WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 16, 2009

“ทางออก” เศรษฐกิจการเมืองไทย ภายใต้ “การแบ่งขั้ว”

ที่มา ประชาไท

(14 ..52) ชมรมเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาหัวข้อ “ทิศทางประเทศไทยในพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมโลก” ที่โรงแรมตะวันนากรุงเทพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการวิเคราะห์ วิจารณ์ถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากพัฒนาการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของสังคมโลก รวมถึงปัญหาการเมืองภายในประเทศไทยที่มีต่อการบริหารเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน

การเสวนาเริ่มจากการปาฐกถาในหัวข้อ ทิศทางประเทศไทยในพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมโลกโดย ศ.ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวถึงการเป็นสมัยใหม่ ปัญหาของการเป็นสมัยใหม่ในแบบตะวันตกที่ประเทศไทยและหลายๆ ประเทศกำลังเผชิญอยู่ และปัญหาและข้อเสนอการเป็นสมัยใหม่ของประเทศไทย

.ดร.ฉัตรทิพย์ เสนอว่า ทิศทางการพัฒนาประเทศที่จะเป็นจริงและตรงกับความปรารถนาของผู้คน คือการพัฒนาที่ระบบที่ใหญ่ที่สุดในแง่ผู้คนคือระบบชุมชน เป็นการพึ่งตนเอง มีศักดิ์ศรี ไม่ปฏิเสธตัวเอง ในทางเศรษฐกิจให้สนับสนุนระบบเศรษฐกิจชุมชนและเครือข่ายชุมชนให้มากที่สุด โดยในภาคชนบทรักษาและพัฒนาระบบชุมชนเกษตรกรรายย่อย ส่วนในภาคเมืองส่งเสริมสหกรณ์ผู้ผลิตหัตถกรรม และในระดับประเทศสถาปนาวัฒนธรรมชุมชนเป็นแกนกลางของวัฒนธรรมแห่งชาติ ร้อยรัดระบบเศรษฐกิจชุมชนและระบบเศรษฐกิจทุน

ในเรื่องรัฐ สถาบันรัฐไทยนั้นแปลกแยกจากชุมชนตลอดมา และคงลักษณะรัฐราชการศักดินาแม้ว่าเศรษฐกิจจะพัฒนาเข้าสู่ระบบทุนนิยม ดังนั้นต้องพยายามประกอบรัฐใหม่ให้เป็นตัวแทนของชุมชน โดยกระจายหน้าที่จากรัฐส่วนกลางไปให้รัฐท้องถิ่น และพยายามให้รัฐไม่ว่าส่วนกลางหรือท้องถิ่นปกครองให้น้อยที่สุด แต่ใช้การเกี่ยวโยงหน่วยต่างๆ ในสังคมด้วยวัฒนธรรมแทน แบ่งประเทศออกเป็นเขตเศรษฐกิจวัฒนธรรมตามสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์วัฒนธรรม แล้วกระจายหน้าที่บริการสาธารณะให้เขตต่างๆ เหล่านี้

จากอดีตถึงปัจจุบันนักวิชาการและปัญญาชนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้นำเสนอภาพและเส้นทางของวัฒนธรรมชุมชน ไม่มีการศึกษาและทำความเข้าใจชาวบ้าน ไม่สนใจพลังของพวกเขา ต่อมาเมื่อตะวันตกแพร่อิทธิพลมาถึงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมจึงมีการหันไปศึกษาและชื่นชนตะวันตก จนเกิดเป็นปัญหาแบ่งแยกแนวคิดเส้นการเป็นสมัยใหม่ของไทยออกเป็น 2 ทาง คือ 1.แบบที่เสนอโดยชนชั้นนำ คือ รับความเจริญทางเทคโนโลยีและทางเศรษฐกิจแบบตะวันตก แต่รักษาไว้ซึ่งรัฐและวัฒนธรรมแบบจารีต 2.ต้องการให้ประเทศเปลี่ยนทุกอย่างให้ทันสมัยแบบตะวันตก

