WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, November 19, 2010

ผ่าพิรุธ'มาร์ค-ดีเอสไอ' เบื้องหลัง'จูบ-ตบ'เสื้อแดง

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล รองผอ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะกรรมการศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเหตุสลายการชุมนุมเม.ย.-พ .ค.2553 (ศปช.)

แถลงเมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่มหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีรัฐบาลโดยกระทรวงยุติธรรมช่วยประกันตัวผู้ถูกคุมขังจากเหตุการณ์ชุมนุม ทางการเมืองในเดือนเม.ย.-พ.ค.2553

และกรณกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เกี่ยวกับการเสียชีวิตของทหาร ตำรวจ และประชาชน ในเหตุการณ์ช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 ของดีเอสไอ

โดยมีญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์มาร่วมรับฟังและให้ข้อมูล ดังนี้

เมื่อ วันที่ 9 พ.ย. ศาลอาญาอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ถูกคุมขังสืบเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเม.ย.-พ.ค. 3 ราย ได้แก่ นายธีรเดช สังขทัต นายสมหมาย อินทนาคา และ นายบุญยฤทธิ์ โสดาคำ

โดยกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ยื่นประกันตัวและใช้กองทุนยุติธรรมวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ต่อมาวันที่ 11 พ.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ เชิญนายสมหมายและนายบุญยฤทธิ์ เข้าพบที่รัฐสภา

จากนั้นนายกฯ กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยฯ" ว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และกระทรวงยุติธรรมพบว่ามีผู้ถูกคุมขังอยู่ประมาณ 180 ราย

จำนวนหนึ่งมีปัญหาสุขภาพ กระทบต่อการศึกษา จึงมอบหมายกระทรวงยุติธรรมไปดู หากความผิดไม่ร้ายแรงขอให้ยื่นประกันตัวต่อศาล

เหตุผลที่เชิญผู้ได้รับการประกันตัว 2 รายไปพบที่ทำเนียบ นายอภิสิทธิ์บอกว่า เนื่องจากการประกันตัวโดยกองทุนของรัฐ เป็นการเพิ่มน้ำหนักเวลาขอประกันตัวจากศาล

นายกฯ ยังยกเรื่องนี้เป็นผลงานเรื่องการปฏิรูปและปรองดองด้วย

ศปช.ตั้งข้อสังเกตดังนี้

1.นายกฯ ย้ำตั้งแต่ต้นว่า ผู้ถูกคุมขังทั้งหมดเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย รัฐบาลเพียงแต่เข้าไปพิจารณาช่วยเหลือเป็นรายกรณีตามนโยบายปรองดอง

แต่จากข้อมูลที่ ศปช.สำรวจ พบว่าหลายกรณีมีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการจับกุมอาจมีปัญหาละเมิดสิทธิเสรีภาพ ขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย รวมทั้งหลักสิทธิมนุษยชน

หลายกรณีมีลักษณะจับกุมแบบเหวี่ยงแห ไม่มีพยานหลักฐานหนักแน่นเพียงพอ หรือตั้งข้อหารุนแรงกว่าความจริง

หลายกรณีผู้ถูกจับกุมถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทรมาน ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม ลักษณะวิธีการจับกุมไม่เป็นไปตามกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย

รวมทั้งมีบางกรณีถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมหรือหลอกล่อให้รับสารภาพ

ตัวอย่างกรณีนายวิษณุ กมลแมน ถูกจับกุมบริเวณปากซอยรางน้ำตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.53 เพิ่งพ้นโทษออกมาเมื่อ 11 พ.ย. เขาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ถูกทหารจับกุมและซ้อมเพื่อให้รับสารภาพว่ามาร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง

ปัญหาเหล่านี้มีต้นเหตุสำคัญจากรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล และขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ดัง นั้น การที่กลไกของรัฐเข้ามาช่วยเหลือผู้ที่ถูกคุมขังนั้น รัฐบาลต้องรับผิดชอบ ไม่ควรสำคัญผิดว่าเป็นผลงานปรองดอง และขอเรียกร้องให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินทุกพื้นที่ทั่วประเทศทันที

2.การได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของประชาชน รัฐธรรมนูญรับรองไว้ด้วยว่าในคดีอาญาต้อง สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย ไม่มีความผิดก่อนมี คำพิพากษาอันถึงที่สุด

แสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

เมื่อพิจารณาตามหลักการดังกล่าว ประกอบกับปัญหาการใช้อำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ดังนั้น ผู้ถูกจับกุมคุมขังสืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.53 ต้องได้สิทธิ์ประกันตัวเป็นกรณีทั่วไป

