WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 1, 2012

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์: มายาคติของโทษประหารชีวิต

ที่มา ประชาไท

ในสัปดาห์เพื่อการยุติโทษประหารชีวิต ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ประชาไทสัมภาษณ์ "ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์" คอลัมนิสต์และนักวิชาการอิสระต่อประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้ข้อมูลจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่าขณะนี้มี 140 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต ส่วนประเทศไทย ยังคงมีการใช้โทษประหารชีวิต แม้ว่าในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 (2552-2556​) ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐสภาเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2552 ได้กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตให้เป็นจำคุกตลอดชีวิต ขณะเดียวกันการีโทษประหารชีวิตก็ละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งไทยเป็นภาคีอนุสัญญามาตั้งแต่ปี 2550
 


โทษประหารและความเข้าใจผิด
ศิโรตม์เริ่มต้นว่า "โทษประหารชีวิตเป็นโทษที่มีปัญหา เพราะเป็นโทษที่เต็มไปด้วยมายาคติและความเข้าใจผิดของคนในสังคม ซึ่งในที่สุดแล้วพิสูจน์ไม่ได้ อย่างเช่น เชื่อว่าโทษประหารชีวิตจะลดอาชญากรรมหรือลดความรุนแรงในสังคม แต่จริงๆ แล้วทำไม่ได้"
"โทษประหารชีวิตจริงๆ เป็นภาพสะท้อนความรู้สึกที่ว่าต้องการล้างแค้นคนที่กระทำความผิด แล้วเวลาล้างแค้นกระทำไปในนามของคนที่สูญเสียจากเหตุการณ์ต่างๆ คำถามที่ท้าทายคือ คนที่ทำการประหารชีวิตคนอื่นรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เขาสูญเสียจากเหตุการณ์ ต่างๆ ต้องการจะลงโทษหรือล้างแค้นผู้ที่กระทำการนั้นๆ อย่างที่ตัวเองเข้าใจ ที่สำคัญก็คือการประหารชีวิตเป็นเรื่องของการล้างแค้น ขณะที่สังคมสมัยใหม่เรามีความเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า การแก้ปัญหาของสังคม การแก้ปัญหาความรุนแรง ไม่ใช่ด้วยวิธีการล้างแค้น แต่ทำให้คนผิดเกิดความคิด หรือเกิดการปรับปรุงพฤติกรรม"
"แต่โทษประหารชีวิตไม่ได้ตอบโจทย์นี้ คนที่เป็นเหยื่อเขาไม่มีโอกาสพูดว่าต้องการทำอย่างไรกับคนที่กระทำผิด คนที่ตัดสินใจประหารชีวิตคือคนที่ไม่ได้เป็นเหยื่อ แต่ตัดสินประหารชีวิตในนามของการล้างแค้นให้เหยื่อ และผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นความเข้าใจที่มีปัญหาโดยตัวมันเอง"
"ประการที่สอง มันเป็นโทษซึ่งเมื่อตัดสินไปแล้ว ใน กรณีที่ตัดสินผิด จะคืนชีวิตให้คนที่ถูกตัดสินประหารชีวิตไปแล้วไม่ได้ เป็นโทษที่เมื่อเอาชีวิตไปแล้วไม่สามารถรื้อฟื้นชีวิตขึ้นมาได้ ขณะที่โทษอื่นๆ เช่น โทษจำคุกเมื่อตัดสินผิดเราสามารถรื้อฟื้นความยุติธรรมกลับมาได้"
"ประการที่สาม ที่สำคัญก็คือ โทษประหารชีวิตทำงานบนความเชื่อว่า คำตัดสินของศาลในคดีความต่างๆ ถูกทุกกรณี ทำให้ศาลอยู่ในอุดมคติซึ่งเกินจากความเป็นจริงไป ในความเป็นจริงคือ การ ตัดสินของศาลทุกคดีไม่ว่าจะเป็นคดีที่เป็นเรื่องประหารชีวิต หรือไม่ประหารชีวิตก็ตาม มีโอกาสมากที่จะถูกบดบัง หรือถูกตีความ หรือถููกพิจารณาด้วยอคติต่างๆ ของศาลเอง หรือองค์กรอื่นในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่อัยการ ตำรวจ ทนายความ นี่เป็นประเด็นสำคัญ ในกรณีโทษประหารชีวิต เราไม่ค่อยตระหนักถึงอคติแบบนี้ซึ่งอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ที่อยู่กับองค์กร บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ทำให้เราเชื่อว่ากระบวนการเหล่านี้จะตัดสินได้ถูกทุกกรณี ซึ่งไม่เป็นความจริง"

ฝากความหวังให้รัฐยกเลิกโทษประหารอย่างเดียวไม่พอ
ต่อคำถามที่ว่า แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 (2552-2556​) ซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐสภาไปแล้วเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2552 ได้กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตให้เป็นจำคุกตลอดชีวิต ขณะที่ผลในทางปฏิบัตินั้นประเทศไทยยังคงใช้โทษประหารชีวิต ศิโรตม์ตอบว่า "ความพยายามยกเลิกโทษประหารชีวิต เป็นความเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นเพราะว่า องค์กรต่างๆ ภายในประเทศไทยโดยเฉพาะองค์กรซึ่งต้องยึดโยงกับเรื่องประชาธิปไตยหรือสิทธิ มนุษยชน อย่างเช่น รัฐสภา หรือกรรมการสิทธิมนุษยชน รู้ว่าทิศทางของโลกต่อโทษประหารชีวิตเป็นอย่างไร และรู้ว่าทิศทางของโลกก็คือการยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่ความล้าช้าที่เกิดขึ้นเป็นภาพสะท้อนว่าในที่สุดแล้วอำนาจรัฐในทางปฏิบัติ จริงคือฝั่งกลไกราชการ ไม่ได้เห็นเรื่องนี้ไปในทางเดียวกับรัฐสภาหรือกรรมการสิทธิมนุษยชน"
"ในที่สุดแล้วเรื่องนี้จะไม่เกิดในระยะอันใกล้ ต้องยอมรับว่าโทษประหารชีวิตมีมานานในสังคมไทย หรือสังคมอื่นๆ มีมาเป็น 100 ปี มันเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมทางสังคม เป็นส่วนหนึ่งของความคิดความเชื่อ อคติทางสังคม ที่ทำให้การยกเลิกโทษประหารนี้ไม่ง่าย และจะยกเลิกได้ในเงื่อนไขที่ว่ามีแรงกดดันจากภายนอกมหาศาล หรือมีแรงกดดันหรือความคิดใหม่ๆ ที่ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเติบโตอย่างมหาศาล ซึ่งในปัจจุบันไม่มีสองเงื่อนไขนี้อยู่ ฉะนั้นโอกาสในการเลิกนั้นไม่ง่าย อาจมีมาตรการหรือแผนแม่บทบางอย่างเพื่อให้ดูดีในสายตาองค์กรระหว่างประเทศ ในทางปฏิบัติจะไม่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในอนาคตอันใกล้"
ศิโรตม์ยกตัวอย่างแผนแม่บทอื่นๆ เป็นอย่างที่คล้ายกันว่า "เหมือนแผนแม่บทในการคุ้มครองแรงงาน แผนแม่บทในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมของหญิงชาย ซึ่งรัฐบาลไทยลงนามในอนุสัญญาต่างๆ และทำแผนแม่บทมาเป็น 10 ปีแล้ว แต่ไม่เคยมีความคืบหน้า"
"เวลาจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรในเรื่องเหล่า นี้จะมาจากจากสองปัจจัยเหล่านี้ คือองค์กรระหว่างประเทศกดดัน หรือมีขบวนการทางการเมืองหรือกลุ่มทางสังคมภายในประเทศใหม่ๆ กดดันให้รัฐบาลไทยหรือรัฐไทยเปลี่ยนท่าทีต่อเรื่องพวกนี้ ไม่อย่างนั้นเรื่องพวกนี้รัฐไม่เคยเปลี่ยนเอง และอย่าลืมว่าโทษประหารชีวิตมีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งคือ โทษประหารชีวิตเป็นโทษที่สอดคล้องกับอคติหรือความเชื่อของคนในสังคมไทยจำนวน มากที่นิยมการประชาทัณฑ์ นิยมการตัดสินใครว่าถูกหรือผิดไว้ก่อน และเป็นสังคมแบบพุทธที่เชื่อว่าเมื่อมีใครกระทำผิดต้องถูกล้างแค้นอย่าง รุนแรง เพราะฉะนั้นมันเป็นโทษที่ไม่ใช่แค่มาตรการของรัฐ แต่เป็นโทษที่ตรงกับอคติของคนในสังคมด้วย เพราะฉะนั้นการให้ยกเลิกนี้โดยฝากควาหวังไว้ที่รัฐอย่างเดียวไม่มีทางเพียง พอ"