มา ประชาไท

กรณีนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนข้อความในเฟซบุ๊คส่วนตน เผยแพร่ความว่า [๑]

"ที่ ประชุมกรรมการบริหารมหาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยคณบดี ผู้อำนวยการสำนักสถาบันมีมติเอกฉันท์ว่ามหาลัยคณะสำนักสถาบันจะไม่อนุญาตให้ ใช้พื้นที่มหาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา 112 อีกต่อไป เพราะมหาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนีนการของมหาลัยหรือมหาลัย เห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้"

หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองประการหนึ่ง ซึ่งจะให้ความกระจ่างในเรื่องนี้คือ หลักความจำเป็น (Principle of Necessity) บนความคิดเบื้องหลังหลักการนี้มีอยู่ว่า "ในระหว่างสิ่งที่เลวร้ายตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปที่จำต้องเลือก บุคคลควรเลือกสิ่งที่เลวร้ายน้อยที่สุด" หลักการนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รับรองไว้ในมาตรา 29 วรรคหนึ่ง [๒]

เรา อาจเห็นภาพพจน์ได้ดียิ่งขึ้น และสอดคล้องกับเนื้อหาอย่างบริบูรณ์ สำหรับพิจารณาเทียบเคียงกรณี "มติ" ซึ่งนายสมคิดฯ เผยแพร่ ข้างต้น สมควรพิจารณาโดยอาศัยคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานศาลปกครองสูงสุดแห่ง สาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่ปรากฏข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันและน่าสนใจยิ่ง ดังนี้ [๓]

ศาลปกครองสูงสุดแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส (Conseil d'Etat) ได้ใช้หลักแห่งความจำเป็น บังคับแก่คดีพิพาทหลายคดี คำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานได้แก่ C.E., 19 mai 1933, Benjamin*

ข้อเท็จจริงในคดีนี้มีว่า ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งเมือง Nevers ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีดำริที่จะจัดประชุมทางวรรณกรรมขึ้น และได้เชิญนาย René Benjamin มาแสดงปาฐกถาต่อที่ประชุมนี้ด้วย

สหภาพครูได้แจ้งให้นายกเทศมนตรี เมือง Nevers ทราบว่าจะทำการต่อต้านการเดินทางมาแสดงปาฐกถาของนาย René Benjamin ทุกวิถีทาง ทั้งนี้ เพราะบุคคลผู้นี้ได้เคยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามบรรดาครูผู้สอนใน โรงเรียนที่ไม่ขึ้นต่อศาสนาไว้ในข้อเขียนต่าง ๆ ของตนหลายครั้ง พร้อมกันนั้นก็ได้เรียกร้อง ทั้งโดยหน้าหนังสือพิมพ์ ใบปลิว และป้ายโฆษณา ให้บรรดาผู้สนับสนุนโรงเรียนของรัฐ สหภาพ ตลอดจนกลุ่มฝ่ายซ้ายต่าง ๆ มาชุมนุมต่อต้านด้วย

นายกเทศมนตรีแห่งเมือง Nevers พิเคราะห์แล้วเห็นว่าการเดินทางมาเมือง Nevers ของนาย René Benjamin เพื่อแสดงปาฐกถาทางวรรณกรรม น่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในเมืองนี้ได้ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๗ แห่งกฎหมายลงวันที่ ๕ เมษายน ค.ศ.๑๘๘๔ ซึ่งบัญญัติว่า "นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ออกมาตรการที่จำเป็นแก่การรักษาความสงบเรียบ ร้อย" ออกคำสั่งห้ามมิให้จัดประชุมฟังการแสดงปาฐกถาของนาย René Benjamin

ศาลปกครองสูงสุดแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส พิพากษาว่า คำสั่งของนายกเทศมนตรีแห่งเมือง Nevers ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้โดยแสดงเหตุผลประกอบคำพิพากษาสรุปได้ว่า ความไม่สงบเรียบร้อยอันอาจเกิดขึ้นจากการมาปรากฏตัวของนาย René Benjamin ในเมือง Nevers นั้นมิได้ร้ายแรงถึงขนาดที่นายกเทศมนตรีไม่สามารถป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้ ด้วยวิธีอื่นที่มีความรุนแรงน้อยกว่าคำสั่งดังกล่าว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือคำสั่งของนายกเทศมนตรีแห่งเมือง Nevers ที่ห้ามมิให้จัดประชุมฟังการแสดงปาฐกถาของนาย René Benjamin นั้นเป็นการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะของประชาชนเกินขอบเขตแห่งความจำ เป็นแก่การรักษาความสงบเรียบร้อยของเมือง Nevers

คดี Benjamin คงทำให้ท่านผู้อ่านประจักษ์แก่คำตอบว่า "มติที่ประชุมกรรมการบริหาร มธ." ซึ่งห้ามคณะนิติราษฎร์ใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินกิจกรรมทางวิชาการและใช้ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้นั้น ย่อมขัดหลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง ส่งผลให้มติดังกล่าว เป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

เชิงอรรถ
* M. LONG, P. WEIL, G. BRAIBANT, Les grands arrêts de la jirisprudence administrative, 7e édition, Paris, Sirey, 1978. pp. 217 - 222.

[๑] มติ ชน (ออนไลน์), ‘"สมคิด" ระบุผู้บริหารมีมติไม่ให้ใช้พื้นที่มธ.เคลื่อนไหว 112 "เกษียร" ชี้น่าเสียใจ นศ.-ศิษย์เก่า ต้าน’ : http://www.matichon.co.th/news_detail.php newsid=1327920954&grpid&catid=01&subcatid=0100

[๒] รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรคหนึ่ง “การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้”

[๓] คัด ข้อความจาก : วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543. หน้า 89 - 90.