ที่มา Thai E-NewsThe absence of violence so far has boosted Thai stocks as investors speculate the protest will lose momentum, unlike a similar rally last year that turned violent. The government aims to prevent the airport seizures, rioting and street clashes that have marked previous street demonstrations since Thaksin was ousted in a 2006 coup.-Bloomberg
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
17 มีนาคม 2553
วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยทะยานขึ้นต่อเนื่องจากวันก่อน ปิดทำการที่ 765.54 จุด +13.34จุด หรือ+1.77%เป็นการทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 6 เดือน ด้วยมูลค่าซื้อขายหนาแน่น 33,676 ล้านบาท หลังจากกลุ่มเสื้อแดงจัดการชุมนุมบุกไปเทเลือดผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่หน้าบ้านนายกัฐมนตรี โดยไร้เหตุรุนแรงใดๆ
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงก่อนและระหว่างการจัดชุมนุมโดยสันติของกลุ่มเสื้อแดง โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิไปมากกว่า25,000ล้านบาท ในรอบ16วันทำการ หลังจากมอร์แกนสแตนลีย์ โบรกเกอร์ยักษ์ใหญ่เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยระบุว่าปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองไม่ตึงเครียด ภายหลังกลุ่มเสื้อแดงจัดการชุมนุมโดยวิธีการสันติ
เรื่องนี้นับว่าลบล้างการโฆษณาชวนเชื่อของเครื่อข่ายอำมาตย์ที่ว่าการจัดการชุมนุมของเสื้อแดงมีผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจการค้าการลงทุน การท่องเที่ยวของไทย รวมไปถึงการโฆษณาชวนเชื่อว่าคนกรุงเทพฯต่อต้านการชุมนุมก็เป็นเรื่องตรงกันข้าม เพราะเมื่อเสื้อแดงไปทางไหนก็ได้รับการต้อนรับสนับสนุนจากชาวกรุงเทพฯ
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก ซึ่งเป็นสำนักข่าวทางด้านเศรษฐกิจการเงินที่สำคัญของโลก รายงานวันนี้ในหัวข้อข่าว"ผู้ประท้วงไทยบุกเทเลือดหน้าบ้านอภิสิทธิ์"ว่า วันนี้หุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลยังคงเป็นไปโดยสันติ
บลูมเบิร์กรายงานว่าก่อนเสื้อแดงจัดม็อบมีการโหมกระแสว่าจะเป็นไปด้วยความรุนแรงทำให้หุ้นตกมาเมื่อเดือนก่อน แต่พอมีชุมนุมจริงไม่มีเหตุรุนแรง เป็นไปโดยสันติ ต่างกับการชุมนุมของพันธมิตรในปี2549ที่เต็มไปด้วยความรุนแรงทั้งการยึดทำเนียบ และยึดสนามบิน และการทำรัฐประหารโค่นล้มทักษิณ
นักลงทุนต่างชาติเล่นทางซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก3026ล้านบาทในวันนี้ รวมเป็นการซื้อสุทธิต่อเนื่อง17วันเต็มแล้ว บลูมเบิร์กรายงาน เฉพาะเดือนมีนาคมก็ซื้อสุทธิไปมากกว่า24,576ล้านบาท(คลิ้กดูที่นี่)
นักลงทุนต่างชาติไม่วิตกม็อบ แห่ลงทุนซื้อหุ้นไทยสุดคึก
เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนการชุมนุมใหญ่ของเสื้อแดง รัฐบาลอภิสิทธิ์ กองทัพ และสื่อกระแสหลักที่เป็นแขนขามือไม้เผด็จการอำมาตย์ ได้ออกมามีบทบาทสำคัญในการสร้างกระแสว่า การชุมนุมใหญ่ครั้งนี้จะเป็นผลเสียต่อการค้าการลงทุนต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวของไทย และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตปกติของคนกรุงเทพฯ โดยมีการออกข่าวในทางลบต่างๆนานา
