ที่มา ประชาไท
ศิษย์เก่า-ปัจจุบันที่ดำเนินการล่ารายชื่อขอคำตอบจากคณบดีกรณีไม่อนุญาต ให้ใช้พื้นที่จัดงานเสวนากฎหมายหมิ่นฯ เปลี่ยนใจไม่วางพวงหรีดและสืบชะตา หวั่นเกิดเหตุปะทะของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย หันมาชูป้ายรณรงค์และให้ข้อมูลแก่นักศึกษา บุคลทั่วไป ด้านคณบดียืนยันไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 12.12 น. ที่ใต้ตึกวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศิษย์เก่า-ปัจจุบัน ภายใต้ชื่อกลุ่ม “กลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ” จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการ ของคณบดี และคณะผู้บริหารของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง โดยมีการอ่านแถลงการณ์โต้แย้งคำชี้แจงของคณบดีฯ ชูป้าย ให้ข้อมูล และชี้แจงการออกมารณรงค์ของกลุ่มจากตัวแทนศิษย์เก่าของแต่ละรุ่น พร้อมทั้งการควบคุมดูแลอย่างเข้างวดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ในขณะที่กลุ่มฯ ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ดังกล่าว มีกลุ่มนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่ง มารวมตัวชูป้ายเพื่อปกป้องเกียรติภูมิของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง และให้กำลังใจคณบดี พร้อมกับพูดว่านิสิตปัจจุบันไม่อยากให้จัดเสวนาเรื่อง“สิทธิเสรีภาพในระบอบ ประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์” เพราะเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน
หลังจากนั้น รศ. สีดา สอนศรี คณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครองพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เดินทางลงมาชี้แจง พร้อมทั้งยืนยันว่าที่จริงแล้วคณบดีและผู้บริหารไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพทาง วิชาการแต่อย่างใด ให้ทางกลุ่มผู้รณรงค์กลับไปอ่านแถลงการณ์อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกันนั้นได้มีการมอบช่อดอกไม้จากคณบดี ผู้บริหาร และนักศึกษาฝ่ายที่มาชูป้ายปกป้องเกียรติของคณะ ให้แก่กลุ่มผู้รณรงค์อีกด้วย
สำหรับตัวแทนกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ กล่าวแสดงความยินดีสำหรับการกลับมาอีกครั้งของสิทธิเสรีภาพในวิทยาลัยการ เมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แต่ในขณะเดียวกันนี้ ทางกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการระบุว่าจะ ติดตามเฝ้าระวังการจำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ และด้านอื่นๆ ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง รวมทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยมหาสารคามต่อไป
แถลงการณ์
กลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ
เรื่อง ข้อโต้แย้งต่อคำชี้แจงของคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
……………………………………………………………………………………………………………
สืบเนื่องจากกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกขอทราบเหตุผลที่ไม่อนุญาตให้จัดเวทีเสวนาวิชาการใน วิทยาลัยการเมืองการปกครอง และมีการระดมรายชื่อนิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไปเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องเสรีภาพในการจัดเสวนาวิชาการใน วิทยาลัยการเมืองการปกครองให้กลับมามีเสรีภาพอีกครั้งหนึ่ง และคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงต่อกรณีการไม่อนุญาตให้จัดเวทีเสวนาวิชาการในวิทยาลัย การเมืองการปกครอง เหตุผลที่คณบดี และผู้บริหารฯชี้แจงนั้น ทางกลุ่มฯ พิจารณาแล้วมีมติว่า เป็นเหตุผลที่ไม่มีเหตุผล และไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่น่าจะรับฟัง โดยกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ ขอโต้แย้งความจริงใจในการชี้แจงของคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ดังต่อไปนี้
ประเด็นชี้แจงข้อที่ 1 ที่คณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ชี้แจงว่า “...การจัดเสวนาวิชาการเกิดขึ้นท่ามกลางสภาวการณ์ความขัดแย้งทางความคิด ภาวะสับสนของข้อมูลข่าวสาร ความไม่ปลอดภัยและความไม่สงบเรียบร้อย และการป้องกันเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น...ซึ่งประเมินการรักษาความปลอดภัย แล้วว่าไม่สามารถปกป้องหรือระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที...” ประเด็นข้อชี้แจงนี้ทางกลุ่มฯขอโต้แย้งว่า จากการสอบถามถึงรูปแบบของการจัดเสวนาวิชาการ และขอบข่ายเนื้อหาสาระที่จะมีการแลกเปลี่ยนในการเสวนาวิชาการนั้นมิได้มีรูป แบบการไฮปาร์ค การโต้วาที หรือการใช้อารมณ์/อคติที่สุดโต่งในการนำเสนอความคิดเห็น ในทางตรงกันข้ามเวทีเสวนาวิชาการที่จะเกิดขึ้นเป็นเวทีที่จะให้กลุ่มบุคคล ที่มีความแตกต่างทางความคิดได้แสดงเหตุผลหักล้างกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศของความเป็นวิชาการซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรุป ทางวิชาการที่จะเป็นทางออกของสังคมไทย และเวทีดังกล่าวนี้ยังเป็นเวทีที่จะให้ข้อมูลทางวิชาการทั้งสองด้านซึ่งจะ ขจัดความกังวลในประเด็นภาวะความสับสนของข้อมูลข่าวสาร อนึ่งการดำเนินการเช่นนี้ทางกลุ่มฯประเมินว่า จากบริบทของส่วนภูมิภาค และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในเวทีวิชาการของส่วนภูมิภาค (มหาสารคาม) ไม่น่าจะมีความรุนแรงที่จะทำให้เกิดความสูญเสียในชีวิต ทรัพย์สิน การที่คณบดี และผู้บริหารฯ ชี้แจงโดยอ้างเหตุผลข้างต้นเป็นการประเมินสถานการณ์ที่เทียบเคียงบริบทของ สถานการณ์ที่เกินเลยความเป็นจริง และชี้นำให้เกิดความรุนแรงท่ามกลางบรรยากาศของความเป็นวิชาการ
