WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 18, 2010

รายงาน: วสุ สุริยะแก่นทราย “เขาคิดว่าผมตายแล้ว”

ที่มา ประชาไท

อุเชนทร์ เชียงเสน









หลังจากเพื่อนอาสมัครได้พบกับลุงวสุ สุริยะแก่นทราย อายุ 59 ปี เหยื่อจากสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่เดินทางไปยื่นหนังสือที่กรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรม สายของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 พวกเรา 4 คน ได้เดินทางไปเยี่ยมและเก็บข้อมูลที่ร้านข้าวขาหมู ในพื้นที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งเจ้าของเป็นคนเสื้อแดงและคอยช่วยเหลือดูแลซึ่งกันละกันมา

เดิม ลุงวสุ และ ป้ากูลกิจ สุริยะแก่นทราย อายุ 58 ปี ภรรยา ทำงานเป็นลูกจ้างโรงงานทอผ้าในย่านนั้น ต่อมาในปี 2543 และ 2544 ลุงและป้าได้ออกจากงานตามลำดับ โดยลุงหันมาทำอาชีพทำยาหม่อง-น้ำมันสำหรับนวด และรับจ้างนวดแผนโบราณตามบ้านต่างๆ ซึ่งมีรายได้พอสมควร ไม่ได้เดือดร้อนอะไรนัก

ป้ากูลกิจเล่าให้ฟังว่า ทั้งสองคนไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และบอกกันต่อหน้าศาลพระภูมิ “ถ้ามีการชุมนุมประท้วงคุณลุงไปนะ” นอกจากนั้น ยังไม่พอใจการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำผ้าอนามัยที่ใช้แล้วไปทำพิธีกับพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 และการปิดสนามบิน “คุณไปทำไม นั่นเป็นเศรษฐกิจของชาติ ฉันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรอก ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็เฉพาะคนไทย แต่นี่สุวรรณภูมิ เดือดร้อนกันไปเท่าไหร่” หลังจากนั้น ลุงวสุก็ออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องเมื่อมีการชุมนุมของคนเสื้อแดงทั้งใน กรุงเทพและในจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งช่วงเมษายนปีที่แล้ว ลุงกับเพื่อนเจ้าของร้านขาหมู จะออกไปชุมนุม กลับบ้านและออกไปอีก ในลักษณะนี้โดยตลอด ขณะที่ตัวป้าเองไม่สามารถที่จะเข้าร่วมการชุมนุมได้เพราะเป็นโรคภูมิแพ้อัน เนื่องมาจากการทำงาน

ในการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงในปีนี้ ลุงวสุและเพื่อนบ้านก็ไปชุมนุมเหมือนกับครั้งที่ผ่านมา โดยจะไปรวมกลุ่มกับผู้ชุมนุมที่มาจากภาคอิสาน (บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ) ที่ตั้งเต็นท์อยู่ใกล้กับสี่แยกคอกวัว แต่ในวันที่ 8 เมษายน 2553 เมื่อทราบข่าวว่าจะมีการสลายการชุมนุม ป้าก็ได้ตัดสินใจออกไปชุมนุมด้วย แต่เนื่องจากเป็นผู้หญิงจึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็น “แม่ครัว”

เหตุการณ์ในวันที่ 10 เมษายน 2553 ขณะที่ป้าทำอาหารอยู่ที่เต็นท์ ลุงวสุและเพื่อนๆในกลุ่มซึ่งได้รู้จักกันระหว่างชุมนุมได้ “ออกไปดูสถานการณ์” ข้างนอก และกลับมาในตอนเที่ยงวัน หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ ลุงก็ออกไปแถวโรงเรียนสตรีวิทยาอีก

นี่เป็นการเจอกันสุดท้ายก่อนที่จะพบลุงวสุอีกครั้งที่โรงพยาบาลในสภาพที่ไม่แน่ใจว่าจะมีชีวิตรอดหรือไม่

ก่อน ออกไป ลุงยื่นเงินจำนวน 100 บาท ให้เพื่อนผู้ชายในกลุ่มที่มีอายุมากแล้วเช่นเดียวกัน ให้อยู่ที่เต็นท์ คอยดูแลป้าและคนอื่นๆ ซึ่งป้าเพิ่งรู้ภายหลังจากที่ลุงออกไปแล้ว เนื่องจากถามว่า “ทำไมไม่ออกไปเหมือนกับคนอื่น” และลุงคนนั้นเล่าให้ฟัง

ห้า โมงเย็นกว่า ขณะที่สถานการณ์กำลังตึงเครียดมากขึ้นทั้งที่อนุสาวรีย์และสี่แยกคอกวัว เพื่อนที่ไปด้วยกันวิ่งกลับมาที่เต็นท์ ป้าถาม “อ้าวไหนผัวฉันละ ไปด้วยกันทำไม่เอากลับมาด้วย” เพื่อนตอบ “จะเอากลับมาได้อย่างไร พวกฉันต่างคนต่างก็หนีตายมา”

พวกเราไม่มั่นใจว่าลุงจะสามารถที่พูด คุยมากน้อยขนาดไหน จึงสนทนากับป้าเป็นหลัก แต่เมื่อถึงเหตุการณ์ที่ถูกทำร้าย ลุงวสุก็พยายามเล่าเอง และป้าก็เลยให้ลุงช่วยเล่าให้ฟัง