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบกระแสของนักลงทุนต่างชาติกลับพบว่าเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับที่รัฐ,พันธมิตรและสื่อโหมโฆษณาชวนเชื่อ เพราะสะท้อนว่านักลงทุนต่างชาติยังเชื่อมั่นในการลงทุนในไทยอยู่
แต่นักเล่นหุ้นคนไทยกลัวตามกระแสสื่อหลัก และพันธมิตรโหมโฆษณาให้กลัวจึงพากันขายหุ้นออกมาต่อเนื่อ งแต่นักลงทุนคนไทยอาจจะผิดทาง เพราะหุ้นไทยขึ้นมาต่อเนื่องมาบริเวณ 760 จุดแล้ว
บลูมเบิร์กสัมภาษณ์บัณฑูร ล่ำซำชี้นักธุรกิจชินกับม็อบแล้ว
สำนักข่าวบลูม้เบิร์ก สำนักข่าวชั้นนำในโลกการเงินการลงทุนรายงานข่าว โดยสัมภาษณ์นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย แบงก์พาณิชย์รายใหญ่อันดับ3ของประเทศระบุว่า"ถึงแม้การประท้วงจะรุนแรงหรือนองเลือดก็ไม่มีผลทำลายเศรษฐกิจ"เพราะการประท้วงเกิดขึ้นตลอดเวลาอยู่แล้วในประเทศไทย"
บลูมเบิร์กรายงานว่า ไม่ได้มีแต่ชาวชนบทเข้าร่วมการประท้วง เมื่อสายวันนี้มีคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งไปประท้วงที่สวนลุมพินี นายสิริวร นิมิตรศิลมา อายุ 67 ปี ซึ่งไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกานานถึง46ปี และได้กลับมาประเทศไทยในปี2549ก็เข้าร่วมชุมนุมประท้วง โดยบอกว่าเขาประท้วงเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะ"เขาเป็นนายกรัฐมนตรีในดวงใจของพวกเรา หากนายอภิสิทธิ์คิดว่าเขาทำเพื่อคนส่วนใหญ่ ก็แล้วทำไมจึงไม่จัดการเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้ประชาชนเสียหละ?"
นายโรเบิร์ต บรอดฟุต กรรมการผู้จัดการบริษัทที่ปรึกษาด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งมีฐานในฮ่องกงกล่าวว่า"การจัดการเลือกตั้งใหม่นั้นน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ผมไม่แน่ใจว่าจะการันตีว่าเป็นทางออกหรือไม่ ในเมื่อคนไทยยังแตกแยกเป็น2กลุ่ม ระหว่างคนในเขตเมืองกับอีกฝ่ายในเขตชนบท"
บลูมเบิร์กรายงานการสัมภาษณ์นายแพทย์เหวง โตจิราการ ผู้นำการประท้วงที่ยืนยันว่าจะจัดการชุมนุมโดยสันติปราศจากอาวุธ หากใครใช้อาวุธหรือความรุนแรงขอให้เข้าใจว่าไม่ใช่เสื้อแดง"เราต้องการให้ยุบสภา จัดเลือกตั้งใหม่เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่น"
UNรับสื่อกระแสหลักรายงานด้านเดียว นำเสนอกรรมการสิทธิฯUN
เช้าวันนี้ น.ส.จารุพันธุ์ กุลดิลก อาจารย์ ม.มหิดล น.ส.สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายสุดสงวน สุธีร์สรณ์ อาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ เดินทางไปที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนิน เพื่อพบนางนาตาลี เมเยอร์ เจ้าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนประจำภูมิภาค ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องให้สหประชาชาติส่งเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ชุมนุม เพราะสื่อหลักนำเสนอข่าวการชุมนุมด้านเดียว
