WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 2, 2009

ข่าวมอนิเตอร์ประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2552

ที่มา ประชาไท

"มาร์ค" ร้องปชช.หนุนกก.ปรองดอง

มติชนออนไลน์ : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวที่รัฐสภาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ถึงกรณีฝ่ายนิติบัญญัติลงมติตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์การเมืองระหว่างวันที่ 8-15 เมษายน และคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีหลายฝ่ายรู้สึกเป็นห่วงเนื่องจากมีแต่ฝ่ายการเมือง ว่าองค์กรนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่กระบวนการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด จำเป็นต้องฟังเสียงประชาชน ขณะนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นคนนอกมาร่วมด้วย


เมื่อถามว่า ผู้ทรงคุณวุฒิก็ถูกเสนอโดยฝ่ายการเมืองเกรงจะถูกหาว่าการเมืองครอบงำหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า "ไม่หรอกครับ ยังมีคนพร้อมเข้าทำงานมาทำ ถ้าบอกว่าการเมืองทั้งหมดคงไม่ใช่ ต้องฟังเสียงประชาชนด้วย เพราะไม่มีประโยชน์ที่คนเพียง 400-500 คน จะไปแก้ปัญหากันเอง แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมได้"


เมื่อถามว่า นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่าความรู้สึกของสังคมเป็นสิ่งเปราะบาง นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เป็นความเห็นที่ควรรับฟัง เพราะถ้าแก้ปัญหาสังคมไม่ได้ ก็แก้ปัญหานักการเมืองไม่ได้ เมื่อถามถึงกรณีที่ระบุว่าจะใช้เวลา 6-8 เดือน ทำให้บ้านเมืองดีขึ้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การประชุมอาเซียนและการฟื้นตัวเศรษฐกิจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 7-8 เดือน จึงจะมีความชัดเจน เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกคาดกันว่าปีหน้าน่าจะดีขึ้น รัฐบาลจะเดินหน้าทำงานต่อไป ส่วนการแก้ปัญหาทางการเมืองให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการปรองดอง ส่วนตัวอยากเรียกร้องให้ประชาชนส่วนใหญ่หันมาสนับสนุนให้กลไกดังกล่าวสามารถ ทำงานได้ ไม่ควรให้บางฝ่ายที่มีวาระซ่อนเร้นอยู่สามารถมาชี้นำประเทศได้

ป.ป.ช.ฟัน "พล.ต.ต.พีรพันธุ์-พ.ต.อ.สีหนาท" ฐานคุ้ยทรัพย์สินสื่อ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษก แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาเรื่องกล่าวหา พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กับพวก ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เกี่ยวกับการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของบุคคลและนิติบุคคลต่างๆ โดยมิชอบ เนื่องจากได้รับหนังสือร้องเรียน (บัตรสนเท่ห์) ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2545 ว่า พล.ต.ต.พีรพันธุ์ ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผอ.ศูนย์สารสนเทศและติดตามประเมินผล สำนักงาน ปปง. ให้เข้าไปดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินของบุคคล และนิติบุคคลต่างๆ โดยมีหนังสือสำนักงาน ปปง. ถึงสถาบันการเงินขอให้ตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมของบริษัทนิติบุคคล ที่มีรายชื่อถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อสารมวลชน และเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของบุคคลที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับนิติบุคคลเหล่านี้

ทั้งที่ปราศจากข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุอันสมควรในการตรวจสอบ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิของบุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง ทั้งในด้านข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่การงาน เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นส่วนตัว อันเป็นการละเมิดต่อบุคคลดังกล่าว

นายกล้านรงค์ กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณา แล้วจึงมีมติว่าการกระทำของ พล.ต.ตงพีรพันธุ์ และ พ.ต.อ.สีหนาท มีมูลเป็นความผิดทางวินัยร้ายแรง ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 85 วรรค 2 และการกระทำของ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ ยังมีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยให้ส่งรายงานเอกสารและความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยกับ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ และ พ.ต.อ.สีหนาท พร้อมกับส่งไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาล ซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีกับ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ ตามฐานความผิดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 92 และ 97 แล้วแต่กรณีต่อไป

เคาะเชื่อส.ว.,ผู้ทรงคุณวุฒิชุดแก้รธน.-สอบเหตุสลายม็อบ

ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเลือกตัวแทนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการชุมนุมทางการเมือง ระหว่างวันที่ 8-15 เมษายน 2552 และคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แล้ว
การ ประชุมวุฒิสภา วันนี้ (1 พ.ค.) ในการพิจารณาคัดเลือกรายชื่อ ส.ว. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสัดส่วนของ ส.ว.เพื่อเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการชุมนุมทางการ เมือง ระหว่างวันที่ 8-15 เมษายน 2552 และคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยแต่ละคณะมีสัดส่วน ส.ว. 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน

ผลการลงคะแนนลับปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการชุมนุม ทางการเมือง ระหว่างวันที่ 8-15 เมษายน 2552 ประกอบด้วย พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ ส.ว.อุดรธานี นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรสงคราม นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ พล.ต.ต.สุเทพ สุขสงวน ส.ว.สรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คุณ คือ นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช และ พล.ต.อ.ล้วน ปานรศทิพ


สำหรับคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ ประกอบด้วย พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว.พัทลุง นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา และผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คือ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และนายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช


หลังจากนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา หรือ วิปวุฒิสภา จะส่งรายชื่อ ส.ว. ทั้ง 2 คณะ ให้นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เพื่อลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ คาดว่าไม่น่าจะเกินวันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคมนี้ จะสามารถลงนามแต่งตั้งได้ โดยที่ประชุมวิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภา มีมติให้นายชัย ชิดชอบ มีอำนาจในการแต่งตั้งประธานทั้ง 2 คณะ

วุฒิฯเห็นชอบกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 7 คน แทนชุดเก่า

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ที่ประชุมวุฒิสภา วันนี้ (1 พ.ค.) มีมติเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อ ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจำนวน 7 คน

ประกอบด้วย นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีต ส.ว.อุบลราชธานี และประธานมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต นายปริญญา ศิริสารการ อดีตรองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานมูลนิธิพัฒนาข้าราชการ

พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นางวิสา เบ็ญจะมโน ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ ศจ.อมรา พงศาพิชญ์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เทพเทือกชี้คดีลอบสังหาร สนธิไม่กระทบสัมพันธ์ รบ.-กองทัพ

ASTV ผู้จัดการออนไลน์ : ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ระบุว่าตนถูกยิงโดยคนในกองทัพ ว่า คงไม่กระทบกับการทำงานของรัฐบาลหรือกองทัพ เพราะการทำผิดกฎหมายเป็นเรื่องของตัวบุคคล เชื่อว่าหลังตำรวจคลี่คลายคดีนี้ได้ทุกอย่างก็จะชัดเจนขึ้น เมื่อถามว่าตำรวจรายงานความคืบหน้าไปกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว นายสุเทพ กล่าวว่า เขาก็ยังทำงานต่อไป และตั้งใจคดีนี้ให้ได้ โดยส่วนตัวจะไม่เข้าไปกดดันว่าจะต้องทำเสร็จภายใน 3 วัน 7 วัน จะปล่อยให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่ยืนยันว่าจะต้องจับตัวคนทำผิดมาดำเนินคดีให้ได้

นายสุเทพ ยังเปิดเผยว่า จะเรียกประชุมฝ่ายความมั่นคงรวมถึงกระทรวงการต่างประเทศ ในเวลา 10.00 น.ของวันนี้ เพื่อพูดคุยถึงการดูแลความปลอดภัยการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนในวัน ที่ 7-8 พฤษภาคม ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในกทม. โดยครั้งนี้จะขอให้ทางทหารเข้ามาช่วยตำรวจในการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น เมื่อถามว่าแสดงว่าจะให้ทหารเป็นด่านหน้าเลยใช่หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ไม่ใช่ด้านหน้าหรือด้านหลัง แค่มารักษาความปลอดภัย

เมื่อถามถึงการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงที่จัดขึ้นก่อนวันประชุมเพียง 1 วันจะทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ก็จะพยายามไม่ให้เป็นปัญหา เมื่อถามว่าการเลื่อนชุมนุมของคนเสื้อแดงเกี่ยวข้องกับการประชุมรมว.สธ.หรือ ไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า คงต้องไปถามผู้ชุมนุมเอง ตนตอบไม่ได้ ตนก็ทำหน้าที่ของตนคือให้งานราชการทุกอย่างเดินหน้าไปได้ เมื่อถามว่าจะขอความร่วมมือจากผู้ชุมนุมไหม เพราะไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกตอนนี้ก็เป็นปัญหาของทั่วโลกแล้ว นายสุเทพ กล่าวว่า แต่ละฝ่ายก็ต้องมีความคิดอ่านของตัวเอง

ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม สั่งให้กองทัพทบทวนการปราบจลาจลที่ผ่านมาว่ามีข้อผิดพลาดอย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า ผมไม่คิดว่าเขาจัดสัมมนาเพราะมีข้อผิดพลาด แต่ได้รู้มาว่าหลังปฏิบัติการเสร็จทุกครั้งต้องมีการทำบทสรุปว่าได้ดำเนิน การอย่างไร อะไรเป็นข้อดีข้อด้อย ก็ต้องมาสรุปเป็นปกติการทำงานของกองทัพ เมื่อถามว่าการสลายการชุมนุมจะมีการจัดทำให้เป็นมาตรฐานได้อย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า ก็คงต้องดู แต่ยืนยันว่าหากเป็นผู้ชุมนุมตามปกติก็จะไม่ทำอะไร แต่ถ้าฝ่าฝืนกฎหมาย สร้างความเดือดร้อน คุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน อย่างนั้นเราต้องเข้าไปดำเนินการ ต้องแยกกัน ส่วนวิธีการในวันข้างหน้าเขากำลังคิดหากันอยู่ว่าทำอย่างไรถึงจะจัดการและ แก้ปัญหาการชุมนุมอย่างไร ไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ โดยจะพยายามจัดเครื่องมือให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

