WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 6, 2012

กรรมการสิทธิฯ "อินโดนีเซีย" เผยผลสอบการล่าสังหารในยุคซูฮาร์โต

ที่มา ประชาไท

 

หลังสอบสวนมา 3 ปี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของอินโดนีเซียนำเสนอรายงานหนากว่า 850 หน้า สอบพยาน 349 ปาก เผยเหตุการณ์การสังหารหมู่ผู้ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์ อินโดนีเซียในช่วง "ซูฮาร์โต" ขึ้นมามีอำนาจ พร้อมยื่นเรื่องให้อัยการนำไปทำคดี
 
อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต (ขวา) ขณะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2511 3 ปีหลังจากที่เขาตอบโต้การรัฐประหารในเหตุการณ์ "30 กันยายน 1965" (พ.ศ. 2508) และทำการรัฐประหารซ้อน ทั้งนี้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอินโดนีเซียเพิ่งเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับ เหตุการณ์สังหารหมู่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าในช่วงที่ซูฮาร์โตขึ้นมามีอำนาจ หลังทำการสอบสวนมาเป็นเวลา 3 ปี (ที่มาของภาพ: แฟ้มภาพ/วิกิพีเดีย)
วรรณกรรมต่อต้านคอมมิวนิสต์ ในยุค "ระเบียบใหม่" สมัยที่ซูฮาร์โตขึ้นมามีอำนาจ (แฟ้มภาพ/วิกิพีเดีย)

อินโดนีเซียเผยผลสอบยุคกวาดล้าง "คอมมิวนิสต์" สมัย "ซูฮาร์โต"
การกวาดล้างผู้ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) จนมีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน ในช่วงที่อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตมีอำนาจนั้น ล่าสุด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของอินโดนีเซีย (Komnas HAM) ได้ประกาศผลการสอบสวนเมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมาว่า การสังหารอย่างเป็นระบบต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ อินโดนีเซีย (PKI) ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งใหญ่
โดยเหตุการณ์ล่าสังหารดังกล่าว เกิดขึ้นหลัง "เหตุการณ์ 30 กันยายน 1965" (พ.ศ. 2508) ซึ่งเป็นความพยายามทำรัฐประหารของนายทหารระดับกลางล้มรัฐบาลซูการ์โนแต่เกิด ล้มเหลว ทำ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของอินโดนีเซียได้เรียกร้องให้นำตัวเจ้าหน้าที่ ของกองทัพซึ่งเกี่ยวข้องกับการกวาดล้างดังกล่าวไปขึ้นศาล
นูร์ โคลิส (Nur Kholis) หัวหน้าคณะสอบสวน การรัฐประหารเมื่อปี 2508 กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้ กองอำนวยการเพื่อการฟื้นฟูระเบียบและความสงบเรียบร้อย (Kopkamtib) ของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในช่วงปี 2508 - 2510 และ 2520 - 2522 ควรถูกนำตัวมาขึ้นศาลฐานก่ออาชญากรรมหลายประการ รวมไปถึงข้อหาข่มขืนหมู่ ทรมาน และฆ่า
นูร์ โคลิส กล่าวด้วยว่า คณะทำงานของเขาได้รายส่งมอบรายงานที่หนากว่า 850 หน้าให้กับสำนักงานอัยการสามัญ (AGO) ของอินโดนีเซีย "เราหวังว่าอัยการจะติดตามรายงานเหล่านี้"
ทั้งนี้ในช่วงสอบสวนที่กินเวลา 3 ปี คณะทำงานได้สอบปากคำพยานถึง 349 ปาก
นูร์ โคลิสกล่าวว่า ระหว่างปฏิบัติการที่เกิดขึ้นทั่วอินโดนีเซีย เจ้าหน้าที่รัฐได้เจาะจงมุ่งเป้าหมายไปที่พลเรือนผู้บริสุทธิ์ "ผู้เคราะห์ร้ายหลายรายไม่เกี่ยวข้องอะไรกับพรรคคอมมิวนิสต์หรือองค์กภายใต้ พรรคคอมมิวนิสต์ เจ้าหน้าที่ของกองทัพได้สร้างเรื่องให้ประชาชนเหล่านี้เกี่ยวข้องกับพรรค"
คณะทำงานของนูร์ โคลิส ยังเรียกร้องให้รัฐบาลมีคำขอโทษอย่างเป็นทางการต่อผู้ได้รับผลกระทบและครอบ ครัวของเขา และการขอโทษควรตามมาด้วยการฟื้นฟู เยียวยา และการชดเชย
มูลนิธิวิจัยผู้เคราะห์ร้ายจากการถูกสังหาร (YPKP) กล่าวว่า อดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นบุคคลที่ต้องรับผิดชอบมากที่สุดในอาชญากรรมนี้ อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงที่ว่าอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตเสียชีวิตไปแล้ว ไม่ควรที่จะเป็นสิ่งขัดขวางอัยการสามัญ (AGO) ในการดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้ ทั้งนี้มูลนิธิ YPKP ระบุด้วยว่าผู้ก่อการคนอื่นๆ จำนวนมากยังคงมีชีวิตอยู่
ด้านประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวหลังทราบรายงานว่า  "สิ่งที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนรายงานมาจะถูกศึกษาโดยอัยการสามัญ ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเป็นผู้รายงานมายังผม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เราต้องการการจัดการที่มีความยุติธรรม มีข้อเท็จจริง เฉียบคม และสร้างสรรค์"

