ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
ฝ่ายเพื่อไทยยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนไปข้างหน้าควบคู่การปิดหน้าให้พ้นจากหมัดของฝ่ายค้าน
วาระ ในสภาผู้แทนฯถูกมอบหมายให้ "เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจง-ตอบโต้ฝ่ายค้านแทน "น.ส.ยิ่งลักษณ์" ทุกเรื่อง ทุกประเด็น "เฉลิม" ประกาศภารกิจว่า "นายกฯไม่ใช่จุดอ่อน ไม่จำเป็นต้องตอบทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องมีคนตอบแทนได้"
การวางหมาก-แก้เกมในสภาของ "เพื่อไทย" กับยุทธศาสตร์ปกป้อง "ยิ่งลักษณ์" ซึ่งนับว่าเป็น "หัวใจ" และเป็น "ศูนย์รวม" เส้นประสาทของพรรค
จึงผุด "คณะกรรมการตรวจสอบข้อร้องเรียนการทุจริต" มีหน้าที่เอกซเรย์ทุกโครงการที่รัฐบาลยุค "อภิสิทธิ์" กดปุ่มไฟเขียว หวังใช้เป็นหมัดน็อก พุ่งเป้า "จับตาย" ทำลายความน่าเชื่อถือของพรรคประชาธิปัตย์และพวก
หัวหอกของทีมมีทั้ง "ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร" และโทรโข่ง "พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์"
มี กองหนุนชื่อ "พิชิต ชื่นบาน" ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตทนายความมือพระกาฬของ "ทักษิณ ชินวัตร" ที่ว่าความคดีซุกหุ้นจนถึงคดีที่ดินรัชดาฯ คอยเป็นมันสมองตรวจเช็กหาช่องกฎหมายดำเนินคดี
ยังมีทีมงานอีกนับสิบ ทั้งทีมกฎหมายพรรค ข้าราชการสายใกล้ชิด "ทักษิณ-สมชาย-เยาวภา" ทั้งยังไม่เกษียณอายุและอำลาชีวิตราชการไปแล้วคอยให้ข้อมูลลับ ๆ รวมถึง ส.ส.อีกจำนวนหนึ่งที่พร้อมร่วมให้ข้อมูลในพื้นที่ต่างจังหวัด
คณะ กรรมการมีการแบ่งแนวทางตรวจสอบชัดเจน หากแฟ้มไหนข้อมูล-เอกสาร-ลายเซ็น พร้อมเอาผิด "พร้อมพงศ์" ก็จะรับหน้าที่ "พร้อมซอง" ยื่นเรื่องรวดเดียว 4 หน่วยงาน อันได้แก่
1.นายกรัฐมนตรี 2.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 3.แจ้งความเอาผิดอาญาที่กองปราบปราม หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 4.กรรมาธิการคณะที่เกี่ยวข้องกับต้นเรื่อง
แต่ถ้าแฟ้มไหนข้อมูลยัง ไม่เพียงพอต่อการเอาผิด ก็จะมีทีมงานส่วนหนึ่งลงพื้นที่ตรวจสอบเชิงลึก คู่ขนานกับการขอข้อมูลต่อหน่วยงานราชการต้นสังกัด
คณะกรรมการตรวจสอบ ฝ่ายค้านประกาศว่า มีแฟ้มโกงกว่า 172 เรื่องที่ "ผู้หวังดี" ส่งเอกสาร-หลักฐานมาให้พรรคตรวจสอบรวมทั้งสิ้น 17 กระทรวง จากทั้งหมด 19 กระทรวงกับ 1 สำนักงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
คณะ กรรมการชุดนี้ทำงานควบคู่ "สำนักงานปราบโกง" หรือ ส.ป.ก.401 ที่มี "น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" รมว. กระทรวงไอซีที เป็นผู้อำนวยการศูนย์
หัวหน้าสำนักปราบโกงฝ่ายค้านยืนยันว่า "ถึงฝ่ายเราจะเป็นรัฐบาล แต่ ส.ป.ก.401 ก็ยังไม่หยุดดำเนินการ ยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง"