นายสุเทพยังปฏิเสธไม่ทราบข่าวกรณีที่มีการรายงานกันในพรรคประชาธิปัต ย์ว่า มีการขนเจ้าหน้าที่ป่าไม้จากภาคเหนือตอนล่างมาร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง ด้วย และปฏิเสธจะตอบต้องจับตาคนกลุ่มนี้หรือไม่ โดยกล่าวเพียงว่า จะขอเข้าไปดูข้อเท็จจริงก่อน

เมื่อถามว่าหลังกระบวนแก้ไขรัฐธรรมนูญเริ่มเดินหน้าจะทำให้รัฐบาล อยู่ได้นานขึ้นหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ก็หวังว่าอยากให้ทุกฝ่ายมีความฉุกคิด เพราะทุกคนต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบปัญหาบ้านเมืองด้วยกัน เมื่อถามว่าการนิรโทษกรรมเหมือนทุกฝ่ายจะยอมรับกันได้แล้ว นายสุเทพ กล่าวว่า อย่ารีบสรุป ธงที่ผมได้ยืนจากทุกฝ่าย คือเราแก้ปัญหาบ้านเมืองไม่ใช่แก้ปัญหาบุคคล ซึ่งจะนิรโทษกรรมเฉพาะความผิดทางการเมืองหรือไม่ ตนจะไม่เข้าไปยุ่งในรายละเอียด เพราะมีคณะกรรมการทำงานอยู่ซึ่งเขาจะต้องประชุมหารือกันอย่างลึกซึ้ง

เมื่อว่านัดพรรคร่วมส่งการบ้านเมื่อใด นายสุเทพ กล่าวว่า สัปดาห์นี้ก็คงจะต้องทยอยส่งมาแล้ว เมื่อถามว่าจะเชิญแต่ละพรรคมาประชุมอย่างเป็นทางการไหม นายสุเทพ กล่าวว่า หลังงานวันฉัตรมงคล 1-2 วัน คงจะได้ตั้งวงพูดคุยถึงปัญหาต่างๆกัน เมื่อถามถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุขอทำงานอีก 6-8 เดือนจากนั้นจะยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือยุบสภา เป็นสัญญาณอะไรหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า อย่าไปคาดเดาเลยครับ หมอดูก็ทายผิดไปหลายคนแล้ว เราอย่าทำตัวเป็นหมอดูอีกเลย รัฐบาลตั้งใจแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ได้ เพราะรู้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ซ้ำเติมปัญหาหลายอย่าง เมื่อก่อนมาจากเรื่องสถาบันการเงิน เดี๋ยวนี้มีไข้หวัด และเมื่อมาบวกปัญหาภายในของเราก็ทำให้สถานการณ์

อภิสิทธิ์เชื่อปฎิรูปการเมืองแก้ปัญหาประเทศได้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์การเมือง ระหว่างวันที่ 8-15 เมษายน และคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด เป็นองค์กรที่เป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น ส่วนจะมีการเมืองครอบงำหรือไม่ต้องดูที่กระบวนการ เพราะการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด ต้องฟังเสียงประชาชนในหลายรูปแบบ ซึ่งตนเข้าใจว่า ขณะนี้ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิหรือบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมอยู่ในคณะกรรมการแล้ว จึงหวังว่าคณะกรรมการจะเข้าใจในความละเอียดอ่อนของประเด็น และจะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่

ผมเห็นว่าจริงๆ แล้ว มีคนที่พร้อมเข้ามา คือ ถ้าเราไปคิดว่า เขาเข้ามาเพราะว่าเป็นการเมืองหมดคงไม่ใช่ ควรเปิดโอกาสฟังเสียงข้างนอกให้มาก ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะแก้ไขกันเองเพียง 400-500 คน หรือพันคน มันไม่ช่วยแก้ไขปัญหาสังคม เพราะเรากำลังแก้ไขปัญหาให้คน 60 กว่าล้านคนนายอภิสิทธิ์ กล่าว

เมื่อถามว่า จะให้มั่นใจได้อย่างไรว่าไม่ใช่ทำเพื่อสมานฉันท์เฉพาะนักการเมืองเท่านั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระบวนการทั้งหมดต้องเข้าสู่รัฐสภา มีการตรวจสอบหลายด้านและเชื่อว่าสังคมคงไม่ยอม ถ้าคิดจะมาแก้ไขปัญหาให้นักการเมืองด้วยกันเอง เมื่อถามว่า คาดหวังกับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นทั้ง 2 ชุดว่า จะประสบความสำเร็จหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าเชื่อในระบอบประชาธิปไตย กลไกของรัฐสภา ต้องทำให้เป็นที่พึ่ง และที่หวังของประชาชนได้ ตอนนี้ต้องขอโอกาสให้ทุกฝ่ายทำงานก่อน ไม่อยากให้ไปสร้างความวุ่นวายภายนอก และหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย แต่ยอมรับอาจจะมีคนบางกลุ่มมีวาระซ่อนเร้นอยู่ว่า จะทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่แนวทางของรัฐสภา จึงต้องขอความหวังจากสังคมที่ต้องการความสงบ ต้องการให้ประเทศเดินหน้า ช่วยกันตรวจสอบด้วย

