อิสรภาพ “ออง ซาน ซู จี”
สะท้อนภาพเผด็จการเริ่มแผ่ว!!
ทันที ที่บรรดาสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย.ว่า ผู้สนับสนุนจำนวนหลายร้อยคนของนางออง ซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญและผู้นำการเรียกร้องประชาธิปไตยของพม่า ได้ไปชุมนุมกันก่อนหน้านี้ เพื่อที่จะให้มีการปล่อยตัวเธอจากการถูกกักบริเวณอยู่แต่ภายในที่พักมานาน เกือบ 2 ทศวรรษ
โดยไปชุมนุมรอกันที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานใหญ่พรรค สันนิบาตแห่งชาติ เพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) และ ที่หน้าด่านบนถนนที่นำไปสู่บ้านพักซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมริมทะเลสาบ โดยหวังว่าจะได้มีโอกาสเห็นหน้าเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพวัย 65 ปีผู้นี้
คนจำนวนไม่น้อยถึงกับสวมใส่เสื้อยืดมีภาพใบหน้าของเธอและข้อความว่าจะยืนเคียงข้างออง ซาน ซู จี
แม้ ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทหารพม่าจะมีการให้ข่าวเป็นระยะๆว่าการปล่อย ตัวจะมีขึ้นในไม่ช้า ซึ่งน่าจะเป็นช่วงค่ำวันเสาร์ที่ 13 พ.ย. จนกระทั่งมีความชัดเจนออกมาว่า
“การปล่อยตัวจะมีขึ้นในวันนี้”
แต่ เนื่องจากภาพลักษณ์ขอรัฐบาลทหารที่ผ่านมาๆ ทำให้ยังคงมีบางคนหวาดวิตกว่า คณะนายทหารระดับนายพลของกองทัพพม่าอาจจะกำลังหาข้อแก้ตัวเพื่อขยายเวลาคำ สั่งการกักบริเวณแต่ออกไปอีกก็เป็นได้
เนื่องจากนางออง ซาน ซู จี ได้ถูกกักบริเวณเป็นระยะเวลายาวนาน โดยคณะรัฐบาลทหารพม่าปิดปากเงียบเรื่องการลงโทษเธอมาตลอด
ใน ขณะที่ประชาชนหลายคนก็ยังเชื่อมั่นว่า เธอเป็นความหวังสำหรับอนาคตที่ดีกว่า จึงเฝ้าภาวนาและรอคอยด้วยความตื่นเต้นสำหรับการปล่อยตัวเธอให้เป็นอิสระ
ตลอด เวลาที่ผ่านมา นางออง ซาน ซู จี ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามอย่างมากสำหรับคณะรัฐบาลทหารหลังจากที่กองทัพเข้า มาปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการนานถึง 50 ปี ทั้งๆที่สิ่งที่เธอทำคือการเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริง
แต่เธอ กลับต้องถูกลงโทษจำคุกและกักบริเวณจำคุกถึง 15 ปี ในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา ซึ่งบทลงโทษล่าสุดสิ้นสุดลงเมื่อค่ำวันเสาร์ที่ 13 พ.ย. หลังจากทางการพม่าได้ขยายเวลาบทลงโทษของการกักบริเวณออกไปเมื่อปีที่แล้ว อันเนื่องจากมีชาวอเมริกันคนหนึ่งลักลอบว่ายน้ำข้ามทะเลสาบเข้าไปหาเธอที่ บ้านพักริมทะเลสาบ
กลุ่มผู้สื่อข่าวช่างภาพจำนวนหลายสิบคนรวมทั้งคนท้องถิ่น ไปรออยู่ด้านนอกบ้านพัก เพื่อรอคอยการปล่อยตัว
โดย ก่อนการปล่อยตัวนายเนียน วิน หนึ่งในทนายความของนางซู จี และโฆษกของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ก็ยังไม่มีความมั่นใจ โดยกล่าวว่า ยังไม่ได้ข่าวใดๆแต่ก็ยังมีความหวังที่จะเห็นเธอได้รับอิสรภาพ และ เมื่อยังไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่า การปล่อยตัวจะมีขึ้นเมื่อใดกันแน่ ทางพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยก็ยังอาจไม่ได้เตรียมการอะไรได้ตาม กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพบปะกับประชาชน หากการปล่อยตัวล่าช้า