.ดร.ฉัตรทิพย์ เสนออีกทางเลือกหนึ่ง คือการเป็นสมัยใหม่ที่เป็นของไทยเราเอง ซึ่งไม่ต้องเป็นไทยเราเองแบบจารีตแต่เป็นไทยเราเองแบบชุมชน โดยอธิบายว่า การเป็นสมัยใหม่มีหลายรูปแบบ และเราควรก้าวข้ามการเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตก โดยการประกอบสังคมใหม่ในแบบที่เหมาะสมและเราชอบของเราเอง โดยระบบชุมชนจะเป็นตัวตั้ง แล้วเลือกองค์ประกอบที่ต้องการและเป็นจริงได้ในสังคม ซึ่งบางองค์ประกอบอาจมาจากสมัยใหม่ในแบบตะวันตก เช่น เทคโนโลยี แล้วประกอบส่วนต่างๆ นี้เข้าด้วยกันในสัดส่วนและในแบบที่เราต้องการ ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือการกล้าค้นหาและเดินไปตามเส้นทางไปสู่สังคมใหม่ในจินตนาการนั้น

เราคงจะต้องสนใจสถาบันชุมชนและวัฒนธรรมชุมชนเป็นพิเศษ เข้าใจและสำนึกในสถาบันนี้ แล้วจึงเติมผสมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”

การเสวนาในหัวข้อ “ทางออกเศรษฐกิจการเมืองไทยภายใต้การแบ่งขั้ว” ในช่วงบ่าย มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นประกอบด้วย นายลิขิต ธีรเวคิน อาจารย์พิเศษประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รักษาการประธานชมรมเศรษฐศาสตร์และการเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4 ตัวแปรที่การแก้วิกฤติไทยต้องเชิญ

นายลิขิต กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ทำอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการบริโภค ในการลงทุน และการใช้จ่ายภาครัฐถือเป็นแนวทางที่ทำในลักษณะเดียวกัน คือพยายามแก้ไขเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตามคงต้องดูด้วยว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะแก้ไขได้สำเร็จหรือไม่ ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐแก้ไขปัญหาไม่สำเร็จประเทศอื่นก็คงสำเร็จได้ยากเช่นเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่ทุกประเทศต้องทำคือแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตัวเองไปและรอดูว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นหรือไม่

ในส่วนของประเทศไทยอาจแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยได้ยากกว่าประเทศอื่น เพราะมีตัวแปรความขัดแย้งต่างจากประเทศอื่นอีก 4 ตัวแปร คือ 1.มีความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งไม่มีทางสิ้นสุดลงในระยะเวลาอันใกล้และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ 2.ความขัดแย้งทางสังคม สังคมไทยมีความแตกแยกกันมาก แบ่งเป็นหลายสีมากมาย “เราเป็นชาติที่มีการใช้สื่อและใช้สีมากที่สุด” 3.ความขัดแย้งทางอุดมการณ์อย่างรุนแรง การระบบมีการเมืองที่ต่างกัน และ 4.ไม่มีหลักยึดในยามเกิดวิกฤติ

“รัฐบาลกำลังเผชิญกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ผนวกกับปัญหาทางการเมือง สังคมและอุดมการณ์ รวมทั้งสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เลย เมื่อเป็นอย่างนี้งานนี้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ โอกาสที่จะทำให้สำเร็จนั้นมี แต่ไม่ง่าย และต้องใช้เวลา แต่เวลาเป็นสิ่งที่เราไม่มี” นายลิขิตกล่าว และกล่าวต่อมา สังคมไทยขณะนี้มีการการป่วยทางการเมือง

นายลิขิตกล่าวแสดงความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่า กลัวว่าปัญหาจะเป็นบ่อเกิดของกลียุคที่ไม่สามารถควบคุมอะไรไม่ได้ โดยไล่จากปัญหาสู่วิกฤติ ไปสู่ความวุ่นวาย สืบเนื่องจนไปเป็นกลียุค

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงระเบียบโลกใหม่ซึ่งหมายความถึงการที่ประเทศต่างๆ ในโลกจะอยู่กันต่อไปอย่างไร ไม่ว่าจะในส่วนการค้าขาย การเมือง ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ ข้อตกลงทางทหาร สันติภาพของโลก ฯลฯ ว่าจะปล่อยให้อเมริกาประเทศเดียวเป็นเสาหลักอย่างนี้ต่อไปไม่ได้ เพราะมีผลกระทบให้ประเทศอื่นๆ พังตามไปด้วย อีกทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่าแม้ในอเมริกามีผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์มากมาย แต่สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ว่าแม้ทฤษฎีจะถูกแต่ทางปฏิบัติไม่ถูก และมีลักษณะของมือถือสากมากถือศีล อะไรก็ตามที่เขาต้องการให้เราทำแต่เขาทำตรงข้ามเราหมด อเมริกาเองไม่สามารถปฏิบัติตามสิ่งที่เทศนาคนอื่นได้

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ประเทศที่จะมาเป็นตัวแปรทางการเมืองในการต่อรองทางเศรษฐกิจบนเวทีโลก คือ จีน อินเดีย รัสเซีย ในอนาคตอาจรวมถึง บราซิล อินโดนีเซีย มาเลเซีย โดยโลกจะต้องเรียกร้องได้ว่าระเบียบโลกที่อเมริกาเป็นมหาอำนาจคุมทุกอย่างต้องเปลี่ยน ซึ่งตรงนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แม้ต่อไปบนเวทีการเจราจาระดับโลกเกี่ยวกับเศรษฐกิจจะไม่สามารถขาดอเมริกาได้ แต่ขณะเดียวกันก็จะขาดจีน ขาดอินเดียไม่ได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วประเทศไทยควรต้องมีการคิดว่าจะเดินไปอย่างไร

ชี้ไทยมีปัญหา4 อ่อน กับ 5 ขาด ติงรัฐลดการทุ่มเทแต่ในเชิงปริมาณ

นายสมภพ กล่าวว่ามองย้อนหลังกลับไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญวิกฤติที่รุนแรงและหนักหน่วง 3 ครั้ง ซึ่งสร้างปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ยกตัวอย่างเช่น วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งขณะนั้น จีดีพีไทยติดลบไปราว 12 เปอร์เซ็นต์ แต่เคราะห์ดีที่ขณะนั้นเป็นช่วงขาขึ้นของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งอเมริกาและจีน ต่อมา 2544 เกิดวิกฤตการณ์ดอทคอมที่จีดีพีของอเมริกาติดลบ 3 ไตรมาสซ้อน ลากให้จีดีพีไทยลดลงจาก 4.6 เปอร์เซ็นต์ในปีก่อนหน้า เหลือ 2 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2544 และการส่งออกลดต่ำลงถึงติดลบ และล่าสุดวิกฤตการแฮมเบอร์เกอร์ ที่การส่งออกติดลบอย่างหนักและจีดีพีร่วงลงพอๆ กับของสหรัฐ

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าไทยอยู่บนโลกแห่งความไม่แน่นอนและมันกำลังมาขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยมันเปิดกว้างมากขึ้น ทั้งต่อการค้าต่างประเทศ ต่อการลงทุนจากต่างประเทศ และเปิดกว้างต่อภาคบริการที่มาจากต่างประเทศ เช่นนี้แล้วคำถามคือเราจะจัดเตรียมประเทศอย่างไรต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ซึ่งในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาวิกฤตการณ์เกิดถี่มากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านั้น และทุกครั้งที่เกิดวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญในโลกประเทศไทยถูกกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างจังทุกครั้ง

“เราจะอยู่ในโลกใบนี้นี้อย่างไร เราจะจัดทัพในประเทศอย่างไรที่ทำให้มีความยืดหยุ่นต่อตัวแปรทั้งเชิงลบและเชิงบวกของเศรษฐกิจโลก และผมขอบอกว่าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปวิกฤตการณ์จะเกิดขึ้นรุนแรง รวดเร็ว และเกิดถี่ขึ้นกว่าที่ผ่านมา ภายใต้นโยบายของสหรัฐอเมริกาในขณะนี้ ที่เรียกว่านโยบายเฮลิคอปเตอร์มันนี่” นายสมภพกล่าว

นายสมภพกล่าวต่อมาว่า ไทยกำลังเผชิญปัญหา 4 อ่อน กับ 5 ขาด ที่ยังแก้ไม่ตก 4 อ่อน คือ 1.ความอ่อนแอของระบบและสถาบันการเมือง 2.ความอ่อนแอและด้อยประสิทธิภาพของข้าราชการ 3.ความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจและธุรกิจไทยเราเป็นเศรษฐกิจแบบจับกังอีโคโนมี คือขายแรงงานกิน ขายทรัพยากรกิน ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งแสดงให้เห็นได้อีกจากความยืนหยัดยืดเยื้อของการเป็นประเทศที่ขายแรงงาน ขายการประกอบการเล็กๆ น้อยๆ เน้นการขยายตัวเชิงปริมาณ ใช้แรงงานราคาถูก โดยเฉพาะแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ปัจจุบันมีกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานในประเทศ เพื่อการบริหารจัดการให้ประเทศมีแรงงานตำตลอดไป และ 4.ความอ่อนแอด้านปัญหาสังคม ยกตัวอย่างเช่นในเรื่องการศึกษา ซึ่งอาจไม่ได้แก้ปัญหาโดยเน้นย้ำในเชิงปริมาณด้วยการให้เรียนฟรี 15 ปี

