WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, February 3, 2012

ยุกติ มุกดาวิจิตร: เสรีภาพใต้ระบอบกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ

ที่มา ประชาไท

สถาบันกษัตริย์ไม่ใช่ลักษณะพิเศษของสังคมไทย เพราะในโลกนี้มีสังคมมากมายที่มีสถาบันกษัตริย์ ตั้งแต่สวาซีแลนด์ เดนมาร์ก อังกฤษ ไปจนถึงญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ มหาอำนาจทางการเมือง หรือมหายาจก ต่างก็มีสถาบันกษัตริย์กันทั้งสิ้น

แต่หากเราจะอยู่กันอย่างประเทศอารยะแล้ว เราควรจะนับเอาประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ที่วางอยู่บนหลักมนุษยนิยมมาเป็น ตัวอย่างเทียบเคียง อย่างไรก็ดี ในข้อเขียนนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ประสงค์จะเปรียบเทียบสถาบันกษัตริย์ของประเทศ ต่างๆ แต่ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า ความนิยมที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย ที่กำลังคุกคามสิทธิเสรีภาพในสังคมไทยอยู่นั้น หรือเรียกสั้นๆได้ว่า "ลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ" นั้น มีลักษณะพิเศคือ เป็นกษัตริย์นิยมที่เป็นปฏิปักษ์กับมนุษยนิยม ดังจะเห็นได้ไม่ยากจากปฏิกิริยาที่นักกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ มีต่อการต่อต้านคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ดังนี้

ประการแรก กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ไม่นิยมเหตุผล เหตุผลเป็นมาตรฐานสำคัญของการวัดความเป็นมนุษยนิยม รายที่แย่หน่อยก็มักด่ากราด ทำลายความเป็นมนุษย์ของเหยื่อด้วยสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะทางภาษาหรือการตัดต่อภาพ บางรายใช้ความเชื่อแบบยุคก่อนมาสาปแช่ง ให้ตกนรกบ้างล่ะ ให้ธรณีสูบบ้างล่ะ โดยหารู้ไม่ว่าไม่มีนักมนุษยนิยมคนใดเขาเชื่อนิทานเหล่านี้กันแล้ว แต่นี่ยังนับว่าเป็นความไร้เหตุผลแบบก่อนสมัยใหม่ที่ตกยุค บางทีกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ก็กล่าวหาคนอย่างเลื่อนลอย เช่น แม้ว่าในข้อเสนอของนิติราษฎร์ แม้ไม่มีข้อความใดบ่งชี้ว่าจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปในทางที่จะล้มล้าง สถาบันกษัตริย์ แต่นักเขียนใหญ่รายหนึ่งก็ยังตะแบงป้ายสีไปน่ำขุ่นๆ ได้ว่า "ผมอ่านข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์อย่างไรๆ ก็ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่ากลุ่มนิติราษฎร์เห็นว่า ราชอาณาจักรไทยหรือประเทศไทยไม่จำเป็นต้องอาศัยพระมหากษัตริย์เป็นประกัน ความมั่นคงต่อไปอีกแล้ว" กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงมักอาศัยสัญลักษณ์ห้วนๆ มาป้ายสีเหยื่อ หรือคิดหาสัญลักษณ์อะไรมาไมาได้ ก็ย้ำความเชื่อของตนเอาเองแบบไม่ต้องอาศัยหลักฐานที่ชัดเจนอะไรเลย ซึ่งในที่สุดก็จะเป็นการเปิดประตูให้ความชั่วร้ายของกษัตริย์นิยมไทยๆ แบบรุนแรง เข้ามาทำร้ายสังคมไทย

ประการต่อมา กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ บางรายยอมแลกการบูชาลัทธิกษัตริย์นิยม กับการทำลายหลักการพื้นฐานของมนุษยนิยม คือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ แบบนี้ไม่ยอมแม้แต่จะให้มีการพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ หรือไม่ยอมแม้แต่จะให้เอ่ยถึง แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาตร้าย ไม่ว่าใครจะกล่าววิจารณ์อะไรต่อพระมหากษัตริย์ ก็จะเป็นการ "จาบจ้วง ล่วงเกิน" ไปเสียทั้งสิ้น กษัตริย์นิยมประเภทนี้ไม่ยอมรับความเท่าเทียมกันของมนุษย์ อันเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของมนุษยนิยมและประชาธิปไตย

