WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 18, 2010

ประชาธิปไตยกับหลักสิทธิเสรีภาพ

ที่มา Thai E-News

ประชาธิปไตยกับหลักสิทธิเสรีภาพ


โดย รุ่งโรจน์ วรรณศูทร
ที่มา Arinwan foum

"ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights)" ประกาศว่า

ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติ ศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ

ข้อ 19 ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกสอดและที่ จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใดๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน


แต่หากย้อนกลับมาดูเหตุการณ์ ต่างๆที่เกิดในประเทศที่ประกาศตัวว่าเป็นประชาธิปไตยกลับพบว่า นับจากการต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2548 โดยการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง นักวิชาการบางส่วน และสื่อสารมวลชนที่นำโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล กับสื่อในเครือผู้จัดการ ได้เกิดปรากฏการณ์ผิดธรรมชาติทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย และถูกนำมาขยายความจนกระทั่งมีฐานะเป็นความคิดครอบงำในการต่อต้านการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย นั่นคือการใช้ "สัญลักษณ์" โดยใช้ "เสื้อเหลือง" เป็นสัญลักษณ์ต่อต้าน "ระบอบทักษิณ" ของกลุ่มการเมืองที่ในเวลาต่อมาพัฒนาสู่ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)" อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวในลักษณะ "อิงแอบ" สถาบันเบื้องสูงมากขึ้น

กระทั่ง หลังปฏิบัติการ "ฉีกรัฐธรรมนูญ/ปล้นประชาธิปไตย" (แม้จะไม่ใช่ประชาธิปไตยที่สมบุรณ์ก็ตาม) ภายใต้การปกครองของ "รัฐบาลอำมาตย์/ขุนศึก" ซึ่งค้ำจุนโดยฝ่ายทหาร ผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครองรัฐบาลพลเรือนเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้ง โดยประกาศชื่อของตนเองชนิดยาวเหยียดเพื่อสร้างความชอบธรรมจอมปลอม ว่า "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)" นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ตามมาด้วยการเปลี่ยนถ่ายชื่อเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)" ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับองค์กรหลักที่มีหน้าที่รักษาสันติภาพและเสรีภาพภาย ใต้การกำกับขององค์การสหประชาชาติ

ทั้งหมดนั้นเพียงเพื่อสร้างความชอบธรรมจอมปลอม!

เป็น ความชอบธรรมจอมปลอมต่อเนื่องในแทบทุกพฤติกรรมปฏิกิริยา/ปฏิปักษ์ประชาธิปไตย ความพยายามโยงเสื้อสีเหลือง/ผ้าพันคอสีฟ้า ของผู้นำกลุ่ม พธม. เพื่อบิดเบือนและอิงแอบสถาบันเบื้องสูง ในการโจนตี ใส่ร้าย การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย จะโดยในเสื้อสีแดง (ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังเสื้อสีเหลือง) หรือการเคลื่อนไหวโดยกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ หรือไม่อย่างไรก็ตาม

นั่นคือความพยายามของฝ่าย ปฏิกิริยา/ปฏิปักษ์ประชาธิปไตย ในอันที่จะแยกพลังประชาธิปไตย ออกจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่รักเสรีภาพ รักประชาธิปไตย และคัดค้านระบอบอำมาตย์/เผด็จการซ่อนรูป

ไม่ว่าจะพิจารณาจากจุดยืนใด ความขัดแย้งระหว่าง มวลชน "เสื้อแดง" ที่ประกอบด้วยกลุ่มพลังประชาชนหลากหลายแนวทาง ที่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง นำโดย "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)" กับ มวลชน "เสื้อเหลือง" ที่นำโดย พธม. ซึ่งสนับสนุนการขับไล่รัฐบาลประชาธิปไตย และมีส่วนขับเคลื่อนไปสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เองนั้น...

เป็นเพียงบริบทหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างพลังประชาธิปไตยกับพลังปฏิกิริยา/ปฏิปักษ์ประชาธิปไตย

ความ พยายามของรัฏฐาธิปัตย์ปัจจุบัน ที่สะท้อนนัยในการสนับสนุนการรัฐประหาร 19 กันยาฯ ก็ดี หรือการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม พธม. ตลอดชั่วระยะเวลา 3 ปีมานี้ก็ดี ไม่เพียงบ่งชี้ถึงการใช้นโยบายเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย หรือ "นโยบาย 2 มาตรฐาน" หากบ่งชี้อย่างชัดเจนในความเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย บนหลักการพื้นฐาน เสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

และ ความชัดเจนนั้นถูกนำมาฉายซ้ำอีกครั้งในคำสั่งและแนวโน้มห้ามคนเสื้อแดงใส่ เสื้อสีแดงทำกิจกรรมเนื่องในประเพณีลอยกระทง อันเป็นท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบบสังคมอารยะในโลกปัจจุบันอย่างไม่อาจโต้ แย้งเป็นอย่างอื่น

ดังกล่าวมาข้างต้นใน "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights)" และประกอบกับใน "คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง (Déclaration des droits de l'homme et du citoyen de 1789)" อันเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกิดขึ้นในสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยกำหนดให้สิทธิของปัจเจกชนและสิทธิมวลชนเป็นสิทธิสากล โดยประกาศเป็นครั้งแรกถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ข้อ 1. มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาและทรงไว้ซึ่งเสรีภาพและความเสมอภาคเท่าเทียมกันใน (การมีและการใช้) สิทธิประการต่างๆ ความแตกต่างทางสังคมไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะเช่นไรก็ตาม จะมีขึ้นได้ก็แต่เพื่อประโยชน์สาธารณะร่วมกันเท่านั้น

ดังนั้น ไม่ว่าการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง จะมีรูปแบบหรือเนื้อหาประการใด จะมีเป้าหมายเฉพาะหน้าหรือเป้าหมายในที่สุดอย่างไร ตราบเท่าที่การเคลื่อนไหวนั้นหาได้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอื่นๆ นั่นหมายความไม่อาจมีอำนาจใดมาระงับยับยั้งสิทธิเสรีภาพนั้นได้ และแม้ว่าอำนาจนั้นๆ จะเป็นตัวรัฏฐาธิปัตย์ในสถานะใดสถานะหนึ่ง ก็ย่อมหมายความว่ารัฏฐาธิปัตย์นั้น ละเมิดหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนที่ว่า "สิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ หรือเสรีภาพ ย่อมไม่อาจถูกกำจัดหรือกำจัดได้ โดยสิทธิบัญญัติ หรือกฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้นมาใช้ แม้ว่ากฎหมายนั้นจะมีชื่อเรียกว่า รัฐธรรมนูญ"

ดังเช่นใน "คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง" ประกาศไว้ในข้อ 16. ว่า "สังคมใดมิได้มีหลักประกันแห่งสิทธิทั้งปวงและมิได้มีการแบ่งแยกอำนาจโดย ชัดเจน สังคมนั้นย่อมปราศจากรัฐธรรมนูญ"

นั่นย่อมหมายความว่า รัฐธรรมนูญที่ไม่สามารถให้หลักประกันในสิทธิเสรีภาพของประชาชน คือรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือยิ่งไปกว่านั้น ย่อมไม่อาจถือเป็นรัฐธรรมนูญแห่งระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย

และ รัฏฐาธิปัตย์ที่ใช้อำนาจที่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญดังกล่าว ย่อมหมายถึงรัฏฐาธิปัตย์ที่ไม่ชอบด้วยการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอธิบายได้ด้วยคำกำจัดความเพียงสถานเดียวว่าเป็น

"รัฏฐาธิปัตย์แห่งการเผด็จอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตย".