ที่มา ประชาไท
อรรคพล สาตุ้ม
สื่อผู้จัดการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง Butterfly Effect ต่อคนเสื้อแดง ทำให้เปลี่ยนระบบนิเวศทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ถ้าเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ผลของการขยับปีกของผีเสื้อ ทำให้เกิดพายุ” และประโยคที่ว่า “เด็ดดอกไม้ย่อมสะเทือนถึงดวงจันทร์” แน่นอนว่า ผีเสื้อปีกแดง ส่งผลต่อการเมืองไทยแล้ว
สื่อผู้จัดการ-Butterfly Effect กับคนเสื้อแดง
จากความสัมพันธ์เชื่อมโยงโดยผลกระทบของ สื่อผู้จัดการ –Butterfly Effect เราจะต้องเข้าใจประวัติความเป็นมาทางทฤษฎี Butterfly Effect เกี่ยวกับทฤษฎีไร้ระเบียบ เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีการยืนยันทางด้านคณิตศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ฟิสิกส์ เคมี และทฤษฎีไร้ระเบียบนี้ในต่างประเทศเขานำไปใช้หลายเรื่อง ทั้งในตลาดหุ้น การตลาด แม้กระทั่งทางด้านเศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์บางส่วนเขาก็นำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ แก่นสำคัญคือ เราต้องรู้ว่าทฤษฎีไร้ระเบียบเป็นคู่ฝาแฝดของอีกทฤษฎีหนึ่ง คือทฤษฎีซับซ้อน เพียงแต่ว่าทฤษฎีไร้ระเบียบเกิดขึ้นช่วงสภาวะปั่นป่วน กำลังจะพลิกผันนี่แหละ แต่ทั้งสองทฤษฎีนี้อยู่ในวิธีคิด แนวทางวิธีหนึ่ง คือ อาณาจักรของ System Thinking หรือระบบวิธีคิด
ในจุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ ของ ฟริตจ๊อฟ คาปร้า ก็ชี้ให้เห็นถึง หัวใจของทฤษฎีไร้ระเบียบ ซึ่งอยู่ตรงที่ว่า เมื่อสังคมซับซ้อนและเชื่อมโยงถึงกันและกันหมด มันก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ทุกอย่างอยู่บนกฎอนิจจัง คือไม่หยุดนิ่ง เป็นระบบพลวัต มันเปลี่ยนในขณะที่ทุกอย่างอาจเปลี่ยนช้าๆ โดยไม่รู้ตัว หรือบางอย่างอาจมาถึงจุดๆ หนึ่งแล้ว เกิดขึ้นมาเลย โดยทฤษฎีไร้ระเบียบมาจับตรงที่มันเปลี่ยนแบบฉับพลันทันใด(1)
ดังนั้น การทดลองนำเสนอมุมมองเชิงประวัติศาสตร์ กรณี “เดจาวู”ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล(2) ซึ่งผมเขียนถึงเชิงประวัติเกี่ยวกับทฤษฎีButterfly Effect มามองดูปรากฏการณ์ หากใครเคยดูภาพยนตร์ The Butterfly Effect (3) หรือโฆษณาในทีวีไทย ก็จะเข้าใจถึงการเชื่อมโยงของปรากฏการณ์ในอดีตที่มีต่ออนาคตของคนเสื้อแดง ในการชุมนุมทางการเมืองเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งขณะทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ทำให้เปลี่ยนระบบนิเวศทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ถ้าเคยได้ยินคำพูดที่เป็นที่นิยมพูดกันอย่างกว้างขวาง เรื่องปรากฏการณ์ Butterfly Effect คือ ผลการขยับปีกของผีเสื้อ ทำให้เกิดพายุ(ทางโฆษณาในทีวี) และประโยคที่ว่า “เด็ดดอกไม้ย่อมสะเทือนถึงดวงจันทร์” มันก็อาจสะเทือนระบบนิเวศและระบบการเมืองไทย
1.ทักษิณกับความจงรักภักดี ในสื่อมวลชนของผู้จัดการ