นับวัน กษัตริย์นิยมแบบนี้จะค่อยๆ หมดไปในสังคมชนบท "ความทรงจำ" ต่อภาพงดงามของ "พระราชอำนาจ" ส่วนใหญ่เหลือตกค้างอยู่แก่เฉพาะกับคนในเมือง ที่อบอุ่นสุขสบายบนซากศพการตายที่ชายขอบ เพราะการสร้าง "พระราชอำนาจนำ" ขึ้นมาในท้องถิ่นชนบทห่างไกลดังในอดีตนั้น เกิดขึ้นตามยุคสมัยของการต่อสู้กับภัยคุกคามความมั่นคงสมัยหนึ่ง แต่ในสมัยปัจจุบัน บทบาทพระราชอำนาจนำจำเป็นต้องถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ไม่ใช่ในแบบที่เคยคุ้นกันมา แต่ในเมื่อการอภิปรายถึงบทบาทพระมหากษัตริย์ในบริบทใหม่ถูกปิดกั้นเสียแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าพระราชอำนาจนำแบบใดที่เหมาะสมกับสังคมประชาธิปไตยที่คน ส่วนใหญ่ต้องการ

ประการที่สาม กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ หาได้รักเทิดทูนเจ้านายทุกๆ พระองค์ใน "สถาบันพระมหากษัตริย์" อย่างเสมอเหมือนกันไม่ กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ แยกแยะพระมหากษัตริย์ออกจากเจ้านายพระองค์อื่นๆ รักบางพระองค์ เทิดทูนเพียงบางพระองค์ กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงไม่แม้แต่จะให้ความเท่าเทียมกับทุกๆ พระองค์ เจ้านายบางพระองค์จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์แม้แต่จากกลุ่มกษัตริย์นิยมด้วยกัน เอง หากแต่กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ไม่ยอมรับสิทธิเท่าเทียมกันในการวิจารณ์เจ้านาย มีเพียงพวกพ้องของชนชั้นนำเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์เจ้านายได้ อย่างไรก็ดี ในสังคมไทย เราย่อมทราบกันดีว่า นักลัทธิกษัตริย์นิยมก็เป็นนักนินทาเจ้านายเชื้อพระวงค์ไปจนถึงพระบรมวงศานุ วงค์กันแทบทุกคนไป

ประการต่อมา กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ วางความยุติธรรมอยู่บนลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ คือความยุติธรรมที่แทบจะปราศจากหลักมนุษยธรรม ดังคำกล่าวของโฆษกศาลยุติธรรม ที่ลงท้ายบทความ "อากงปลงไม่ตก" (2) ที่ว่า "ผู้เขียนใคร่ขออนุญาตนำเอาคำกล่าวในอดีตที่เคยพูดกันมาเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างชาติให้มีสันติสุขอย่างถาวรยั่งยืนคือ 'อย่าดึงฟ้าต่ำ อย่าทำหินแตก และอย่าแยกแผ่นดิน'" หากโฆษกศาลยุติธรรมกล่าวเช่นนี้เสียเองแล้ว จะให้ประชาชนมั่นใจได้อย่างไรว่า ลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จะไม่กลายเป็นอคติครอบงำศาลเสียจนไม่สถิตความยุติธรรมในระบอบประธิปไตยที่ ต้องวางอยู่บนหลักมนุษยนิยมอีกต่อไป ความยุติธรรมในแบบมนุษยนิยมคือการให้ความเป็นธรรมต่อข้อเท็จจริง ถือว่ามนุษย์เสมอเหมือนกัน พร้อมๆ กับความมีมนุษยธรรมตามสมควร แต่หากสาธารณชนสงสัยว่า การตัดสินของศาลจะมุ่งพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์เหนือกว่าพิทักษ์สิทธิของ ความเป็นมนุษย์แล้ว กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ก็กำลังทำลายมนุษย์เพื่อปกป้องลัทธิบูชาของพวกพ้องตนเองเท่านั้น