น.อ.อนุ ดิษฐ์ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีบอกว่า "ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยได้นำข้อมูลการตรวจสอบ ของ ส.ป.ก.401 มาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลชุดก่อน ในวันที่เพื่อไทยเป็น ฝ่ายค้าน ทำให้เรื่องทุจริตต่าง ๆ ได้ถูกบรรจุให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบโดยอัตโนมัติ ดังเช่นโครงการทุจริตชุมชนพอเพียงที่เป็นข่าว"
น.อ.อนุดิษฐ์อธิบาย เพิ่มว่า "ขณะเดียวกันยังมีเรื่องร้องเรียนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการอีก 3 ประเภท คือ 1.ตรวจสอบแล้วมีมูลเชื่อว่ามีการทุจริต เพราะมีหลักฐาน แต่ยังไม่สมบูรณ์ 2.ตรวจสอบแล้วเชื่อว่าทุจริต แต่ยังขาดพยานหลักฐาน ซึ่งทีมงานจะต้องตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต่อไป และ 3.เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบใหม่ ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่อนุมัติในช่วงปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์"
ลายแทงการค้นคดีโกงในยุค "อภิสิทธิ์" จะเริ่มที่ต้นทาง ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้าย 12 ชั่วโมง ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2554
"โครงการ เหล่านี้ ส.ป.ก.401 เห็นว่าอาจมีความไม่ชอบมาพากล ในกรอบการอนุมัติโครงการที่หน่วยงานราชการ มีการขอจากที่ประชุม ครม. แม้เราไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีการทุจริตเกิด ขึ้นหรือไม่ แต่ก็จะต้องตรวจสอบเพื่อ ให้เกิดความโปร่งใส เพราะการอนุมัติโครงการต่าง ๆ ตลอดวันนั้นเป็นไปด้วยความรีบเร่ง หากตรวจสอบแล้วไม่พบการทุจริต พรรคเพื่อไทยก็จะไม่รื้อโครงการ แต่หากพบทุจริตทาง ส.ป.ก. 401 ก็ต้องยื่นดำเนินการร้องเรียนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป" น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว
ไม่เว้นแม้แต่กระทรวงไอซีที ซึ่งเขาเป็นรัฐมนตรีอยู่ "หากมีการตั้งข้อสังเกตว่าเกิดเรื่องทุจริตขึ้นในไอซีที รัฐมนตรีก็ต้องดำเนินการตรวจสอบให้เกิดความมั่นใจ เพื่อให้โครงการที่ออกมามีความถูกต้อง หากไม่ถูกต้องก็ต้องกลับมาทบทวนหาเหตุผลสำหรับยับยั้งโครงการ ทุจริตก็จะไม่เกิดขึ้น"
"ส่วนกระทรวงอื่นที่นอกเหนือจากไอซีที หากมีผู้ร้องมายังพรรคก็พร้อมจะตรวจสอบทุกเรื่อง ไม่ใช่เราเป็นรัฐบาลแล้วจะไม่ปฏิบัติหน้าที่ เพราะการตรวจสอบกันเองนำมาสู่เสถียรภาพของรัฐบาลให้ดียิ่งขึ้น เชื่อว่ารัฐมนตรีทุกคนจะทำงานอย่างตรงไปตรงมาและรอบคอบ ซึ่งหาก มีการทุจริตเกิดขึ้นและเราปล่อย ไปไม่ตรวจสอบ" น.อ.อนุดิษฐ์สรุป ปิดท้าย
เพื่อ ไทยหวังทำให้ฝ่ายค้านห่วงหน้าพะวงหลัง คอยแก้ต่างผลการตรวจสอบข้อครหาด้านลบ จนกลบข่าวกลืนเวลาในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านมืออาชีพไปโดยปริยาย
