ที่มา ประชาไท
พระบาทสมเด็จสุรมฤต และพระนางกุสุมะ นารีรัตน์ ในพิธีราชาภิเษก ปี พ.ศ.2498
กษัตริย์สีหนุ กับพระบิดาและพระมารดา
หลังจากที่เจ้ารณฤทธิ์ประสูติ มารดาของท่านได้อำลาจากที่พำนักบนถนนสุธารถไปใช้ชีวิตอยู่ในเมือง สนมคนงามวัย 22 ปี ผู้จดทะเบียนสมรสกับกษัตริย์สีหนุ ในปี 2485 ไม่ได้รับการเหลียวแลจากสามีที่หันไปหลงใหลสตรีอื่น
ในที่สุด เนียก โมเนียง พัต กันฮอล มารดาของเจ้ารณฤทธิ์ตัดสินใจตัดขาดความสัมพันธ์กับกษัตริย์สีหนุ และแต่งงานใหม่กับนายทหารชื่อจาบ ฮวด (Chap Huot) ทั้งสองมีลูกด้วยกัน 5 คน ลูก 4 คนของทั้งสองตายในช่วงการยึดครองของเขมรแดง ลูกคนเดียวที่เหลือรอดชีวิตมาได้คือ จาบ เนลีวอล (Chap Nhalyvoul) ส่วนพัต กันฮอลเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในปี พ.ศ.2512 ในวัย 49 ปี ร่างของเธอถูกฝังไว้ที่กรุงพนมเปญ จาบ ฮวด สามีใหม่ของเธอตายในปีต่อมาในเหตุการณ์ลอบวางระเบิดก่อนที่กษัตริย์สีหนุจะ ถูกโค่นราชอำนาจในปีเดียวกัน
จาบ เนลีวอล น้องชายต่างบิดาของเจ้าชายรณฤทธิ์ เกิดในปี พ.ศ.2495 ตอนที่สูญเสียทั้งบิดามารดานั้นเขายังอยู่ในช่วงเป็นวัยรุ่น เนลีวอลได้รับการศึกษาในฝรั่งเศสเช่นเดียวกับเจ้ารณฤทธิ์ และได้เข้าร่วมในการต่อต้านการปกครองของระบอบเฮง สัมริน ที่สนับสนุนเวียดนาม หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ.2541 เนลีวอลได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเสียมเรียบ เขาเล่าให้ Harish C. Mehta ผู้เขียนหนังสือ “Warrior Prince” ฟังว่าในช่วงเวลานั้น “เสียมเรียบของเรากำลังคืนกลับมาสู่ความมีชีวิตชีวา มีนักท่องเที่ยวหลายพันคนแห่กันมาดูซากปรักหักพังของนครวัด”
เมื่อเติบโตและหันไปมองย้อนอดีตความสัมพันธ์ระหว่างบิดาและมารดา เจ้ารณฤทธิ์พบว่ามีเหตุผลมากมายที่กษัตริย์สีหนุจะไม่สนใจที่เหนี่ยวรั้ง มารดาของท่านไว้ในฐานะพระสนมของพระเจ้าแผ่นดินอีกต่อไป
“โอ! ถ้าคุณมีภรรยา 6 คนนี่
มีเหตุผลมากพอทีเดียว...มีคนบอกกับข้าพเจ้าว่าพ่อมีเหตุผลมากพอทีเดียว
และท่านมีภรรยาแค่ 6 คน เพราะปู่ของข้าพเจ้ามีสนมตั้ง 360 คน มีเวลาว่างแค่
5 วันในหนึ่งปี”
พระคลังหลวงตั้งงบประมาณไว้สำหรับค่าใช้จ่ายและการเลี้ยงดูชายาและสนมรวม
ทั้งโอรสและธิดาของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นภาระที่หนักมากของพระคลังกษัตริย์สีหนุมีชายาและสนม 6 คน และมีโอรสธิดารวม 14 คน
ชายาที่ให้กำเนิดโอรสและธิดากับกษัตริย์สีหนุมากที่สุด คือ เจ้าหญิงพงสานมุนี ผู้มีศักดิ์เป็นเจ้าน้าของพระองค์ด้วย ทั้งสองสมรสกันปี 2485 และหย่าขาดจากกันปี 2494 มีโอรสธิดาด้วยกันรวม 7 คน เจ้าหญิงพงสานมุนี สิ้นในปี พ.ศ.2517
พระญาติอีกสองท่านที่กลายมาเป็นชายาของกษัตริย์สีหนุ คือ เจ้าหญิงมุนีเกสร (Princess Monikessan) และเจ้าหญิงถาเวท นรลักษณ์ (Norodom Thavet Norleak) เจ้าหญิงนรลักษณ์ได้หย่ากับเจ้านโรดม วกรีวรรณ (Norodom Vakrivan) ในปี พ.ศ.2488 และเสกสมรสกับกษัตริย์สีหนุในปีต่อมา
ความทรงจำในวัยเด็กของเจ้ารณฤทธิ์ต่อบรรดาชายาและพระสนมของพระบิดา คือ
“ต่างคนต่างอยู่ ไม่สมาคมกัน
