WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, January 29, 2012

ระวังมัสยิดเป็นพื้นที่สังหาร เงื่อนไขต่อต้านรัฐในชายแดนใต้

ที่มา ประชาไท

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เปิดผลวิจัย มัสยิด “แดง” ทอนความรู้สึกรุนแรงต่อพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ชี้เหตุรุนแรงที่กรือเซะ-อัลฟุรกอน ขยายความขัดแย้ง เตือนรัฐบาลป้องกันจริงจัง

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

เมื่อเวลา 8.30 วันที่ 27 มกราคม 2555 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ร่วมกับ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิยาลัยวลัยลักษณ์ และมูลนิธิเอเชีย จัดเสวนาหัวข้อสภาวะความเป็นสมัยใหม่ อันแตกกระจาย การค้นหาประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม ปาตานี Fragmented Modernites : The Quest of a Social and Cultural History of Patani

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ หัวหน้าสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถานำและนำเสนอบทความหัวข้อ มัสยิด “แดง”: ทอนความรุนแรงต่อพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในสังคมมนุษย์ว่า สังคมมลายูมุสลิมยึดมั่นว่า มัสยิดคือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะฉะนั้นสองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมัสยิด คือ การวิสามัญฆาตกรรมขบวนการต่อต้านรัฐในมัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 และการลอบสังหารผู้กำลังละหมาดในมัสยิดอัลฟุรกอน จังหวัดนราธิวาส ในเดือนมิถุนายน 2552 เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ชาวบ้านไม่ไว้วางใจรัฐ เนื่องจากมองเห็นว่า ศาสนสถานของพวกเขาไม่ได้รับการเคารพจากเจ้าหน้าที่รัฐ

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าว ส่งผลให้การต่อต้านรัฐขยายวงกว้างมากขึ้น จึงทำให้ฝ่ายขบวนการที่อาจดูเหมือนแพ้ในการรบ แต่กลับชนะในแง่ของการสามารถทำให้ชาวมลายูรู้สึกว่า พวกเขาตายอย่างไม่เป็นธรรมจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นเหตุให้มีข้ออ้างในการต่อต้านรัฐของฝ่ายขบวนการจนถึงปัจจุบัน

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า ไม่เพียงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น ที่เจ้าหน้าที่รัฐหวาดระแวงการรวมกลุ่มของชาวมุสลิมในพื้นที่ความขัดแย้ง แต่ยังเกิดในหลายพื้นที่ในโลก เช่น ช่วงปี ค.ศ. 2002 ที่มีกระแสการก่อการร้ายทั่วโลก ตำรวจเยอรมันได้เข้าตรวจค้นมัสยิดกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ เพราะเชื่อว่าเป็นแหล่งซ่องสุ่มของผู้ก่อเหตุไม่สงบในประเทศ แต่ช่วงหลังๆ เจ้าหน้าที่ยอมรับว่ามองผิดพลาดไป ซึ่งเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ความหวาดระแวงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับมุสลิมเกิดขึ้นทั่วโลก

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าวว่า เมื่อสัญลักษณ์ทางศาสนากลายเป็นพื้นที่สังหารหรือถูกทำร้ายโจมตีจากเจ้า หน้าที่รัฐ จนทำให้เกิดความขุ่นเคืองต่อผู้ศรัทธาต่อสถานที่นั้น ประเด็นความขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นเรื่องศักดิ์ศรี ซึ่งจะส่งผลให้ความขัดแย้งยืดเยื้อยาวนานขึ้น

“ผมคิดว่าความรุนแรงต่อศาสนสถานและศาสนบุคคลเป็นความรุนแรงที่กำลังแพร่ ขยายไปอย่างกว้าง และยิ่งทำให้ความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์ยืดเยื้อเข้มข้นมากขึ้นและอันตราย ยิ่งขึ้น ผมจึงเสนอให้รัฐบาลตระหนักและแสดงถึงความจริงจังในการป้องกันไม่ให้เกิด เหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขในการใช้ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีก”ศ.ดร.ชัยวัฒน์ กล่าว

ในวันเดียวกัน ยังมีผู้นำเสนอบทความทางวิชาการอีก 9 ชิ้น ได้แก่ นายพุทธพล มงคลวรวรรณ เรื่องปาตานีผ่านแว่นของจักรวรรดิและดวงตาสมัยใหม่: การสำรวจทางมานุษย วิทยาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในรัฐมลายูของสยาม ค.ศ.1899–1900 (A Modern Gaze, the Imperial Science: the Cambridge Anthropological Survey of Patani, 1899-1900)

นายนิยม กาเซ็ง เรื่องเส้นทางสู่ความทันสมัย: ประวัติศาสตร์สังคมของถนนทางหลวงสายใหม่สู่ ปาตานี (A Route to Modernity: A Social History of Modern Roads to Patani) นายมูฮัมหมัด อิลยาส หญ้าปรัง เรื่องการตีความความเป็นสมัยใหม่: ต่วนกูรู อิสมาแอล สะปันยัง (2498 - ) อูลามาอ์สายจารีตในสังคมปาตานีสมัยใหม่ (Interpreting Modernity: Tuan Guru Ismael Sapanyang, a Traditional Ulama in a Modern Patani Society)

นางสาวทวีลักษณ์ พลราชม และนายวารชา การวินพฤฒ เรื่อง ณ ระหว่างพื้นที่: ประสบการณ์ || อัตลักษณ์ || มุสลิมมะฮฺปัตตานีบนเส้นทางการศึกษาสมัยใหม่ (In-Between Space: Experiences || Identities || the Pattani Women on a Modern Route of Education)

นางสาวอสมา มังกรชัย เรื่อง ตำรวจมลายู: ลูกผสมของความเป็นสมัยใหม่แบบอาณานิคม ประวัติศาสตร์บาดแผล และความรุนแรง (The Melayu Police: A Colonial Hybridity of Modernity, a Wounded History, and the Violence) นายบัณฑิต ไกรวิจิตร เรื่อง พิธีกรรมและศิลปะการละเล่นพื้นบ้านมลายูปาตานี: วัฒนธรรมลูกผสมกับสภาวะความ เป็นสมัยใหม่อันแตกกระจาย

นายสะรอนี ดือเระ เรื่อง เสียงเพรียกใหม่: นิตยสารอาซานและกลุ่มปัญญาชนใหม่ในปาตานีกลางทศวรรษ 2510 (A New Voice: the Azan Magazine and New Intellectuals in Patani, 1970s) นางสาวปิยะนันท์ นิภานันท์ เรื่อง ความทันสมัยในภาพเรืองแสง: ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของโรงภาพยนตร์ในสังคม ปาตานี (Illuminating Modernities: a Cultural History of Cinema in the Patani Society)

นายบัญชา ราชมณี เรื่อง โมเดิร์นดิเกมิวสิค: อุตสาหกรรมดนตรีและพัฒนาการของสื่อบันเทิงในปาตานี (Modern Dikir Music: Music Industry and Development of Entertaining Media in Patani)

ส่วนในวันที่ 28 มกราคม 2555 จะมีการนำเสนอบทความทางวิชาการอีก 6 ชิ้น