WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 31, 2012

ยกฟ้อง! คดีโปรแกรมเมอร์ถูกกล่าวหาโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นสถาบัน

ที่มา ประชาไท



31 ต.ค.55 เวลาประมาณ 9.50 น. ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลอาญา รัชดา ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.4857/2554 ที่นายสุรภักดิ์ ภูไชยแสง เป็นจำเลยในความผิดตามมาตรา 112 และ มาตรา 3, 14, 17 โดยศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ฟ้องหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2
(อ่านคำพิพากษาฉบับย่อด้านล่าง)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้ได้แก่ ผู้พิพากษาณรงค์เดช นวลมณี ผู้พิพากษาสุรพล โตศักดิ์ และผู้พิพากษาอิสริยา ยงพาณิชย์ ส่วนบรรยากาศในห้องพิจารณาคดีวันนี้มีผู้เข้าร่วมฟังคำพิพากษาจนเต็มห้อง ทั้งสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป ขณะที่เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ประกาศว่าผู้สื่อข่าวสามารถรับคำพิพากษาฉบับ ย่อได้ที่สำนักเลขานุการศาลอาญา
หลังเสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษาสุรภักดิ์มีอาการยิ้มแย้มและเข้าสวมกอด มารดาก่อนจะถูกคุมตัวไปยังเรือนจำ และคาดว่าเขาจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯในช่วงเย็นวันนี้
สุรภักดิ์กล่าวในภายหลังว่า การประกันตัวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่มาตราในรัฐธรรมนูญกลับกับมีค่าไม่เท่ากัน การไม่ได้รับการประกันตัวทำให้เขามีความยากลำบากในการต่อสู้คดีอย่างมาก ต้องอยู่ในเรือนจำเกือบ 1 ปี 2 เดือน ทำให้สูญเสียทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการงาน ครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจเยียวยาได้ รัฐไทยมีงบประมาณปกป้ององค์กรต่างๆ มากมายแต่กลับไม่มีการปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์
ธิติพงษ์ ศรีแสน ทนายความของสุภักดิ์ กล่าวว่า ไม่ว่าคดีอะไรก็ตาม ถ้าจำเลยต้องติดคุกในระหว่างพิจารณาคดีจะทำให้จำเลยเสียเปรียบ โดยเฉพาะกฎหมายไทยเป็นระบบกล่าวหา และคดีลักษณะนี้เป็นเรื่องทางเทคนิคซับซ้อน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราควรพูดกันมากกว่าสิทธิการประกันตัวตามที่รัฐธรรมนูญรับรองซึ่งพูด กันมามากแล้ว ก็คือ อำนาจของการไม่ให้ประกันของแต่ละส่วนว่ามีอำนาจแค่ไหน หากเราวางระบบให้ดี ก็จะปิดช่องการใช้ดุลยพินิจที่อาจละเมิดสิทธิประชาชนได้

ส่วน กรณีว่าหากศาลยกฟ้องแล้วจำเลยจะได้ค่าชดเชยการถูกคุมตัวในเรือนจำหรือไม่ นั้น กรณีนี้สาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ว่า ไม่น่าจะเข้าข่าย เนื่องจาก ตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 มาตรา 20 บัญญัติว่า จำเลยที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ต้องค่าชด เชยดังกล่าวจะให้ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขหลัก ๆ คือ (1) เป็นจำเลยที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการ (2) ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี และ (3) ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด และมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี หรือปรากฏตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด หรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
สาวตรีระบุต่อว่า หากศาลพิพากษาแค่เพียงยกประโยชน์แห่งความสงสัย คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา" จะใช้และตีความบทบัญญัตินี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน (3) ว่า ต้องเป็นกรณีที่ศาลตัดสินโดยชัดเจนเท่านั้นว่า "จำเลยไม่ใช่ผู้กระทำความผิด" หรือ "การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด" คือ มีเหตุยกเว้นความผิดนั่นเอง จึงจะจ่ายค่าทดแทนให้ หากศาลพิพากษาแค่เพียงว่า "ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย" คณะกรรมการฯ จะไม่จ่ายค่าทดแทนให้


