WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, November 14, 2010

ปชต.แบบพม่าๆปล่อยซูจีหลังมัดมือปล้นหนำใจ ประชาธิปไตยแบบไทยๆเจริญรอยตามทุกกระเบียด

ที่มา Thai E-News





นาง อองซาน ซูจี วัย 65 ปี ผู้นำเรียกร้องประชาธิปไตยพม่า ถูกปลดปล่อยตัวในวันเสาร์ 13พ.ย. ท่ามกลางสื่อมวลชนและบรรดาผู้สนับสนุนต้อนรับอย่างเนืองแน่น

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ภาพ AP
13 พฤศจิกายน 2553

ซู จีและชาวพม่าถูกปล้นชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อกว่า 20 ปีก่อน โดยระบอบปกครองทหารพม่ารวบอำนาจกลับไปไว้ในมือของตน และหาเรื่องกักขังเธอไว้อย่างต่อเนื่อง และหาเรื่องตัดสิทธิไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งยุบพรรคการเมืองของเธอ จากนั้นก็จัดการเลือกตั้งลวงโลกขึ้นเมื่อ 7 พ.ย.และพรรคการเมืองนอมินีของเผด็จการทหารประกาศชัยชนะ

ภายหลังการ มัดมือชกและสร้าง"ประชาธิปไตยแบบพม่าๆ"เรียบร้อย 1 สัปดาห์ต่อมาจึงมีการปล่อยตัวซูจี ซึ่งเธอกล่าวปราศรัยว่ายังจะเดินหน้าเรียกร้อง"ประชาธิปไตยที่แท้จริง"ต่อไป (รายละเอียด การปราศัย "หากเราทำงานอย่างมีเอกภาพ เราจะบรรลุเป้าหมาย พวกเรามีหลายอย่างที่ต้องทำ")

ระหว่าง ประชาธิปไตยแบบพม่าๆ กับประชาธิปไตยแบบไทยๆของประเทศเพื่อนบ้านนั้น ไม่รู้ใครลอกเลียนใคร แต่ดูเหมือนระบอบปกครองของทั้ง 2 ประเทศ และผู้กุมอำนาจตัวจริงมักอ้างว่า ต้องการให้ประเทศดำเนินไปตามวิถีของตนเอง ไม่จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยแบบประเทศตะวันตก ไม่จำเป็นต้องให้ประชาธิปไตยต่อประชาชน เพราะประชาชนยังโง่ ไม่มีการศึกษา ตัดสินใจเลือกตั้งโดยพึ่งอามิสสินจ้าง และประเทศจำเป็นต้องมี"คุณพ่อรู้ดี"ผู้หวังดีคอยอภิบาลกันต่อไป

วิถีแบบพม่าๆ และแบบไทยๆเป็นโฉมหน้าที่แท้จริง ซึ่งอยู่ใต้หน้ากากอันลวงโลกว่า นี่คือประชาธิปไตย

ดู เหมือนนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศผู้นำประชาธิปไตยตะวันตกจะเข้าใจดีว่าชาวพม่าต้องตกอยู่ใต้ แอกเผด็จการ และลวงโลกว่าเป็นประชาธิปไตย พร้อมกับเรียกร้องให้แก่ซูจีและผู้นำการเรียกร้องประชาธิปไตย แต่พากันทำท่าเหมือนไม่เข้าใจว่าประชาชนชาวไทยก็กำลังเผชิญชะตากรรมที่ไม่ ต่างกัน

BBC-การปล่อยตัวของ ออง ซาน ซู จี เนิ่นนานเกินไป

สำนักข่าวบีบีซีของ อังกฤษ อดีตเจ้าอาณานิคมพม่า รายงานข่าวคราว ยินดีรับข่าวของ ออง ซาน ซู จี ในประเทศอังกฤษ ที่ซึ่งซูจีเคยไปพำนัก และมีสามีเป็นชาวอังกฤษ

การ ปล่อยตัวของผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยพม่า ออง ซาน ซู จี เนิ่นนานเกินไป และการกักกันตัวเธอเป็นเรื่องน่า “ล้อเลียน” – นายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน กล่าว

เขายังเรียกเธอว่า “แรงบันดาลใจสำหรับพวกเราทุกคนที่เชื่อในเรื่อง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน”

อดีตนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ กล่าวว่า เธอเป็น “นักโทษที่มีชื่อเสียงและความกล้าหาญแห่งมโนธรรมมากที่สุดของโลก”

หน่วยรณรงค์ของอังกฤษในพม่า (Burma Campaign UK) กระตุ้นให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง 2,202 คน ทันที

ผู้ชนะรางวัลโนเบลสันติภาพ นาง ซู จี ถูกคุมขังมา 15 ปี จากเวลา 21 ปีที่ผ่านมา

นาย คาเมรอนกล่าวว่า “นี่เป็นเวลาที่เนิ่นนานเกินไป ออง ซาน ซู จี เป็นแรงบันดาลใจของพวกเราที่เชื่อในเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็น ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน”

“การคุมขังเธอเป็นเรื่องที่น่าล้อ เลียน เป็นการเจาะจงกระทำเพื่อเงียบเสียงของประชาชนชาวพม่า อิสรภาพเป็นสิทธิของ ออง ซาน ซู จี รัฐบาลพม่าต้องรักษาสิ่งนี้ไว้”

นายบราวน์กล่าวว่าการปล่อยตัวนางซูจีจะนำ “ความเบิกบานทั่วโลก”

แต่ เขากล่าวว่าอิสรภาพของเธอเป็นเพียง “ชัยชนะบางส่วน” เพราะการปลดปล่อยเธอและซึ่งเป็นของประชาชนชาวพม่าจะไม่สมบูรณ์จนกว่าเธอจะ สามารถเข้าถึงตำแหน่งของเธอ คือผู้นำโดยชอบธรรมของประเทศ

นางซูจี อายุ 65 ปี เคยใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอน และอ๊อกฟอร์ด ในขณะที่เธอเลี้ยงดูบุตรชาย 2 คน ร่วมกับสามี นักวิชาการชาวอังกฤษ ไมเคิล อาริส

เขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในปี 2542 อายุ 53 ปี


ลูกชายคนเล็กของเธอ คิม (อายุ 33 ปี) อาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษและไม่ได้เจอแม่ของเขาเป็นเวลา 10 ปี ขณะนี้อยู่ที่กรุงเทพฯ
ประเทศ ไทย ได้แค่เพียงโทรศัพท์ไปหาแม่เขาในพม่าหลังเธอได้รับการปล่อยตัว ทั้งที่ได้ไปขอวีซ่าเข้าพม่าที่สถานทูตประจำกรุงเทพฯในวันที่ 8 ที่ผ่านมาแล้วก็ตาม

ลูกชายคนโตเข้าใจว่าอยู่ที่สหรัฐฯ

นักโทษทางการเมือง

เลขาธิการต่างประเทศ วิลเลียม เฮ้ก กล่าวว่า การคุมขัง นางออง ซาน ซู จี เป็นสิ่งที่ “ไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง”
ความ จริงคือหน่วยงานของรัฐไม่ควรจับกุมเธอและนักโทษคนอื่น ๆ ในพม่าด้วยมโนธรรมสำนึกตั้งแต่แรก เพื่อที่จะไม่ให้พวกเขาพ้นจากกระบวนการทางการเมือง

เขากล่าวว่า “ความอดทนของเธอในการทำหน้าที่ในการทำลาย (เผด็จการ) นั้นเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ผมยินดีรับข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปล่อยตัวของเธอ เธอจะต้องได้รับอนุญาตให้กลับเข้าสู่บทบาทที่เธอเลือกในชีวิตทางการเมืองใน ประเทศของเธอ โดยไม่มีอุปสรรคและข้อจำกัดอีกต่อไป”

“สัปดาห์ที่แล้ว การเสแสร้งเลือกตั้งนั้น จะไม่นำไปสู่สันติภาพและความรุ่งเรืองให้กับพม่า รัฐบาลจำเป็นต้องปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองคนอื่นอีก 2,100 คน และเริ่มไดอะล็อคที่บริสุทธิ์กับ ออง ซาน ซู จี และผู้คัดค้านและกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลาย”

“นี่คือก้าวย่างสำคัญในการแก้ปัญหาของพม่าอีกหลายปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน”

หน่วย รณรงค์ของอังกฤษในพม่า (Burma Campaign UK) เตือนว่าการปล่อยตัวของเธอต้องไม่ถูกแปลความว่าเป็นสัญญาณของการปฏิรูป ประชาธิปไตยในพม่า

โซยา พาน ผู้ประสานงานระหว่างประเทศที่หน่วยรณรงค์อังกฤษในพม่า กล่าวว่า “การปล่อยตัวของ ออง ซาน ซู จี เป็นการประชาสัมพันธ์ ไม่ใช่การปฏิรูปทางประชาธิปไตย”

“ผมตื่นเต้นที่เห็นผู้นำประชาธิปไตย ได้รับอิสรภาพในที่สุด แต่การปล่อยตัวไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองใดๆ แต่เป็นการออกแบบเพื่อประชาสัมพันธ์อำนาจเผด็จการในเชิงบวก หลังจากมีการแต่งองค์ทรงเครื่องให้กับการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน”

“เราต้องไม่ลืมนักโทษทางการเมืองกว่าพันคนที่ยังทุกข์ทรมานอยู่ในเรือนจำของพม่า”

เลขาธิการ ซาลิล เชทที กล่าวว่า “ในขณะที่การปล่อยตัว ออง ซาน ซู จี ได้รับการยอมรับแน่ ๆ นั่นเป็นเพียงการยุติการตัดสินที่ไม่เป็นธรรมว่าจะไม่ยืดยาวออกไปเท่านั้น และไม่ใช้เป็นวิธีการของการทำงานของหน่วยงานของรัฐ”

“ความจริงคือ หน่วยงานรัฐไม่ควรที่จะจับกุมตัวเธอและนักโทษคนอื่น ๆ ด้วยมโนธรรมสำนึก ตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นการล็อคตัวพวกเขาออกจากกระบวนการทางการเมือง”