WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 13, 2009

อาการโหยหา ‘คนดี’ กับ ‘การปฏิวัติสังคมไทย’

ที่มา ประชาไท

นักปรัชญาชายขอบ

สยามเมืองยิ้มที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร เป็นเมืองพุทธ เป็นดินแดนแห่ง แผ่นดินธรรม แผ่นดินทองมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สลับกับการปฏิวัติรัฐประหารโดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี ต่อครั้ง (แถมประเทศนี้ยังมีมวลชนเรียกร้องรัฐประหารเพื่อสร้างประชาธิปไตย)

ดินแดนสยามเมืองยิ้มเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวปรัชญาชีวิตของประชากรในดินแดนอันอุดมสมบูรณ์นี้ คือ ความพอเพียงโดยมีความหมายสำคัญ (main idea) ว่า ความพอเพียงของแต่ละคน แต่ละชนชั้นนั้นมี “limit” ที่แตกต่างกัน ประชากรของประเทศนี้ราว 20% ซึ่งเป็นคนชั้นสูงและคนชั้นกลางระดับสูงไม่กี่ตระกูลครอบครองสินทรัพย์ของประเทศประมาณ 60% สินทรัพย์ที่เหลืออีก 40% เช่น ที่ดิน ทุน และปัจจัยจำเป็นอื่นๆถูกเฉลี่ยเป็นของคนชั้นกลางระดับกลาง คนชั้นกลางระดับล่าง และคนยากจน หรือ คนรากหญ้า

โดยเฉพาะคนชั้นกลางระดับล่างและคนรากหญ้าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศนั้นครอบครองสินทรัพย์รวมกันแล้วเพียง 4-10 % พูดง่ายๆ คือ เงิน 100 บาทของประเทศนี้คนส่วนใหญ่ในประเทศมีสิทธิ์ได้ใช้เพียง 4 -10 บาท เท่านั้นเอง

นโยบายของรัฐบาลทุกรัฐบาลของประเทศนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือเดินตาม ระบบการแข่งขันเสรีถ้าเปรียบประเทศนี้เป็นเวทีมวย คน 20 % แรกคือนักมวยระดับแชมป์โลก คนชั้นกลางระดับกลางคือนักมวยอาชีพ ส่วนคนชั้นกลางระดับล่างและคนรากหญ้าคือมวยวัดที่ขาดการฝึกซ้อมแถมยังผอมโซอีกต่างหาก แต่ก็ต้องขึ้นเวทีชกภายใต้กติกาเดียวกัน และจำเป็นต้องขึ้นชกอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เพราะนี่คือ ความเป็นธรรมของการแข่งขันที่ถือเป็นนโยบายแห่งรัฐภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งไทยแลนด์ดินแดนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง (ที่กำลังเรียกร้องหา ธรรมในความหมายของ ความเป็นธรรมและ ทองในความหมายของ การกระจายรายได้ โอกาส คุณภาพการศึกษา สวัสดิการ การลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ ฯลฯ)

ในประเทศซึ่งมีมาตรฐาน ความเป็นธรรมและคนทั้งประเทศถูกอบรมให้ยึด ความพอเพียงเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต (ตาม “limit” ของใครของท่าน) ดังกล่าวแล้ว ประชากรของประเทศนี้กลับมี อาการทางการเมืองบางอย่างปรากฏอย่างโดดเด่นเป็นพิเศษ อาการที่ว่านี้คือ อาการโหยหาคนดีโดยเฉพาะ คนดีที่มีคุณสมบัติสอดคล้องตามปรัชญาการปกครองที่ว่า สิ่งสำคัญไม่ใช่ทำให้คนทุกคนเป็นคนดี แต่ต้องส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้านเมือง ป้องกันคนไม่ดีไม่ให้เข้ามามีอำนาจปกครองบ้านเมือง

