WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, May 14, 2009

แฉยุบพรรค “มีใบสั่ง”

ที่มา ประชาไท

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 13 พ.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมอนุคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย ซึ่งอยู่ในคณะกรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว. นนทบุรี เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้ใช้เวลา 5 นาที เลือกนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธาน นายภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธาน นางผุสดี ตามไท ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขานุการ จากนั้นที่ประชุมได้มีมติร่วมกันว่าจะใช้เวลาในการวางกรอบการทำงาน 2 สัปดาห์

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า การอภิปรายมีความตึงเครียดช่วงหนึ่งเมื่อนายศักดิ์ เตชาชาญ อดีตตุลาการศาลรัฐธรมนูญ หนึ่งในเสียงข้างมากที่ตัดสินคดีซุกหุ้นของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิของพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ประเด็นที่ยังไม่ได้พูดกันคือใบสั่ง ตนเคยเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ตอนมีคำสั่งยุบพรรค ขอกราบเรียนเบื้องหลัง ได้ถามเพื่อนฝูงทุกคนแล้วเห็นว่าไม่ควรยุบพรรค ควรแก้ลงโทษหัวหน้าพรรค เลขาธิการและผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่พอจะเขียนคำวินิจฉัย ปรากฏว่ามีใบสั่ง ซึ่งไม่ทราบว่าจริงหรือไม่จริง แต่ว่ามีใบสั่งมา มันสร้างความสับสนให้ผู้พิพากษาทั้งหมดที่เคยเห็นด้วยกับตน คำวินิจฉัยจึงออกมาน่าเกลียดมาก ร่วมทั้งเรื่องโมฆะการเลือกตั้ง และองค์กรอิสระต่างก็เป็นใบสั่งและผลก็ออกมาอย่างที่เขาคาดการณ์ทุกเรื่อง100%

ซึ่งผมไม่ยอมทำตามใบสั่งจึงไม่เจริญถึงทุกวันนี้ หลายคนที่ทำตามใบสั่งก็เจริญรุ่งเรืองเป็นใหญ่เป็นโตในขณะนี้ ดังนั้นเราต้องหาวิธีพิสูจน์ว่าใบสั่งมีจริงหรือไม่ ถ้ามีต่อไปนี้ต้องเลิกเด็ดขาดนายศักดิ์ กล่าว

ทำให้นายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช อดีตผู้ว่าฯ ผู้ทรงคุณวุฒิจากส.ว. โต้ขึ้นว่า อยากถามว่ามีหลักฐานหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้ พิจารณาจากคำพิพากษาที่มีความละเอียดมาก แต่ละคนที่นั่งตรงนั้นเป็นผู้มีเกียรติ มีความรู้ มีฐานะทางสังคม ใครจะออกใบสั่งได้ อย่างเก่งออกได้ 1-2 คน แต่ส่วนใหญ่ออกพร้อมกันทั้งคณะเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้ นายศักดิ์ไม่ได้ตอบโต้หรือลุกขี้นชี้แจงอะไร รวมถึงอนุกรรมการในห้องประชุมก็ไม่มีใครติดใจซักถามใดๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนเนื้อหาในการอภิปรายส่วนใหญ่ยังเป็นการโจมตีกันไปมาอย่างดุเดือด ระหว่างส.ส.พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ นายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากการบริหารของ พ.ต.ท.ทักษิณ อาทิ การแทรกแซงองค์กรอิสระ ส.ว. ร่วมทั้งการใช้อำนาจเพื่อองค์กรของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นการประกาศว่าจะพัฒนาจังหวัดที่เลือกพรรคไทยรักไทย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเหตุผลมาสู่ความขัดแย้งสู่ปัจจุบัน ขณะที่นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย โต้ว่า ปัญหาคือการรัฐประหารปี2549 ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญ 50 ที่ทำให้เกิดตุลาการภิวัฒน์ และตามมาด้วย เรื่อง 2 มาตรฐาน โดยมีการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ที่นำมาซึ่งการยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมือง ทำให้มวลชนที่สนันสนุนคนกลุ่มนี้เกิดความไม่พอใจ ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญหากแก้เรื่องพวกนี้จะสามารถแก้ปัญหาได้

การผ่อนคลายความขัดแย้งระยะสั้นเร่งด่วน คือ การแก้ไขให้ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 220 คน ที่ไม่ได้รับจากรัฐธรรมนูญ 50 ซึ่งจะต้องออกกฎหมายช่วยเหลือ และไม่สามารถทำประชามติตัดสิน เพราะกรรมการบริหาร220 ถูกพิพากษาให้มีความผิด จึงต้องแก้ไขด้วยการออกกฎหมาย จึงอยากให้ที่ประชุมเห็นด้วยหรือไม่นายประเกียรติ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุกรรมการฯได้จัดวางแผนการทำงานไว้เป็น 3 แผนประกอบด้วย ระยะสั้น จะระดมข้อเสนอจากองค์กรภาคประชาสังคม อาทิ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เครือข่ายสานเสวนา ของสถาบันพระปกเกล้า สถาบันสันติวิธีศึกษา สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาคณาจารย์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. รวมทั้งได้เชิญแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มเสื้อแดง มาให้ข้อมูลถึงเป้าหมายความต้องการของคนทั้งสองกลุ่ม

ทั้งนี้ หากการดำเนินการเห็นผลใน 45 วันจะทำให้ผ่อนคลายและลดระดับความขัดแย้งนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองและแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สังคมไทยได้มองเห็นและตระหนัก ในชาติบ้านเมืองมากกว่าตนและพรรคพวกกลุ่ม ทำให้เกิดกระแสที่อยู่ในระดับเป็นเทรนด์ของสังคม เกิดกลไกการขับเคลื่อนและสนับสนุนการทำงานในข้อเสนอนี้ เช่นภาคีสื่อมวลชน สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เครือข่ายประชาชนในขนบท หลังจากนั้นรัฐบาลอาจจะยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ได้

นายตวง กล่าวหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้อภิปรายกันได้สรุป 8 ข้อที่จะนำสังคมกลับคืนสู่ความสมานฉันท์ คือ 1.ทุกฝ่ายควรจะยอมรับก่อนว่ารัฐธรรมนูญทั้งปี 40 และปี 50 ต่างมีจุดแข็งและจุดอ่อน โดยปี 40 มีจุดแข็งที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็ง แต่จุดอ่อนคือความเข้มแข็งทำให้กลไกตรวจสอบไม่ทำงาน ขณะที่ปี 50 มีจุดอ่อนทำให้รัฐบาลอ่อนแอ แต่จุดแข็งอยู่ที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น 2.จุดที่เป็นปัญหาสำคัญในการเมืองคือบุคคลทางการเมือง ดังนั้นข้อเสนอที่จะผ่อนคลายความขัดแย้งเบื้องต้นคือควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.237 ไม่ให้มีการยุบพรรคและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค 5 ปี เพราะจะไปกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนที่สนับสนุนพรรคต้องออกมาต่อสู้ โดยหากเกิดการทุจริตการเลือกตั้งให้ลงโทษเฉพาะผู้กระทำผิดหรือกรรมการ แต่ไม่ควรยุบพรรค

3.นักการเมืองควรจะลดความร้อนแรงในการวิวาทะทางการเมืองเพื่อลดอุณหภูมิความขัดแย้งในสังคม 4.สื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องตระหนักถึงบทบาทที่จะมีส่วนช่วยในการลดบรรยากาศความขัดแย้ง 5.รัฐบาลต้องลดเงื่อนไขความขัดแย้ง ไม่ควรจะให้องค์กรที่ใช้กำลังอย่างกองทัพไปชี้แจงงานของรัฐบาลหรือแจกซีดีการสลายการชุมนุมเพราะจะทำให้ประชาชนเกิดความหวาดระแวงลุกขึ้นมาตอบโต้ แต่ควรจะใช้ข้าราชการฝ่ายปกครองอย่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่แทน

6.ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยในระยะยาว 7.ทำให้ระบบนิติรัฐเข้มแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดกระบวนการยุติธรรมแบบ 2 มาตรฐาน และ 8.สร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบหรือการแสดงสปิริตทางการเมืองในหมู่นักการเมืองในกรณีที่ถูกจับได้ว่ากระทำความผิด ไม่ใช่ดันทุรังอยู่ในตำแหน่งจนการต่อต้านลุกลามบานปลาย

ที่มา: เว็บไซต์คมชัดลึก