WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 30, 2012

มูลค่าการประมูลคลื่น 3G ของไทยเหมาะสมแล้วเมื่อเทียบกับต่างประเทศ?

ที่มา ประชาไท




การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz (คลื่น 3G) โดยสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ผ่านพ้นไปประมาณ 2 สัปดาห์แล้ว โดยผลการประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 9 ชุดคลื่นสร้างรายรับให้กับรัฐ 41,625 ล้านบาท สูงกว่าราคาตั้งต้นที่ กสทช. ตั้งไว้ที่ 40,500 ล้านบาท (4,500 ล้านบาทต่อชุดคลื่น x 9 ชุดคลื่น) ประมาณ 2.8% แต่ยังต่ำกว่ามูลค่าประมาณการรายรับ 57,960 ล้านบาทที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งสำนักงาน กสทช. มอบหมายให้ไปศึกษา) คำนวณเอาไว้ถึง 16,335 ล้านบาท หรือประมาณ 27.2% ซึ่งผลการประมูลที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ที่หลากหลายและกว้าง ขวางในสังคม ในประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหมดมีประเด็นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่ สุด คือความเหมาะสมของรายรับการประมูลเมื่อเทียบกับต่างประเทศ

หาก พิจารณาตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ ราคาที่เหมาะสมคือราคาที่สะท้อนต้นทุนค่าเสียโอกาสของการนำคลื่นความถี่ไป สร้างประโยชน์ในทางอื่น หรือโดยผู้ประกอบการรายอื่น ดังนั้นถ้าหากการประมูลมีการแข่งขันที่ดี การสู้ราคาในการประมูลจะส่งผลให้ราคาที่ผู้ชนะเสนอสะท้อนต้นทุนค่าเสียโอกาส ของคลื่นความถี่ ในกรณีที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าการประมูลจะไม่มีการแข่งขันดังเช่นที่เกิด ขึ้นในประเทศไทย ราคาการประมูลจะไม่สะท้อนถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสของการใช้คลื่นความถี่เนื่อง จากผู้ประกอบการไม่จำเป็นที่จะต้องแข่งขันกันเสนอราคา และ กสทช. จำเป็นที่จะต้องตั้งราคาที่เหมาะสมเองผ่านการกำหนดราคาตั้งต้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าเพราะอะไรงานศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมีความสำคัญ จากงานศึกษาชิ้นดังกล่าวคณะผู้วิจัยประมาณการรายรับที่ควรจะได้รับจากการ ประมูลที่ 6,440 ล้านบาท ต่อ 1 ชุดคลื่นความถี่ 5 MHz หรือ 0.64 เหรียญสหรัฐฯต่อ 1 MHz ต่อประชากร 1 คน (USD/MHz/Population)

อย่าง ไรก็ดีภายหลังการประมูล รายรับที่ได้รับต่ำกว่ารายรับที่ประมาณการที่ระบุในงานศึกษาของคณะวิจัยจาก เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ อย่างมาก เนื่องจากการตั้งราคาตั้งต้นที่ลดลงมาถึง 30% ประกอบกับการไม่มีการแข่งขันในการประมูลทำให้ราคาที่ได้เพิ่มขึ้นจากราคา ตั้งต้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งคิดเป็น 0.46 USD/MHz/population

ภายหลัง การประมูล ผู้ประกอบการซึ่งเข้าร่วมประมูลรายหนึ่งได้ออกมาให้ความเห็นผ่านรายการ โทรทัศน์ โดยให้ข้อมูลว่าราคาการประมูลของประเทศไทยเป็นราคาที่สูงพอสมควรและเหมาะสม แล้ว ซึ่งหากเทียบกับต่างประเทศ ประเทศไทยมีรายรับจากการประมูลสูงที่สุดในประเทศอาเซียน พร้อมทั้งยกข้อมูลราคาการประมูลของประเทศต่างๆ ได้แก่ (หน่วยเป็น USD/MHz/population) เกาหลีใต้ (ปี 2011) ที่ 0.40,เยอรมนี (ปี 2010) ที่ 0.28, เม็กซิโก (ปี 2010) ที่ 0.15, สิงคโปร์ (ปี 2010) ที่ 0.08, อินโดนีเซีย (ปี2006) ที่ 0.04 และมาเลเซีย (ปี 2006) ที่ 0.03 (ดูภาพประกอบด้านบน) ตัวเลขชุดเดียวกันนี้ยังถูกกล่าวอ้างถึงในบทความทางหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ แห่งหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยที่ปรึกษาของ กสทช. อีกด้วย ผู้เขียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำกล่าวอ้างและตัวเลขต่างๆ ดังนี้