การไม่ได้รับสิทธิ์ปล่อยตัวชั่วคราวต้องพิจารณาเป็น กรณียกเว้นเป็นรายๆ ไป มิใช่พิจารณาช่วยเหลือให้ได้รับการประกันตัวเป็นรายบุคคล เฉพาะผู้มีปัญหาสุขภาพหรือการศึกษาในลักษณะสงเคราะห์ดังที่นายกฯ แถลง

แม้กระทั่งกรณีที่มีข้อหาร้ายแรง หรือดูแล้วมีอันตรายต่อความมั่นคงในสายตาของรัฐบาล สมควรได้รับการประกันตัวด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเป็นการตั้งข้อหารุนแรงเกินกว่าความเป็นจริง เหวี่ยงแห ขาดพยานหลักฐานที่มีน้ำหนัก

3.มีข้อสังเกตว่านอกจากฉวยโอกาสนำมาเป็นผลงานของตนแล้ว รัฐบาลกำลังใช้การเข้ามาช่วยเหลือให้ได้รับประกันตัวนี้ เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของตนหรือไม่

และในการประกันตัว รัฐบาลยื่นเงื่อนไขทางการเมืองต่อผู้ถูกคุมขังนอกเหนือจากเงื่อนไขของศาลหรือไม่

ดังเช่นในวันเดียวกับที่นายอภิสิทธิ์ เรียกนายสมหมายและนายบุญยฤทธิ์เข้าพบ นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้สัมภาษณ์ว่า

นายกฯ ฝากให้ญาติของผู้ได้รับการประกันตัวช่วยดูแลไม่ให้ทำความผิดซ้ำอีก โดยให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย ไม่ทำผิดเงื่อนไขประกันตัว รวมถึงการไม่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองด้วย

หากคนที่ออกมาก่อนทำผิดเงื่อนไข คนที่เหลืออาจเสียสิทธิ์ได้รับการประกันตัวจากกระทรวงยุติธรรม

สำหรับกรณี นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ แถลงผลการสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ เกี่ยวกับการเสียชีวิตของทหาร ตำรวจ และประชาชน 89 ราย ในเหตุการณ์ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.53

โดยระบุว่า หลังจากพนักงานสอบสวนท้องที่เกิดเหตุส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพตามกฎหมายให้ดี เอสไอ พนักงานสอบสวนใช้เวลาสืบสวนมาระยะหนึ่ง ได้ข้อสรุปว่าสามารถแยกคดีได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

ประเภทแรก มี 8 คดี คือ คดีที่มีพยานหลักฐานตามสมควรว่ามีผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของกลุ่ม นปช. และกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพัน ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่คือเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ

ประเภทที่สอง คือ คดีที่ยังไม่เป็นที่ยุติว่าการเสียชีวิตเกิดจากการกระทำของกลุ่ม นปช. หรือกลุ่มติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งสมควรดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 จำนวน 6 ศพ

ประกอบด้วย (1) กรณีผู้เสียชีวิตในวัดปทุมวนารามฯ 3 ศพ ได้แก่ นายรพ สุขสถิต, นายมงคล เข็มทอง และ นายสุวัน ศรีรักษา

(2) กรณี พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ ถูกยิงเสียชีวิต บริเวณแยกอนุสรณ์สถานแห่งชาติ

(3) กรณีผู้เสียชีวิตบริเวณสวนสัตว์ดุสิต คือ นายมานะ อาจราญ

และ (4) กรณีผู้สื่อข่าวสัญชาติญี่ปุ่นเสียชีวิตบริเวณถนนดินสอ คือ นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ

ศปช.ตั้งข้อสังเกต 8 ข้อ ดังนี้

1.เป็นการให้ข่าวที่ไม่ชัดเจน คลุมเครือ ก่อให้เกิดความสับสน

ศปช.เห็นว่าเราสามารถแบ่งเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตระหว่างเดือนเม.ย.- พ.ค.53 ได้เป็น 3 ช่วงได้แก่ (1) เหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. (2) เหตุการณ์ 13-18 พ.ค. และ (3) เหตุการณ์ 19 พ.ค.

ดีเอสไอควรแถลงให้ชัดในแต่ละเหตุการณ์ว่า สำนวนคดีแต่ละเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร

แต่จากการแถลงของดีเอสไอจะพบว่าเหตุการณ์ช่วงที่ 2 ซึ่งประชาชนจำนวนมากถูกอาวุธปืนความเร็วสูง หรือสไนเปอร์ยิงเสียชีวิตนั้นหายไป

ขณะที่สไนเปอร์เป็นอาวุธที่มีใช้เฉพาะในกองทัพและหน่วยงานของรัฐบางแห่งเท่านั้น

รวมทั้งปรากฏภาพและคลิปวิดีโอชัดว่า มีทหารใช้สไนเปอร์ในปฏิบัติการ "กระชับวงล้อม" จริง ทำไมการพิสูจน์หาพยานหลักฐานในช่วงนี้ถึงหายไป

