WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, November 14, 2010

‘วรเจตน์’เสนอปฏิรูปตุลาการยึดโยงประชาชน-‘สถิตย์’ชี้ถ้าคลิปจริง โทษ 20 ปี

ที่มา ประชาไท


นิติ ราษฎร์จัดอภิปราย ‘วรเจตน์’ฟันธงตุลาการภิวัตน์ผิดทาง ถึงเวลาปฏิรูปทุกศาลให้ยึดโยงประชาชน สร้างระบบเปิดตรวจสอบได้ ‘พนัส ทัศนียานนท์’ เรียกร้องตุลาการเป็นแนวหน้าปชต.เหมือนอังกฤษ‘สถิตย์ ไพเราะ’ นอนยันไม่มีทางเป็นไปได้ ชี้คลิปฉาวศาลรธน. ถ้าจริงตุลาการผิดกม.อาญาโทษสูง 20 ปี

13 พ.ย.53 ‘คณะนิติราษฎร์’ จัดอภิปรายเรื่อง “ตุลาการ-มโนธรรมสำนึก-ประชาธิปไตย” ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยมีผู้ร่วมอภิปรายได้แก่ พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ. สถิตย์ ไพเราะ ผู้พิพากษาอาวุโส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตอาจารย์ผู้บรรยายวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมาย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. ผู้ร่วมก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ ทั้งนี้ คณะนิติราษฎร์เปิดตัวเมื่อ 19 ก.ย.53 ประกอบด้วย 7 อาจารย์จากนิติศาสตร์ มธ. มีสโลแกนว่า “นิติศาสตร์ เพื่อราษฎร”
วรเจตน์ กล่าวว่า การทบทวนระบบตุลาการเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากคำอธิบายเกี่ยวกับสถานะและอุดมการณ์ของตุลาการนั้นละเลยคุณค่าพื้น ฐานของประชาธิปไตย หากไม่กลับไปสู่คุณค่าพื้นฐานก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ข้อแย้งสำคัญของฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ตุลาการเชื่อมโยงกับประชาธิปไตยคือเกรง จะกระทบต่อความเป็นอิสระของตุลาการ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง โครงสร้าง 3 เสามีการเปลี่ยนแปลงยกเว้นอำนาจตุลาการที่รับโครงสร้างจากระบอบเก่ามาสวมทับ กับระบบใหม่ทั้งหมด และเป็นประเด็นที่ไม่เคยอภิปรายกันเลยตลอดมา
เขา กล่าวถึงตัวอย่างของการขาดความเข้าใจในหลักการของระบอบประชาธิปไตยโดยยกกรณี ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแจ้งความกับผู้เผยแพร่คลิปศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเร็วๆ นี้ในความผิดหมิ่นสถาบันตามมาตรา 112 ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ ตุลาการซึ่งตัดสินคดีในพระปรมาภิไธยว่า การพิพากษาคดีของศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายและ “ในนามพระมหากษัตริย์” คำนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร จนกระทั่งรัฐธรรมนูญปี 2489 จึงใช้คำว่า “ในพระปรมาภิไธย” ความหมายของคำนี้คือ การที่พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจแทนปวงชนผ่านองค์กรของรัฐ อันหนึ่งคือศาล ที่สุดแล้วเป็นการใช้อำนาจของราษฎรทั้งหลายเพื่อบรรลุวัตุประสงค์ของการอยู่ ร่วมกันเป็นรัฐ
วรเจตน์ กล่าวว่า หลักประชาธิปไตยอันหนึ่งคือ ผู้ปกครองปกครองโดยมีระยะเวลาจำกัด มีแต่ฝ่ายตลาการเท่านั้นที่ไม่มีวาระในการทำงาน แม้เข้าใจได้โดยสภาพของงาน แต่ต้องไม่ละเลยว่าตัวเองเชื่อมโยงกับประชาชน ไม่ต้องกลัวว่าการยึดโยงนี้จะกระทบต่อความอิสระ เนื่องจากความเป็นอิสระของตุลาการนั้นหมายถึง 1.เป็น อิสระในทางเนื้อหา หมายความว่า พิพากษาคดีไปตามกฎหมาย ความรู้ในวิชาชีพ ไม่รับใบสั่งจากใคร 2. อิสระต่ออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการด้วยกันเอง กรณีหลังหมายความว่าศาลไม่จำเป็นต้องผูกพันกับคำตัดสินของศาลสูงที่เคย ตัดสินแล้ว หากไม่เห็นด้วย มีเหตุผลดีกว่าจะกลับคำพิพากษาก็ได้ 3. ต้องเป็นอิสระต่ออิทธิพลในทางสังคม อย่างไรก็ตาม หลักนี้ใช้เฉพาะการกระทำการในทางตุลาการเท่านั้น ถ้าทำงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่การตัดสินคดีก็ไม่สามารถอ้างหลักการนี้มาป้องกัน การตรวจสอบได้ และไม่ทำให้ผู้พิพากษาพ้นไปจากกฎหมาย
“ใน ต่างประเทศเป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่เห็นด้วยเดินขบวนประท้วงคำพิพากษาก็ได้ เพียงแต่มันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้หากศาลตัดสินไปแล้ว แต่เจ้าของอำนาจมีสิทธิที่จะแสดงออกได้ว่าคิดเห็นอย่างไร ไม่ใช่ว่าถูกกดทับ ปิดปากในนามของการละเมิดอำนาจศาล” วรเจตน์กล่าวและว่าตุลาการจำเป็นต้องอดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์ของสาธารณะ ตราบเท่าที่ไม่ได้เป็นการหมิ่นประมาทตัวผู้พิพากษา
วรเจตน์ ย้ำว่า การกำหนดการเข้าสู่ตำแหน่งผู้พิพากษาโดยเชื่อมโยงกับประชาชนไม่ขัดแย้งอะไร กับหลักความเป็นอิสระ เพราะการะบวนการคัดคนไม่ควรเป็นระบบปิด หลายประเทศสร้างระบบเปิดให้กับตุลาการในหลายรูปแบบ เช่น 1. เลือกตั้งโดยตรง ดังเช่นบางมลรัฐในสหรัฐอเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ 2. คัดเลือกและเสนอชื่อโดยฝ่ายบริหาร 3.คัดเลือกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ 4.รูปแบบผสมให้ตุลาการและฝ่ายนิตบัญญัติร่วมกันคัดเลือก ขณะที่บางประเทศใช้ระบบลูกขุน ให้คนธรรมดาเป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลชั้นต้น เช่น เยอรมัน เพื่อทำให้กระบวนการดำเนินคดีอยู่ในสายตาของสาธารณชนด้วย แต่เมื่อเสนอแนวทางนี้ในสังคมก็มักจบด้วยข้ออ้างว่าการทำเช่นนี้ทำให้คนทั่ว ไปมีอิทธิพลกับตุลาการได้ อันเป็นมุมมองที่เห็นว่าราษฎรไทยยังไม่ฉลาด ไม่มีความสามารถในการจัดการปกครองตนเอง เรื่องนี้เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดของสังคมไทย
“บาง คนบอกปัญหาเกิดกับศาลใหม่ๆ อย่างศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ขอเรียนว่า นี่เป็นเรื่องอำนาจตุลาการทั้งหมด เราควรใช้โอกาสนี้พูดถึงทั้งระบบ ดังจะเห็นได้ว่าหลายปีมานี้คำตัดสินของทุกศาลล้วนถูกตั้งคำถาม”
