ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
25 ธันวาคม 2554
เปิดจดหมายจากคนไทยในต่างประเทศ ร้องรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้สัตยาบันกรุงโรม หลังจากไทยลงนามไปเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ย้ำข้อดีหลายอย่างรวมถึงการป้องกันการสังหารหมู่คนไทยกันเองจากน้ำมือรัฐฯ หรือทหาร
จดหมายฉบับดังกล่าวซึ่งส่งมาจากท่านผู้อ่านท่านหนึ่ง ได้ถูกเขียนขึ้นโดย สหภาพประชาธิปไตยประชาชน เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๔ ลงนามถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้
คนยื่นหนังสือบอก"ทำเพื่อทุกสี" ในขณะที่บัวแก้วคนรับหนังสือบอก "ไม่นิ่งนอนใจ"
(แนวหน้า 20 ธ.ค.) เมื่อเวลา 14.30น.ที่กระทรวงการต่างประเทศ นางกรรณิกา K.Nielsen ตัวแทนในนามสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชนพร้อมด้วยสมาชิกอีกกว่า 50 คน ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายนาวิน บุญเสรฐ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่ง รัดลงสัตยาบันอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศที่ได้ลง นามมาตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2543 แต่ขณะนี้ยังค้างพิธีการลงนามให้สัตยาบัน ซึ่งส่งผลให้ข้อตกลงกฎเกณฑ์ของศาลอาญาระหว่างประเทศยังไม่สมบูรณ์และยังไม่ มีผลในทางปฏิบัติ
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ที่มาเรียกร้องครั้งนี้ทำเพื่อต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับคดี 91 ศพ ใช่หรือไม่นางกรรณิกากล่าวว่าที่มายื่นในครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับสีแต่มาทวง เพื่อทุกคนทุกสี
นายนาวินกล่าวว่า เรื่องการให้สัตยาบันอนุสัญญาธรรมนูญกรุงโรมนั้นตอนนี้ยังติดขัดอยู่ที่ เรื่องข้อกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเคยมีการหารือมา แล้วครั้งหนึ่งเมื่อประมาณมกราคม 2554 และจะมีการหารืออีกครั้งในช่วงเดือนมกราคม 2555 นี้
ทั้งนี้ ทางกลุ่มสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชนยังกล่าวอีกว่าหลังจากยื่นหนังสือที่ กระทรวงการต่างประเทศเสร็จแล้วทุกคนก็จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อที่ทำเนียบ รัฐบาล
(ข่าวสด 20 ธ.ค.)
ยื่นรัฐบาลลงสัตยาบันกรุงโรม
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชาญ ไชยะ ตัวแทนสหภาพยุโรปประชาธิปไตยเพื่อประชาชน เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญากรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีโดยสมบูรณ์ โดยมีนางประภาศรี บุญวิเศษ ผอ.ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐ มนตรี เป็นผู้รับหนังสือ
สำหรับหนังสือเรียกร้องดังกล่าวระบุว่า นับจากเหตุการณ์สังหารประชาชนที่มาเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 1 ปีครึ่งเเล้ว แต่ยังไม่มีการจับกุมคนสั่งปราบปรามประชาชนมาลงโทษตามกฎหมายได้เลย และจากการติดตามข้อมูลข่าวสารตลอด ทำให้ทางสหภาพเห็นถึงความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังของผู้สูญเสีย บางคนสูญเสียลูก สามี พ่อ ซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัว ผู้สูญเสียทั้งหมดเห็นตรงกันว่าไม่ได้รับความยุติธรรมมาตลอดระยะเวลา 1 ปี 5 เดือนที่ผ่านมา
เอาผิดคนสั่งการ-คดี 91 ศพ
หนังสือระบุว่า การออกมาทวงถามความยุติธรรม เพื่อหวังให้รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ไขกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบี้ยวในอดีตให้ กลับคืนสู่ปกติ และหวังว่าคดีความที่ล่าช้าจะได้รับการแก้ไข และดำเนินคดีผู้ที่สั่งการสลายการชุมนุม ถือเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่อาจนิ่งดูดายได้ แต่ทั้งนี้การออกมาเคลื่อนไหวไม่ใช่แค่สะสางคดี 91 ศพ ให้เกิดความยุติธรรมอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังมุ่งหวังให้เป็นเกราะป้องกัน ไม่ให้เกิดการสังหารคนที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมือง รัฐบาลต้องทำให้เป็นรูปธรรม และต้องทำให้เป็นที่ยอมรับจากสังคมโลกด้วย
"เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา องค์กรเครือข่ายระหว่างประเทศ ที่มีสมาชิกกว่า 2,500 องค์กร และหน่วยงานจาก 150 ประเทศทั่วโลก ทำหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมภาคีศาลอาญา ระหว่างประเทศ เพื่อต้องการให้รัฐบาลไทยแสดงเจตจำนงที่จะร่วมกับประชาคมโลก ในการต่อสู้ต่อต้านกับระบบลบล้างความผิด ด้วยการให้สัตยาบันกรุงโรม ซึ่งเป็นศาลอาญาระหว่างประเทศแห่งแรก และแห่งเดียวของโลก ที่มุ่งจัดการกับคดีที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่สำคัญข้อเรียกร้องของสังคมโลกครั้งนี้ มีผลกับคดีการสังหารหมู่ 91 ศพ ใจกลางกรุงเทพฯ แน่นอน" หนังสือระบุ
เตือนสติรัฐปราบประชาชน
หนังสือร้องเรียนระบุด้วยว่า การลงสัตยาบันอนุสัญญากรุงโรม จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่จะนำตัวคนสั่ง ขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ที่สำคัญการเข้าร่วมภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ ยังเป็นเครื่องเตือนสติอำนาจรัฐ ไม่ให้ใช้อาวุธปราบปรามประชาชนในอนาคต ดังนั้น กิจกรรมการรณรงค์เร่งด่วนที่สหภาพยุโรปประชาธิปไตยเพื่อประชาชนจะดำเนินการ คือการรณรงค์เรียกร้องให้ประเทศไทยลงนามให้สัตยาบันกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ
หนังสือระบุอีกว่า โดยสมาชิกสหภาพยุโรปประชาธิปไตยเพื่อประชาชน ได้พบปะปรึกษาหารือ และจัดการศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญากรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ และจะดำเนินการติดต่อขอความสนับสนุนจากเครือข่ายองค์กรต่างๆ ในยุโรป ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยลงนามสัตยาบันกรุงโรม ว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ โดยสหภาพยุโรปประชาธิปไตยเพื่อประชาชน ยินดีต้อนรับองค์กรและทุกคนที่รักประชาธิปไตย เพื่อรณรงค์ให้ประเทศไทยลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญากรุงโรม
รายละเอียดธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ จาก Wikipedia
ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (อังกฤษ: Rome Statute of the International Criminal Court) หรือเรียกโดยย่อว่า "ธรรมนูญกรุงโรมฯ" (Rome Statute) เป็นสนธิสัญญาซึ่งมีเนื้อหาสาระเป็นการจัดตั้งและจัดเขตอำนาจศาลอาญาระหว่าง ประเทศ ธรรมนูญนี้ได้รับความเห็นชอบจากประเทศต่าง ๆ ณ การประชุมทางการทูตที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2541[4] [5] และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545[2] โดยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปรากฏว่ามีประเทศเข้าเป็นรัฐภาคีแห่งธรรมนูญนี้แล้วจำนวนหนึ่งร้อยแปด ประเทศ[2]
ขณะนี้ ประเทศไทยได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมฯ แล้วตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 แต่ยังมิได้เข้าเป็นรัฐภาคี
(อ่านเพิ่มเติมจาก wikipedia)
แผนที่แสดงประเทศที่ให้สัตยาบันในธรรมนูญกรุงโรมฯ สำรวจในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ดวงจำปา: สยบข่าวลือ "ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะเข้ามาดำเนินดคีในประเทศไทย" / Thai E-news / 14 ธ.ค. 54
- ดวงจำปา: ขยายความต่อ "กรณีประเทศไทย กับ ศาลอาญาระหว่างประเทศ" / Thai E-news / 19 ธ.ค. 54