ศาลอนุมัติออกหมายจับพ.อ.จ้างฆ่าองคมนตรี "ชาญชัย"
มติชนออนไลน์ : มีรายงานข่าวจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งความคืบหน้าคดีคนร้ายลอบสังหารนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรีว่า ศาล จ.สมุทรปราการได้อนุมัติหมายจับ พ.อ.สกล พันธุ์หงษ์ อายุ 61 ปี อดีตนายทหารกองปราบปรามการก่อการร้าย ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย ในข้อหาใช้จ้างวานฆ่านายชาญชัย เนื่องจากผู้ต้องหาที่ถูกจับก่อนหน้านี้ซัดทอดว่า พ.อ.สกลเป็นคนจ้างวาน และเป็นคนจัดหาโทรศัพท์มือถือมาให้ใช้ หลังติดต่องานเสร็จ พ.อ.สกลได้เก็บโทรศัพท์มือถือกลับไปทั้งหมด และหนีไปตั้งแต่วันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา มีการส่งหมายจับไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองทั่วประเทศ และชุดสืบสวนได้ติดตามไปยังบ้านเพื่อนของ พ.อ.สกล ที่ จ.เชียงใหม่ แต่ยังไม่พบตัว สำหรับ พ.อ.สกลทำหน้าที่สืบสวนติดตามหาข่าวและปราบปรามการก่อการร้ายมาโดยตลอด ผ่านหลักสูตรการอบรมด้านข่าวกรอง เพิ่งเกษียณอายุปี 2551


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ศสส.ภ.1 ได้จับกุม พ.ต.เทียนชัย เมืองจันทึก หรืออ๊อด อายุ 45 ปี หนึ่งในผู้จ้างวาน นายคมิก สุขกาญจนกาศ หรือจ่าเหน่ง อายุ 32 ปี คนชี้เป้าและติดต่อมือปืน นายศักดิ์ชาย แซ่ลิ้ม หรือแบงก์ อายุ 27 ปี มือปืน นายภานุพงษ์ รัตนาไพบูลย์ หรือกอล์ฟ อายุ 32 ปี คนขับขี่รถจักรยานยนต์ นายสุชาติ ทิพย์มณี หรือเดียร์ หรือแจ๊ค อายุ 24 ปี และ พ.จ.อ.สุกรี ขาวผ่อง

คนขายหวยเตรียมพบ "กรณ์" ขอคำตอบหวยออนไลน์
มติชนออนไลน์ : นายวรวุฒิ ประธานชมรมคนขายหวยบนดิน เปิดเผยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ว่าวันที่ 6 พฤษภาคม สมาชิกชมรมจะรวมตัวกันขอเข้าพบนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อขอทราบความชัดเจน กรณีการเปิดขายสลากเลขท้ายพิเศษ 2 ตัว 3 ตัว ผ่านเครื่องอัตโนมัติ (หวยออนไลน์) ว่ารัฐบาลยังให้ดำเนินการเปิดขายหวยออนไลน์หรือไม่ และหากยืนยันว่ายังต้องการที่จะให้มีการขายหวยออนไลน์ ทำไมจึงล่าช้า ทั้งๆ ที่คนในสังคม และหน่วยงานหลายฝ่ายก็ยืนยันแล้วว่า สามารถดำเนินการได้ผ่าน พ.ร.บ.สำนักงานสลากฯ พ.ศ.2517 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี คนตกงานจำนวนมาก หากรัฐบาลต้องการให้เศรษฐกิจดีขึ้น เหตุใดจึงไม่ช่วยให้คนมีอาชีพและมีรายได้ ซึ่งหากรัฐบาลไม่ให้คำตอบที่ชัดเจน สมาคมจะประชุมใหญ่เพื่อหารือร่วมกันอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไร


นายวันชัย สุระกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า ได้รับหนังสือจากบริษัท แอลจีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบเกมสลาก (หวยออนไลน์) แล้ว และส่งเรื่องถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว เพราะถือเป็นระดับนโยบายที่ต้องให้กระทรวงการคลังพิจารณา โดยสำนักงานสลากฯเป็นเพียงผู้ปฏิบัติการ และยืนยันว่า หากกระทรวงการคลังอนุมัติให้ดำเนินการได้ สำนักงานสลากฯจะเปิดขายได้ภายใน 45 วัน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ บริษัท แอลทีจี จำกัด เคยทำหนังสือทวงถามไปยังกระทรวงการคลังแล้ว และยืนยันว่า หากไม่ได้คำตอบในต้นเดือนพฤษภาคม จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จากที่ได้ลงทุนระบบไปแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท ขณะที่นายกรณ์ ระบุว่า จะพิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหาปากท้องประชาชนก่อน เรื่องหวยออนไลน์อาจพิจารณาทีหลัง

สมาพันธ์แรงงานยื่น 7 ข้อร้องนายกฯจี้คุ้มครองสิทธิ
ที่รัฐสภา เมื่อเวลา11.30 น. วันที่ 1 พ.ค. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (ครสท.) และเครือข่ายแรงงานนอกระบบหลายร้อยคนได้ชุมนุมกันที่หน้าอาคารรัฐสภาและได้ ส่งตัวแทนจำนวน 12 คนนำโดยนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสรส.และนางวิไลวรรณ แซ่เตีย เลขาธิการ ครสท.เข้ายื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ห้องรับรองนายกรัฐมนตรีอาคารรัฐสภา 1 เพื่อเรียกร้องสิทธิแรงงานเนื่องในวันกรรมกรสากลปี 2552

นายสาวิทย์ กล่าวว่า กลุ่มเครือข่ายผู้ใช้แรงงานมีข้อเสนอเรียกร้องไปยังนายกฯ จำนวน 7 ข้อดังนี้ 1.ให้กระทรวงแรงงานตั้งคณะกรรการตรวจสอบสถานประกอบการที่มีปัญหาเพราะที่ ผ่านมามีสถานประกอบการบางแห่งถือโอกาสจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเลิกจ้างและไม่ จ่ายค่าชดเชย รวมทั้งขอให้กระทรวงแรงงานตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือ จ่ายเงินชดเชยให้คนงานที่ไม่ได้รับค่าชดเชย 2.ให้รัฐบาลใช้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับเดียว เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายภาคส่วนเสนอกฏหมายทำให้มีความซ้ำซ้อน 3.ขอให้รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย เพราะมีบทเรียนมาตั้งแต่เหตุการณ์เพลิงไหม้ที่โรงงานเคเดอร์ 4.รัฐบาลต้องยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 5.รัฐบาลต้องรับรองอนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อส่งเสริมเปิดพื้นที่ทางการค้า เพราะอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับ ประเทศใกล้เคียง อาทิ ประเทศกัมพูชาและลาว ต่างก็ประกาศรับรองแล้ว 6.ต้องปรับโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคม โดยต้องขยายไปยังแรงงานนอกระบบด้วย และ 7.ให้รัฐบาลตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่สมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ที่ได้รับผลกระทบจากการลงทุนที่ผิดพลาดของกองทุน

สมาพันธ์ฯขอให้รัฐบาลติดตามข้อเรียกร้องที่เคยเสนอต่อรัฐก่อนหน้านี้อย่าง ต่อเนื่องยาวนาน อาทิ กรณีค่าจ้างที่เป็นธรรม การคุ้มครองสิทธิแรงงาน คุ้มครองแรงงานนอกระบบ คุ้มครองแรงงานข้ามชาติ รวมถึง ประเด็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ควรให้ทำงานร่วมกับคนปกติได้นายสาวิทย์ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวภายหลังการรับหนังสือว่า กรณีการตั้งกองทุน และคณะกรรมการสอบสถานประกอบการที่เอาเปรียบลูกจ้าง ของกระทรวงแรงงาน เรื่องนี้ตนได้ให้นโยบายแก่กระทรวงแรงงานแล้ว เพื่อที่จะพิจารณาและดำเนินการต่อไป นอกจากนี้กรณี สิทธิการใช้ประกันสังคม ที่ไม่ครอบคลุมถึง แรงงานนอกระบบ โดยเฉพาะ ลูกจ้างเอกชน และลูกจ้างข้าราชการ รัฐบาลก็จะดำเนินการให้ครอบคลุมในส่วนนี้

"หมอประกิต"หนุนกทม.ขึ้นภาษีบุหรี่มวนละ1บาท
มติชนออนไลน์ : นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าววันนี้ (1 พ.ค.) ว่า มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ขอสนับสนุน นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีแผนขึ้นภาษีบุหรี่มวนละ 1 บาท หรือซองละ 20 บาทอย่างเต็มที่? จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2550 พบว่า กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีผู้สูบบุหรี่ซองที่ผลิตจากโรงงาน 684,249 คน เฉลี่ยสูบ 10.21 มวนต่อคนต่อวัน คิดเป็นจำนวนบุหรี่ 6,986,386 มวน หรือ 348,977 ซองต่อวัน หากขึ้นภาษีบุหรี่มวนละหนึ่งบาท จะทำให้ กทม.เก็บภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้นได้วันละเกือบ 7 ล้านบาท หรือ 2,547 ล้านบาทต่อปี

เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวต่อว่า กทม.ไม่ได้เก็บภาษีบุหรี่ท้องถิ่น ขณะที่จังหวัดอื่นๆ เก็บซองละ 1-2 บาทมานานแล้ว เนื่องจากติดขัดข้อกฎหมายของ กทม.เอง ทำให้ กทม.ขาดรายได้จากภาษีบุหรี่ที่ควรจะเก็บได้วันละเกือบ 7 แสนบาทที่เข้ากระเป๋าพ่อค้าขายส่งบุหรี่ใน กทม. ดังนั้น กทม. ควรที่จะรีบเร่งดำเนินการออกกฎหมายเพื่อเก็บภาษีบุหรี่ท้องถิ่น เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ นอกจากจะทำให้ กทม.มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อใช้ในการพัฒนา กทม.แล้ว ยังจะทำให้คน กทม.มีสุขภาพดีขึ้นจากการสูบบุหรี่น้อยลงด้วย

นพ.ประกิต กล่าวด้วยว่า กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกามีการเก็บภาษีบุหรี่ซองละ 5.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้อัตราการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในรัฐนิวยอร์กต่ำที่สุดในประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อวันที่ 1 เม.ย. นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศขึ้นภาษีบุหรี่ของรัฐบาลกลางซองละหนึ่งดอลลาร์ สหรัฐฯจากเดิมที่เก็บซองละ 63 เซ็นต์ เป็นซองละ 1.63 ดอลลาร์ สหรัฐฯ การขึ้นภาษีครั้งนี้ ทำให้รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาเก็บภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้นได้อีกวันละกว่า 2พันล้าน บาทและปีละกว่า 7 แสนล้านบาท โดยรายได้จากภาษีที่เก็บได้เพิ่มขึ้นนี้จะนำไปใช้เป็นงบประมาณสนับสนุน เกี่ยวกับสุขภาพเด็กและวัยรุ่นสหรัฐอเมริกา

"อภิสิทธิ์" รับปากดึงแรงงานนอกระบบ 20 ล้านคนสู่ประกันสังคม เริ่มที่ลูกจ้างชั่วคราวก่อน ขบวนการแรงงานแยกวงเช่นกัน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : 1 พ.ค. เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ และวันแรงงานสากล โดยตั้งแต่เวลา 07.00 น.บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า นาย ไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ร่วมกับกลุ่มผู้ใช้แรงงานได้ร่วมกันทำพิธีทางศาสนา โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จสังฆราชประพรมน้ำพุทธมนต์ให้ผู้ร่วมงาน

ต่อจากนั้น 9.00 น.สภาองค์กสภาองค์การลูกจ้างต่างๆและองค์กรรัฐวิสาหกิจนับหมื่นคนได้ร่วมกัน จัดริ้วขบวนก่อนเคลื่อนไปยังท้องสนามหลวง โดยระหว่างทางได้มีการปราศรัยโจมตีนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ไม่เดินทางมารับข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน แต่มอบหมายให้พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกฯ ให้เดินทางมาร่วมแทน เพราะเหมือนกับเป็นการไม่ให้เกียรติ์ลูกจ้าง

ทั้งนี้ ระหว่างการจัดงานที่ท้องสนามหลวง ได้มีกลุ่มคนเสื้อแดงประมาณ 7-8 คนได้ใช้โทรโข่งกล่าวโจมตีรัฐบาลอย่างรุนแรง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามห้ามปราม แต่คนกลุ่มดังกล่าวไม่เชื่อและยังคงอภิปรายต่อโดยอ้างเหตุผลว่าเป็นการส่ง เสริมสร้างความรู้ทางประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามในส่วนของงานบนเวทีนั้นนาย ชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ที่เป็นประธานจัดงานวันแรงงานกล่าว ถึงข้อเรียกร้องที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขจำนวน 8 ข้อ ซึ่งพล.ต.สนั่น กล่าวว่าจะนำเข้าเรียกร้องของแรงงานเสนอต่อนายกฯเพื่อพิจารณาผลักดันต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการจัดงานวันแรงงานปี นี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้งบประมาณที่สูงมากถึง 3.3 ล้านบาท โดยเป็นงบที่รัฐบาลสนับสนุนในแต่ละปี 1.6 ล้านบาท แต่นายชินโชติได้ของบเพิ่มเติมอีก 1.7 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการขอสปอนเซอร์จากธุรกิจภาคเอกชนอีกหลายแห่ง ทำให้การจัดงานค่อนข้างหรูหรากว่าทุกปีโดยมีการกางเต้นท์ขนาดใหญ่จำนวนมาก ทั่วบริเวณสนามหลวง เพื่อกันแดดให้ผู้มาร่วมงาน

ขณะเดียวกันขบวนการแรงงานอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีเครือข่ายองค์กรแรงงาน 70 องค์กร เช่น คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายแรงงานภาคบริการ เป็นต้น จำนวนกว่า 2,000 คน ได้รวมตัวกันที่หน้าอาคารรัฐสภาตั้งแต่เวลา 08.00 .หลังจากนั้นได้เคลื่อนขบวนมายังบริเวณทำเนียบรัฐบาล โดยภายในริ้วได้มีการแห่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจำลองที่ผูกด้วยผ้าสีแดง สีขาว สีเหลือง สีน้ำเงิน สีดำ สื่อถึงความเป็นประชาธิปไตยที่ไม่แบ่งข้าง ไม่แยกสี นอกจากนี้ยังมีขบวนรถเมล์จำลองสาย 111 และ 109 สายบางพลัด - ลาดยาว - เกาะกง โดยมีรูปพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นาย ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ น.พ.เหวง โตจิราการ และ นาย จักรภพ เพ็ญแข แกนนำกลุ่ม นปช.ติดอยู่ข้างนำขบวนตามด้วยขบวนกลุ่มผู้ใช้แรงงานแต่ละเครือข่าย