วรเจตกล่าว ว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดของตุลาการ คือ การขาดอุดมการณ์ประชาธิปไตย ถ้าไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้จะแก้อื่นไม่ได้เลย เพราะผู้พิพากษาไม่รู้สึกว่าการตัดสินคดีไม่ใช่ใช้อำนาตตัวเองแต่เป็นอำนาจ ประชาชน จำเป็นต้องปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตย นิติรัฐลงไป และเปลี่ยนโครงสร้างตุลาการให้ทนทานต่อการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม หากดูรัฐธรรมนูญ 50 จะพบแนวโน้มที่กลับกัน โดยสร้างอำนาจให้ศาลมากขึ้น เป็นระบบปิดมากขึ้น และอ้างถึงกระแสตุลาการภิวัตน์ซึ่งเห็นว่าศาลเป็นองค์กรเดียวที่จะแก้ปัญหา การเมืองไทยได้ แต่วันนี้ผ่านมาหลายปีแล้วน่าจะพิสูจน์ได้แล้วว่าผลเป็นอย่างไร เพียงแต่จะกล้ายอมรับไหมว่าแนวทางนี้ผิดและสร้างปัญหา
พนัส กล่าวว่า มโนสำนึกในทางที่จะเป็นประชาธิปไตยถ้าจะทำให้เกิดขึ้นได้คงต้องมีการปฏิรูป ไม่ใช่ที่ระบบ แต่ปฏิรูปที่คน ทำอย่างไรให้ผู้พิพากษาไทยมีความสำนึกในประชาธิปไตยขณะที่จารีตประเพณีที่ ยึดถือกันมานั้นไม่ต่างจากสมัยอยุธยา ในหมู่ตุลาการคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยอาจไม่ใช่สิ่งที่ได้รับการยอมรับ ชัดเจนเท่าไรนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีตุลาการผู้พิพากษาที่มีสปิริตนี้เลย แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่กล้าแปลกแยกกับสังคมที่แวดล้อม
พนัส กล่าวต่อว่า ธรรมเนียมตุลาการไทยนั้นรับมาจากอังกฤษ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไม่ได้เรียนรู้มาด้วย คือประวัติศาสตร์อังกฤษ ถ้าไม่มีตุลาการร่วมต่อสู้ ความเป็นประชาธิปไตยของอังกฤษคงไม่เกิดขึ้น อาจกล่าวได้ว่า ทั้งโลกเป็นหนี้ตุลาการชาวอังกฤษคือ หลอดเอ็ดเวิร์ด คุก เขายอมสละตัวเองต่อสู้กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เพื่อหลักการที่ถูกต้อง
สถิตย์ผู้ อภิปรายที่เรียกเสียงหัวเราะผู้ฟังได้เป็นระยะตลอดการอภิปราย กล่าวว่า สำนึกประชาธิปไตยในวงการตุลาการนั้นมีอยู่ในตัวบทกฎหมาย ดังเช่นมาตรา 26 พ.ร.บ.ข้าราชการตุลาการ วรรค3 ระบุว่าคนที่จะสมัครสอบเป็นผู้พิพากษาจะต้องเป็นผู้เลื่อมใสในการปกครอง ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญโดยบริสุทธิ์ใจ แต่กลับปรากฏตามข่าวว่าประธานศาลกับเลขาฯ ไปประชุมล้มรัฐบาล และสังคมก็ไม่เอาเรื่อง ไม่มีใครออกมารับผิดชอบแถลงข้อเท็จจริง
ใน ฐานะที่เป็นผู้พิพากษามายาวนาน เขายังยืนยันด้วยว่า ผู้พิพากษาไม่มีทางที่จะมาเป็นแถวหน้าในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างที่ พนัสคาดหวัง หลายเรื่องที่มีคนคาดหวังก็ไม่สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติ เช่นกรณีการไม่รับรองความชอบธรรมภายหลังเกิดการรัฐประหาร เพราะกลไกต่างๆ นั้นเคลื่อนไปหมดแล้ว มีรัฐสภา มีกฎหมาย มีการใช้จ่ายงบประมาณไปแล้วจำนวนมาก