ประเด็นที่ 2 ที่คณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ชี้แจงว่า “...ยังคงคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพในทางวิชาการ...เล็งเห็นถึงความเป็นกลาง ซึ่งต้องรักษาไว้อย่างเคร่งครัดไม่เอนเอียงไปทางหนึ่งทางใด...จึงร้องขอให้ จัดกิจกรรมในนามของกลุ่มบุคคล โดยไม่ใช้นามของหน่วยงาน...และดำเนินการจัดกิจกรรมได้ในสถานที่อื่นที่เหมาะ สมกว่า (ที่มิใช่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง) โดยให้เหตุผลว่าอาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของทางราชการ และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ก็คือ ผลกระทบต่อความสมัครสมานสามัคคีของนิสิตและบุคลากรในภาพรวมองค์กรวิทยาลัย การเมืองฯ” ประเด็นข้อชี้แจงนี้ทางกลุ่มฯข้อโต้แย้งว่า หากคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในทางวิชาการ และยังรักษาความเป็นกลางจริง การที่คณบดี และผู้บริหารไม่อนุญาตให้จัดเวทีเสวนาวิชาการที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ก็เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ และไม่เป็นกลาง อันเนื่องด้วยไม่เคารพในสิทธิที่พึ่งมีในการที่จะใช้สถานที่ และปรามาศผู้เข้าร่วมในท่วงทำนองที่เป็นกลุ่มบุคคลที่ไร้อารยะ และมักใช้ความรุนแรง
ในประเด็นร้องขอให้จัดกิจกรรมในนามกลุ่มบุคคล และจัดในพื้นที่อื่นที่มิใช่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ทางกลุ่มฯพิจารณาแล้วมีมติว่า การร้องขอเช่นนี้เป็นการทำลายหลักการ และเป้าหมายของการจัดตั้งหน่วยงานซึ่งมีวัตถุประสงค์อย่างชัดแจ้งว่า เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ และเป็นหน่วยงานที่ให้เสรีภาพในการสร้างสรรค์กิจกรรมและความงอกงามทางปัญญา รวมทั้งให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นพื้นที่ในการถกเถียงทางวิชาการในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ และเป็นการผลักภาระความรับผิดให้พ้นจากหน่วยงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงเกิดขึ้นในหน่วยงานที่มีปรัชญาว่า “ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน”
ประเด็นความกังวลที่คณบดี และผู้บริหาร กังวลว่าการจัดกิจกรรมอาจส่งผลกระทบต่อความสมัครสมานสามัคคีของนิสิต และบุคลากรวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ทางกลุ่มมีมติว่า ทางกลุ่มพึงระวัง และให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ ตลอดระยะเวลาการทำกิจกรรมที่ผ่านมา ยังไม่มีเหตุการณ์/กิจกรรมใดๆที่ส่งผลให้เกิดความแตกแยกในวิทยาลัยการเมือง การปกครอง ทั้งๆที่นิสิต และบุคลากรของวิทยาลัยการเมืองการปกครองมีความคิดที่แตกต่าง ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่านี่คือความสวยงามของบรรยากาศทางวิชาการ และเป็นมนต์ขลังของความเป็นประชาธิปไตยอันเกิดจากการมีเสรีภาพทางวิชาการ อนึ่งหากคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครองกังวลต่อประเด็นนี้จริง ทางกลุ่มฯขอเรียกร้องคณบดี และผู้บริหารว่า ไม่ควรบิดเบียนวัตถุประสงค์ของการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางวิชาการใน วิทยาลัยการเมืองการปกครองของกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อ เสรีภาพทางวิชาการ และยุติการใช้เหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลที่ทางกลุ่มแสดงจุดยืนไว้ต่อสาธารณะอัน เป็นการบิดเบือนข้อมูล และเป็นการเสี้ยมให้เกิดความรุนแรงขึ้นในการทำกิจกรรม
ทางกลุ่มฯขอเน้นย้ำ และแสดงเจตจำนงอย่างแน่วแน่ว่า เราจะเรียกร้องเสรีภาพทางวิชาการให้เกิดขึ้นในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง และจะปกปักรักษาเกียรติภูมิของวิทยาลัยการเมืองการปกครองในฐานะที่เป็นหน่วย งานที่จัดการเรียนการสอนทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ และเป็นหน่วยงานที่ให้เสรีภาพในการสร้างสรรค์กิจกรรมและความงอกงามทางปัญญา รวมทั้งให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นพื้นที่ในการถกเถียงทางวิชาการ
กลุ่มฯเคารพในความแตกต่างทางความคิด เคารพในการวิพากษ์ที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล และเคารพในความเป็นมนุษย์ที่มีอารยะ รวมถึงเคารพในความเป็นครู อาจารย์ที่สร้างสรรค์ให้เกิดความงอกงามทางปัญญา
ด้วยจิตคารวะ และเชื่อมั่นสิทธิเสรีภาพ
กลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ
02/02/2012…12.12 น.