ปัญหาของความจงรักภักดี ในปรากฏการณ์ก่อน 14ตุลา-6ตุลา หลังพวกนักศึกษาเข้าป่าเพื่อร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และป่าแตก ออกมา ความคิดก็เปลี่ยนไป ตามการแสวงหาของแต่ละคน บางกลุ่มของปัญญาชนซึ่งมีความหลากหลายทางแนวคิด เช่น ด้านอัตถิภาวะนิยมทางปรัชญา และวรรณกรรม-ศิลปะ เป็นต้น ในช่วงก่อน 14-6 ตุลา ก็หันมาในแนวทางอัตถิภาวะนิยมมากขึ้น ซึ่งการอธิบายสั้นๆ เพื่อความเข้าใจอย่างง่ายเกี่ยวกับแนวคิดอัตถิภาวะนิยม คือการมีชีวิตอยู่ โดยถือว่ามีเสรีภาพในการเลือกมีชีวิต อยู่กับประเทศไทย โดยในที่สุด ผลกระทบหลัง 6 ตุลา ก็ก่อให้เกิดความเงียบเสียงทางการเมือง
ในส่วนของเรื่องความเงียบนั้น ธงชัย วินิจจะกูล ได้ศึกษา “ความทรงจำ ภาพสะท้อนและความเงียบในหมู่ฝ่ายขวาหลังการสังหารหมู่ 6 ตุลา” ซึ่ง “เสียง” เป็นความทรงจำกับอำนาจได้ ทั้งเสียงที่ผ่านการรับรู้จากสงคราม และเสียงสัมพันธ์กับการเมือง เพราะว่าเสียงย่อมเข้ากับจังหวะบทเพลง ซึ่งสอดคล้ององค์ประกอบของความรู้สึก เช่น เพลงพระราชนิพนธ์ “เราสู้” โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ทำการศึกษา “เราสู้:เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมืองปี 2518-2519”(4) งานวิชาการ และการวิจารณ์เหล่านี้จะให้น้ำหนักกับเหตุผล และรูปธรรมอย่างน่าสนใจต่อเหตุการณ์ในอดีต
ทั้งนี้ บางกลุ่มของฝ่ายก้าวหน้าที่เข้าป่าก็เปลี่ยนไปในอีกแนวทางหนึ่ง เช่น เข้าสู่พรรคไทยรักไทยบ้าง และต่อมาเมื่อเกิดกระแสการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ (ปัญญาชนฝ่ายผู้จัดการ ก็มีวิธีคิดแบบฝ่ายซ้าย และแนวทางวิภาษวิธีเช่นกัน เรื่องนี้ต้องอธิบายอีกครั้งต่อไป) จนมาถึงการถูกห้ามจำหน่ายหนังสือ เดอะคิงเนเวอร์สไมส์ ก็ยิ่งทำให้ผู้คนสนใจมากขึ้น มีการวิจารณ์ผูกโยงไปถึงทักษิณ ชินวัตร กับความจงรักภักดี และการนำเสนอทางวิชาการ เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์ ฯลฯ ก็ได้วิจารณ์หนังสือ The King Never Smiles (5) ดังกล่าว
นายสนธิ ลิ้มทองกุล นักธุรกิจด้านสื่อสารมวลชน และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์เชิงสนทนาซึ่งสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ วิพากษ์วิจารณ์หนังสือดังกล่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า "เขียนจากข่าวโคมลอย" และพูดถึงผู้เขียนหนังสือว่า "ก้าวร้าว" "จาบจ้วง" "โอหัง" "ดูถูกคนเอเชีย" และ "ยโสไม่เว้นแม้กระทั่งพ่อและแม่มัน" ในการวิพากษ์หนังสือ เดอะคิงเนเวอร์สไมส์ (6) กลับยิ่งกลายเป็นเผยแพร่ความคิดเห็น ต่อหนังสือนี้ ต่างๆ นานา และจะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ตาม ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ถึงนั้น มันสั่งสมตัวมาก่อนโดยที่เราไม่ทันสังเกต คือ มันละเอียดอ่อนมากโดยที่เราไม่รู้ตัว ตรงนั้นทำให้เราอาจจะละเลยมัน ซึ่งทฤษฎีไร้ระเบียบ มันก่อตัวจากเหตุเล็กๆ นิดๆ สะสมมาเรื่อย เป็น1ปี ,2ปี ,3ปี พอถึงจุดๆ หนึ่ง มันออกฤทธิ์ก็ตายแล้ว หรือแย่แล้ว เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกของประเทศไทย ที่เราเรียกว่าโรคต้มยำกุ้งระบาดไปทั่วนั้น จากเมืองไทยระบาดไปที่สิงคโปร์ ฮ่องกง เลยไปถึงเกาหลีใต้ ไต้หวัน กระทบไปถึงรัสเซียช่วงหนึ่ง