นางนาตาลีกล่าวว่า เข้าใจว่าสถานการณ์ไม่ปกติ และสื่อในประเทศยังให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สหประชาชาติดังกล่าวยังแสดงความห่วงใยว่าการประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคงจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง และนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงจะนำเรื่องนี้ไปเสนอกับกรรมการสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของสหประชาชาติ
ผู้เชี่ยวชาญใน ตปท. คาด หากเกิดความรุนแรงอาจไม่ใช่ฝีมือเสื้อแดง
ข่าวการชุมนุมของเสื้อแดงในหนังสือพิมพ์ New York Times วันที่ 11 มี.ค. เรียกการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่มีการโดยสารมาทางรถบัส รถบรรทุก และรถอีแต๋น ว่าเป็นยุทธการ "ป่าล้อมเมือง" New York Times รายงานอีกว่า การที่คนในชนบทเข้ามาชุมนุมกันในเมืองหลวงเน้นให้เห็นถึงความแตกแยกที่ฝังรากลึกในประเทศ ระหว่างคนจนชนบทกับคนเมือง
New York Times ยังได้นำเสนอความเห็นของปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมืองไทยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ ซึ่งตั้งข้อสงสัยว่า ผู้ชุมนุมมักจะใช้คำว่า 'สงครามครั้งสุดท้าย' (Final Showdown) แต่พวกเขาเชื่อว่าจะทำให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ลงจากอำนาจได้จริงไหม
นอกจากนี้ปวิน ยังบอกอีกว่าเขากลัวว่าจะมีคนกลุ่มอื่นมาสร้างความวุ่นวายเพื่อก่อให้เกิดความรุนแรง
"ถ้าเกิดเรื่องร้าย ๆ ขึ้น มันอาจจะไม่ได้มาจากเสื้อแดง" ปวินกล่าว "มันมีหลายกลุ่มมากในตอนนี้ มีอยู่ในทุก ๆ ที่ แม้แต่ในเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงก็มีกลุ่มย่อย ๆ อยู่ พวกเราไม่ทราบว่าใครเป็นพวกใคร ในสถานการณ์แบบนี้ทำให้กลุ่มคนมือที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ใช้ประโยชน์จากมันได้เสมอ"
แฉใบสั่งสื่อป้ายสีเสื้อแดงก่อความวุ่นวายปูทางปราบใบสั่งสื่อ-กรมกิจการพลเรือนทหารบก กองบัญชาการทหารบก ส่งใบสั่งไปยังสื่อต่างๆขอให้ออกข่าวโฆษณาชวนเชื่อทำสงครามข่าวเพื่อให้ร้ายป้ายสีผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่จะเรียกร้องประชาธิปไตยในวันที่ 14 มีนาคมนี้ไปในทางที่เป็นผลลบต่อประเทศ ชีวิตของคนกรุงเทพฯ เศรษฐกิจ การลงทุน ตลาดหุ้น และการท่องเที่ยว เชื่อเป็นแผนโดดเดี่ยวเสื้อแดงและปูทางไปสู่การปราบปรามประชาชน
ก่อนการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มเสื้อแดงในวันที่ 14 มีนาคมนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าสื่อของรัฐ และสื่อเอกชนต่างมี"ธง"ในการนำเสนอข่าวไปในทิศทางเดียวกันคือการสร้างภาพลักษณ์ว่า กลุ่มเสื้อแดงจะเข้ามาก่อความวุ่นวายในกรุงเทพฯ สร้างความรุนแรง มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ และผลกระทบทางลบต่างๆ สื่อบางสำนักได้ปลุกปั่นให้คนกรุงเทพฯรวมตัวกันต่อต้าน ปกป้องกรุงเทพฯ หรือสร้างความตระหนกตกใจ เช่น เสนอข่าวว่ามีการกักตุนอาหาร หรือถอนเงินจากบัญฃีเป็นต้น