หน้าประวัติศาสตร์นองเลือดฉบับอินโดนีเซีย
สำหรับเหตุการณ์ล่าสังหารผู้ที่เกี่ยวข้องและถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับ พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ดังกล่าว เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2509 หลังเหตุการณ์ "30 กันยายน 1965" ซึ่งมีกลุ่มนายทหารระดับกลางได้พยายามทำการรัฐประหาร และทำการลักพาตัวและสังหารนายพล 6 นาย ซึ่งถูกกล่าวหาว่าจัดตั้งกลุ่มต่อต้านซูการ์โน ประธานาธิบดีที่สนับสนุนฝ่ายซ้าย
แต่การรัฐประหารดังกล่าวไม่สำเร็จ โดยนายพลซูฮาร์โต ได้นำทหารส่วนใหญ่ของกองทัพอินโดนีเซีย ปราบการรัฐประหารดังกล่าว และมีการกล่าวหาว่านายทหารกลุ่มที่สังหารนายพล 6 นายเป็นฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย จากนั้นซูฮาร์โตและกองทัพได้ยึดอำนาจ มีการประกาศ "ระเบียบใหม่" (Orde Baru หรือ New Order) เพื่อกระชับโครงสร้างอำนาจและให้กองทัพเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง
ทั้งนี้หลังเหตุการณ์ "30 กันยายน 1965" ที่อินโดนีเซีย ประชาชนหลายแสนคน ซึ่งมีผู้คะเนว่าอาจถึง 5 แสนคน ถูกสังหาร โดยพวกเขาเหล่านั้นถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) และจำนวนมากกว่านั้นถูกขังอยู่ในคุกเป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีการตั้งข้อหา
โดยมีการดำเนินมาตรการเลือกปฏิบัติเพื่อต่อต้านประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ พรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย (PKI) ทั้งการห้ามเข้ารับรัฐการ เจ้าหน้าที่กองทัพ ครู หรืออิหม่าม ทั้งนี้อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียจำนวนมากยังหางานทำได้ยาก เนื่องจากมีการระบุสถานะว่าเป็นอดีตนักโทษการเมืองลงไปในบัตรประชาชน
ต่อมาในปี 2547 ศาลรัฐธรรมนูญอินโดนีเซียได้มีคำตัดสินว่าอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ อินโดนีเซีย (PKI) ได้รับอนุญาตให้ลงสมัครเลือกตั้งได้ และอีกสองปีต่อมารัฐบาลได้ลบสถานะ "อดีตนักโทษการเมือง" ออกจากบัตรประชาชน
ทั้งนี้ในช่วงที่ซูฮาร์โตมีอำนาจ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ดีน รัสค์ (Dean Rusk) เคยกล่าวสนับสนุน "แคมเปญต่อต้านคอมมิวนิสต์" และให้ความมั่นใจแก่ซูฮาร์โตว่า "รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นมิตรและชื่นชมในสิ่งที่กองทัพอินโดนีเซียกำลัง ดำเนินการ" ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาเองยังได้สนับสนุนกองทัพของซูฮาร์โตโดยจัดหางบ ประมาณและอาวุธเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วย


ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
Komnas HAM declares 1965 purge a gross human rights violation, Margareth S. Aritonang, The Jakarta Post, Mon, July 23 2012, 6:15 PM http://www.thejakartapost.com/news/2012/07/23/komnas-ham-declares-1965-purge-a-gross-human-rights-violation.html
Indonesian commission urges trials of military rights abusers, Pacific.scoop, August 2, 20121 comment http://pacific.scoop.co.nz/2012/08/indonesian-commission-urges-trials-of-military-rights-abusers/
Indonesian killings of 1965–1966, Wikipedia, the free encyclopedia http://en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_killings_of_1965%E2%80%9366
30 September Movement, Wikipedia, the free encyclopedia http://en.wikipedia.org/wiki/30_September_Movement