ภาพลักษณ์ของทักษิณ ยิ่งถูกสื่อมวลชนนำเสนออย่างไม่เป็นกลาง และเกิดปัญหาในกรณีผู้จัดการมากเท่าไหร่ก็เป็นปัญหาต่อประชาธิปไตย ซึ่งต่อมา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กล่าวถึงการเปรียบเทียบสื่อผู้จัดการการกับสื่อดาวสยามในอดีต ยุค 6 ตุลา 2519 ว่า ผู้จัดการ-พันธมิตร กำลังก่อกระแส ‘ละคอนแขวนคอ’ ยุคใหม่ (7) หรือนักวิชาบอกว่า สื่อเป็นพิษ โดยอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวเองก็ตาม มันได้เปิดเผยให้เห็นถึงเรื่องทางการเมือง เช่นบทความ “เครือข่ายของราชา กับ ทักษิณ” ซึ่งเขียนตั้งแต่ 3 สิงหาคม 2549 และแสดงถึงอคติต่อนักการเมืองด้วย
วริษฐ์ ลิ้มทองกุล กล่าวใน “เครือข่ายของราชา กับ ทักษิณ” โดยอ้างอิง…“Duncan McCargo” ซึ่งวริษฐ์อ้างอิงว่า การจะทำความเข้าใจกับการเมืองของประเทศไทยนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงเครือข่ายทางการเมือง (Political Network) ซึ่ง McCargo อธิบายต่อว่า เครือข่ายทางการเมืองที่ชี้นำการเมืองไทยในห้วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2516-2544 (ค.ศ.1973-2001) นั้นคือ เครือข่ายที่มีศูนย์กลางอยู่ในวัง หรือเรียกกันในอีกนามหนึ่งว่า เครือข่ายของราชา (Network Monarchy) ซึ่งเครือข่ายของราชา เข้ามามีส่วนร่วมและแทรกเข้ามามีบทบาททางการเมืองผ่านตัวแทนของกษัตริย์คือ คณะองคมนตรี (Privy Council) ที่นำโดยประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ทั้งนี้ แม้เครือข่ายของราชาจะพัฒนาขึ้นมาจนมีบทบาทสูงต่อสังคมในระดับหนึ่ง แต่เครือข่ายของราชาก็ไม่เคยก้าวล่วงเข้ามาจนกลายสภาพเป็นการครอบงำสังคมไทย ในทางกลับกันเครือข่ายของราชากลับมีภารกิจในการทำหน้าที่ผ่านองค์กรทางการเมืองทั้งหลาย (ที่เรารู้จักกันดีก็คือ อำนาจทางการปกครองผ่านรัฐบาล อำนาจทางนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา และอำนาจทางตุลาการผ่านศาลยุติธรรม) โดยมีรัฐสภาไทยที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งเป็นพื้นฐาน
ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยลีดส์ กล่าวต่อด้วยว่า ถึงแม้เครือข่ายของราชาจะมีลักษณะของความเป็นอนุรักษ์นิยมโดยธรรมชาติ แต่ในช่วงทศวรรษที่ 90 (ห้วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2533-2543) เครือข่ายนี้ ก็ยังแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะหลังจากปี พ.ศ.2535 ที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองใหญ่ๆ ถึง 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้ง พล.อ.เปรม ก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเพื่อรักษาสมดุลย์ทางการเมือง และนำประเทศไทยกลับสู่สภาวะปกติได้ทุกครั้ง กระนั้นการเข้าแทรกแซงดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแรงลงของเครือข่ายแห่งราชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของพรรคไทยรักไทย ที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ.2544 และ 2548 โดยในจุดนี้ McCargo มองว่าในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมา ทักษิณพยายามที่จะสร้างเครือข่ายใหม่ที่อยู่ภายใต้อาณัติของตน เพื่อจะนำมาแทนที่เครือข่ายเก่าที่ดำรงอยู่และกำลังอ่อนแรงลงทุกทีๆ....