การนำเสนอข่าวดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่รัฐบาล และระบอบอำมาตย์ต้องการ นักสังเกตการณ์ทางการเมืองเชื่อว่าเพื่อทำลายความชอบธรรมในการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย โดดเดี่ยวคนเสื้อแดงให้เป็นเรื่องคนกลุ่มน้อยที่จะก่อความวุ่นวาย สร้างความรุนแรง และสร้างความชอบธรรมในการออกกฎหมายพรบ.ความมั่นคง พรก.ฉุกเฉินเพื่อปราบปรามประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย
เรื่องการสร้างกระแสดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่มี"ใบสั่ง"ให้สื่อกระแสหลักดำเนินการมาเป็นลำดับ ดังเอกสารที่เรานำมาเปิดเผยนี้เป็นใบสั่งจากกรมกิจการพลเรือนทหารบก กองบัญชาการทหารบก ที่ส่งไปยังสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทวีวี(ช่อง9) โดยใบสั่งนี้เป็นใบสั่งประจำวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมานี้ ระบุ"ขอความร่วมมือ"เผยแพร่เป็นอักษรตัววิ่งประจำวันที่ 4 มีนาคม 2553 ดังนี้ และเรามีข้อสังเกตเพิ่มเติมดังต่อไปนี้-ข้อความที่1:นายสุเทพฯ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงเชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศไม่ประสงค์ให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ส่วนใหญ่ต้องการเห็นบ้านเมืองสงบ
ข้อสังเกตก็คือ เป็นการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อโดดเดี่ยวประชาชนที่จะมาชุมนุมใหญ่ว่าเป็นเพียงคนกลุ่มน้อย-ข้อความที่2:นายกงกฤษ หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้ความมั่นใจว่าแนวโน้มการท่องเที่ยวไทยมีทิศทางที่สดใส หากปัจจัยการเมืองไม่มีความวุ่นวาย อาจขยายตัวถึง12-15%
ข้อสังเกต เป็นการโฆษณาชวนเชื่อว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดงจะมีผลทางลบต่อการท่องเที่ยว ทั้งที่นายกงกฤษให้สัมภาษณ์หลายสื่อ รวมทั้งสัมภาษณ์ทางทีวีเนชั่นในช่วงสายวันที่ 9 มี.ค.เชื่อว่าการชุมนุมจะไม่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เนื่องจากไม่น่ามีเหตุรุนแรง และผู้ประกอบการท่องเที่ยวก็ปรับตัวได้แล้ว-ข้อความที่ 3:นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทยกล่าวต้องติดตามสถานการณ์การเมืองช่วงนี้เป็นพิเศษ เพราะปัญหาการเมืองเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อตลาดหุ้นไทย หากการเมืองเกิดความรุนแรงอาจทำให้การขยายตัวของจีดีพีต่ำกว่า2%
ข้อสังเกต:เป็นการโฆษณาชวนเชื่อว่าการชุมนุมจะส่งผลลบต่อตลาดหุ้นและเศรษฐกิจ ซึ่งกองทัพบกไม่เคยทำอย่างนี้เลยในตอนที่พันธมิตรชุมนุม แต่ผู้นำกองทัพบกกลับไปออกทีวีเรียกร้องให้นายกฯลาออกแทนข้อความที่4:กตม.ยังคงตั้งจุดตรวจจุดสกัดในพื้นที่สำคัญโดยต่อเนื่อง และขออภัยในความไม่สะดวกในเส้นทางการจราจรบางพื้นที่ ทั้งนี้หากพี่น้องประชาชนพบบุคคลและวัตถุต้องสงสัย โทรสายด่วน191และ1555
ข้อสังเกต:เป็นการโฆษณาชวนเชื่อแยกผู้ชุมนุมเสื้อแดงให้โดดเดี่ยว ขาดการสนับสนุนจากประชาชน และโน้มน้าวให้ประชาชนเกลียดชัง และจับตาหรือร่วมมือรัฐบาลระบอบอำมาตย์เอาผิดกับผู้ชุมนุม ในขณะที่ออกตัวในกรณีรัฐบาลไปตั้งด่านทำให้การจราจรติดขัดเสียเอง