หลังจากนั้นทั้งหมดได้เดินทางปักหลักที่บริเวณด้านข้างทำเนียบรัฐบาล บริเวณประตู 4 โดยนำรถ 6 ล้อ ดัดแปลงเป็นเวทีปราศรัยเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาแรงงานโดยเฉพาะ อย่างยิ่งปัญหาการว่างงาน การตกงาน และ ค่าครองชีพ เป็นต้น ทั้งนี้ที่บริเวณบนสะพานชมัยมรุเชฐ กลุ่มผู้ร่วมชุมนุมที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจได้ทำการเผาทำลาย รถเมล์จำลองที่มีรูปแกนนำคนเสื้อแดง โดยระบุว่า เพื่อสร้างความเจริญให้กับประเทศ

ขณะที่กลุ่มพนักงานบริการ ได้ขึ้นเวทีอ่านแถลงการณ์ว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ประกาศให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติและได้มีนโยบายรอง รับการว่างงานจำนวนไม่น้อยกว่า 100,000 คน ดังนั้นในฐานะคนงานในภาคการท่องเที่ยว จึงขอให้รัฐยอมรับแรงงานภาคบริการ เป็นแรงงานที่สำคัญของชาติ ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อพนักงานบริการ ให้มีนโยบายยกระดับมาตรฐานสุขอนามัยและสถานบริการ พร้อมทั้งให้ยกเลิกกฎหมาย ความผิดที่ไม่ยุติธรรม เพราะเปิดช่องทางให้เจ้าหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์กับแรงงานบริการ ให้ระบุอาชีพบริการเป็นอาชีพถูกกฎหมาย

นายประภัส ตอมอ ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ ในสถานประกอบการ กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเอดส์ในโรงงานประมาณ 1.2 ล้านคน ซึ่งถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง นายทุน มาก จึงขอเรียกร้องโดย ไม่ต้องตรวจโรคในขณะก่อนทำงานหรือในระหว่างการทำงาน และ ไม่ให้ไล่ผู้ติดเชื้อเอดส์ออกจากการทำงาน เพราะคนเหล่านี้ยังทำงานอยู่ร่วมกับคนงานปกติได้

นางประทิน เวคะวากยานนท์ ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า ตอนนี้ชาวบ้าน คนจน ยากลำบากมากเพราะค่าครองชีพที่แพง ข้าวของแพงมาก ดังนั้นจึงเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งควบคุมราคาสิ้นค้า เช่น ข้าว น้ำมัน แก๊สหุงต้ม เพื่อให้ชาวบ้านอยู่ได้ไม่ลำบาก และ ให้รัฐบาลสร้างรัฐสวัสดิการ ไม่ใช่เพียงแค่โปรยเงิน 2,000 บาท ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเท่านั้น คนจนก็ยังจนระยะยาว และ ให้รัฐบาลดูแลพี่น้องผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานภาคเกษตรที่ไม่มี ปัญหาในการทำกิน โดยต้องปฏิรูปที่ดินให้ทั่วถึง เป็นธรรม

ทั้งนี้ ภายหลังการชุมนุม แกนนำขบวนการแรงงานกลุ่มนี้ อาทิ น.ส. วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นาย สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ น.ส. สุจิน รุ่งสว่าง ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เป็นต้น ได้เดินไปยังอาคารรัฐสภาเพื่อเข้าพบนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานจำนวน 7 ข้อ อาทิ แก้ไขเศรษฐกิจที่ส่งผลกระบต่อคนงาน ให้เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานประกันสังคมให้โปร่งใน จัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงจากการตกงาน

นายอภิสิทธิ์กล่าวกับผู้นำแรงงานว่า ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างของสปส.นั้น ก่อนหน้านี้ได้มีรายงานเสนอให้มีการแยกกองทุนออกจากหน่วยงาน แต่ตนเกรงว่าจะเกิดความสับสนจึงได้ส่งเรื่องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกลับไปดู ใหม่ ส่วนเรื่องแรงงานนอกระบบนั้น ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปทำเป็นการบ้าน เพราะอยากให้มีการขยายระบบสวัสดิการหรือประกันสังคมครอบคลุมแรงงานนอกระบบ ทั้ง 20 ล้านคน อย่างไรก็ตามอาจใช้ชมรมหรือองค์กรเป็นตัวการใจการจ่ายเงินสมทบเข้าประกัน สังคม ซึ่งขณะนี้เริ่มต้นที่ลูกจ้างชั่วคราวของรัฐเพราะคนกลุ่มนี้ยังไม่อยู่ใน ประกันสังคม