“โดยส่วนตัวผมเองคงไม่อาจจะให้ความเห็นอะไรกับบทความชิ้นดังกล่าวของ ศาสตราจารย์ McCargo ได้มากนัก แต่เมื่อพิจารณาในส่วนแรกของบทคัดย่อที่กล่าวถึงบทบาทและภาระหน้าที่ของเครือข่ายของราชาที่มีต่อสังคมไทยแล้ว ก็นับว่าสอดคล้องกับพระราชดำรัสวันที่ 25 เมษายน” (8)
เมื่อบทความที่มาจากผู้จัดการเอง เปิดเปลือยความคิดทางการเมืองไทย โดยนำ McCargo มาอธิบายเชื่อมโยงกับทักษิณ ผู้เขียนบทความดังกล่าวทั้งหลายอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว แต่ก็มีการวิจารณ์ความไม่เป็นกลางของสื่อมวลชน และกรณีปัญหาความไม่จงรักภักดีของทักษิณ ซึ่งก็ลุกลามกลับมาเป็นปัญหากับพรรคพลังประชาชน “โดยส่วนตัว ผมเคยเขียนถึงบทความชิ้นนี้ของ McCargo มาแล้วครั้งหนึ่งในส่วนของคอลัมนิสต์ออนไลน์ เว็บไซต์ www.manager.co.th เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน ทั้งนี้เมื่อย้อนกลับมาอ่านบทความของ ศ.McCargo อีกครั้งแล้วพิจารณาถึงบริบททางการเมืองไทยและสังคมไทยในปัจจุบัน ผมพบว่าบทวิเคราะห์ของ McCargo ก็ยิ่งเปล่งประกาย …”
“..โดยเฉพาะ หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปของพรรคพลังประชาชนเหนือพรรคการเมืองอื่นๆ ยิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าเครือข่ายเก่านั้นไม่ได้เข้มแข็งขึ้นเลย หลังจากการรัฐประหารกว่าหนึ่งปีสามเดือน..” (สำนวนของวิสิษฐ) ซึ่งมีผลสืบต่อมา ในส่วนของข้อกล่าวหาไม่จงรักภักดีของจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งขึ้นมาทำงานในคณะรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช จึงกล่าวว่า “เอาอะไรมาพิสูจน์ เอาปรอทมายัดใส่เจอแล้วเอาปรอทกำปั๊บ แล้วรู้เหรอว่า ไม่จงรักภักดี ใช้กันจนพร่ำเพรื่อ” เป็นต้น เมื่อทักษิณ(ชื่อเล่นว่า แม้ว) กลับมาจากต่างประเทศ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ(หรือหนองงูเห่า) ก็ก้มลงกราบแผ่นดิน เป็นประเด็นโด่งดัง เวลาต่อมา คู่ตรงข้ามของความขัดแย้งนับตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2551 เป็นต้นมา จนถึงกระแสการตัดสินยุบพรรคทางการเมือง โดยกลุ่มเสื้อเหลืองก็มายึดสนามบิน เป็นเครื่องมือทางการเมือง ทำให้รัฐบาล คือ นายสมชาย จึงอพยพมาอยู่เชียงใหม่ ดังกล่าว
ในวันที่ 13 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ทักษิณ ไม่สามารถอยู่ในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมในอดีต และใช้ฐานะทางการเมืองพิเศษ จากภายนอกประเทศไทยไม่ได้แล้ว จึงต้องระหกระเหินออกนอกประเทศ ต่อมาเทปวิดีโอของทักษิณ ก็เปิดฉายภาพขึ้น ในงานครอบครัวความจริงวันนี้สัญจร ณ สนามศุภชลาศัย ทักษิณ กล่าวว่า ท่านเคยได้ยินภาษิตโบราณไหมที่บอกว่า หมาจนตรอก คือเขาไล่หมาจนจนตรอกนี่ จนตรอกอย่างไร ก็ยังมีตรอกอยู่ แต่ของผมแม้แต่ตรอกก็ไม่มีจะอยู่ จะเอาอย่างนั้นเลยหรือครับ จะถามว่าผมไม่เคยทำคุณงามความดีให้บ้านเมืองเลยหรือ ประชาชนเกลียดผมอย่างนั้นหรือ… พี่น้องครับ ทั้งหมดมาจากคำ คำเดียวครับ ไม่จงรักภักดี..(9)
