WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 1, 2009

โหมโรงวันแรงงาน: คลิปรณรงค์ May Day ปีที่ 119 ของสมาพันธ์แรงงานเกาหลี (KCTU)

ที่มา ประชาไท



ชุดที่ 1 ความยาว 2.21 นาที (ที่มา: KCTU)



ชุดที่ 2 ความยาว 45 วินาที (ที่มา: KCTU)



ชุดที่ 3 ความยาว 56 วินาที (ที่มา: KCTU)



ชุดที่ 4 ความยาว 59 วินาที (ที่มา: KCTU)

สมาพันธ์แรงงานเกาหลี หรือ KCTU (Korean Confederation of Trade Unions) ซึ่งมีสมาชิก 6.8 แสนคน จากสหภาพแรงงานที่เป็นสมาชิกมากกว่า 1,200 แห่ง นับเป็นองค์กรแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ ได้ทำวิดีโอคลิปรณรงค์การชุมนุมในวันกรรมกรสากลเผยแพร่ในเว็บ http://nodong.org/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของ KCTU ทั้งหมด 4 ตอน โดยมีเนื้อหาเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมและจุดเทียนเนื่องในวันกรรมกรสากล ปีที่ 119 ของโลก ในวันที่ 1 พ.ค. นี้

สำหรับความเป็นมาของวันกรรมกรสากล เริ่มต้นจากสหพันธ์แรงงานในสหรัฐอเมริกาและแคนาดากำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1886 เป็นวันนัดหยุดงานครั้งใหญ่ และจัดการชุมนุมเดินขบวนเพื่อเรียกร้องระบบสามแปดคือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง มีการเดินขบวนทั่วสหรัฐอเมริกา จนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม มีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจชิคาโกกับขบวนการแรงงาน ทำให้กรรมกรเสียชีวิต 4 รายและบาดเจ็บอีกหลายราย

ต่อมาในวันที่ 4 พฤษภาคม ผู้นำแรงงานที่นิยมแนวอนาธิปไตยนัดชุมนุมที่จัตุรัสเฮย์มาร์เก็ต ศูนย์กลางการค้าสำคัญของชิคาโก ในเวลาราวสี่ทุ่มขณะที่ผู้ปราศรัยคนสุดท้ายกำลังกล่าวปิดการชุมนุม และตำรวจกำลังสั่งให้ผู้ชุมนุมสลายตัว ได้มีคนโยนระเบิดลูกหนึ่งใส่แถวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้ตำรวจนายหนึ่งเสียชีวิตทันที ตำรวจจึงเปิดฉากยิง มีคนงานยิงตอบโต้บ้าง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนายได้รับบาดเจ็บจากระเบิด แต่ตำรวจอีกหลายคนที่เสียชีวิตนั้นเป็นเพราะการยิงกันเองในหมู่ตำรวจเนื่องจากความมืด ทำให้ตำรวจ 7 นายและกรรมกรอย่างน้อย 4 รายเสียชีวิต กรรมกรที่บาดเจ็บมีเป็นจำนวนมาก

จนถึงล่วงมาถึง ค.ศ. 1889 ในการประชุมสมัชชาสังคมนิยมของสภาสากลที่สอง ซึ่งมีตัวแทนจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมถึง 20 ประเทศ มีมติให้ชุมนุมเดินขบวนเรียกร้องเพื่อให้มีการลดชั่วโมงทำงานลงอีกครั้งในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1890 และเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุจลาจลที่เฮย์มาร์เก็ต การเดินขบวนครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง จนทำให้ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกพร้อมใจกันกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็น วันกรรมกรสากลโดยในปีนี้เป็นปีที่ 119 ของการรณรงค์เนื่องในวันแรงงานสากล

ที่มา: เรียบเรียงจาก

http://nodong.org/

และ จุลสารเสมอภาค: ภัควดีเล่าเรื่องกำเนิดวันแรงงาน, ใน ประชาไท, 29 เม.ย. 51