1. ตัวเลขที่ยกมาเป็นเพียงการเลือกประเทศบางประเทศ (7-9 ประเทศ) และตัวแปรบางตัวมาสนับสนุนคำกล่าวอ้างเท่านั้น ในขณะที่การศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่คำนวณราคาตั้งต้นที่ 0.64 เหรียญสหรัฐฯต่อ 1MHz ต่อประชากร 1 คน ใช้ข้อมูลจำนวนประเทศที่ครอบคลุมกว่า และคำนึงถึงปัจจัยที่ผู้ประกอบการยกมา เช่น ระยะเวลาของใบอนุญาต ขนาดเศรษฐกิจ ปีที่ทำการประมูล ไว้ทั้งหมดแล้ว โดยงานศึกษาดังกล่าวใช้ข้อมูลการประมูลจากต่างประเทศทั้งหมด 17 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 69 ใบอนุญาต ด้วยวิธีทางเศรษฐมิติ ซึ่งเป็นวิธีการหาค่าประมาณการมูลค่าคลื่น 3G ของไทยโดยคำนึงถึงปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้รวมปัจจัยต่างๆ ของแต่ละประเทศเอาไว้ในการพิจารณากำหนดมูลค่าคลื่นไว้อย่างหลากหลาย เช่น ขนาดของเศรษฐกิจ จำนวนประชากร รายได้ต่อหัว ระยะเวลาของใบอนุญาต ความหนาแน่นของประชากร รวมถึงช่วงปีที่ประมูลว่ามีกระแสการตื่นตัวของเทคโนโลยี 3G หรือไม่ ดังนั้นผลการประมาณการ 6,440 ล้านบาทต่อชุดคลื่น 5 MHz จึงถือว่าเป็นมูลค่าที่สมเหตุผลเมื่อคำนึงถึงปัจจัยที่แตกต่างกันในแต่ละ ประเทศ และมีความน่าเชื่อถือกว่าการยกตัวเลขของประเทศเพียงบางประเทศมาเปรียบเทียบ โดยไร้หลักเกณฑ์ที่เป็นวิชาการมาสนับสนุน

2. ตัวเลขที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้างในส่วนของประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย มีความคลาดเคลื่อน ซึ่งจำเป็นต้องขยายความเพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิด ในกรณีของประเทศสิงคโปร์ การประมูลในปี 2010 เป็นการออกใบอนุญาตคลื่น 3G เป็นครั้งที่ 2 หลังจากมีการประมูลรอบแรกไปแล้วในปี 2001 ซึ่งการประมูลในรอบนี้มีคลื่นที่ได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 15 MHz แบ่งออกเป็น 3 ชุด ชุดละ 5 MHz โดยรัฐบาลสิงคโปร์ตั้งราคาตั้งต้นอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ต่อ 1 ชุดคลื่น หรือคิดเป็น 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ดูเอกสารอ้างอิง 1.หัวข้อที่ 8 สำหรับข้อมูลราคาตั้งต้น) โดยผู้ประมูลมีทั้งสิ้น 3 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการรายเดิม ผลการประมูลปรากฏว่าราคาสุดท้ายเท่ากับราคาตั้งต้น ซึ่งคิดเป็น 0.61 USD ต่อ MHz ต่อประชากร (15.4 ล้านเหรียญ/5MHz/ประชากร 5.08 ล้านคน) ซึ่งสูงกว่าไทย และมิใช่ 0.08 ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

