ที่มา Thai E-News
3 กุมภาพันธ์ 2555
ที่มา Siam Intelligence
หัวข้อข่าวเดิม "วีระ ธีรภัทร จัดหนัก! “คนที่จะโต้นิติราษฏร์” อ่านเนื้อหาหรือยัง? SIU รวมสรุปข้อเสนอ “นิติราษฎร์”
หลัง จากกลายเป็นที่ฮือฮามีผู้ฟังจากทางบ้านโทรเข้าไปแสดงความเห็นใน รายการของ วีระ ธีรภัทร นัดจัดรายการฝีปากกล้าแห่งคลื่น 96.5 F.M. คลื่นความคิด และแสดงความคิดเห็นที่ยั่วยุจนถึงกับการขู่ทำร้ายร่างกาย (hate speech) ว่าจะจะ “ตัดคอนิติราษฎร์ทิ้ง” ทำให้สังคมเดินหน้าไปสู่ความเกลียดชัง วีระ ธีรภัทร จึงยอนกลับไปถามผู้ฟังว่าคนที่ออกมาโจมตีหรือขู่ที่จะทำร้ายนักวิชาการนิติ ราษฎร์นั้นได้อ่านข้อเสนออย่างถี่ถ้วนหรือยัง? หรือเคลื่อนไหวตามกระแส? SIU ในฐานะสื่อจึงเรียบเรียงข้อเสนอให้สามารถเข้าใจในทุกประเด็นที่นิติราษฎร์ เสนอเพื่อความเข้าใจที่ดีก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ และไม่ให้สังคมเดินหน้าไปสู่ความเกลียดชัง
ประเด็นข้อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ กลายเป็นประเด็นร้อนในแวดวงการเมืองไทยมาติดต่อกันมาหลายสัปดาห์ โดยมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและคัดค้านออกมาแสดงตัว และเรื่องราวยิ่งขยายประเด็นในวงกว้างมากขึ้น หลัง ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาให้ข่าวว่าไม่อนุญาตให้ใช้เวทีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคลื่อนไหวในมาตรา 112 จนเกิดการอภิปรายเรื่อง “เสรีภาพในธรรมศาสตร์” อย่างกว้างขวาง
แต่ ถ้ามองดูข้อถกเถียงใน “กิจกรรมและความเคลื่อนไหว” ที่รายล้อม ม.112 และกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ปรากฎตามหน้าสื่อชั้นนำทั่วไทย เรากลับไม่เห็นการถกเถียงในประเด็นเรื่อง “เนื้อหา” ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์มากนัก ทั้งที่การถกเถียงในเชิงวิชาการเหล่านี้ย่อมจะเกิดประโยชน์ต่อทิศทางเชิง นโยบายโดยรวม มากกว่ากิจกรรมระยะสั้นที่ผ่านพ้นวันก็จบกันไป
SIU จึงขอ “ย้อนทวน” ดูประเด็นข้อเสนอต่างๆ ของคณะนิติราษฎร์ในอดีตที่ผ่านมา ว่าตกลงแล้ว กลุ่มนิติราษฎร์ที่คนทั้งรักและเกลียด มีข้อเสนออะไรต่อสังคมไทยกันแน่?
