WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 31, 2012

เตือนกรุงเทพ-มหานครเอเชีย เสี่ยง 'โคตรพายุ'

ที่มา Voice TV

 เตือนกรุงเทพ-มหานครเอเชีย เสี่ยง 'โคตรพายุ'



ผู้เชี่ยวชาญออกโรงเตือนภัย มหานครริมฝั่งทะเลทั่วเอเชีย รวมทั้งกรุงเทพ ไม่มีขีดความสามารถมากพอที่จะรับมือโคตรพายุในระดับเดียวกับแซนดี้ เหมือนอย่างนิวยอร์กได้

มหานครนิวยอร์กมีความพร้อมที่รับมือผลกระทบจากพายุลูกใหญ่ที่รุนแรง เพราะมีระบบวิศวกรรมโยธาที่ดี มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐก็มีกำลังเงิน

แต่บรรดาเมืองตลอดแนวชายฝั่ง ตั้งแต่ประเทศจีนไปจนถึงทะเลอาหรับ ล้วนเติบโตอย่างพรวดพราด ขาดการวางผังเมือง ไร้ระบบและไม่มีระเบียบ

บ็อบ วอร์ด ผอ.ฝ่ายนโยบายของสถาบันวิจัยแกรนแธมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสภาพ แวดล้อม ในกรุงลอนดอน บอกว่า เมืองเหล่านี้มีการขยายตัวเร็วมาก ไม่เพียงแต่มีความเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่ยังเสี่ยงต่อพายุไซโคลนเขตร้อนด้วย และยังมีคนจนจำนวนมากอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่ไม่มั่นคงแข็งแรง

รายงานของโออีซีดีฉบับหนึ่งเมื่อปี 2550 ระบุว่า โลกมีเมืองท่า 20 แห่ง ซึ่งตกอยู่ในความเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมชายฝั่งภายในปี ค.ศ. 2070

ในจำนวนนี้เป็นเมืองของเอเชีย 15 แห่ง โดย 8 อันดับแรกนำโดยกัลกัตตา ตามด้วยมุมไบ, ธากา, กวางโจว, โฮจิมินห์, เซี่ยงไฮ้, กรุงเทพ (อันดับ 7) และย่างกุ้ง

ในเอเชียยังมีความเสี่ยงอีกหลายเมือง คือ ไฮฟอง (อันดับที่ 10), เทียนจิน (อันดับ 12), กุลนาในบังกลาเทศ (อันดับ 13), หนิงโปในจีน (อันดับ 14), จิตตกอง  (อันดับ 18), โตเกียว (อันดับ 19) และจาการ์ตา (อันดับ 20) ทั้งนี้ นิวยอร์กอยู่ในอันดับที่ 17

ซูซาน แฮนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง แห่งศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทินดอล ในอังกฤษ บอกว่า ปัจจัยที่ทำให้บรรดามหานครของเอเชียมีความเสี่ยงต่อโคตรพายุอย่างแรกคือ ระดับน้ำทะเลซึ่งจะสูงขึ้น 20 นิ้วภายในค.ศ. 2070 อย่างที่สองคือ คลื่นพายุหมุนซัดฝั่ง หรือ storm surge จากพายุไซโคลน ซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนัก

Source : AFP
31 ตุลาคม 2555 เวลา 13:50 น.