“ศาล เป็นผู้นำไม่ได้ ต้องเป็นผู้ตาม ที่ท่านอ้างอังกฤษ ผมว่ามันเขียนคนละตัว ในความเห็นผม แมกนาคาตา เกิดขึ้นได้จากใคร ไม่ได้เกิดจากผู้พิพากษา ประเทศไทยไม่เคยมีผู้พิพากษาตายเพื่อรักษาความยุติธรรม ระหว่างจำเลยตายกับผมตาย จำเลยต้องตาย (ผู้ฟังหัวเราะ) มันเป็นอย่างนี้ คนที่ตายเพื่อกฎหมาย ความยุติธรรม เป็นทหาร คือ พันท้ายนรสิงห์ ฉะนั้นท่านไปเรียกร้องไม่มีใครได้ยินหรอก ขอบฟ้าอยู่แสนไกล อันนี้กราบเรียนจากหัวใจในฐานะที่เป็นผู้พิพากษามา 40 ปี ไม่มีทางจริงๆ”
“อย่า หวังผู้พิพากษาเป็นแนวหน้า ไม่มีทาง ประชาชนเท่านั้นจะเป็นแนวหน้า บัดนี้เกิดขึ้นแล้ว รอบตัวท่านนี้แหละ”สถิตย์กล่าว ขณะที่พนัสกล่าวในประเด็นนี้ว่า ถึงอย่างไรเขาก็ยังมีความหวังแม้จะริบหรี่ดูได้จากกรณีคำวินิจฉัยส่วนตัวของ ผู้พิพากษาชื่อกีรติ กาญจนรินทร์ ซึ่งระบุว่าการทำรัฐประหารนั้นผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของประเทศตุรกีซึ่งต้องการเป็นสมาชิกอียู เพิ่งลงประชามติเมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมว่าการรัฐประหารเมื่อ 30 ปีก่อนผิดกฎหมายและการนิรโทษกรรมครั้งนั้นเป็นโมฆะ ส่วนวรเจตน์เห็นว่าการที่ผู้พิพากษาเป็นแนวหน้าไม่ได้นั้นเป็นเรื่องจริง เพราะลักษณะงานตุลาการเป็นงานในเชิงรับมากกว่ารุก แต่ถ้าศาลไม่เป็นกองหน้า ก็เป็นกองหนุนได้ และสามารถแสดงออกถึงอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้ผ่านคำพิพากษา องค์กรตุลาการทำให้กฎเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญเป็นจริงทางปฏิบัติได้
สถิตย์ ยังกล่าวถึงกรณีคลิปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังโด่งดังอยู่ขณะนี้ด้วย ว่า มีนักศึกษาถามว่าเขาเชื่อไหมว่าคลิปนี้เป็นเรื่องจริงซึ่งเขาตอบว่าไม่เชื่อ เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระดับหนึ่งทั้งนั้น ไม่มีทางที่จะทำผิดกฎหมายขนาดนั้น เพราะมันผิดทั้ง ม.157 เป็นผู้พิพากษาประชุมปรึกษาช่วยโจทก์จำเลย ผิดฎหมายฐานปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ โทษจำคุก 1-10 ปี หากเป็นตุลาการโทษจะเลื่อนไปใน ม. 201 โทษจำคุก 5-20 ปี อีกทั้งประชุมกันเพื่อทำผิดกฎหมายยังมีความผิดฐานซ่องโจรตาม ม. 210 ท่านตุลาการย่อมต้องรู้ ฉะนั้นท่านย่อมไม่ทำ (ผู้ฟังหัวเราะ)
พงษ์เทพ กล่าว ว่า ความน่าเชื่อถือของศาลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แม้การตัดสินคดีไม่เหมือนกันในแต่ละชั้นเป็นเรื่องปกติ หรือต่อให้ตัดสินไม่ถูก แต่โจทก์หรือจำเลยต่างก็ยอมรับได้ เพราะไม่มีความสงสัยเคลือบแคลงในองค์กรตุลาการ แต่ถ้ามีความเคลือบแคลงเสียแล้ว ต่อให้ตัดสินถูกต้องที่สุดคนก็ยังไม่เชื่อ สถานการณ์หลังยึดอำนาจ มีพฤติการณ์ คำพิพากษาหลายฉบับที่ก่อความเคลือบแคลงใจต่อสาธารณชน ประกอบกับหลายเหตุการณ์ทำให้ความเคลือบแคลงนั้นกลับเป็นความแน่ใจว่าเกิด อะไรขึ้นในวงการตุลาการ