องค์กร/บุคคลที่ร่วมเรียกร้องเสรีภาพทางวิชาการในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
ขบวนการคนหนุ่มสาวอีสาน, กลุ่มกิจกรรมปุกฮัก, ชมรมฅนสร้างฝัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชมรมรัฐศาสตร์สัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, กลุ่มอิสระเถียงนาประชาคม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กลุ่มเผยแพร่กฎหมายและสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายวิทยา แสงปราชญ์ นายอนุวัฒน์ พรหมมา นายเจษฎาวุฒิ อโนวัน นายอธิป ชุมจินดา
นางสาวดวงทิพย์ ฆารฤทธิ นายสุเทพ ศิริวาโภ นายโอภาส สินธุโคตร นายกิตตินันท์ นาชัยคำ
นายโกเมน จันทะสิงห์ นางสาวปรางค์ทิพย์ มั่นธร นายทิวา นินทะสิงห์ นายวรวิทย์ สีหาบุญลือ
นางสาวกนกพร กรกระโทก นางสาวภรณ์ทิพย์ มั่นคง นายอิทธิพล สีขาว นายเรืองฤทธิ์ โพธิพรม
นายชัชรินทร์ ชัยดี นายณัฐพงษ์ ราชมี นายปิยะวัฒน์ นามโฮง นายศรายุทธ ศิลา
นายสกล ภูชัยแสง นายยุทธนา ลุนสำโรง นายปกรณ์ อารีกุล นายศักดิ์ระพี รินสาร
นายปรินทร์ ฮอหรินทร์ นางสาวสุภาวดี สายภัยสง นางสาวกุสุดา โจทก์มีชัย นายดิน บัวแดง พัชรี แซ่เอี้ยว
นายพงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา นายอรรถพล ทุมสวัสดิ์ นายภูมินทร์ พาลุสุข นายบัณฑิต หอมเกษ
นางสาวพลอยชมพู ชมภูวิเศษ นายวัฒนะ บูรณ์เจริญ นายศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ นายณัฐพล อิ้งทม
นางสาวอารยา ทองดี นายอุเชนท์ เชียงแสน นางสาวนิภาภรณ์ ซับขุนทด นายธนิสสร มณีรักษ์
นางสาวนิตยา ราชประสิทธิ์ นางสาววราพร ครามบุตร นางสาวธิติมา บุคสิงหา นายพลิศ ลักขณานุรักษ์
นายสุรชิต วรรณพัฒน์ นายวรุฒ จักรวรรดิ นายมงคล ชูเสน นางสาวสิริสกุล คีรีรัตน์ นายศรัญยู เดชทิม
นางสาวเจษฎาภรณ์ พิณเหลือง นางสาวสุดารัตน์ บุญธรรม นางสาวพรพิมล สันทัดอนุวัตร นางสาวจีระภา มูลคำมี
นายศตคุณ คนไว นายจิรทีปต์ ขัดมะโนแก้ว นายยุทธศักดิ์ วรวิเศษ นายพิษณุเดช สุคำภา
นางสาวสุทธิพร พุ่มศรี นายวิษณุ อาณารัตน์ นายวิทยา พันธ์พานิชย์ นายอภิชาต จำปาเทศ
นางสาวศิริภรณ์ จิตติแสง นางสาวธัญญา ทุมวารีย์ นายชำนาญ ยานะ นางสาวพิมระวี เสียงหวาน
นายเทิดพันธุ์ พวงเพ็ชร นายกิตติพงษ์ นาสมยนต์