อาการโหยหาคนดีดังกล่าว มักจะแสดงออกมากในเทศกาลรณรงค์เลือกตั้ง และที่เด่นชัดมากเป็นพิเศษเราพบได้ในการเคลื่อนไหวของ มวลชนเสื้อเหลืองที่อ้างว่า ได้สร้างประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่กว่าประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 โดยศูนย์กลางปัญหาของประเทศตามวาทกรรมของมวลชนเสื้อเหลือง คือ นักการเมืองเลววัฏจักรของการเมืองในสภาคือวัฏจักรของ อัปรีย์ไป จัญไรมาจึงจำเป็นต้องสร้าง การเมืองใหม่ที่อุดมด้วยนักการเมืองที่เป็น คนดี” (และว่ากันว่าประเด็นหลักในการวิเคราะห์เพื่อออกแบบรัฐธรรมนูญ 2550 คือ ประชาชนคือจุลอัปรีย์ นักการเมืองคือมหาอัปรีย์”)

แต่ถ้าถามว่า คนดีคือคนเช่นไร?” เรากลับไม่พบคำตอบที่ชัดเจนนัก นอกจากคำตอบที่ว่า สุรยุทธ์เป็นคนดีที่สุดจากเรียวปากของบุรุษผู้ซึ่งถูกพูดถึงว่าเป็น ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญแต่ก็ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่าอดีตนายกรัฐมนตรีผู้มีวิถีชีวิตพอเพียงบนทรัพย์สินกว่าร้อยล้านบาทท่านนี้ ทำไมท่านได้ที่ดินบน เขายายเที่ยงมาพร้อมกับเครื่องหมาย (?) ในเรื่องความโปร่งใส!

และหากถามว่า คนอย่าง ปรีดี พนมยงค์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ จิตร ภูมิศักดิ์ นายผี ป๋วย อึ้งภากรณ์ และคนอื่นๆ ที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาและมีวิถีชีวิตต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองที่ยึดความเป็นธรรมบนความเท่าเทียมของประชาชนเป็นหลักทำนองเดียวกับท่านเหล่านี้ ใช่คนดีตามมาตรฐานไทยแลนด์แดนสยามเมืองยิ้มไหม?

ก็ไม่น่าจะใช่! เพราะคนเหล่านี้ล้วน ถูกอัปเปหิให้ไปนอนกินข้าวแดงในคุกบ้าง ไปตายในป่าบ้าง ไปตายในต่างประเทศบ้าง

แล้วคนดีที่สังคมไทยเรียกร้องต้องการคือคนเช่นไร?

จะตอบคำถามนี้ได้ จำเป็นต้องวิเคราะห์มาตรฐานตัดสิน ความดีและ คนดีของสังคมไทย

มาตรฐานตัดสิน ความดีและ คนดีของสังคมไทยมาจากอำนาจหลัก 2 อำนาจ คือ อำนาจระบบศักดินากับ อำนาจศีลธรรมทางพุทธศาสนาที่ถูกตัดตอนเพื่อนำมาปลูกฝังศีลธรรมจรรยาแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์

ระบบศักดินานั้นศักดิ์สิทธิ์ตั้งคำถามไม่ได้ ฉันใด ความดีที่ถูกผลิตสร้างโดยระบบดังกล่าวก็ศักดิ์สิทธิ์โต้แย้งไม่ได้ ฉันนั้น การเป็นคนดีตามมาตรฐานดังกล่าวอิงอยู่กับสถานะทางชนชั้น คนดีต้องมี สมบัติผู้ดีซึ่งตาสีตาสาจะเป็นคนดีในความหมายนี้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ ผู้ดีจะเป็นได้ก็ต่อเมื่อยืมสมบัติผู้ดีมาใช้ (ซึ่งผู้ดีย่อมไม่ยอมให้ยืม) ถ้าขืน ลอกเลียนสมบัติผู้ดีเข้าก็จะถูกหาว่า ดัดจริตหรือกระทั่งเป็น คางคกขึ้นวอ

และคนดีตามมาตรฐานศีลธรรมทางพุทธศาสนาที่ถูกตัดตอนมาสอนนั้น ก็ต้องเป็นคนที่กตัญญูรู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยคุณสมบัติหลักๆของคนดีในความหมายนี้คือ จงรักภักดีหรือ เคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามโดยห้ามตั้งคำถาม การตั้งคำถามต่ออำนาจทั้งสองนั้นถือเป็นเรื่องไม่บังควรหรือเป็นเรื่องผิดบาป

ดังนั้น คนดีตามมาตรฐานดังกล่าว นอกจากต้องเป็น เด็กดีที่เคร่งครัดใน จารีตการเคารพเชื่อฟังแล้ว จารีตดังกล่าวยังปลูกฝังให้เกลียดกลัวการคิดเชิงวิพากษ์ การทวงถามถึงสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม ความเป็นธรรม หรืออะไรก็ตามที่เกินไปจาก อำนาจเบื้องบนได้กำหนดไว้แล้ว

อันที่จริงการเคารพเชื่อฟังไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้ายในตัวมันเอง เพราะการเคารพเชื่อฟัง (เช่น การเคารพเชื่อฟังกติกาหรือกฎหมายที่ชอบธรรม เป็นต้น) ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่จารีตการเคารพเชื่อฟังแบบไทยๆไปให้ อำนาจเบื้องบนเป็นมาตรฐานตัดสินถูก ผิด ดีชั่ว ไม่ว่าจะเป็นอำนาจของ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ อำนาจรัฐ กองทัพ(ทำรัฐประหารไม่เคยผิด) ข้าราชการ เจ้านาย ฯลฯ ดังนั้น ถูก ผิด ดี ชั่ว จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับ เหตุผลแต่ขึ้นอยู่กับ อำนาจเหนือกว่าทำให้ฝรั่งคลั่งสยามอย่าง ไมเคิล ไรท์ แสดงความสงสัยว่า ทำไมสังคมไทยที่คนส่วนใหญ่บอกว่าพวกตนเป็นลูกศิษย์พระสมณโคดมผู้สอน กาลามสูตรจึงจัดการศึกษาอบรมบุตรหลานของพวกตนแบบฮินดู คือ ยึดถือว่าครูศักดิ์สิทธิ์ ตำราศักดิ์สิทธิ์ โต้เถียงไม่ได้ การคิดเองไม่ได้รับความนับถือเท่ากับท่องจำขี้ปากนักปราชญ์ราชบัณฑิตมาโอ้อวด ภูมิรู้

คนอย่าง ปรีดี พนมยงค์ กุหลาย สายประดิษฐ์ จิตร ภูมิศักดิ์ นายผี ป๋วย อึ้งภากรณ์ และคนอื่นๆที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาและมีวิถีชีวิตต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองที่ยึดความเป็นธรรมบนความเท่าเทียมของประชาชนเป็นหลักทำนองเดียวกับท่านเหล่านี้ จึงไม่ใช่คนดีตามเกณฑ์มาตรฐานของสังคมวัฒนธรรมไทย (และไม่ใช่ คนดีที่สุดอย่างแน่นอน) เพราะคนเหล่านี้ไม่มี characters ของ ผู้เคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามหากแต่เข้มข้นด้วย characters ของ นักคิดเชิงวิพากษ์ นักต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม นักปฏิวัติ ผู้รักความเป็นธรรมบนความเสมอภาคซึ่งตามมาตรฐานสังคมไทยแล้ว คนเหล่านี้คือ ขบถที่ท้าทายและเป็นอันตรายต่อ อำนาจที่กำหนดมาตรฐานตัดสิน ความดีและ คนดีตามจารีตแบบไทยๆ

แต่ในความเป็นจริง คนผู้ซึ่งขบถต่อ อำนาจที่ผลิตสร้าง ความดีและอำนาจการันตี คนดีตามระบบศักดินาและคำสอนพุทธศาสนาแบบตัดตอนเท่านั้น ที่มี characters ของ คนดีซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานของหลักการประชาธิปไตย หรือเป็นคนดีในความหมายของการเป็น นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเสมอภาคของสังคมอย่างแท้จริง

คำถาม คือ ในการต่อสู้ทางการเมืองสมัยใหม่ หรือการเมืองในศตวรรษที่ 21 นี้ คนดีขบถดังกล่าว ได้มีอยู่ในสารระบบของอาการโหยหา คนดีของสังคมไทยแล้วหรือยัง? ถ้ายังไม่มี หรือยังรังเกียจ คนดีที่มีจิตวิญญาณขบถก็ป่วยการจะพูดถึงการปฏิวัติสังคมไทย