ในกรณีของ อินโดนีเซีย วิธีการประมูลจะแตกต่างไปเล็กน้อย กล่าวคือรัฐบาลอนุญาตให้ผู้ประกอบการผ่อนชำระเงินค่าประมูลได้ตลอดอายุใบ อนุญาต โดยผู้เข้าประมูลจะทำการ เสนอราคาผ่อนชำระต่อปี ไม่ ใช่ราคารวมที่จ่าย โดยผู้ชนะการประมูลต้องชำระเงิน 2 เท่าของราคาที่ตนเสนอในปีแรก และชำระเงินในอัตราคงที่ทุกปีเท่ากับราคาที่ผู้ชนะรายสุดท้ายเสนอตลอดอายุใบ อนุญาต 10 ปี ดังนั้นการคิดมูลค่าจะต้องรวมค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการต้องชำระคงที่ตลอด อายุใบอนุญาตในราคาประมูลด้วย เนื่องจากต้นทุนที่ชำระในส่วนนี้ทั้งหมดเป็นมูลค่าที่กำหนดโดยวิธีการประมูล และไม่ขึ้นอยู่กับรายได้ประกอบการ ดังนั้นจะไม่ใช่ส่วนแบ่งของรายได้และควรรวมอยู่ในราคาประมูล เพียงแต่ว่ารัฐอนุญาตให้ผ่อนจ่ายเท่านั้น  ในขณะที่การเก็บค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนของรายได้ก็ยังมีอยู่ตามปกติและแยก ออกมาต่างหาก(เช่น Universal Service Obligation ประมาณ 0.75% ของรายได้) ฉะนั้นแล้ว ถ้าใช้เพียงแต่ตัวเลขที่เอกชนเสนอตามข้อมูลที่ที่ปรึกษา กสทช. ใช้กล่าวอ้าง จะทำให้มูลค่าลดลงจากความเป็นจริงถึง 10 เท่า แท้ที่จริงแล้วตัวเลขมูลค่าคลื่นจากการประมูลในกรณีของอินโดนีเซียควรจะอยู่ ที่ประมาณ 0.4-0.5 USD/MHz/population ซึ่งถือว่ามีผลลัพธ์ที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้ต่ำ มีลักษณะเป็นเกาะ และใบอนุญาตมีอายุเพียง 10 ปี (ดูเอกสารอ้างอิง 2. สำหรับวิธีการประมูลของอินโดนีเซียและราคาเป็น USD/MHz/population)

3. ประเทศต่างๆ ที่ผู้ประกอบการนำมากล่าวอ้างส่วนใหญ่ เช่น เกาหลีใต้ เยอรมัน และสิงคโปร์ เป็นข้อมูลของการจัดสรรใบอนุญาตรอบที่ 2 นั่นคือประเทศเหล่านี้มีการให้ใบอนุญาตคลื่น 2.1 GHz รอบใหญ่มาแล้ว การประมูลในรอบหลังเป็นการประมูลใบอนุญาตที่เหลืออยู่เพื่อวัตถุประสงค์ใน การเพิ่มการแข่งขันของรายใหม่ หรือเพิ่มคลื่นให้เพียงพอต่อการให้บริการ ซึ่งการประมูลรอบหลังนี้มูลค่าคลื่นย่อมต่ำกว่าการประมูลรอบแรก เพราะตลาดเริ่มมีการอิ่มตัว อุปสงค์ของการใช้ 3G ส่วนใหญ่ถูกตอบสนองไปแล้วอีกทั้งส่วนแบ่งการตลาดของผู้ประกอบการรายเดิมก็ สูงอยู่แล้ว จึงเป็นการยากสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้าไปแข่งขันและทำให้โอกาสของ การทำกำไรต่ำลง การแข่งขันและราคาตั้งต้นจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดไว้ต่ำ

ใน กรณีของประเทศเกาหลีใต้ปี 2011 วัตถุประสงค์สำคัญคือการเพิ่มการแข่งขันในการให้บริการ (ดูเอกสารอ้างอิง 3.หน้า 55) เนื่องจากก่อนหน้านี่ผู้ให้บริกา ร3G ในคลื่น 2.1 GHz ผูกขาดอยู่เพียง 2 ราย ซึ่งเป็น 2 รายใหญ่ที่สุดในตลาด โดยทั้ง 2 รายได้รับการจัดสรรคลื่น 2.1 GHz มาก่อนหน้าแล้ว แต่รัฐต้องการเพิ่มผู้เล่นรายใหม่ในตลาด จึงจัดการประมูลใบอนุญาตเพิ่มอีก 1 ใบ โดยไม่อนุญาตให้เจ้าตลาดทั้งสองรายเข้าร่วมประมูล (ดูเอกสารอ้างอิง 5. หน้า 3) ซึ่งแน่นอนว่าการเข้ามาแข่งกับเจ้าตลาดรายใหญ่ที่ให้บริการอยู่แล้วย่อมทำ ให้มูลค่าใบอนุญาตใบนี้มีค่อนข้างต่ำเนื่องจากรายใหม่จะต้องแข่งกับเจ้าตลาด รายใหญ่ที่มีฐานลูกค้ามากและตลาดค่อนข้างอิ่มตัว รัฐบาลย่อมต้องตั้งราคาจูงใจให้ต่ำลง ซึ่งสุดท้ายก็มีผู้เข้าร่วมประมูลเพียงรายเดียวและได้ใบอนุญาตไปในราคาตั้ง ต้น

ในกรณีของสิงคโปร์ปี 2010 รัฐต้องการเพิ่มศักยภาพการให้บริการ จึงนำคลื่นอีก 15 MHz ที่ไม่ได้ถูกจัดสรรเมื่อครั้งการประมูลรอบแรกในปี 2001 มาประมูล และอนุญาตให้ผู้ประกอบการรายเดิมร่วมประมูลได้ ซึ่งส่งผลทำให้ไม่มีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจ แม้ว่าราคาตั้งต้นที่รัฐตั้งจะต่ำกว่าราคาตั้งต้นในครั้งที่ประมูลรอบแรก เมื่อปี 2001 ประมาณ 40% (ราคาตั้งต้นปี 2010 อยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ต่อ 5  MHz ในขณะที่ราคาตั้งต้นในปี 2001 อยู่ที่ 100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 15 MHz) โดยผู้ประกอบการรายเดิมทั้ง 3 รายชนะการประมูลรายละ 5MHz ในราคาตั้งต้น

4. ประเทศมาเลเซียไม่ได้ใช้วิธีการประมูล แต่ใช้การให้ใบอนุญาตด้วยการคัดเลือกบริษัทที่เหมาะสม (Beauty Contest) ในราคาที่รัฐกำหนด ซึ่งเป็นวิธีที่ขาดความโปร่งใส ดังนั้นจึงไม่สามารถเปรียบเทียบมูลค่ากับวิธีการประมูลได้ (ดูเอกสารอ้างอิง 8. ส่วนที่ 1 ข้อที่ 1 สำหรับวิธีการจัดสรรคลื่นแบบคัดเลือก) นอกจากนี้การออกใบอนุญาตในปี 2006 ยังเป็นการออกใบอนุญาต 3G รอบที่ 2 หลังจากได้ออกใบอนุญาตในรอบแรกไปแล้วเมื่อปี 2001 ด้วยวิธีคัดเลือกบริษัทที่เหมาะสม

จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่นำเสนอผ่าน สื่อนั้นมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความจริง และเป็นการจงใจอ้างอิงเฉพาะผลการประมูลในกลุ่มประเทศเพียงไม่กี่ประเทศเพื่อ สนับสนุนคำกล่าวอ้าง  แตกต่างจากงานศึกษาที่ใช้เทคนิคการประมาณค่าที่มีความเป็นวิชาการของคณะ เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า และคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่ผู้ประกอบการได้นำมากล่าวอ้างทั้งหมดในการประมาณมูลค่าแล้ว ซึ่งในท้ายที่สุด ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนก็คือ ราคาสุดท้ายของการประมูลของไทยต่ำกว่าราคาที่ได้จากการประมาณการอย่างเป็น วิชาการจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจาก กสทช. เอง และต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของประเทศต่างๆ ที่ประมูลก่อนหน้ามากถึงเกือบ 30%


เอกสารอ้างอิง: เอกสารอ้างอิงทั้งหมดสามารถดูได้จากบทความฉบับเต็มตีพิมพ์ใน www.thaipublica.org
หมายเหตุ: ชื่อบทความเดิม: จริงหรือที่มูลค่าการประมูลคลื่น 3G ของไทยเหมาะสมแล้วเมื่อเทียบกับต่างประเทศ?