ส่วน 5 ขาด ได้แก่ 1.ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการปัญหาในระยะสั้นอย่างมีระบบมีแผนรองรับ ยกตัวอย่างนโยบายการแจกเงินโดยไม่มีแผนรองรับ 2.ขาดวิสัยทัศน์ในระยะยาวเพื่อบริหารจัดการให้ประเทศที่มีความยืดหยุ่น 3.ขาดเครื่องมือกลไกที่จะนำพาแผนหรือวิสัยทัศน์ที่มีไปสู่การปฏิบัติให้เป็นจริงขึ้นมาได้ 4.ขาดเครื่องมือที่จะบริหารจัดการความขัดแย้งให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบได้ และ5.ขาดภูมิปัญญาและความรับรู้ ไม่สามารถสร้างความรับรู้ของทรัพยากรมนุษย์ให้รู้จักประเมิน วิเคราะห์และมีวิสัยทัศน์

นายสมภพกล่าวต่อมาว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นภาพรัฐบาลที่มีการบริหารจัดการประเทศให้รุดหน้าที่ชัดเจน รวมถึงยังไม่มีนโยบายที่เด่นชัด และหากดูในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 เช่น เรื่องแหล่งน้ำ 2 แสนกว่าล้าน จัดการเรื่องการขนส่งเช่นถนนไร้ฝุ่น 3 แสนกว่าล้าน ทุกเรื่องยังเน้นในการแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะแยกส่วน เน้นเรื่องวัตถุ ทุ่มเทในเชิงปริมาณ ยังไม่เห็นวิธีการที่นำไปสู่การปรับปรุงเชิงโครงสร้าง การปฏิรูปประเทศที่ทำให้เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น

“ปัญหา 4 อ่อน 5 ขาดเป็นเรื่องแรกๆ ที่ต้องบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่การทำให้ประเทศเราเองอยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปิดเกมรุกและตั้งรับต่อความเชียวกราดของโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้มากขึ้นต่อไป” นายสมภพกล่าวสรุปในตอนท้าย

แนะไทยเน้นตลาดภายใน ยึดประชาคมอาเซียนร่วมแก้วิกฤติ

นางผาสุก กล่าวว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนว่าวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์จะส่งผลกระทบลุ่มลึก และอาจต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะฟื้น ซึ่งจะส่งผลกระทบกับประเทศต่างๆ ที่โยงกับอเมริกา รวมทั้งไทยที่พึ่งตลาดส่งออกโดยเฉพาะสหรัฐฯ มากถึง 20% แต่ถ้ามอง โดยเปรียบเทียบถือว่าภูมิภาคเอเชียยังได้รับผลกระทบจากทรัพย์สินที่เป็นพิษในครั้งนี้น้อยกว่ายุโรปและญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี

อย่างไรก็ตามวิกฤติอาจเป็นโอกาสได้ ซึ่งอาจต้องมีการปรับยุทธศาสตร์ใหม่ในการฟื้นเศรษฐกิจของแทนยุทธศาสตร์แบบเดิมๆ อย่างการพึ่งการส่งออก หรือการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศ แต่คงต้องหันมาเน้นการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งประเทศจีนและอินเดียมีประชากรจำนวนมากการปรับตัวของ 2 ประเทศนี้น่าจะได้ผลดีกว่า ในส่วนของไทยซึ่งเป็นประเทศขนาดกลางคงต้องร่วมมือกับประเทศขนาดกลางอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน ร่วมมือกันในการวางนโยบายเศรษฐกิจให้สอดคล้องกันมากขึ้น

การตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคของประเทศในกลุ่มต่างๆ เป็นตัวอย่างที่ทำได้ เพราะลำพังประเทศเดียวอาจมีเงินทุนไม่พอ หรือถ้าต้องไปกู้ในต่างประเทศก็อาจจะต้องเจอส่วนชดเชยความเสี่ยงที่สูง ตรงนี้ถ้ารวมกันได้ก็จะเป็นประโยชน์ หรือการตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือกันระหว่างประเทศ เป็นต้น ถือเป็นเรื่องที่เราควรจะทำ

การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อการฟื้นเศรษฐกิจ ต้องปรับแบบมีนัยไปถึงการกระจายรายได้ในประเทศให้คนที่มีรายได้ต่ำมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นด้วย เพราะการปรับการกระจายรายได้ในประเทศจะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองด้วยเช่นกัน” นางผาสุกกล่าวแสดงความคิดเห็น

นางผาสุก กล่าวถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และศักดิ์ศรีภายในสังคมไทยว่า มีตัวเลขชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนในจีดีพีของคนไทยรายได้สูงสุด 20% (เฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อเดือน 31,434 บาท) มีมากถึงครึ่งหนึ่งของจีดีพี ขณะที่กลุ่มรายได้ต่ำสุด 20% (เฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อเดือน 2,253 บาท) มีสัดส่วนเพียง 4% กว่าเท่านั้น มีข้อสังเกตว่า ช่องว่างของรายได้ทั้ง 2 กลุ่มนี้เท่ากับประมาณ 13 เท่า สูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วที่ยุโรปและสหรัฐฯ จะต่ำกว่าก็แต่เพียงในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องความเหลื่อมล้ำและเผชิญหน้ากับความขัดแย้งที่แก้ไม่ตกมาตลอด

ไทยกำลังประสบปัญหาความขัดแย้งสูง แต่เรื่องที่ร้าวลึกคือความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และศักดิ์ศรีความเป็นคน ซึ่งผลพวงของความเหลื่อมล้ำที่มีสูง จะทำให้เกิดความขัดแย้งทางชนชั้น และทำให้คนในสังคมไม่ไว้วางใจกันมาก ซึ่งการผลักดันเพียงภาษีทรัพย์สินและที่ดินคงไม่เพียงพอ” นางผาสุกกล่าวแสดงความคิดเห็น

ส่วนประเด็นความเหลื่อมล้ำด้านศักดิ์ศรี มีคนไทยจำนวนมากที่รู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือถูกกดเอาไว้ด้วยกลไกต่างๆ ถูกปิดกั้นไม่ให้พัฒนาศักยภาพของตนเองได้เต็มที่ เหตุผลที่สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำสูง อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การผูกขาด คอร์รัปชั่น ระบบการศึกษา ระบบจัดสรรงบประมาณ การขาดเสียงหรือพื้นที่ทางการเมือง และอาจรวมไปถึงการเอาอย่างสังคมอเมริกันที่มองเห็นความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องปกติ

“สังคมเลือกที่จะเป็นสังคมเสมอหน้าได้โดยที่เศรษฐกิจไม่เสียหายได้” นางผาสุกกล่าวและยกตัวอย่างประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นและยุโรปเหนือที่ทำให้เห็นว่าความเลื่อมล้ำทำให้ลดลงได้โดยเศรษฐกิจไม่เสียหาย

อย่างไรก็ตาม หากไม่ทำอะไรเลยสังคมไทยจะยิ่งเคลื่อนไปสู่ความขัดแย้งมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจต้องมีกระบวนการขับเคลื่อนสังคมเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกัน เป็นวาระสังคมคล้ายกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ที่หลายภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมคิดและเสนอแนะ

เศรษฐกิจการเมืองไทยภายใต้การแบ่งขั้วของโลก

นายพรศิลป์ กล่าวว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลางซึ่งกำลังพยายามก้าวไปสู่ขั้วของการเป็นพัฒนาแล้ว และการไปสู่จุดนั้นได้มากหรือเร็วอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของเราเอง โดยนับจากปี 2538 ประเทศไทยได้เข้าสู่ตลาดโลก (โดยการเป็นสมาชิก WTO) และก่อนหน้านั้นในปี 2525 ประเทศไทยเข้าไปเป็นสมาชิก GATT ไทยต้องเข้าสู่กฎเกณฑ์ด้านภาษีศุลกากรและการค้าที่ถูกขีดให้โลกทั้งโลกเดิน เพื่อเป็นช่องทางทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ หลังจากนั้นเป็นต้นมากการที่ไทยจะกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของประเทศก็จะถูกยื่นเงื่อนไขและกำกับโดยประเทศที่พัฒนาแล้ว