พงษ์เทพยกตัวอย่างกรณีคำตัดสินของศาลยุติธรรมที่ก่อความแคลงใจ เช่น อดีต กกต. 4 คนถูกฟ้องคดีอาญา ต่อมาพิพากษาว่า กกต.3 คนมีความผิด มีการขอปล่อยชั่วคราวซึ่งตามปกติแล้วต้องให้ แต่ศาลไม่ให้ จน กกต.เหล่านั้นลาออกจึงได้รับการปล่อยชั่วคราว ต่อมามีการปล่อยเทปบันทึกเสียงผู้พิพากษา 2 คน คุยกับข้าราชการระดับสูง เลขาธิการ ปปง. พูดข้อมูลที่เกี่ยวพันกับคดีนี้ คนปล่อยเทปถูกฟ้องด้วยข้อหาดักฟังโทรศัพท์แล้วแอบอัดเสียง แต่สุดท้ายในแวดวงศาลก็ไม่มีการสอบข้อเท็จจริงใดๆ
ส่วน กรณีคลิปศาลรัฐธรรมนูญที่เพิ่งเกิดขึ้น พงษ์เทพเห็นว่าหากมีการตัดต่อจริงถือเป็นการจงใจทำลายใส่ความศาลรัฐธรรมนูญ ที่รุนแรงมากต้องดำเนินคดี แต่หากเป็นเรื่องจริง สื่อมวลชนควรไปสัมภาษณ์ตุลาการที่เหลือว่าเห็นควรทำงานร่วมกับคนเหล่านั้น ต่อไปหรือเปล่า ที่ผ่านมาศาลฎีกาเคยพิพากษาคดีครูเอาข้อสอบไปให้เด็กดู ตัดสินให้เจ้าพนักงานต้องโทษจำคุกคนละ 9 ปี คนสนับสนุนโดนคนละ 6 ปี
พงษ์ เทพ กล่าวถึงสำนึกเรื่องประชาธิปไตยของตุลาการว่าตั้งแต่ในอดีตเราอาจผิดหวังที่ ตุลาการไม่ได้ทำนุบำรุงรักษาระบอบประชาธิปไตยเท่าที่ควร คำพิพพากษาศาลฎีกาปี 2496 ก็รับรองให้ประกาศคณะปฏิวัติเป็นรัฏฐาธิปัตย์ และปีเดียวกันนั้นเองหนึ่งในผู้พิพากษาคดีนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ยุติธรรม ผ่านมาจนปี 2549 ก็ยังมีผู้พิพากษาที่มีบทบาทก่อนการยึดอำนาจได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง สำคัญหลายท่านด้วยกัน
“สรุป แล้ว มโนธรรมสำนึก เท่ากับ โน สำนึก ไม่ต้องพูดเรื่องหลักวิชาชีพทางกฎหมาย จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใครต้องบรรยายเรื่องจริยธรรมตุลาการคงปวดหัวมาก เพราะไม่สามารถปรับหลักการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เลย” พงษ์เทพกล่าว
มีผู้ถามว่ากรณีคลิปศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตุลาการสามารถแจ้งข้อหากับผู้เผยแพร่ในความผิดมาตรา 112 หมิ่นสถาบันได้หรือไม่ สถิตย์กล่าวว่า มาตรา 112 ไม่ได้กำหนดขอบเขตรวมถึงศาลแต่อย่างใด ส่วนที่กล่าวกันว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะละเมิดอำนาจศาลหมายถึงการประพฤติตนไม่เรียบร้อยบริเวณศาลเท่านั้น ส่วนการดูหมิ่นศาล ต้องเป็นเรื่องดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดี คำว่า “ดูหมิ่น” ก็ต้องตีความอีกว่าเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของคน นอกจากนี้จะเข้าข่ายดูหมิ่นศาลได้ต้องเป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่ชอบด้วย กฎหมาย การปรึกษาคดีเพื่อรับสินบนเป็นเรื่องไม่ชอบด้วยกฎหมาย