ในสถานการณ์ ที่มีสื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในช่วงสายของวันที่ 29 ธ.ค.นั้น ที่บริเวณเวทีปราศรัยของกลุ่ม นปช.ซึ่งตั้งอยู่หน้ารัฐสภานั้น มีการนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ มาติดที่ฉากหลังของเวที พร้อมทั้งข้อความที่อยู่บริเวณด้านข้างขนาดใหญ่ว่า “อภิสิทธิ์ชนโจร” ทั้งนี้ รูปพระบรมฉายาลักษณ์ดังกล่าวนั้น ได้นำมาติดตั้งในวันนี้ (29 ธ.ค.) เป็นวันแรก ซึ่งเป็นวันแถลงนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.ที่ผ่านมานั้น ฉากหลังเวทีดังกล่าว ยังมีเพียงข้อความว่า “อภิสิทธิ์ชนโจร” เท่านั้น และไม่มีพระบรมฉายาลักษณ์ (10) ที่มีการผลักประเด็นความจงรักภักดี ไปสู่ความเกลียดชังคู่ตรงกันข้าม ทำให้เกิดแรงกระทบอย่างไม่รู้ตัวของสื่อผู้จัดการ เปิดเผยให้เห็นถึงปัญหาของความจงรักภักดีในสถานการณ์ซึ่งมีผลกระทบต่อหลายส่วน ตำรวจ ทหาร รัฐบาล และแน่นอน การนำเสนอดังกล่าว มันมีด้านกลับของสื่อผู้จัดการ ซึ่งไปปลุกพลังของคนเสื้อแดงมากขึ้นต่างหาก เช่นเดียวกับการฟื้นอำนาจของคำว่าศักดินา ซึ่งกลับมาเป็นตัวแปรในการวิเคราะห์สังคมไทยอีกครั้งโดยผู้จัดการเอง (11)
2.คนเสื้อแดงกับการเมืองไทย
ปัญหาทางการเมืองที่มีเรื่องความไม่เป็นกลางของสื่อมวลชน และกรณีความยุติธรรมในมาตรฐานของเสื้อแดง จะได้รับการยอมรับให้มีความเป็นมาตรฐานในสายตาของสื่อมวลชน นักวิชาการ ตำรวจ กองทัพ และรัฐบาลเพียงใด ในเมื่อคู่ตรงกันข้ามหาทางกีดกัน โดยการชูประเด็น “ทักษิณ” เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าวาทกรรมจากหนังสือเกี่ยวกับทักษิณจำนวนมากจะผิดหรือถูก มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงอิทธิพลของการเมืองคนแต่ละฝ่าย ซึ่งแรงเสียดทานเหล่านี้ทำให้ต่อมาทักษิณ ซึ่งรัฐบาลของเขาถูกรัฐประหาร ได้พูดหลังจากนั้นว่า เขาไม่ได้ปกป้องตัวเอง แต่ปกป้องประชาธิปไตย และปัญหาทางการเมืองมาจากบางส่วนของการไม่ยอมรับว่าทักษิณมาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้องนั้น ก็เป็นผลของการสะสมความวุ่นวายของแต่ละฝ่าย ซึ่งมีที่มาจากเสียงหลายส่วนของประชาชนที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทยในอดีต และการไม่เอาทักษิณ ไม่ว่าจะมีวิธีคิด มุมมองทางการเมือง และวิธีวิทยาของการมองปัญหาในปัจจุบัน ทั้งนี้ แรงผลักของความต้องการทางสิทธิมนุษยชนของคนไทย สะสมกำลัง และพลัง สำหรับเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของแต่ละฝั่งแสดงออกในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ซึ่งอาจจะบีบให้เลือกข้างมากขึ้น เพราะมาจากการสะสมกันมาในทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่เรื่องซ้าย-ขวาในอดีต
กรอบความคิดในการมองปัญหาในปัจจุบันที่มีหัวใจของทฤษฎีไร้ระเบียบ มันอยู่ที่ว่าสถานการณ์ของสังคมนั้น ระบบนั้น มันเกิดความเปราะบาง เหตุเล็กๆ ที่เราไม่ได้สังเกต และไม่ได้เอาใจใส่มัน ถ้ามันเกิดขึ้นซ้ำซากมานานมาก เหตุเล็กๆ เหล่านี้สามารถกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้โดยเราคาดไม่ถึง อาจพลิกผันเป็นสถานการณ์อื่นๆ ได้ เพราะว่าภายใต้สถานการณ์ที่เปราะบางมีอะไรเล็กน้อยเข้าไปก็พลิกผันเป็นอย่างอื่นได้ จึงเปรียบเทียบว่า ผีเสื้อตัวหนึ่ง (ไม่ใช่ช้าง, ปลา...หรือไดโนเสาร์) ถ้ากระพือปีกแรงๆ ที่ฮ่องกง ก่อกระแสคลื่นเล็กๆ จากปลายปีก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพายุใหญ่ในแคลิฟอร์เนียได้ในอีกหนึ่งเดือนให้หลัง เช่นเดียวกับนิทานเรื่องเจ้าชายกบ เดิมเจ้าหญิงจูบเจ้าชายกบ กบนั้นจะกลายเป็นผู้ชายขึ้นมา แต่เราไม่เคยคิดเป็นมุมกลับว่า บางทีเมื่อจูบไป เจ้าหญิงอาจกลายเป็นกบตัวเมียอีกตัวหนึ่งก็ได้ สถานการณ์จากสื่อผู้จัดการ และพันธมิตรฯ ก็อาจสร้างด้านกลับของสื่อมวลชน กลับกันกับความต้องการที่เขาจะสื่อสาร ในขณะเดียวกันวิกฤติจากอเมริกา อาจจะเป็นด้านกลับในการพัฒนาประชาธิปไตย จึงต้องทำวิกฤติให้เป็นโอกาสของการเมืองไทย