คำพิพากษาย่อ

(จัดย่อหน้าและทำตัวเน้นโดยประชาไท)
คดีหมายเลขดำที่ อ.๔๘๕๗/๒๕๕๔
  คดีหมายเลขแดงที่
ศาลอาญา
วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด                      โจทก์
            ระหว่าง
                        นายสุรศักดิ์หรือสุรภักดิ์ ภูไชยแสงหรือภูไชยแสนหรือภูไชแสง จำเลย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสร้างอีเมล์ส่วนตัวชื่อ dorkao@hotmail.com และใช้งานในลักษณะเป็นเจ้าของแล้วใช้อีเมล์ดังกล่าวสร้างบัญชีผู้ใช้ (โปรไฟล์) ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (Facebook) ชื่อ “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” ขึ้น และจำเลยได้เขียนข้อความอันเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ แล้วนำข้อความดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็น เท็จ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓, ๙๑, ๑๑๒ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓, ๑๔, ๑๗ ริบของกลาง
            จำเลยให้การปฏิเสธ
            พิเคราะห์แล้วเห็นว่า จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าจำเลยมีที่อยู่อีเมล์ของ dorkao@hotmail.com และรหัสผ่านเฟซบุ๊ก “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” ที่ลงทะเบียนไว้ในระบบแต่อย่างใด ทั้งได้ความว่ารหัสผ่านที่จำเลยเขียนให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นรหัสผ่านสำหรับ ใช้เปิดคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลยเท่านั้น และเป็นรหัสผ่านเดียวกันกับที่อยู่อีเมล์และเฟซบุ๊กในชื่อ surapach_phuchaisang@hotmail.com ของจำเลยเอง ซึ่งตามปกติแล้วผู้เป็นเจ้าของบัญชีผู้ใช้ย่อมต้องปกปิดรหัสสำหรับผ่านเข้า สู่ระบบอีเมล์หรือเฟซบุ๊กเป็นความลับเพื่อไม่ให้คนอื่นเข้าถึงข้อมูลของตน ได้ แต่ปรากฏว่าหลังจับกุมจำเลยและควบคุมตัวไว้นั้น ยังมีบุคคลอื่นเข้าใช้งานอีเมล์ dorkao@hotmail.comอยู่อีก
             ที่โจทก์นำสืบว่ารหัสอีเมล์แอดเดรสอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของบุคคลใดและอี เมล์แอดเดรสนั้นมีการใช้เฟซบุ๊กจะสามารถบอกได้ว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของ เฟซบุ๊กก็เพียงเป็นความเข้าใจของพยานโจทก์เท่านั้น โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้เช่นนั้น ซึ่งจากการตรวจแฟ้มข้อมูลบันทึกประวัติการเข้าใช้งานไปรษณีย์อีเล็กทรอนิกส์ InboxLight[2].htm ระบุถึงชื่อ dorkao@hotmail.com และประวัติการเข้าใช้เว็บไซด์เฟซบุ๊ก home[1].htm ซึ่งระบุถึงชื่อโปรไฟล์ “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” พบว่ามีบันทึกอยู่ในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของจำเลยที่ยึดเป็นของกลางอย่างละ ๑ รายการ โดยพบประวัติการใช้อีเมล์และเฟซบุ๊กในวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๔ และ ๘ มกราคม ๒๕๕๔ ตามลำดับ ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันเวลาที่มีการเขียนข้อความตามที่โจทก์ฟ้องนานหลาย เดือน หากมีการใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กของกลางเขียนข้อความตามที่โจทก์ฟ้องจริงก็ น่าจะตรวจพบประวัติการใช้ในช่วงวันเวลาดังกล่าวบ้าง แต่กลับตรวจไม่พบประวัติการใช้แต่อย่างใด และไม่พบความเชื่อมโยงระหว่าง อีเมล์แอดเดรส dorkao@hotmail.com กับเจ้าของเฟซบุ๊ก “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร”
             นอกจากนี้ข้อมูลที่แสดงรายละเอียดหัสต้นฉบับยังสามารถคัดลอกจากเครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นได้โดยใช้เวลาไม่ถึง ๑ วินาที ซึ่งประการนี้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ว่าแฟ้มข้อมูลและรหัสต้นฉบับตาม ที่ตรวจพบนั้นเป็นแฟ้มที่ไม่อาจพบอยู่ในพื้นที่จัดเก็บข้อมูลปกติ และไม่ได้เกิดจากการใช้อินเตอร์เน็ต แต่ถูกทำขึ้นแล้วนำไปวางไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของกลาง และคุณสมบัติด้านเวลาของแฟ้มมีความผิดปกติ โดยระหว่างสืบพยานจำเลยได้แสดงวิธีคัดลองแฟ้มให้ดู ผลปรากฏว่าสามารถกระทำได้จริง เมื่อพิจารณารายงานการตรวจพิสูจน์คอมพิวเตอร์ของกลางโดยละเอียดแล้ว พบว่า มีความผิดปกติหลายประการดังที่จำเลยนำสืบจริง
               และเนื่องจากข้อมูลลักษณะดังกล่าวอาจถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย ดังนั้นในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์จึง ต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง การเก็บรักษา ความครบถ้วน ซึ่งต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะหรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางการเก็บรักษาพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ต้อง พยายามรักษาข้อมูลต้นฉบับไว้ เพราะการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละครั้งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดย อัตโนมัติ ข้อมูลอาจถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย แต่ปรากฏว่าหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวและยึดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของจำเลยไว้แล้ว กลับมีผู้เปิดใช้งานคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของกลางใน วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๒๐.๑๓.๔๔ นาฬิกา และวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๒๑.๑๒.๐๗ นาฬิกา ซึ่งเป็นวันก่อนที่จะถูกส่งไปให้ว่าที่พันตำรวจตรีนิติทำการตรวจพิสูจน์ อันอาจเป็นช่องทางให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊คของกลางได้ง่าย จึงทำให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจพิสูจน์คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของกลางมีข้อบกพร่องกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ยังไม่อาจรับฟังได้แน่ชัดว่า ข้อมูลการใช้อีเมล์ dorkao@hotmail.com และเฟซบุ๊ก “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” เกิดขึ้นจากการใช้งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คของจำเลย
              พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ฟ้องหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ วรรคสอง

              พิพากษายกฟ้อง


*มีการเพิ่มเติมเนื้อหาเวลา 18.15 น. (31 ต.ค.55)