แต่ข่าวบางกระแสก็บอกว่า หลังการปล่อยตัว นางซู จี มีกำหนดหารือกับแกนนำคนสำคัญเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อไปของเธอ
อย่าง ไรก็ตามมีนักวิเคราะห์บางคนตั้งข้อสังเกตว่า การปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี คงจะมีข้อบังคับควบคุมบางอย่างเพื่อเป็นหลักประกันว่าต่อไปเธอคงจะไม่สามารถ กระทำการอันเป็นภัยคุกคามต่อคณะนายทหารระดับนายพลของกองทัพพม่าได้อีก หรือ รัฐบาลที่กองทัพให้การหนุนหลัง ก่อนส่งมอบอำนาจหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในรอบ 20 ปี เมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา
แต่ทนายความของเธอตั้งข้อสังเกตว่า นางซู จี คงจะไม่ยอมรับเงื่อนไขใดๆต่อการปล่อยตัวครั้งนี้ แม้ในอดีตที่ผ่านมา เธอเคยพยายามที่จะหลบหนีคำสั่งห้ามออกนอกกรุงย่างกุ้งมาแล้วก็ตาม
การ ปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี ในครั้งนี้จึงถูกตั้งข้อสังเกตจากนักวิเคราะห์ว่า เป็นความพยายามของคณะรัฐบาลทหารพม่าในอันที่จะลดกระแสการถูกประณามต่อต้าน จากนานาชาติในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา
เพราะบรรดา นักเคลื่อนไหวของชาติตะวันตกและการเรียกร้องประชาธิปไตย วิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่เป็นอิสระและยุติธรรม ท่ามกลางกระแสข่าวว่า มีการข่มขู่คุกคามรวมถึงฉ้อโกงการเลือกตั้งด้วย ซึ่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางซู จี ไม่ได้ส่งลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย เพราะถูกสั่งยุบพรรค
ส่วนผลการ เลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการก็ออกมาว่า พรรคสหภาพสมานฉันท์และการพัฒนา (ยูเอสดีพี) ซึ่งกองทัพให้การหนุนหลัง ชนะการเลือกตั้งได้ครองเสียงข้างมากในสภา
หากว่ายังคงไม่ยอมปล่อยตัว นางอองซาน ซูจี แน่นอนว่ารัฐบาลหลังการเลือกตั้งก็ยังคงจะโดนโจมตีไม่เลิก และคงอยู่ลำบาก รวมทั้งคงจะไม่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกแน่ๆ ดังนั้นการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากต้องการสร้างภาพลักษณ์ของรัฐบาล
ส่วนด้านครอบครัวนั้น นายคิม อาริส ลูกชายคนเล็กของนางซู จี กับ นายไมเคิล อาริส นักวิชาการชาวอังกฤษผู้วายชนม์ ก็เฝ้ารอคอยการปล่อยตัวอยู่ในประเทศไทย โดยหวังว่าจะได้มีโอกาสพบหน้าแม่เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยตัวนายคิมนั้นอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ และเคยถูกปฏิเสธการขอวีซ่าเข้าพม่ามาแล้ว
ส่วนลูกชายคนโตของนางซูจี ชื่อ นายอเล็กซานเดอร์ อาริส ซึ่งเป็นตัวแทนไปรับรางวัลโนเบลสันติภาพแทนแม่เมื่อปี 2534 อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
จนกระทั่งในช่วงค่ำของวันที่ 13 พฤศจิกายน นางอองซาน ซูจี ซึ่งอยู่ในชุดประจำชาติอันเป็นเอกลักษณ์ ก็ปรากฏตัวให้เห็นหน้าบ้านพักของเธอ ท่ามกลางประชาชนซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 5 พันคนที่มารอแสดงความยินดี มีเสียงตะโกนเชียร์ และ ร่วมร้องเพลงชาติด้วยกัน
หลังข่าวการทางการพม่า ปล่อยตัว นาง อองซานซูจี บรรดาผู้นำโลกมากมายที่มารวมตัวกันอยู่ที่ญี่ปุ่นเพื่อร่วมประชุมเอเปค ได้ออกมาแสดงความยินดีกับอิสรภาพของนางซูจี อย่างประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า บอกว่านางซูจีเป็นวีรสตรีของเขา