2.นับตั้งแต่ศอฉ.ใช้กำลังทหารเข้า "ขอคืนพื้นที่" และ "กระชับวงล้อม" การควบคุมดูแลพื้นที่ใน กทม. โดยเฉพาะบริเวณที่ชุมนุมของนปช.นั้น อยู่ภายใต้ความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทั้งหมด

ดังนั้น ศพทุกศพที่เกิดขึ้นต้องชันสูตรพลิกศพและไต่สวนการตาย ตาม ป.วิ.อาญา ม.150 ไม่ใช่เลือกเฉพาะเป็นบางกรณีดังที่ดีเอสไอเสนอ

3.ในคดีประเภทที่ 1 ซึ่งดีเอสไอระบุว่า มีพยานหลักฐานตามสมควรว่ามีผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของกลุ่ม นปช. และกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันนั้น

ดีเอสไอต้องอธิบายให้ชัดเจนว่าเป็นใคร กลุ่มไหน ไม่ใช่ระบุแบบเหมารวมโดยไม่แยกแยะ

และจำเป็นต้องระบุพฤติกรรมด้วยว่ามีอะไรบ้างที่สามารถระบุได้เช่นนั้น

4.เห็นได้ชัดเจนว่าหลังจากผ่านเหตุการณ์มาถึง 6 เดือนแล้ว

การสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอคืบหน้าชัดเจนเฉพาะคดีที่รัฐบาล ศอฉ.และดีเอสไอเองอ้างมาตลอดว่าเป็นฝีมือของฝ่ายนปช. หรือฝ่ายสนับสนุนเท่านั้น

แต่คดีที่สาธารณะสงสัยว่าทหารหรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำให้ประชาชนเสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก กลับไม่มีความชัดเจนใดๆ

ขณะที่การดำเนินคดีกับแกนนำนปช.ในข้อหาก่อการร้ายนั้น ตามสำนวนฟ้อง แกนนำนปช.ถูกกล่าวหาโดยเชื่อมโยงว่ามีส่วนทำให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เสีย ชีวิต 90 ศพ

แต่หากการสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอมีความคืบหน้าเพียงแค่นี้ การฟ้องร้องดำเนินคดีกับแกนนำ นปช.น่าจะมีปัญหาในเชิงพยานหลักฐาน

5.ปัญหาข้างต้นสะท้อนว่า การทำงานของดีเอสไอเลือกมุ่งไปที่การสนับสนุนการดำเนินคดีต่อแกนนำนปช. หวังสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่รัฐบาล-ศอฉ.เป็นหลัก มากกว่าจะดำเนินการอย่างเที่ยงธรรมในทุกกรณีที่มีการเสียชีวิต

6.ศปช.เห็นว่าบทบาทหน้าที่ของดีเอสไอนั้น ควรเน้นไปที่การสืบสวนสอบสวนอย่างเที่ยงธรรมในเวลาอันเหมาะสม

ไม่ใช่ให้ข่าวที่ก่อให้เกิดความสับสนคลุมเครือ และออกมาไต่สวนทางสาธารณะว่าฝ่ายใดหรือใครเป็นผู้กระทำให้เกิดการเสียชีวิต เพื่อหวังผลทางการเมือง

แต่ดีเอสไอควรทำ คือ การเปิดเผยรายงานการชันสูตรศพต่อญาติของผู้เสียชีวิต ซึ่งมีสิทธิ์ได้รับข้อมูล

7.ศปช.ยังสงสัยในความสามารถของดีเอสไอที่จะสืบสวนสอบสวนอย่างสุจริตเที่ยง ธรรม เนื่องจากดีเอสไอโดยเฉพาะอธิบดีเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต่อกรณีนี้ เพราะมีบทบาทสำคัญในศอฉ.มาตลอด

หากการสืบสวนสอบสวนพบว่า มีกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กระทำให้ประชาชนเสียชีวิต ศอฉ.จะตกเป็นจำเลยด้วย

8.นอกจากเรื่องกรณีผู้เสียชีวิตแล้ว ต้องไม่ลืมว่ามีประชาชนที่บาดเจ็บ บางกรณีถึงขั้นพิการอีกจำนวนมาก

ดังนั้น เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องยังต้องรับผิดชอบ สืบสวนสอบสวนว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำเกินกว่าเหตุด้วยหรือไม่ มีส่วนในการกระทำให้ประชาชนบาดเจ็บนับพันรายหรือไม่ และจะชดใช้ให้กับคนเหล่านั้นอย่างไร

ประเด็นเรื่องการกระทำที่เกินกว่าเหตุนี้

ดีเอสไอต้องนำเอาข้อมูลปฏิบัติการของศอฉ.และกองทัพ มาให้สาธารณะร่วมตรวจสอบว่า

มีการใช้กำลังทหารอย่างไร ใช้อาวุธเท่าไร อย่างไร สมควรแก่เหตุหรือไม่