ช่วงเวลาที่ผ่านมา การนำพาตัวเองเข้าสู่ระบบทำให้การเจรจาที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา เป็นการเจราจากที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่โปร่งใสมาตั้งแต่ต้น ประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดรายละเอียดต่างๆ มีมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเกิดขึ้น เกิดภาวะการค้าไม่ขยายตัวในประเทศกำลังพัฒนา โดยประเทศที่พัฒนาแล้วพัฒนาตัวเองมากขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องวิ่งไล่ให้เท่าทัน นอกจากนั้นก็การกำหนดมาตรการให้ประเทศพัฒนาแล้วช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา

ปัญหาที่ผ่านมาคือไทยต้องการการลงทุนและเทคโนโลยีจากต่างชาติ และต้องการการส่งออกสินค้าทำให้จุดยืนของไทยอยู่ตรงตำแหน่งที่ถูกกำหนดโยผู้ซื้อ นอกจากนี้ในส่วนผู้นำหรือนักการเมืองที่ผ่านมาส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจวิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจโลก จึงไม่มีการสร้างกฎหมายและแผนพัฒนาการแข่งขันทั้งในภาคการผลิต การบริการ และการลงทุน อีกทั้งการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศเป็นบทบาทของข้าราชการโดยมีกระทรวงพาณิชย์เป็นหลัก

ส่วนภายในประเทศมีการแบ่งขั้วใน 2 แบบ คือ 1.การแบ่งขั้วระหว่างภาคเศรษฐกิจและภาคการเมืองซึ่งไม่ช่วยสร้างศักยภาพทางการแข่งขันแต่ส่งเสริมการแสวงหาผลประโยชน์ระหว่ากันของนักการเมืองและนักธุรกิจ และ2.การแบ่งขั้วของพรรมการเมืองทั้งหลายแต่นักการเมืองไม่มีการแบ่งขั้วอีกทั้งสามารถเปลี่ยนพรรคได้ทุกพรรค เกิดเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าคิดตอบโจทย์การบริหารบ้านเมือง

ในส่วนข้อเสนอแนะนายพรศิลป์ กล่าวว่า ประเทศไทยควรจัดกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรและอาหาร และธุรกิจท่องเที่ยวให้เป็นกลุ่มแนวหน้าเพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน พร้อมกับการสร้างศักยภาพของผู้บริโภค และการเมือง

ทั้งนี้ ในช่วงเช้ามีการเสวนาเรื่อง “ทิศทางประเทศไทยในมุมมองภาคการเมือง เศรษฐกิจและสังคม” โดย รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในมุมมองทิศทางด้านเศรษฐกิจ ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ นักวิจัยด้านรัฐศาสตร์ เสนอมุมมองภาคการเมือง และ ดร.ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ นักวิชาการอิสระ กับมุมมองในภาคสังคม ดำเนินรายการโดยศาสตราภิชาน ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาแรงงานและการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิกฤตทางชนชั้นต้นตอปัญหาทางการเมือง

รศ.ดร.ณรงณ์ กล่าวว่าภาวะวิกฤติเชิงโครงสร้างทางสังคมของไทยมีเหตุจากพื้นฐาน 4 ประการ คือ 1.วิกฤตทางชนชั้น ทั้งที่ไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ระดับกลาง แต่กลับมีสัดส่วนคนรวยสุดกับจนสุดถึง 14-15 เท่า นอกจากนี้มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน ที่ไม่มีการศึกษาเลยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ประมาณ 12 ล้านคน มีการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถม และมีประมาณ 7 ล้านคน ที่มีการศึกษาเท่ากับระดับชั้นประถม รวมคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด ซึ่งคนจำนวนนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่เข้าใจความซับซ้อนของการเมือง โลกาภิวัตน์ ทุนนิยม สนใจแต่ว่าจะอยู่รอดอย่างไร วิกฤตชนชั้นเป็นโอกาสของนักการเมืองเข้ามาเสนอผลประโยชน์ให้แก่คนรากหญ้า ซื้อใจใส่ปุ๋ยที่มีพิษลงไป ทำให้เกิดปัญหา และช่องว่างนี้มีแนวโน้มห่างกันมากขึ้น

2.วิกฤตทางโครงสร้างการผลิตและประชากร ที่เคลื่อนตัวจากภาคเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมอย่างรุนแรง รวดเร็ว วิถีเกษตรแบบพอมีพอกินถูกละทิ้ง ชุมชนชาวนา 90%ไม่ได้ทำนาเองแต่มีการว่าจ้าง ไม่มียุ้งฉาง ลานตาก ขายข้าวเปลือกซื้อข้าวสารกิน กำลังแรงงานรุ่นใหม่หนีจากภาคเกษตร เหลือแต่คนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่ดินรายเล็กรายย่อยถูกขายออกไป ขณะที่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกกำลังแสวงหาที่ดินเพื่อปลูกพืชส่งกลับประเทศสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ประชากรของเขา ในอนาคตคนจนในประเทศไทยจะมีข้าวกินหรือไม่ คำถามนี้ไม่เคยมีอยู่ในหัวของนักวางนโยบาย