รวมทั้งยังระบุด้วยว่า ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่พม่าต้องปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด
ด้าน ประธานาธิบดีนิโกล่าส์ ซาร์โกซี่ ของฝรั่งเศส ออกมาเตือนพม่าว่าไม่ควรจำกัดเสรีภาพทั้งในด้านการเดินทาง และการแสดงความคิดเห็นของนางซูจีอีก
ขณะที่นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ก็บอกว่าการปล่อยนางซูจี เลยกำหนดมายาวนานแล้ว
นาย สุนัย ผาสุก ที่ปรึกษาฮิวแมนไรท์ วอชท์ ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ทันทีที่มีการปล่อยตัวนางอองซานซูจี ตามคำสั่งของศาล สำนักงานฮิวแมนไรท์ว้อทช์ ประจำประเทศไทย จะออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองประมาณ 2 พันคันที่ถูกคุมขังอยู่ในพม่าขณะนี้ เพราะถือว่าเมื่อพม่ากำลังเดินเข้าสู่ประชาธิปไตย ก็ต้องเปิดโอกาสให้ศัตรูทางการเมืองในอดีตได้เข้าร่วมต่อสู้ทางการเมือง
แต่หากไม่ดำเนินการก็แสดงว่าการปล่อยนางซูจี เป็นเพียงการสร้างภาพเพื่อกลบเกลื่อนการทุจริตเลือกตั้งครั้งนี้เท่านั้น
อย่าง ไรก็ตาม ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ปล่อยตัวนางซูจี เพราะเป็นไปตามคำสั่งของศาล หากยังควบคุมตัวต่อไปจะทำให้รัฐบาลทหารพม่าถูกกดดันจากประชาคมโลกหนักขึ้น
ทั้ง นี้การปล่อยตัวนางซูจีครั้งนี้จะทำให้รัฐบาลพม่าต้องเผชิญกับการ ท้าทายครั้งใหญ่เพราะนางซูจี จะออกมาร่วมกับพรรคเอ็นแอลดีเดินหน้าตรวจสอบการทุจริตการเลือกตั้งครั้งนี้ และเชื่อว่าจะมีชาวพม่าเข้าร่วมกับเธอจำนวนมากอย่างแน่นอน โดยเฉพาะพลังเงียบที่สะท้อนผ่านเสียงโนโหวตในการเลือกตั้งจำนวนมาก เป็นไปได้สูงว่าจะออกมาร่วมกับผู้ที่สนับสนุนนางซูจี อยู่ก่อนแล้ว
ล่า สุด นางอองซาน ซูจี สัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าได้รับการปล่อยตัวจากการ ถูกกักบริเวณในบ้านพักแล้ว หลังจากที่ครบกำหนดตามคำสั่งของศาล โดยซูจีออกมาปรากฎตัวและทักทายฝูงชนนับพันที่มาปักหลักเฝ้ารอคอยวินาทีที่ซู จีได้รับอิสรภาพ
นางอองซาน ซูจี ปรากฎกายขึ้นที่ประตูบ้านพักริมทะเลสาปอินเลเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ตามเวลาในไทย นับเป็นการได้รับอิสรภาพครั้งแรกในรอบ 7 ปี โดยเธอได้โบกมือและยิ้มให้กับกลุ่มผู้สนับสนุนที่พากันปรบมือและส่งเสียง เชียร์
นางซูจีกล่าวกับฝูงชนว่า ถึงเวลาที่ต้องมาพูดคุยกัน ประชาชนต้องร่วมกันทำงานโดยพร้อมเพรียง เพราะมีเพียงหนทางนี้เท่านั้นที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายของเราได้
จาก นั้นนางซูจีได้ขอให้กลุ่มผู้สนับสนุนกลับมาเจอเธออีกครั้งหนึ่งที่ที่ ทำการพรรคในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้เพื่อฟังสิ่งที่เธออย่างจะพูด เพราะไม่อาจตะโกนแข่งกับเสียงของฝูงชนจำนวนมากที่มาให้กำลังใจได้
ซึ่งแม้ว่าหลังจากนั้นนางซูจีจะได้กลับเข้าบ้านพักไป แต่ฝูงชนก็ยังคงจับกลุ่มอยู่หน้าบ้านพักของนางซูจี
สำหรับวาทะสำคัญที่ นางอองซาน ซูจี กล่าวกับฝูงชนคือ
" People must work in Unison. Only then Can we achieve our goal. "
" ประชาชน ต้องทำงาน เป็นเอกภาพ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของเรา "
แน่ นอนว่าบรรดาสื่อต่างประเทศมีการตีความว่า คำประกาศของนางอองซาน ซูจี แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะต่อสู้ทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตยในพม่าต่อ ไป
ทั้งนี้ มีรายงานด้วยว่าซูจีได้เรียกประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคสันนิบาตชาติเพื่อ ประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของเธอต่อทันที นับเป็นการประชุมครั้งแรกในรอบ 7 ปี โดยผู้บริหารอาวุโสของพรรคต่างทยอยเดินทางเข้าไปยังบ้านพักริมทะเลสาบของซู จีอย่างต่อเนื่อง
ตามประวัติแล้ว นางอองซาน ซูจี เป็นบุตรสาวของนายพลอองซาน วีรบุรุษผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชของพม่า เธอเป็นหัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้งทั่วไป อย่างถล่มทลายเมื่อสองทศวรรษก่อน แต่ไม่เคยได้รับการยอมรับจากกองทัพให้ก้าวขึ้นสู่อำนาจได้
แม้จะ เป็นคนที่พูดจานุ่มนวลแต่ด้วยธาตุทรหดของการมีเลือดนักสู้จนการ ปล่อยตัวครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2545 เธอสามารถปลุกกระแสจากฝูงชนจำนวนมากในทุกครั้งที่ออกมาพูดโดยเฉพาะในประเด็น ที่ถูกกักบริเวณนานหลายปี ก็ยังไม่ลดความนิยมของประชาชนพม่าที่มีต่อนักต่อสู้และเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ชื่อว่า ออง ซาน ซูจี ได้
ดังนั้นรัฐบาลไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และกลุ่มขั้วอำนาจพิเศษทั้งหลาย ควรจะต้องดูกระแสสังคมกระแสโลกที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ และถึงเวลาที่จะต้องทบทวนไตร่ตรองอย่างรอบคอบ กับกรณีของการจับกุมแกนนำและกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ชุมนุมกันเรียกร้องประชาธิปไตย ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาอำมะหิตที่ผ่านมา
แม้ ว่าจะมีการใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และใช้ กลไกของ ศอฉ. ในการจับกุมดำเนินคดีกับกลุ่มคนเสื้อแดง แม้กระทั่งถึงขั้นกล่าวหาในเรื่องของการเป้นผู้ก่อการร้าย แต่ระยะเวลาที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมมาถึงขณะนี้ ร่วม 6 เดือนแล้ว
แต่ ศอฉ. ยังไม่สามารถนำหลักฐานในการเป็นผู้ก่อการร้ายมาแสดงให้ประชาชนได้ประจักษ์ ชัดเจนได้เลย ทำให้ตลอดมาเรื่องนี้ยังคงเป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจขจารณ์ไม่จบในสังคมไทย
ดัง นั้นหากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ จะทบทวนท่าทีหลังจากเกิดกรณีปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี แล้วเช่นนี้ โดยเฉพาะหาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ. จะเพียงแค่ใช้อำนาจใจมือ เซ็นชื่อปล่อยตัวบรรดาแกนนำและกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในขณะ นี้
ล้อไปกับเหตุการณ์การปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี แล้ว พล.อ.ประวิตร ก็จะได้คะแนนในสังคม ชนิดที่แม้อยากจะลงเล่นการเมืองเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีสักครั้ง... บางทีก็ยังสามารถเป็นไปได้ไม่ยากเลย
วินาทีนี้ วัดใจ พล.อ.ประวิตรแล้วว่า จะกล้าเซ็นชื่อปล่อยตัว คนเสื้อแดง เพื่อสร้างสมานฉันท์หรือไม่???
โอกาส และอำนาจมีอยู่ในมือแล้ว... ตัดสินใจเถอะบิ๊กป้อม!!!