นอกจากนี้ในประเด็นการลดจ่ายเงินสมทบลงร้อยละ 2 ซึ่งลูกจ้างกลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า กำลังฟังเหตุผลของฝ่ายที่เสนออยู่ ซึ่งเท่าที่ได้ฟังคือต้องการลดภาระของลูกจ้าง และพยุงให้นายจ้างทำธุรกิจต่อไปเพื่อให้เกิดการจ้างงานต่อไป อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังไม่มีการนำเสนอมายังคณะรัฐมนตรี แต่ก็เห็นฝ่ายค้านทักท้วงอยู่เช่นกัน

สธ.เปลี่ยนเรียก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”

ASTVผู้จัดการออนไลน์ : ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งในวันนี้ นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งศูนย์บัญชาการเตรียมความพร้อมป้องกันและ ควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ของกระทรวงสาธารณสุข ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วยคณะกรรมการ 2 ชุด คือ

คณะ กรรมการอำนวยการ มีนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน คณะกรรมการประกอบด้วย อธิบดีทุกกรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ทำหน้าที่อำนวยการสั่งการ กำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ วิเคราะห์สถานการณ์ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ทั้งงบประมาณ อัตรากำลัง ให้เพียงพอ

ชุดที่ 2 ศูนย์บัญชาการกระทรวงสาธารณสุข มีนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน คณะกรรมการประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจราชการ รองอธิบดีทุกกรม รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ทำหน้าที่บัญชาการเหตุการณ์ระดับกระทรวง มีโครงสร้างงาน 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนติดตาม กำกับ ประสานงาน ส่วนกำหนดกลยุทธ์และวางแผน ส่วนสนับสนุนงบประมาณ และการบริหาร ส่วนสื่อสารและประชาสัมพันธ์ และส่วนประสานต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้งานมีความครอบคลุม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลก ได้เปลี่ยนการเรียกชื่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากที่เคยเรียกว่า ไข้หวัดหมู หรือสไวน์ ฟลู (Swine Flu) และไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก เป็นไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1” (Influenza A H1N1) ซึ่งต่อไปนี้กระทรวงสาธารณสุขไทยจะใช้ชื่อคล้ายกับขององค์การอนามัยโลก แต่เพิ่มคำว่า สายพันธุ์ใหม่ 2009 คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ 2009 เอช 1 เอ็น 1” หรือชื่อย่อว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจตรงกัน เชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ มีความรุนแรงน้อยกว่าโรคซาร์ส แต่ติดเชื้อได้ง่าย จึงแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 28-30 เมษายน 2552 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักควบคุมป้องกันควบคุมโรคประจำเขต มีผู้ป่วยในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่สะสม 4 ราย จาก กทม. สมุทรปราการ และเชียงใหม่ โดย 3 ราย มีประวัติเดินทางจากพื้นที่เสี่ยงในระยะ 7 วันก่อนป่วย อีก 1 ราย เป็นชายชาวออสเตรเลีย มีประวัติเดินทางไปมาเลเซียซึ่งไม่ใช่พื้นที่เสี่ยงก่อนป่วย 2 สัปดาห์ เดินทางมาประเทศไทยผ่านสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ตรวจพบมีไข้สูงจึงขอนอนพักที่ สถาบันบำราศนราดูร ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่พบรายใดติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จึงตัดออกจากรายการเฝ้าระวังทั้งหมด โดยในวันนี้ แพทย์อนุญาตให้ชาวออสเตรเลียกลับบ้านได้ ซึ่งทางสถาบันบำราศนราดูรได้จัดรถส่งถึงบ้านที่พัทยาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

เช็คสต๊อกยาอาเซียนคาดมีไม่ต่ำกว่า 20 ล้านเม็ด
ASTVผู้จัดการออนไลน์ : นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ประสานไปยังรัฐมนตรีสาธารณสุขประเทศอาเซียนซึ่งจะเดินทางมาประชุม เพื่อหารือถึงมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A/H1N1 ที่ประเทศไทยในสัปดาห์หน้า ถึงการสต๊อกยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ในแต่ละประเทศ ซึ่งในส่วนของไทยมีสต๊อกอยู่ประมาณ 5 ล้านเม็ด ขณะนี้กำลังให้องค์การเภสัชกรรมผลิตเพิ่มอีก 1 ล้านเม็ด เพื่อให้ได้ประมาณ 10 % ของประชากร ขณะที่ประเทศสิงคโปร์มีมาตรการเตรียมความพร้อมที่เข้มข้น โดยมีการสต๊อกยาต้านไวรัสไว้ถึง 5 ล้านเม็ด เช่นเดียวกับประเทศไทย แม้จะมีประชากรน้อยกว่าก็ตาม ส่วนประเทศอื่นๆก็มีการสต๊อกยาบางส่วนไว้แล้ว คาดว่าในส่วนของประเทศอาเซียนน่าจะมีสต๊อกยาโอเซลทามิเวียร์ประมาณ ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านเม็ด และว่า ในส่วนของประเทศไทยนอกจากสต๊อกยาไว้ใช้ในประเทศแล้ว บางส่วนอาจต้องสนับสนุนให้กับประเทศในแถบอินโดจีนที่มีชายแดนติดกับประเทศ ไทย เช่น กัมพูชา และ ลาวด้วย