3.การเปลี่ยนผ่านจากชุมชนชาวนาสู่ชุมชนโรงงาน ซึ่งชุมชนโรงงานนี้ไม่มีอยู่ในแนวความคิดและแผนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง และ 4.ทุนนิยมแข่งขัน หล่อหลอมให้สังคมมุ่งแข่งขัน กระตุ้นการใช้จ่าย เกิดลัทธิปัจเจกบุคคลรุนแรง ทุกคนหากินเอาตัวรอด ใครรวยคือคนดี ซึ่งเมล็ดพันธุ์ทั้งสี่คือตัวก่อให้เกิดวิกฤตทางสังคม

ส่วนวิกฤตเศรษฐกิจ เกิดจากแนวทางการพัฒนาที่ไม่สมดุลระหว่างภาคเกษตรและอุตสาหกรรม การคลั่งทุนนิยมเสรีจนเจ๊งทั้งระบบ และวิกฤตโครงสร้างทุนนิยมโลก ขณะที่วิกฤตการเมืองเป็นส่วนผสมของวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตสังคม เวลานี้การเมืองไทยอยู่ในระบบซึ่งเป็นส่วนผสมของเงินกับปืนหากลงตัวก็อยู่ได้ยาว เงินเป็นศูนย์กลางของอำนาจ เมื่อเอาเงินลงไปในกลุ่ม 20 ล้านคน เกิดทุนนิยมผสมวัฒนธรรมศักดินาขึ้นมาเป็นทุนนิยมสามานย์

รศ.ดร.ณรงณ์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของเสถียรภาพของรัฐบาลเองในปัจจุบันที่ไม่มั่นคงนั้นไม่ได้มาจากเรื่องของปัจจัยทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ส่วนหนึ่งมาจากความไม่มีเสถียรภาพระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วย ซึ่งยากที่จะบริหารจัดการได้โดยง่ายทำให้รัฐบาลไม่มีอำนาจในการควบคุมดูแลเท่าไรซึ่งอายุของรัฐบาลก็ไม่น่าจะยาวสามารถเริ่มนับถอยหลังได้เลย

ประชาธิปไตยไม่อาจเติบโตบนเงื่อนไขที่สังคมแบ่งขั้วกันสุดๆ

.ดร.สมบัติ กล่าวว่าวิกฤติการเมืองของประเทศไทยขณะนี้กำลังสับสน ความมืดบอดมองไม่ออกว่าจะไปทางไหน ใน 3 เรื่องด้วยกัน เรื่องที่หนึ่งคือเรื่องอุดมการณ์ ซึ่งตอนนี้ต้องมานั่งเถียงกันว่าประชาธิปไตยของเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อน้ำเงินไม่เหมือนกัน ทำให้เป็นปัญหา เรื่องที่สองคือตัวการเมืองเอง ที่หลายฝ่ายตั้งคำถามว่าจะจบอย่างไร แต่จริงๆ แล้วเพิ่งจะเริ่มต้น เพราะยังไม่รู้เลยว่าอะไรคือเป้าหมาย สุดท้ายคือเรื่องของศีลธรรมมีจริงหรือเปล่า

วิกฤตทางการเมืองเป็นวิกฤตทางฉันทานุมัติที่มีเหตุมาจากความคิดและแนวปฏิบัติที่ขัดแย้งกัน ฝ่ายหนึ่งมองว่าเมื่อตนเองมาจากการเลือกตั้งต้องมีสิทธิปกครอง เพราะเชื่อในมายาคติการเลือกตั้งที่คิดว่าคนเสมอภาคกัน ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่ สังคมไทยมีคนต่างชนชั้นกัน ระหว่างมวลชนรากหญ้าซึ่งชื่นชอบสินค้าประชานิยม มองการอยู่รอดเฉพาะหน้าหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และชนชั้นกลางที่นิยมสินค้าความโปร่งใสไม่โกงกิน มีความคาดหวังในสังคมอุดมคติ ดังนั้นฝ่ายหลังจึงไม่ยอมรับการเลือกตั้งที่นักการเมืองเข้ามามีอำนาจเพราะการซื้อเสียง