แม้ลุงวสุจะไม่ได้สามารถระบุสถาน ที่เกิดเหตุได้อย่างแน่ชัด แต่สามารถจำนาทีนั้นได้ ลุงเดินมือเปล่าเข้าไปหาทหารเพื่อห้ามไม่ให้ใช้ความรุนแรง สลายการชุมนุม เพราะคิดว่าหาก “คนแก่เข้าไปห้าม คิดว่าเขาจะไม่ทำอะไร” และถ้าหากเป็นคนหนุ่มไปเผชิญหน้ากับทหาร จะเกิดปะทะกันได้ “เราแย่แน่ ไม่ปลอดภัย และ (จึง) บอกให้คนหนุ่มหลบไป” และบอกทหารว่า “ทำอย่างนี้ไม่ดี อย่าทำอย่างนี้ ลุงขอร้องเหอะ เราคนด้วยกัน คนไทยด้วยกัน อย่าทำอย่างนี้... บอกอย่างนี้ มันเล่นเราเลย ทหารนะ อ้าวตีผมทำไม ทีนี้ไม่ฟังแล้ว... ตีตุ๊บตุ๊บตุ๊บ (นึกในใจ) กูตาย กูไม่เหลือแล้ว อนาคตกูแค่นี้”

ลุงวสุถูกตีที่บริเวณศีรษะและลำตัวจนสลบอยู่กับ ที่และถูกนำไปส่งถึงโรง พยาบาลกลางเวลาประมาณ 6 โมงเย็น ก่อนจะฟื้นขึ้นมาในอีก 3 วันต่อมา คนที่เห็นเหตุการณ์และจำลุงได้ ได้โทรศัพท์ไปบอกญาติที่ต่างจังหวัดว่า ลุงวสุเสียชีวิตแล้ว แต่เมื่อทราบภายหลังว่ายังไม่เสียชีวิต เขาก็ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์อีกเลย

ผลจากการ “โดนของแข็ง” ทำให้สมอง (ด้านซ้าย) ได้รับการกระทบกระเทือนและมีเลือดคั่งในสมองต้องทำการผ่าตัด และทำให้แขน-ขาขวาไม่สามารถที่จะใช้งานได้อย่างปกติ โดยจากเอกสารรับรองความพิการ ออกโดยโรงพยาบาลกลาง เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2553 ระบุว่า “การใช้ภาษาพูด” “การเคลื่อนไหว แขน ขา และเท้า (อ่อนแรง แขนขาขยับไม่ได้)” “ลักษณะทั่วไปของร่างกาย” และ “ความสามารถทางการเรียนรู้” “บกพร่อง” และลงความเห็นว่า “ส่งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย”

หลังจาก เหตุการณ์ ป้าได้เข้าแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งในวันที่ 18 เมษายน 2553 แต่จนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่มีความก้าวหน้า ไม่มีการเรียกสอบปากคำแต่อย่างใด ระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาล นางพยาบาลได้บอกกับป้าว่า “ลุงนี่เป็นหลักฐาน ให้รักษาตัวให้ดี” และผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่ได้เข้าไปสัมภาษณ์ ได้ให้คำแนะนำว่าให้ “หาที่หลบไปสักพักหนึ่งก่อน”

เมื่อออกจากโรง พยาบาลกลางในปลายเดือนเมษายน ป้าจึงตัดสินใจพาลุงวสุไปอยู่ในสวนซึ่งมีญาติพี่น้องส่วนหนึ่งคอยช่วยกัน ดูแล และเข้ารักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน โดยใช้สิทธิของผู้ประกันสังคม ที่ลุงจ่ายเงินสบทบไว้หลังออกจากงาน แต่ก็ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม แพทย์ท่านหนึ่งพูดกับป้าว่า “เสื้อแดงหรือ ผมไม่รับรักษาหรอก” และมีการแนะนำให้ลาออกจากการเป็นผู้ประกันสังคมเพื่อแลกกับการรับเงินเพียง 40,000 บาท

ปัจจุบัน แม้อาการของลุงจะดีขึ้นบ้าง จะพูดได้บ้างแล้ว แต่แขน-ขาด้านขวา ไม่สามารถใช้งานได้ ป้าต้องประคองหรือนั่งรถเข็นตลอดเวลาเมื่อต้องออกไปไหนมาไหน โดยป้าได้หันไปหาวิธีการรักษาตามแผนโบราณ เช่น ฝังเข็ม การนวด เป็นต้น โดยหวังว่าลุงวสุจะดีขึ้นกว่านี้

แม้จะมีรายได้จากหอพักซึ่งสร้าง เสร็จไม่นานมานี้จำนวนหนึ่ง แต่ก็พอๆกับหนี้เงินกู้ที่นำมาก่อสร้างซึ่งต้องจ่ายคืนให้กับธนาคารในแต่ละ เดือน การที่ลุงไม่สามารถทำงาน หาเงินได้ และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อการรักษาตัว ทำให้ลุงและป้าประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ป้ายื่นสมุดบัญชีธนาคารให้พวกเราดู มีเงินอยู่ 1400 บาท จากเดิมที่มีอยู่ 400 บาท และมี “คนใจบุญ” 2 คนโอนมาให้คนละ 500 บาท

เพื่อนของเราถามลุงวสุว่า “ยังสู้ไหม” ลุงตอบทันที “สู้ซิ”

หมาย เหตุ: สำหรับผู้ที่มีภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเห็นเหตุการณ์ที่ลุงวสุถูกตีจนได้รับบาดเจ็บ กรุณาส่งข้อมูล หรือติดต่อเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการแสวงหาข้อเท็จจริงได้ที่ uchane19@hotmail.com และสามารถบริจาคช่วยเหลือลุงและครอบครัวโดยตรงได้ที่ นางกูลกิจ สุริยะแก่นทราย เลขที่บัญชี 467-0-40776-7 ออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต