WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 25, 2011

เนติบัณฑิตสภาอเมริกาลงใต้ สอบคดีมั่นคงพบถูกซ้อมเพียบ

ที่มา ประชาไท

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 24 ธ.ค. 54 ที่ห้องจะบังติกอ โรงแรม ซีเอส ปัตตานี มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจัดเสวนานำเสนอผลการศึกษา ข้อมูลสถิติคดีและข้อค้นพบในคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคดีความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Case Audit) สนับสนุนโดยเนติบัณฑิตสภาแห่งอเมริกา (America Bar Association Rule of Law : ABA ) มีผู้เข้าร่วมประมาณ 50 คน

ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมวิพากษ์ผลการศึกษา เพื่อปรับปรุงเป็นงานวิจัยที่สมบูรณ์ และสามารถนำไปผลักดันในเชิงนโยบายและเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป

นายอนุกูล อาแวปูเตะ ประธานศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี นำเสนอผลการศึกษาข้อมูลสถิติคดีและข้อค้นพบในคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ว่า ผลการศึกพบว่า มีการนำตัวบุคคลเข้าสู่กระบวนการซักถามภายใต้กฎอัยการศึกใน 100 คดี มีผู้ถูกทำร้ายร่างกาย 33 คดี เจ้าหน้าที่ใช้วาจาที่ไม่สุภาพระหว่างซักถาม 35 คดี ถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ 25 คดี

นายอนุกูล นำเสนอต่อไปว่า ส่วนในการควบคุมตัวตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) มีผู้ถูกควบคุมตัวถูกทำร้ายร่างกาย 16 กรณี และเจ้าหน้าที่ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพระหว่างควบคุมตัวหรือถูกขู่เข็ญ 12 กรณี

นายอนุกูล นำเสนออีกว่า ในการจับกุมผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) ปรากฏว่า มีผู้ต้องหาถูกทำร้ายร่างกายด้วยถึง 23 คดี เจ้าหน้าที่ใช้วาจาไม่สุภาพระหว่างถูกจับกุม 12 คดี และถูกขู่เข็ญ 13 คดี

นายอนุกูล กล่าวว่า จากสถิติพบการทำร้ายร่างกายระหว่างการควบคุมตัวภายกฎอัยการศึกมากที่สุด แต่สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายกังวลอย่างมาก คือการทำร้ายร่างกายระหว่างการสอบปากคำในชั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา

นางสาวเยาวลักษ์ อนุพันธ์ ผู้อำนวยการโครงการ เนติบัณฑิตสภาแห่งอเมริกา ประจำประเทศไทย กล่าวว่า หัวใจสำคัญของ โครงการ Case Audit เป็นการตรวจสอบคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วระหว่างต้นปี 2553 ถึงต้นปี 2554 จำนวน 100 คดี โดยการนำสำนวนคดีมาตรวจสอบ ความชอบธรรมของเจ้าหน้าในการปฏิบัติงานทุกขั้น ตอนตั้งแต่การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉินและ ป.วิอาญา มาทำเป็นฐานข้อมูลทางด้านคดีอย่างเป็นระบบ เรียกว่า แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลทางคดี หรือ check list

นางสาวเยาวลักษ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้จัดทำแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลทางคดีอย่างเป็นระบบและมีฐานข้อมูลแล้ว สามารถที่จะให้นักวิชาการด้านกฎหมายหรือผู้สนใจมาศึกษาในเรื่องกระบวนการ ยุติธรรม เพื่อให้เห็นจุดอ่อนและจุดแข็งของกระบวนการยุติธรรม

“สิ่งสำคัญที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมต้องมาศึกษาดูว่า การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมที่ผ่านมา มีปัญหาตรงไหน และต้องแก้ไขปรับปรุงต่อไปอย่างไร” นางสาวเยาวลักษ์ กล่าว