ศ.ดร.สมบัติ กล่าวว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว แต่ต้องมีฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง มีระบบควบคุมตรวจสอบ มีความโปร่งใส มีสื่อที่เสรี ภาคประชาชนเข้มแข็งด้วย ประชาธิปไตยไม่อาจเติบโตบนเงื่อนไขที่สังคมแบ่งขั้วกันสุดๆ รัฐบาลมีอำนาจมากไปหรือน้อยไป ตอนนี้หลายคนถามว่าวิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นจะจบลงเมื่อใด ไม่มีใครตอบได้ ความจริงแล้วนี่เพิ่งจะเริ่มต้น ยังมองเห็นแต่ความมืดมิด รัฐบาลไม่มีอำนาจ พรรคการเมืองมีปัญหาไม่ทำงาน การเมืองเป็นเรื่องระบบอุปถัมภ์ คอร์รัปชั่น เศรษฐกิจจะยังมีปัญหาต่อเนื่อง

เขากล่าวด้วยว่าจากหลักฐานทางวิชาการพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องการประชาธิปไตยถึงร้อยละ 93 แต่เมื่อถามว่าประเทศไทยเหมาะที่จะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ประชาชนกลับเห็นชอบเพียงร้อยละ 88 และถ้าว่าประชาธิปไตยมีประสิทธิภาพหรือไม่ในการแก้ปัญหาสังคม ประชาชนเห็นด้วยเพียงร้อยละ 89.6 และแน่ใจว่าในวิกฤติความขัดแย้งขณะนี้คำตอบเหล่านี้จะยิ่งต่ำลงอีก ว่าประเทศไทยแก้ปัญหาไม่ได้ และสุดท้ายเมื่อถามว่าประชาธิปไตยสำคัญกว่าหรือสำคัญเท่ากับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจหรือไม่ ประชาชนเห็นด้วยเพียงร้อยละ 51 นี่คือสิ่งที่หยิบยกมาให้เห็นว่าเวลาที่คุยเรื่องประชาธิปไตย ค่อนข้างมีเงื่อนไขอยู่พอสมควร

อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มธ.เสนอทางออกการปฏิรูปการเมืองว่า 1) วัฒนธรรมการเมืองต้องสร้างสำนึกร่วมกันคิดถึงผลประโยชน์ของชาติ 2) สถาบันพรรคการเมืองมีประสิทธิภาพ 3) สื่อซึ่งเป็นตัวเชื่อมรัฐฯ-ประชาชนต้องทำหน้าที่ดีกว่านี้ 4) การผลิตนโยบายทางการเมืองที่ถูกต้องเหมาะสม 5) ผู้นำต้องมีเจตนารมณ์ทางการเมือง พร้อมทำในสิ่งที่ต้องทำเพื่อประโยชน์ประเทศชาติ 6) นักการเมืองมองเห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นอันดับแรกแทนที่การเห็นแก่ตนเองและพวกพ้อง 7) มีองค์กรธุรกิจที่ดี และ 8) เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของสังคม อย่างไรก็ตาม หากสังคมยอมรับกับการคอร์รัปชั่น ยอมรับการซื้อเสียงซึ่งหมายถึงความวิบัติตั้งแต่ต้น สิ่งที่เสนอมาก็ไม่สามารถแก้ไขได้ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้า

ปรับโครงสร้าง ปตท.เพื่อสังคมไทยเป็นเป้าหมายหลักที่ควรปฏิบัติ

.ปรีชา ได้นำเสนอบทวิพากษ์เพื่อการปลดปล่อยประเทศไทย ตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยในปี 2551-52 เป็นปีแห่งการเคลื่อนไหวทางสังคมจะเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาสภาพเดิม หรือถอยหลังเข้าคลองแห่งความล้าหลัง แต่ประเด็นที่เสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงอย่าลืมถามและอย่าลืมตอบก็คือ เป้าหมายหลักของการเคลื่อนไหวสังคมอยู่ที่ไหน ซึ่งเป้าหมายหลักที่ควรปฏิบัติการที่อยากเสนอ คือ ปิดล้อม ปตท.เรียกร้องซีอีโอและคณะลาออก คืนหุ้นให้แก่ประชาชน และปรับโครงสร้างไปสู่ “ปตท.เพื่อสังคมไทย”