ข้าพเจ้าไม่เคยพบเจ้าหญิงมุนีเกสร เพราะท่านสิ้นตอนที่นรธีโป (Naradipo)
เกิดเมื่อปี พ.ศ.2489 ข้าพเจ้ารู้สึกใกล้ชิดกับภรรยาของพ่อทุกคน
ซึ่งทุกคนเมตตาข้าพเจ้ามาก เป็นความโชคดีของข้าพเจ้า”
ส่วนความสัมพันธ์ในระหว่างพี่น้องร่วมพระบิดา คือ เจ้าชายนรทีโป
เจ้าชายจักรพงศ์ (Prince Chakkrapong) เจ้าหญิงอรุณรัศมี (Princess
Arunrasmey) และเจ้าหญิงสุชาตา (Princess Suchata) นั้น
เจ้าชายรณฤทธิ์เล่าว่า
“ตอนเป็นเด็ก พวกเราพบกันบ่อย
ข้าพเจ้าสนิทกับอรุณรัศมีและสุชาตามาก เราโตมาด้วยกัน
เพราะตอนที่พ่อพาหม่อมมุนีวรรณ (Princess Mam Manivann)
ซึ่งเป็นมารดาของทั้งสองคนมาจากลาวนั้น
พ่อเอาหม่อมมาฝากไว้ในความดูแลของเจ้าย่า”
ในปี พ.ศ.2544
ที่กษัตริย์สีหนุและพระราชินีโมนิกประทับอยู่ที่ฝรั่งเศสนั้น ชายาอีกท่าน
คือ เจ้าหญิงถาเวท นรลักษณ์ อยู่ที่ฝรั่งเศสด้วย
แต่ท่านมีปัญหาด้านสุขภาพ
จึงมีเพียงราชินีโมนิกที่อยู่เคียงข้างกษัตริย์สีหนุตลอดเวลา
เจ้าชายรณฤทธิ์เล่าว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามคนนั้นราบรื่น
เจ้าหญิงนรลักษณ์ ยังคงติดต่อกับสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ
ทั้งสองเขียนจดหมายถึงกันตลอดช่วง 30
ปีนับตั้งแต่กษัตริย์สีหนุถูกยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ.2517
ข้าราชบริพารใกล้ชิดของกษัตริย์สีหนุ เล่าว่า
“เจ้าหญิงนรลักษณ์ส่งของขวัญวันเกิดและใน
วาระพิเศษอื่นๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ของกัมพูชา มาถวายสมเด็จนโรดม สีหนุ
อยู่เสมอ
และพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงส่งของขวัญวันเกิดและเงินไปให้อดีตชายาอยู่เสมอเช่น
กัน”
ส่วนราชินีโมนิกนั้นเปิดพระทัยกว้างและไม่เคยขัดขวางการติดต่อทางจดหมาย
ระหว่างกษัตริย์สีหนุและอดีตชายา
บางครั้งพระนางยังได้เขียนข้อความต่อท้ายและร่วมลงพระนามในจดหมายที่สมเด็จ
เจ้านโรดม สีหนุ เขียนถึงเจ้าหญิงนรลักษณ์ด้วยราชินีโมนิก เกิดในปี พ.ศ.2479 เป็นสาวงามที่โดดเด่นอยู่ในสังคมพนมเปญด้วยความงามจากสายเลือดผสมอิตา เลี่ยน-ฝรั่งเศส (Franco-Italian) ของบิดา Francois Izzi และเลือดผสมเขมร-เวียดนาม ของมารดา ปอมมี เป็ง (Pomme Peang) ความงามเจิดจรัสจับตาในวัยสาวของพระนางโมนิกทำให้กษัตริย์แห่งกัมพูชาคลั่ง ไคล้หลงใหลนับแต่แรกพบ
บรรยากาศในพระราชวังนั้นเต็มไปด้วยพิธีรีตอง การเข้าเฝ้าของบรรดาโอรสธิดาจะต้องได้รับพระราชทานอนุญาตจากกษัตริย์สีหนุ ก่อน พระบิดามักโปรดให้โอรสธิดาร่วมเสวยพระกายาหารกลางวันและมื้อค่ำ และมักจะทรงเล่นแซกโซโฟนให้ลูกๆ ฟัง สมเด็จนโรดม สีหนุไม่โปรดอาหารเขมร พระองค์ทรงโปรดอาหารฝรั่งเศส และอาหารบนโต๊ะเสวยจะเป็นอาหารฝรั่งเศสทั้งหมด เจ้ารณฤทธิ์ก็โปรดอาหารฝรั่งเศสเช่นเดียวกับพระบิดา
เจ้ารณฤทธิ์ไปที่พระราชวังบ่อย แต่ไม่ได้ไปเข้าเฝ้าพระบิดา ท่านไปเยี่ยมสมเด็จปู่และสมเด็จย่า คือ สมเด็จเจ้าสุรมฤต และพระนางกุสุมะ นารีรัตน์ ทั้งสองพระองค์โปรดปรานรักใคร่เจ้าชายรณฤทธิ์และเจ้าหญิงบุปผาเทวีมาก นอกจากสืบสายเลือดศิลปินจากมารดาแล้ว เจ้าหญิงบุปผาเทวียังได้รับอิทธิพลจากสมเด็จย่าที่อนุรักษ์นาฏศิลป์เขมรราช สำนักไว้
กษัตริย์สีหนุเป็นผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่วรวมทั้งคลั่งใคล้ความเป็นฝรั่งเศส ซึ่งได้ตกทอดมาถึงลูกๆด้วย
ความทรงจำในวัยเด็กของเจ้ารณฤทธิ์ที่มีต่อ
ความสัมพันธ์กับพ่อ คือ ลูกๆ ของกษัตริย์สีหนุถูกเข้มงวดในเรื่องการศึกษา
และไม่ค่อยมีโอกาสได้ตามเสด็จพระบิดา
“พ่อไม่เคยพาพวกเราออกไปทานอาหารนอกบ้านเหมือนพ่อแม่คนอื่น”
ครั้งหนึ่ง เจ้ารณฤทธิ์มีโอกาสตามเสด็จไปพักผ่อนที่บ้านพักตากอากาศสไตล์ฝรั่งเศส ริมทะเล Kep และเกาะรอบๆ ที่อยู่ในภาคใต้ของกัมพูชา
“พวกเราไม่เคยไปเที่ยวด้วยกันเป็นส่วนตัว
แบบพ่อลูก ข้าพเจ้าจะติดตามไปพร้อมกับหม่อมมุนีวรรณ หรือไม่ก็พระนางโมนิก
กับพ่อนี่ พวกเราไม่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนแสดงความเห็นได้เลย
พ่อพูดมากและคุ้นเคยกับการแสดงความเห็นของตัวเองให้ผู้ติดตามฟัง
แต่ข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกเบื่อกับประเด็นสนทนาของพ่อ
เพราะข้าพเจ้าสนใจเรื่องการเมืองมาตั้งแต่เป็นเด็กแล้ว”
แต่สิ่งที่ร้าวรานอยู่ในความทรงจำของเจ้ารณฤทธิ์นั้น คือ พระบิดาไม่เคยพูดจาสื่อสารตรงกับท่านแบบพ่อกับลูกชายเลย
“พ่อจะพูดกับลูกทั้งหมดพร้อมๆ กัน
พ่อรักการเมืองมาก พระองค์เป็นนักการเมืองที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา
แต่พ่อไม่ต้องการให้ลูกๆ เข้ามาสู่การเมือง
จึงมักจะหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงเรื่องการเมืองกับพวกเรา”
เจ้ารณฤทธิ์ถูกส่งเข้าเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนประถมศึกษาของกัมพูชา
ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับบ้านบนถนนสุธารถ
ท่านได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับเด็กนักเรียนคนอื่นๆ
ไม่มีการจัดเตรียมห้องเรียนพิเศษ หรือครูพิเศษสำหรับท่านเป็นการเฉพาะ ต่อมา
ท่านถูกส่งไปเรียนที่โรงเรียนนโรดม
ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาที่มีการเรียนการสอนระบบฝรั่งเศส
และย้ายไปเรียนที่ Lycee Descartes เจ้ารณฤทธิ์ทำคะแนนได้ดีในวิชาวรรณคดี
ประวัติศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่ได้คะแนนต่ำมากในวิชาคณิตศาสตร์และเคมี
ท่านเป็นนักกีฬาเช่นเดียวกับพระบิดา เจ้ารณฤทธิ์ชอบเล่นฟุตบอลและบาสเกตบอลเจ้าชายรณฤทธิ์มีชันษาเพียง 11 ปีเมื่อพระบาทสมเด็จนโรดม สีหนุทรงสละราชสมบัติครั้งแรกในปี 2498 เจ้าชายจำได้ว่าวันนั้นน้ำตาท่วมวัง
“สิ่งที่ข้าพเจ้าจำได้คือทั้งเจ้าปู่และเจ้าย่าร้องไห้อย่างหนัก ได้ยินเสียงร่ำไห้ทุกที่ ไม่มีใครอยากให้พ่อสละราชย์”
แต่กษัตริย์สีหนุตัดสินพระทัยแน่วแน่ที่จะลงไปเล่นการเมืองกับสามัญชน
ทรงยกราชบังลังก์กัมพูชาให้กับพระบิดาของพระองค์ คือ เจ้าชายสุรมฤต
ส่วนพระองค์ที่กลายเป็นอดีตกษัตริย์สีหนุเปิดตัวพรรคการเมืองใหม่ชื่อ
พรรคสังคมราษฎรนิยม (Sangkum Reastr Niyum) ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา
และทรงชนะเลือกตั้งในปีนั้นเอง