|
วาระ ในสภาผู้แทนฯถูกมอบหมายให้ "เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจง-ตอบโต้ฝ่ายค้านแทน "น.ส.ยิ่งลักษณ์" ทุกเรื่อง ทุกประเด็น "เฉลิม" ประกาศภารกิจว่า "นายกฯไม่ใช่จุดอ่อน ไม่จำเป็นต้องตอบทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องมีคนตอบแทนได้"
การวางหมาก-แก้เกมในสภาของ "เพื่อไทย" กับยุทธศาสตร์ปกป้อง "ยิ่งลักษณ์" ซึ่งนับว่าเป็น "หัวใจ" และเป็น "ศูนย์รวม" เส้นประสาทของพรรค
จึงผุด "คณะกรรมการตรวจสอบข้อร้องเรียนการทุจริต" มีหน้าที่เอกซเรย์ทุกโครงการที่รัฐบาลยุค "อภิสิทธิ์" กดปุ่มไฟเขียว หวังใช้เป็นหมัดน็อก พุ่งเป้า "จับตาย" ทำลายความน่าเชื่อถือของพรรคประชาธิปัตย์และพวก
หัวหอกของทีมมีทั้ง "ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร" และโทรโข่ง "พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์"
มี กองหนุนชื่อ "พิชิต ชื่นบาน" ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตทนายความมือพระกาฬของ "ทักษิณ ชินวัตร" ที่ว่าความคดีซุกหุ้นจนถึงคดีที่ดินรัชดาฯ คอยเป็นมันสมองตรวจเช็กหาช่องกฎหมายดำเนินคดี
ยังมีทีมงานอีกนับสิบ ทั้งทีมกฎหมายพรรค ข้าราชการสายใกล้ชิด "ทักษิณ-สมชาย-เยาวภา" ทั้งยังไม่เกษียณอายุและอำลาชีวิตราชการไปแล้วคอยให้ข้อมูลลับ ๆ รวมถึง ส.ส.อีกจำนวนหนึ่งที่พร้อมร่วมให้ข้อมูลในพื้นที่ต่างจังหวัด
คณะ กรรมการมีการแบ่งแนวทางตรวจสอบชัดเจน หากแฟ้มไหนข้อมูล-เอกสาร-ลายเซ็น พร้อมเอาผิด "พร้อมพงศ์" ก็จะรับหน้าที่ "พร้อมซอง" ยื่นเรื่องรวดเดียว 4 หน่วยงาน อันได้แก่
1.นายกรัฐมนตรี 2.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 3.แจ้งความเอาผิดอาญาที่กองปราบปราม หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ 4.กรรมาธิการคณะที่เกี่ยวข้องกับต้นเรื่อง
แต่ถ้าแฟ้มไหนข้อมูลยัง ไม่เพียงพอต่อการเอาผิด ก็จะมีทีมงานส่วนหนึ่งลงพื้นที่ตรวจสอบเชิงลึก คู่ขนานกับการขอข้อมูลต่อหน่วยงานราชการต้นสังกัด
คณะกรรมการตรวจสอบ ฝ่ายค้านประกาศว่า มีแฟ้มโกงกว่า 172 เรื่องที่ "ผู้หวังดี" ส่งเอกสาร-หลักฐานมาให้พรรคตรวจสอบรวมทั้งสิ้น 17 กระทรวง จากทั้งหมด 19 กระทรวงกับ 1 สำนักงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
คณะ กรรมการชุดนี้ทำงานควบคู่ "สำนักงานปราบโกง" หรือ ส.ป.ก.401 ที่มี "น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" รมว. กระทรวงไอซีที เป็นผู้อำนวยการศูนย์
หัวหน้าสำนักปราบโกงฝ่ายค้านยืนยันว่า "ถึงฝ่ายเราจะเป็นรัฐบาล แต่ ส.ป.ก.401 ก็ยังไม่หยุดดำเนินการ ยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง"