ประการที่ห้า กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ยอมให้มีลัทธิกษัตริย์นิยมแบบเดียว คือแบบไทยๆ ที่วางอยู่บนระบอบอำนาจนิยมและระบบอุปถัมภ์ของชนชั้นนำกลุ่มน้อย ความนิยมต่อพระมหากษัตริย์แบบไทยๆ อย่างอื่น คือแบบเป็นเหตุเป็นผล แบบที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยสากล แบบที่จะต้องแยกอำนาจสถาบันกษัตริย์ออกจากอำนาจทางการเมืองโดยเด็ดขาดนั้น ถือว่าเป็นแบบที่ไม่ถูกต้อง กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงคับแคบ ไม่ยินดียอมรับข้อเสนอของกษัตริย์นิยมแบบประชาธิปไตยสากล เนื่องจากกลุ่มพวกพ้องของตนเองที่ปกป้องกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ นี้เท่านั้น ที่จะได้ประโยชน์จากช่องว่างในการอิงแอบ ดึงเอาสถาบันกษัตริย์ลงมาแปดเปื้อนกับการเมือง กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ พิทักษ์อำนาจและข่ายใยของการอุปถัมภ์ค้ำชูพวกพ้องที่อิงแอบอำนาจสถาบันพระ มหากษัตริย์กษัตริย์

ประการต่อมา กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ไม่มีมนุษยธรรม ยอมให้มีการฆ่าล้าง ประหัตประหารมนุษย์ได้ หากแม้นว่ามนุษย์นั้น (ที่มักถูกเรียกในสำนวนครึๆว่า "อ้ายอีคนใด") ไม่นิยมลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ของพวกตน กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงไม่เคยห้ามปรามการกระทำรุนแรง การมุ่งอาฆาตมาตร้ายเพื่อนมนุษย์ในนามของกษัตริย์นิยม ประหนึ่งว่า การฆ่าคนนอกลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ นั้นชอบแล้ว กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ไม่เคยประณามชนวนของการเข่นฆ่าอย่างรุนแรง มากไปกว่าจะไปร่วมยุยงให้เกิดการเข่นฆ่าผู้คนที่วิจารณ์เจ้านายชั้นสูงอย่าง มีเหตุมีผล สำหรับนักลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ การไล่ล่าทุบตีคนที่ไม่ยืนฟังเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ น่ายกย่องเกินกว่าจะถูกทักท้วงหรือดำเนินคดีตามหลักมนุษยนิยม

ในที่สุด ลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงสร้างความกลัวไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่นักการเมืองผู้สู้เพื่อประชาชนตั้งแต่พฤษภาคม 2535 ยังเกรงกลัว ออกโรงมาตักเตือนให้นิติราษฎร์และ ครก.112 หยุดการเคลื่อนไหว ซ้ำร้ายย่ิงกว่านั้น กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ทำให้แม้แต่ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยยังต้องกลัว ลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ในปัจจุบันจึงดำเนินมาถึงขั้นที่มันไม่ต้องทำงานเองอีกต่อไป มันไม่ต้องออกแรงมาทำร้ายผู้คนอย่างบ้าคลั่งเหมือนเมื่อเช้าวันที่ 6 ตค. 2519 อีกต่อไป แต่มันทำงานด้วยการทำให้คนยอมรับเอาความกลัวเข้ามา การข่มขู่เพียงเล็กน้อยประกอบด้วยภาพหลอนความรุนแรงในนามของกษัตริย์นิยมที่ สถาบันการศึกษาเองก็ไม่สามารถพูดถึงตรงไปตรงมาได้ ก็มีพลังเพียงพอที่จะบีบให้สถาบันการศึกษารับความกลัวเข้ามาเป็นเหตุในการ ปิดปากตนเอง

เมื่อศาลก็ถูกสงสัยว่าจะทำงานในนามกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จนไม่อาจพิทักษ์มนุษยนิยมได้แล้ว และปราการสำคัญที่จะปกป้องมนุษยนิยม คือมหาวิทยาลัย อันเป็นสถาบันขั้นสูงของการใช้แห่งเหตุผล ยังกลับปิดกั้นตนเองเพราะความกลัวเสียอีก แล้วจะยังคงหลงเหลือสื่อมวลชน สาธารณชนทั่วไป หรือใครที่ไหนที่จะมาปกป้องความเป็นมนุษย์อยู่อีกต่อไป

ขอร่วมไว้อาลัยแด่ความตายของเสรีภาพที่ธรรมศาสตร์
1 กุมภาพันธ์ 2555
ยุกติ มุกดาวิจิตร