อย่างไรก็ตาม จากทฤษฎี Butterfly Effect นั้น คนเสื้อแดงในการพัฒนาทางการเมืองไทยต้องเคลื่อนไหวด้วยจังหวะอารมณ์ ความรู้สึกอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่เรื่องทักษิณอย่างเดียว ซึ่งเปิดพื้นที่ทางการเมืองเพื่อเป้าหมายประชาธิปไตย ซึ่งผลของบทเรียนทางการเมืองนั้น จะทำให้คนเสื้อแดง ระดมสมอง ทุนทางด้านเงิน และขบวนการเคลื่อนไหวได้มาก ฉะนั้น คาดว่าวัฒนธรรมทางการเมือง มีความน่าจะเป็นไปได้ในการสร้างเครื่องมือทางการเมืองสำหรับก้าวขั้นบันไดต่อไป และถึงเวลาทบทวนความคิด ไม่ให้เป็นแค่ตามกระแสในสังคมไทย (12) เพื่อสร้างพื้นที่ทางการเมือง ให้ก้าวไปมากกว่าจากสนามหลวง ถนนราชดำเนิน ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และรัฐสภา
3.แดงทั่วแผ่นดิน และทักษิณ-โฟนอิน-วิดิโอลิ๊งค์
งานแดงทั่วแผ่นดินสัญจร ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่บริเวณริมถนนหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ในวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552 โดยเริ่มเปิดเวทีปราศรัยอย่างเป็นทางการในเวลา 15.00 น.
กระทั่งเวลาประมาณ 16.30 น. เกิดเหตุวุ่นวายบริเวณด้านหลังเวทีปราศรัย เมื่อมีชายฉกรรจ์คนหนึ่งทราบชื่อภายหลังว่าชื่อนาย
นาย
ต่อมาเวลา 20.00 น. ก็ถึงช่วงสำคัญของการจัดงาน เมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณโฟนอินขณะอยู่บนเครื่องบินเข้ามาที่โทรศัพท์มือถือของนาย
งานแดงทั่วแผ่นดินสัญจร ครั้งที่ 4 จัดขึ้นที่สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ในวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นการจัดโต๊ะจีนจำนวน 200 โต๊ะ ระดมทุนให้กับเสื้อแดงจังหวัดเชียงราย รวมทั้งเปิดตัวสถานีวิทยุชุมชนคนรากหญ้ารักประชาธิปไตย 104 เมกกะเฮิร์ซ โดยมี นางสาว
สำหรับการจัดงานมีแกนนำขึ้นเวที ประกอบด้วย นาย
ต่อมาเวลาประมาณ 20.00 น. พ.ต.ท.ดร.
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กล่าวอีกว่า ได้ข่าวว่าจังหวัดเชียงรายยาบ้าระบาดหนัก สาเหตุมาจากไม่มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน หากกลับไปจะปราบยาบ้าให้หมดสิ้นไป
งานแดงทั่วแผ่นดินสัญจร ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่สนามกีฬา 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ ในวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552
โดยเมื่อเวลา 20.00 น. พ.ต.ท.ดร.
โดยระหว่างนั้นนาย
ช่วงท้ายของการโฟนอิน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณได้กล่าวทิ้งท้ายว่าตนขอขอบคุณประชาชนที่มาร่วมชุมนุม และขอให้คนเสื้อแดงรวมพลังให้เป็นปึกแผ่น จนกว่าประชาธิปไตยจะกลับคืนสู่แผ่นดินไทย จนกว่าความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นในประเทศไทย (13)
4.ทักษิณ-วีระ มุกสิกพงศ์: ประวัติศาสตร์ในวันที่ 26 มีนาคม 2520 และ 27 มีนาคม 2549
ความเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในวันที่ 26 มีนาคม 2520 และ27 มีนาคม 2549 ความพ่ายแพ้ หรือการเริ่มต้นของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทักษิณ ชินวัตร กับวีระ หรือ ไข่มุกดำ มาบรรจบกันได้ โดยขอย้อนอดีตดังนี้
กรณี กบฏ 26 มีนาคม 2520 นำโดย พล.อ.
