WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 31, 2012

ชี้กว่า 2 ปี รอศาลสั่งรวมคดียิงช่างภาพญี่ปุ่น

ที่มา Voice TV



ศาลอาญา กรุงเทพใต้ นัดฟังคำสั่งการรวมคดีช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น กับนายวสันต์ ภู่ทอง และนายทศชัย เมฆงามฟ้า ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตบริเวณถนนดินสอ  เพื่อทำให้การไต่สวนคดีรวดเร็วขึ้น

ศาลอาญา กรุงเทพใต้ นัดฟังคำสั่งตามคำร้องชันสูตรพลิกศพ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ช่วงสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่บริเวณถนนดินสอ หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา

โดยในวันนี้ (31ก.ค.55) ศาลได้นัดทนายฝ่ายโจทก์ ทนายฝ่ายผู้ร้องเข้าฟังการพิจารณาที่จะให้มีการรวมคดีการเสียชีวิตของนายฮิ โรยูกิ มูราโมโต กับการไต่สวนคดีของนายวสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี และนายทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตหน้าโรงเรียนสตรีวิทยาในวันเดียวกัน เนื่องจากเห็นว่าพยานและหลักฐานเป็นชุดเดียวกันและหากรวมคดีเข้าด้วยกันจะทำ ให้การไต่สวนคดีรวดเร็วขึ้น

ด้านนายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความฝ่ายผู้ร้อง เปิดเผยก่อนเข้าฟังคำสั่งศาลว่า รู้สึกไม่พอใจที่การดำเนินคดีล่าช้าเนื่องจากเหตุการณ์ล่วงเลยมาแล้วกว่า 2 ปี แล้ว แต่ในเมื่อวันนี้ การดำเนินคดีได้เริ่มต้นขึ้นแล้วก็ถือเป็นเรื่องดี ซึ่งหลังจากนี้ต้องรอว่าศาลจะมีคำสั่งให้รวมคดีเข้าด้วยกันหรือไม่ ทางญาติผู้เสียชีวิตและทนายความจะได้ร่วมหารือเพื่อกำหนดตัวพยาน หลักฐานที่จะใช้ และกรอบของแนวทางการต่อสู้คดีต่อไป

นอกจากนี้นายเจษฎากล่าวเพิ่มเติมว่า จากพยานหลักฐานที่มีเชื่อว่าจะนำไปสู่การจับกุมผู้ที่เป็นคนยิง และ ผู้สั่งการได้ แต่ต้องใช้เวลาในการดำเนินการอีกระยะ

สำหรับนาย ฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ถูกยิงเสียชีวิตพร้อมกับนายทศชัยและนายวสันต์ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยาเมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ทหาร โดยการสั่งการของ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ที่มีนายอสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้อำนวยการในขณะนั้น
31 กรกฎาคม 2555 เวลา 11:10 น.