น.อ.อนุ ดิษฐ์ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีบอกว่า "ที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยได้นำข้อมูลการตรวจสอบ ของ ส.ป.ก.401 มาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลชุดก่อน ในวันที่เพื่อไทยเป็น ฝ่ายค้าน ทำให้เรื่องทุจริตต่าง ๆ ได้ถูกบรรจุให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบโดยอัตโนมัติ ดังเช่นโครงการทุจริตชุมชนพอเพียงที่เป็นข่าว"
น.อ.อนุดิษฐ์อธิบาย เพิ่มว่า "ขณะเดียวกันยังมีเรื่องร้องเรียนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการอีก 3 ประเภท คือ 1.ตรวจสอบแล้วมีมูลเชื่อว่ามีการทุจริต เพราะมีหลักฐาน แต่ยังไม่สมบูรณ์ 2.ตรวจสอบแล้วเชื่อว่าทุจริต แต่ยังขาดพยานหลักฐาน ซึ่งทีมงานจะต้องตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต่อไป และ 3.เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบใหม่ ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่อนุมัติในช่วงปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์"
ลายแทงการค้นคดีโกงในยุค "อภิสิทธิ์" จะเริ่มที่ต้นทาง ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้าย 12 ชั่วโมง ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2554
"โครงการ เหล่านี้ ส.ป.ก.401 เห็นว่าอาจมีความไม่ชอบมาพากล ในกรอบการอนุมัติโครงการที่หน่วยงานราชการ มีการขอจากที่ประชุม ครม. แม้เราไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีการทุจริตเกิด ขึ้นหรือไม่ แต่ก็จะต้องตรวจสอบเพื่อ ให้เกิดความโปร่งใส เพราะการอนุมัติโครงการต่าง ๆ ตลอดวันนั้นเป็นไปด้วยความรีบเร่ง หากตรวจสอบแล้วไม่พบการทุจริต พรรคเพื่อไทยก็จะไม่รื้อโครงการ แต่หากพบทุจริตทาง ส.ป.ก. 401 ก็ต้องยื่นดำเนินการร้องเรียนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อไป" น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว
ไม่เว้นแม้แต่กระทรวงไอซีที ซึ่งเขาเป็นรัฐมนตรีอยู่ "หากมีการตั้งข้อสังเกตว่าเกิดเรื่องทุจริตขึ้นในไอซีที รัฐมนตรีก็ต้องดำเนินการตรวจสอบให้เกิดความมั่นใจ เพื่อให้โครงการที่ออกมามีความถูกต้อง หากไม่ถูกต้องก็ต้องกลับมาทบทวนหาเหตุผลสำหรับยับยั้งโครงการ ทุจริตก็จะไม่เกิดขึ้น"
"ส่วนกระทรวงอื่นที่นอกเหนือจากไอซีที หากมีผู้ร้องมายังพรรคก็พร้อมจะตรวจสอบทุกเรื่อง ไม่ใช่เราเป็นรัฐบาลแล้วจะไม่ปฏิบัติหน้าที่ เพราะการตรวจสอบกันเองนำมาสู่เสถียรภาพของรัฐบาลให้ดียิ่งขึ้น เชื่อว่ารัฐมนตรีทุกคนจะทำงานอย่างตรงไปตรงมาและรอบคอบ ซึ่งหาก มีการทุจริตเกิดขึ้นและเราปล่อย ไปไม่ตรวจสอบ" น.อ.อนุดิษฐ์สรุป ปิดท้าย
เพื่อ ไทยหวังทำให้ฝ่ายค้านห่วงหน้าพะวงหลัง คอยแก้ต่างผลการตรวจสอบข้อครหาด้านลบ จนกลบข่าวกลืนเวลาในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านมืออาชีพไปโดยปริยาย