อย่างไรก็ตาม นายวีระ มุสิกพงศ์ ก็เข้ามามีส่วนร่วมเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย และถูกจำคุกด้วยข้อหากบฏ ซึ่งทำให้โดนจำคุก กว่าจะออกมามีอิสรภาพ ทำงานการเมือง (15) ฯลฯ จนกระทั่ง วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2549 - การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี : พ.ต.ท.
ดังนั้น การสร้างพลังแห่งการเรียนรู้เรื่องราวในอดีต ก็เป็นสิ่งจำเป็นต่ออนาคตของแดงทั่วแผ่นดิน พัฒนาการตั้งแต่รัฐประหาร วันที่19 กันยา 2549 กับการบรรจบของทักษิณ-วีระ มุสิกพงศ์ในปี พ.ศ. 2550 นายวีระ เป็นแกนนำคนหนึ่งของ “แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ” (นปก.) จัดเวทีปราศรัยที่สนามหลวงโจมตีรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549และ คมช. รวมทั้งบางครั้งยังพาดพิงไปถึงประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พล.อ.
ในปี พ.ศ. 2551 นายวีระได้เป็นหนึ่งในพิธีกรรายการความจริงวันนี้ ทาง NBT โดยร่วมกับนาย
อย่างไรก็ตาม นายวีระ รวมกับพวกอีก 7 คน ถูกแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทโดยนาย
5.หลังวันที่ 26 มีนาคม 2552: ประชาธิปไตยในจิตใจเพื่อการศึกษาการเมืองไทย
นับตั้งแต่ เกิดรัฐประหาร 19 กันยา 2549 เกิดความโกลาหลทางการเมืองในขณะนั้นเป็นต้นมา ในความจำจากอดีตบทเพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุดเปิดผ่านทางทีวีในเหตุการณ์รัฐประหาร (18) จนกระทั่ง สถานการณ์แห่งวันเวลาเปลี่ยนแปลงมาจนจะถึงวันที่ 26 มีนาคม 2552 ทั้งรัฐบาล และคนเสื้อแดง ซึ่งตามที่กล่าวถึง Chaos Theory คือ ทฤษฎีความโกลาหลนั้น โดยผลกระทบต่อการเมือง การอธิบายเกี่ยวกับการเมืองในระบบรัฐสภาว่า ถ้าเครื่องมือทางการเมือง คือ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่สามารถดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการบังคับใช้กฎหมาย ต่อการกระทำความผิดที่ผ่านมาทั้งหมดของแกนนำพันธมิตรฯ นับตั้งแต่การยึดทำเนียบรัฐบาลไปจนถึงกรณีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อพิสูจน์ให้สาธารณชนเห็นว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาและเป็นกลางได้ รัฐบาลจะไม่สามารถอยู่ได้ และถ้าเกิดการยุบสภา รวมทั้งการเลือกตั้งใหม่ สิ่งที่น่าจะตามมาคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยให้สังคมเป็นเจ้าภาพ ด้วยการดึงให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างประชาธิปไตยในจิตใจเพื่อการศึกษาการเมืองไทย ให้เกิดความหวังโดยเราจะมีสิทธิ มีความฝัน ให้หลายชนชั้น ทั้งชนชั้นกลาง และหลายชาติพันธุ์ เป็นแนวร่วมในการพัฒนาการเมืองไทยของประชาชน และหลากหลายชุมชนแห่งชาติ ได้การยอมรับจากนานาชาติ เพราะว่า การสร้างประชาธิปไตยในจิตใจ ไม่ง่ายดาย ในการปลูกวัฒนธรรมทาง
อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวให้กว้างกว่านั้น คนไม่สามารถเป็นไม้บรรทัด คือ วัดได้คงเส้นคงวา (มักจะDouble Standard) และถ้าเกี่ยวกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ก็คงไม่มีเครื่องมือวัดว่า คนนั้น มีประชาธิปไตยได้ เหมือนกับเทอร์โมมิเตอร์ ซึ่งวัดอุณหภูมิ ร้อน หรือ เย็นได้ เพราะคนไม่สามารถ เที่ยงตรง แม่นยำ และย่อมมีอารมณ์ ความรู้สึก อคติต่างๆได้
สรุป
กระนั้นประเด็น 5 ประการ สะท้อนความเป็นมาของความจำเป็น ต่อคนเสื้อแดง และกลุ่มอื่นๆ ในประชาชนทั่วไปในการสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้ก้าวไกลกว่าระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ เปรียบกับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม การจัดจัดองค์ประกอบ ทำให้มองเห็นเรื่องแสง-เงาของรัฐสภากับทำเนียบรัฐบาลแล้วจะทำประชาธิปไตยเกิดแนวทางเริ่มต้นเปล่งแสงสว่างของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งปรากฏจากผลของคนเสื้อแดง และสิ่งที่เชื่อมโยงของระบบนิเวศใน Butterfly Effect