ย้อนอดีต “นิติราษฎร์”คณะ นิติราษฎร์ออกมาส่งข้อเสนอต่อสังคมในวันที่ 18 กันยายน 2554 เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และครบรอบ 1 ปีของการก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ (ก่อนหน้านั้น กลุ่มนิติราษฎร์เคลื่อนไหวในชื่อกลุ่มที่เรียกกันว่า “5 อาจารย์ธรรมศาสตร์”)
ข้อเสนอของนิติราษฎร์มี 4 ประการสำคัญ ได้แก่
- การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
- การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
- กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย และการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
- การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รายละเอียดสามารถอ่านได้จาก แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์: ลบล้างผลพวงรัฐประหาร, แก้ไขมาตรา 112, เยียวยาผู้เสียหายจากรัฐประหาร และ จัดทำรธน.ใหม่
ในห้วงเวลานั้นข้อเสนอของนิติราษฎร์ถูกจับตามองอย่างยิ่งในประเด็นแรก คือ “ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร” (ซึ่งเป็นประเด็นที่ 1 ในข้อเสนอ) และถูกวิจารณ์อย่างมากว่าเป็นการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรหรือไม่ จนสัปดาห์ถัดมา 25 กันยายน 2554 ทางคณะนิติราษฎร์ต้องออกมาชี้แจงในประเด็นนี้อีกครั้ง และตอบคำถามและข้อสงสัยจากสาธารณะ (รายละเอียดอ่านที่ คณะนิติราษฎร์ชี้แจง: การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยา 2549)
- ข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์นิติราษฎร์: สารถึงผู้อ่าน – มีคนถาม : นิติราษฎร์ตอบ (ว่าด้วยลบล้างผลพวงรัฐประหาร)
หลัง จากนั้น กลุ่มนิติราษฎร์ได้เงียบหายไปช่วงหนึ่งในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ของปี 2554 ก่อนจะกลับมาอีก 2 ครั้งติดกันในเดือนมกราคม 2555
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 กลุ่มนิติราษฎร์ได้ออกมายื่นข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (ซึ่งเป็นประเด็นที่ 2 ในข้อเสนอเดิม) ซึ่งกลุ่มนิติราษฎร์ได้ลงรายละเอียดจากข้อเสนอเดิมมากขึ้น (รายละเอียดอ่านที่ อ่านและชมคลิป! ข้อเสนอนิติราษฎร์เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112)
- ข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์นิติราษฎร์: สารถึงผู้อ่าน – ข้อเสนอฯ ของนิติราษฏร์ยืนอยู่บนหลักการแห่งกฎหมาย
จากนั้นสัปดาห์ถัดมา 22 มกราคม 2555 นิติราษฎร์ออกมาขยายความข้อเสนอเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ซึ่งเป็นประเด็นที่ 4 ในข้อเสนอเดิม) โดยเสนอให้ตั้ง คณะกรรมการจัดทำรัฐธรรมนูญ จำนวน 25 คน โดยให้รัฐสภาเป็นคนเลือก (รายละเอียดอ่านที่ ‘นิติราษฎร์’ เสนอโรดแมปร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งคณะกรรมการร่าง 25 คน ใช้เวลา 9-10 เดือน)
- ข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์นิติราษฎร์: สารถึงผู้อ่าน – ข้อเสนอนิติราษฎร์ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กล่าว โดยสรุปแล้ว ข้อเสนอของนิติราษฎร์ในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา ยังยืนอยู่บนข้อเสนอ 4 ข้อในวันที่ 18 กันยายน 2554 แต่ขยายความและลงรายละเอียดใน 3 ประเด็นคือ ประเด็นที่ 1-2-4
ดัง นั้นในการ “วิพากษ์” ข้อเสนอของนิติราษฎร์แล้ว จำเป็นต้องเข้าใจ “ภาพรวม” ของข้อเสนอนิติราษฎร์ว่าทั้ง 4 ประการมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร และจะนำไปสู่เป้าหมายอะไร (ซึ่งจะเป็นเรื่องการสนับสนุนความเข้มแข็งของสถาบันฯ หรือเป็นการล้มล้างสถาบันฯ ก็ขึ้นกับมุมมองทางวิชาการ)
ในโอกาสนี้ SIU จึงขอสรุปประเด็นในข้อเสนอ 4 ประการของนิติราษฎร์เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 และเพิ่มรายละเอียดจากการขยายความของนิติราษฎร์ในช่วงหลัง เพื่อเป็น “จุดตั้งต้น” ให้ผู้สนใจสามารถติดตามอ่านเอกสารฉบับเต็มของนิติราษฎร์ (ซึ่งมีความยาวและมีความซับซ้อนสูง) ได้สะดวกมากขึ้น
สำหรับผู้อ่านที่สนใจข้อเสนอของนิติราษฎร์ทั้งหมด สามารถติดตามได้จาก เว็บไซต์ของคณะนิติราษฎร์