ขณะของอนาคตอันไม่แน่นอน และชัยชนะแดงทั่วแผ่นดินจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม
สิ่งสำคัญของการต่อสู้ของแดงทั่วแผ่นดินนั้น แน่นอนว่า ไม่ว่าจะอย่างไร ผีเสื้อปีกแดงได้ส่งผลต่อการเมืองไทยแล้ว
หมายเหตุ
บทความนี้แก้ไขและปรับปรุงมาจากบทความที่เผยแพร่ครั้งแรกใน Thaienews, 26 มีนาคม 2552
อ้างอิง
1.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ "มีสัญญาณอันตราย เต็มไปหมดในประเทศนี้" ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ผู้นำสาร Chaos Theory เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 581 วันที่ 21 - 27 ก.ค. 2546 http://www.nokkrob.org/index.php?file=forum&obj=forum.view(cat_id=ch-ch,id=1)
2.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล deja vu: ทักษิณ V นายกฯพระราชทาน, พิบล-เผ่า V สฤษดิ์ http://somsakcouppostings.blogspot.com/2006/09/deja-vu-v-v-19-2549-2528.html
3. The Butterfly Effect
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/butterflyeffect/be.html
4.ธงชัย วินิจจะกูล “ความทรงจำ ภาพสะท้อนและความเงียบในหมู่ฝ่ายขวาหลังการสังหารหมู่ 6 ตุลา” http://www.prachatai.com/05web/th/home/10331 และ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล “เราสู้: เพลงพระราชนิพนธ์การเมืองกับการเมืองปี 2518-2519” http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=10&s_id=12&d_id=20เราสู้
5. งานวิชาการ ‘ไทยศึกษา’ : นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิจารณ์ The King Never Smiles (ฉบับเต็ม) http://www.prachatai.com/05web/th/home/10893
6.เดอะคิงเนเวอร์สไมส์, วิกิพีเดีย
7.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล:ผู้จัดการ-พันธมิตร กำลังก่อกระแส ‘ละคอนแขวนคอ’ ยุคใหม่http://www.prachatai.com/05web/th/home/12043
8. วริษฐ์ ลิ้มทองกุล “เครือข่ายของราชา กับ ทักษิณ” ผู้จัดการ 3 สิงหาคม 2549 16:21 น.
http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=24286 (เว็บของรัฐสภา) และวริษฐ์ ลิ้มทองกุล “นั่งฟัง ‘ฝรั่ง’ พูดถึงการเมืองไทย”
http://oldforum.serithai.net/index.php?action=printpage%3Btopic=21135.0
9. "แม้ว"โฟนอินความจริงสัญจรฯ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11236 มติชนรายวันhttp://matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0102141251§ionid=0101&day=2008-12-14
10. "จาบจ้วง?" ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 ธันวาคม 2551 15:48 น. http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000152959
11.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล การกลับมาของ "ศักดินา" ในฐานะจินตภาพการเมือง http://somsakcouppostings.blogspot.com/2006/12/blog-post_8371.html
12.อรรคพล สาตุ้ม "14 ตุลา 2516 บนถนนราชดำเนิน – หลัง 13 ธันวา 2551: “เครื่องมือ” ทางการเมืองของคนไทย" http://www.prachatai.com/05web/th/home/15017
13. แดงทั่วแผ่นดินสัญจร, วิกิพีเดีย
14.กบฏ 26 มีนาคม 2520, วิกีพีเดีย
15.วีระ มุสิกพงศ์, วิกิพีเดีย
16. 27 มีนาคม, วิกิพีเดีย
17.วีระ มุสิกพงศ์,เพิ่งอ้าง
18.รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549, วิกิพีเดีย